คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 146

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้ดุลพินิจชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ซึ่งศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีใหม่หรืออนุญาตให้จำเลยดำเนินการเองเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นโต้แย้งการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 146 ชั้นนี้เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และโจทก์ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีส่วนนี้ ไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาฎีกาของจำเลยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการสู้คดีและการพิจารณาหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีดุลพินิจชอบในการยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งพิจารณาพิพากษาโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจำเลยย่อมมีสิทธิสู้คดีและอุทธรณ์ฎีกาได้ชั้นหนึ่ง และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว โจทก์จะขอรับชำระหนี้ได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามมาตรา 27,91,94, และ 96 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 แม้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาก็ต้องผ่านการสอบสวนการพิจารณาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลอีกชั้นหนึ่งการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในคดีที่จำเลยขาดนัดจึงไม่เป็นประโยชน์ ทั้งยังเพิ่มภาระแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเสียเวลาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวมจัดการทรัพย์สินของจำเลยเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายและจำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะยกคำร้องดังกล่าวของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนฟ้องล้มละลายและการเปลี่ยนแปลงคู่กรณี
การที่ลูกหนี้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ม.เกินกว่า 3 ปี ก่อนมีการฟ้องขอให้ล้มละลายแล้ว ไม่ว่าการโอนจะมีค่าตอบแทนและเป็นการโอนโดยสุจริตหรือไม่ ก็ไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ได้ และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นของ ม. การโอนระหว่าง ม.และ พ.ต่อมาจึงมิใช่การโอนระหว่างลูกหนี้กับ พ. จะขอให้เพิกถอนการโอนตามบทกฎหมายข้างต้นก็ไม่ได้เช่นกัน
ข้ออ้างที่ว่า ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่ ม.เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกัน มิได้มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมา การซื้อขายที่ดินจึงเป็นโมฆะกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงเป็นของลูกหนี้แต่ผู้เดียวนั้น มิใช่เรื่องที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งกล่าวแต่เพียงว่าการโอนระหว่างลูกหนี้และ ม.เป็นการโอนโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนเท่านั้น จึงเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน ผู้ร้องจะกลับยกประเด็นอื่นขึ้นมากล่าวอ้างในคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วินิจฉัยและมีคำสั่งในประเด็นดังกล่าว คำร้องของผู้ร้องในประเด็นนี้จึงขัดต่อมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลายต้องอาศัยเหตุที่ยกขึ้นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การยกประเด็นใหม่ในคำร้องคัดค้านย่อมเป็นไปไม่ได้
การยื่นคำร้องต่อศาลตาม พ.ร.บ ล้มละลายฯ มาตรา 146 ต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะยกประเด็นเรื่องอื่นขึ้นมากล่าวอ้างในคำร้องคัดค้านไม่ได้เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วินิจฉัยและมีคำสั่งในประเด็นดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายต้องกระทำภายใน 3 ปี และต้องเป็นการโอนระหว่างลูกหนี้กับผู้รับโอนโดยตรง
การที่ลูกหนี้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ม. เกินกว่า 3 ปี ก่อนมีการฟ้องขอให้ล้มละลายแล้ว ไม่ว่าการโอนจะมีค่าตอบแทนและเป็นการโอนโดยสุจริตหรือไม่ ก็ไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ได้ และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นของ ม. การโอนระหว่าง ม. และ พ. ต่อมาจึงมิใช่การโอนระหว่างลูกหนี้กับ พ. จะขอให้เพิกถอนการโอนตามบทกฎหมายข้างต้นก็ไม่ได้เช่นกัน ข้ออ้างที่ว่า ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่ ม.เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกัน มิได้มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมา การซื้อขายที่ดินจึงเป็นโมฆะกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงเป็นของลูกหนี้แต่ผู้เดียวนั้น มิใช่เรื่องที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งกล่าวแต่เพียงว่าการโอนระหว่างลูกหนี้และ ม. เป็นการโอนโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนเท่านั้น จึงเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน ผู้ร้องจะกลับยกประเด็นอื่นขึ้นมากล่าว อ้างในคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วินิจฉัยและมีคำสั่งในประเด็นดังกล่าว คำร้องของผู้ร้องในประเด็นนี้จึงขัดต่อมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ - เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระภาษีแทนลูกหนี้
