พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเห็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีผลบังคับ ศาลมีอำนาจตัดสินชี้ขาดเอง เจ้าหนี้ต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลเท่านั้น
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่มีผู้ขอรับชำระต่อศาล แม้จะเห็นควรให้ได้รับชำระหนี้บางส่วนและยกคำขอรับชำระหนี้บางส่วน แต่ความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นไม่มีผลบังคับแต่อย่างใด เพราะศาลอาจพิจารณาวินิจฉัยหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ ฉะนั้นจึงยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 146 ผู้ร้องจะยื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งแก้ไขความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่ ต่อเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอย่างไรแล้วผู้ร้องจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเห็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีผลบังคับ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดการรับชำระหนี้เอง
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่มีผู้ขอรับชำระต่อศาล แม้จะเห็นควรให้ได้รับชำระหนี้บางส่วนและยกคำขอรับชำระหนี้บางส่วน แต่ความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นไม่มีผลบังคับแต่อย่างใด เพราะศาลอาจพิจารณาวินิจฉัยหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ ฉะนั้นจึงยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 146 ผู้ร้องจะยื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งแก้ไขความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่ ต่อเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอย่างไรแล้วผู้ร้องจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเห็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีผลบังคับ ศาลมีอำนาจพิจารณาตัดสินชี้ขาดเรื่องหนี้สินตามกฎหมายล้มละลาย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่มีผู้ขอรับชำระต่อศาล แม้จะเห็นควรให้ได้รับชำระหนี้บางส่วนและยกคำขอรับชำระหนี้บางส่วน แต่ความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นไม่มีผลบังคับแต่อย่างใด เพราะศาลอาจพิจารณาวินิจฉัยหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ ฉะนั้นจึงยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 146 ผู้ร้องจะยื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งแก้ไขความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่ ต่อเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอย่างไรแล้วผู้ร้องจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา153.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: สิทธิของลูกหนี้ร่วมและเจตนาสุจริตของธนาคาร
ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมร่วมกัน โดยตกลงชำระหนี้ให้แก่ธนาคารให้ครบถ้วนภายใน 6 เดือน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินมีโฉนดไว้แก่ธนาคารดังกล่าว เพื่อเป็นประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และบริษัท ย. ตามลำดับ จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด ดังนี้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการจำนองที่ดินดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะธนาคารเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 หรือผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้โดยไม่จำต้องบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน หากผู้ร้องเห็นว่า จำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้ ก็ชอบที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ธนาคารแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ร้องในฐานะลูกหนี้ร่วมยังมิได้ชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งการที่จำเลยที่ 1 เอาที่ดินไปจำนองก็ไม่เป็นการกระทำทั้งที่รู้ว่าเป็นทางให้ผู้ร้องซึ่งมิใช่เจ้าหนี้เสียเปรียบ ประกอบกับจำเลยที่ 1 นำที่ดินไปจำนองเพื่อกิจการค้าของห้าง ฯ และบริษัท ฯ ที่ตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและกรรมการผู้จัดการอยู่ โดยไม่มีเหตุส่อแสดงว่าธนาคารรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตและรู้อยู่ว่า เป็นทางทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบ กรณีจึงไม่เข้าข่ายที่ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย: สิทธิลูกหนี้ร่วมและการกระทำโดยสุจริตของเจ้าหนี้
ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมร่วมกันโดยตกลงชำระหนี้ให้แก่ธนาคารให้ครบถ้วนภายใน 6 เดือน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินมีโฉนดไว้แก่ธนาคารดังกล่าว เพื่อเป็นประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และบริษัท ย. ตามลำดับ จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด ดังนี้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการจำนองที่ดินดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะธนาคารเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 หรือผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้โดยไม่จำต้องบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน หากผู้ร้องเห็นว่า จำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้ ก็ชอบที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ธนาคารแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ร้องในฐานะลูกหนี้ร่วมยังมิได้ชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งการที่จำเลยที่ 1เอาที่ดินไปจำนองก็ไม่เป็นการกระทำทั้งที่รู้ว่าเป็นทางให้ผู้ร้องซึ่งมิใช่เจ้าหนี้เสียเปรียบ ประกอบกับจำเลยที่ 1นำที่ดินไปจำนองเพื่อกิจการค้าของห้าง ฯ และบริษัท ฯ ที่ตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและกรรมการผู้จัดการอยู่ โดยไม่มีเหตุส่อแสดงว่าธนาคารรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตและรู้อยู่ว่าเป็นทางทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบ กรณีจึงไม่เข้าข่ายที่ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ไม่ทำให้ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด สิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างจ่ายยังคงมี
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว มีผลเพียงทำให้จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเอง ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทน หามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่ โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยเกี่ยงให้ไปขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายเท่านั้น หาใช่เป็นการปฏิเสธว่าจะเลิกจ้างหรือไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานต่อไปไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวนั้น ไม่ใช่หนี้ที่จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จึงไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนตาม มาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้าง ค้างจ่ายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวไม่ทำให้ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด สิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างจ่ายยังคงมี
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวมีผลเพียงทำให้จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเองต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทนหามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยเกี่ยงให้ไปขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายเท่านั้นหาใช่เป็นการปฏิเสธว่าจะเลิกจ้างหรือไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานต่อไปไม่ถือไม่ได้ว่าจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวนั้นไม่ใช่หนี้ที่จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา94แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483จึงไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนตามมาตรา146แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันเมื่อจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ทันที.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิหากไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง
บุคคลที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 ได้ จะต้องเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าหนี้ หรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในกรณีนี้ผู้ที่หากจะได้รับความเสียหายก็คือบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ผู้ร้องเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ แทนบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) นอกจากจะมีกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นไว้ดังเช่นมาตรา 1169 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องในกรณีนี้ได้ กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นคัดค้านศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจในการยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายสงวนไว้สำหรับลูกหนี้ เจ้าหนี้ หรือผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง
บุคคลที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 ได้ จะต้องเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าหนี้ หรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในกรณีนี้ผู้ที่หากจะได้รับความเสียหายก็คือบริษัทลูกหนี้(จำเลย) ผู้ร้องเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้(จำเลย) ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ แทนบริษัทลูกหนี้(จำเลย) นอกจากจะมีกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นไว้ดังเช่นมาตรา 1169 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องในกรณีนี้ได้ กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นคัดค้านศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการอายัดเงินในคดีบังคับคดีและการขัดแย้งกับคำพิพากษาในคดีล้มละลาย
เงินที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ป. ในคดีล้มละลายร้องขออายัดในคดีนี้ ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ป. ซึ่งเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้ด้วยไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดังนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของ บริษัท ป. ไม่ว่าในฐานะใดย่อมไม่มีสิทธิที่จะอายัด เงินดังกล่าวได้ และมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย ดังกล่าวก็ไม่มีผลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจที่จะ อายัดเงินจำนวนดังกล่าวได้
กรณีที่ศาลชั้นต้นให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้โจทก์รับไป คือไม่อายัดให้ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขออายัดไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะต้องไปขอเพิกถอนคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 146
กรณีที่ศาลชั้นต้นให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้โจทก์รับไป คือไม่อายัดให้ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขออายัดไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะต้องไปขอเพิกถอนคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 146