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จำเลยที่ 2) แต่ผู้เดียว โจทก์ จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้อีก ปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้จำเลยที่ 1 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว แต่เมื่อ จำเลยที่ 1 ยังเป็นเจ้าของโรงเรือนและที่ดิน ซึ่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 และ พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 บัญญัติให้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายดังกล่าวทุกปี จำเลย ที่ 2 ในฐานะ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ เอาเงินของจำเลย ที่ 1 ชำระค่าภาษีดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีจำเลยที่ 2 มีหนังสือตอบว่า โจทก์ ใน ฐานะเจ้าหนี้จะบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ก็แต่โดยการขอรับ ชำระหนี้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษีแทนจำเลยที่ 1เช่นนี้ หนังสือตอบของจำเลยที่ 2 เป็นเพียง ความเห็นของจำเลยที่ 2ในปัญหาว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ ค่าภาษีจะใช้สิทธิเรียก ค่าภาษี ได้โดยวิธีใด หาได้วินิจฉัยเกี่ยวกับ ค่าภาษีไม่ ทั้งคำวินิจฉัยดังกล่าวก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้อง คัดค้าน ต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาล ในคดีล้มละลายภายใน 14 วัน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 146.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อการฟ้องร้องเรียกค่าภาษี และหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการชำระหนี้แทนลูกหนี้
ปรากฏตามคำฟ้องว่า ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1เด็ดขาดก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมหมดอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ อำนาจในการจัดการทรัพย์สินและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ตกเป็นของจำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ภาษีอากรได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 เมื่อที่ดินและโรงเรือนของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 มีอำนาจจัดการนั้นมี พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 7,35บัญญัติให้ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีหน้าที่เสียภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปีหรือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินแล้วแต่กรณี กับมี พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา8,38,40 บัญญัติให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินชำระค่าภาษีปีละครั้งภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมิน จำเลยที่ 2จึงมีหน้าที่ที่จะต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่และค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง แม้เป็นหนี้ที่เกิดภายหลังจากศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วก็ตาม การที่เจ้าพนักงานของกรุงเทพมหานครโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 มีหนังสือตอบว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะบังคับสิทธิเรียกร้องได้ก็แต่โดยการขอรับชำระหนี้ จำเลยที่ 2ไม่จำต้องยื่นแบบรายการเพื่อเสียภาษีแทนจำเลยที่ 1 นั้น หนังสือตอบของจำเลยที่ 2 เป็นเพียงความเห็นของจำเลยที่ 2 ในปัญหาว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจะใช้สิทธิเรียกค่าภาษีดังกล่าวได้โดยวิธีใด ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยเพื่อให้ศาลสั่งกลับหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดทรัพย์หลังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการแล้ว: คดีไม่มีประโยชน์พิจารณาต่อ
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปแล้ว ทรัพย์ดังกล่าวไม่อยู่ในความยึดถือหรืออยู่ในอำนาจสั่งการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินการขายหรือไม่ขายทอดตลาดอีกต่อไป ถึงหากจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไว้ก่อนตามคำร้องของจำเลย หรืออนุญาตให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปตามฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ก็ไม่อยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำพิพากษาดังกล่าวได้ คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไปว่าสมควรอนุญาตให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยดังฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ จึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดทรัพย์หลังมีคำสั่งศาล: ศาลจำหน่ายคดีเมื่อทรัพย์ไม่อยู่ในอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปแล้ว ทรัพย์ดังกล่าวไม่อยู่ในความยึดถือหรืออยู่ในอำนาจสั่งการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินการขายหรือไม่ขายทอดตลาดอีกต่อไป ถึงหากจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไว้ก่อนตามคำร้องของจำเลย หรืออนุญาตให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปตามฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ก็ไม่อยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำพิพากษาดังกล่าวได้ คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไปว่าสมควรอนุญาตให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยดังฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ จึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้, การปฏิเสธการยอมรับสิทธิสัญญาเมื่อภาระเกินประโยชน์
ความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 ที่ว่าทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้นั้น หมายถึงทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อบ้านและที่ดินเป็นสิทธิที่ผู้ร้องผู้เช่าซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าซื้อจะพึงได้รับทั้งสองฝ่ายหาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้ร้องจะพึงได้รับไปแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้นไม่ เพราะในขณะที่ผู้ร้องในฐานะผู้เช่าซื้อจะได้รับโอนบ้านและที่ดินตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาจำเลยในฐานะผู้ให้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าเช่าซื้ออีกบางส่วนซึ่งขาดอยู่ตามสัญญานั้นเช่นกัน บ้านและที่ดินแปลงย่อยที่ผู้ร้องทั้งหมดขอปฏิบัติตามสัญญาอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งติดจำนองธนาคาร ท.เจ้าหนี้มีประกันที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้จำนวนเงิน 166 ล้านบาทเศษ โดยขอให้ขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 96(3) แม้จะนำสิ่งปลูกสร้างพร้อมที่ดินแปลงย่อยขายทอดตลาดเงินที่ได้ก็ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าวเมื่อสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยจะได้รับค่าเช่าซื้ออีกบางส่วนจากผู้ร้องเห็นได้ชัดว่าเป็นเงินจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับความยุ่งยากหรือภาระที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาคือได้ไม่เท่าเสีย แทนที่กองทรัพย์สินของจำเลยจะเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับทำให้ลดน้อยลงเพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องไม่ถอนที่ดินแปลงใหญ่เมื่อนำมาโอนให้ผู้ร้องกับพวกที่เช่าซื้อทั้งหมดเมื่อปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญา การที่เจ้าหนี้มีประกันขอให้ขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นหลักประกันดังกล่าวเป็นสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพียงแต่มีหน้าที่ขายทรัพย์โดยปลอดจำนองเพื่อนำเงินไปชำระหนี้จำนองเท่านั้น และการที่ต้องขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นหลักประกันแสดงให้เห็นว่ากองทรัพย์สินของจำเลยไม่พอไถ่ถอนจำนองซึ่งเป็นจำนวนมากได้ ประกอบกับยังมีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นเงินถึง 1,271 ล้านบาทเศษ เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ อันทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญานั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 ข้ออ้างที่ว่าธนาคาร ท.ผู้รับจำนองได้รับชำระหนี้ไปแล้ว 30 ล้านบาท และจำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นอีกมาก โดยคำนวณแล้วเมื่อนำออกขายทอดตลาดจะได้ไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาทนั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาที่ว่าสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้หรือไม่ซึ่งจะต้องพิจารณาเฉพาะสิทธิหรือประโยชน์และภาระตามสัญญาที่จะตกแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเท่านั้น ที่ผู้ร้องฎีกาว่า ธนาคารท.ผู้รับจำนองไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ เนื่องจากหนี้จำนองเกิดจากการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับพวกและธนาคารท.จึงไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกันหรือไม่มีประกันนั้น ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นเป็นประเด็นกล่าวอ้างไว้ในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ไม่มีข้อความบัญญัติให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งชี้ขาดเหมือนอย่างคดีธรรมดาดังเช่นที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 158 ฉะนั้น ศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรย่อมแล้วแต่จะเห็นสมควรเป็นราย ๆ ไป เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอ สมควรมีคำสั่งโดยไม่จำต้องไต่สวนคำร้องหรือสืบพยานผู้ร้องเสียก่อน ก็อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะกระทำได้
of 19