คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 146

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิออกเสียงของเจ้าหนี้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ล้มละลาย: การไม่มีส่วนได้เสียโดยตรงหรือโดยอ้อม
จำเลยถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องรายที่ 2 เป็นเจ้าหนี้จำเลยซึ่งได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นลูกหนี้ของจำเลยโดยค้างชำระเงินค่าหุ้น ได้ยื่นคำขอลดหนี้ของตนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้มีการนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอนี้ หนี้รายนี้เป็นหนี้ซึ่งผู้ร้องรายที่ 1 ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว การที่ผู้ร้องรายที่ 1 ขอลดหนี้นั้น หากผลของการประชุมเจ้าหนี้เป็นผลดีแก่ผู้ร้องรายที่ 1 เช่น ได้รับลดจำนวนหนี้หรืองดดอกเบี้ยทรัพย์สินของจำเลยส่วนที่ลดไปก็เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นส่วนตัวแต่ผู้เดียว เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องรายที่ 1 เป็นผู้มีหุ้นส่วนกับผู้ร้องรายที่ 2 และผู้ร้องรายที่ 2 จะได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยโดยประการใดแล้ว ผลของการประชุมเจ้าหนี้ไม่ว่าจะมีมติเป็นอย่างใด ย่อมไม่ทำให้ผู้ร้องรายที่ 2 หรือผู้มีหุ้นส่วนกับผู้ร้องรายที่ 2 ได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยโดยตรงหรือโดยอ้อมนอกจากที่ควรได้รับตามส่วนในฐานะเป็นเจ้าหนี้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ที่ผู้ร้องรายที่ 2 เคยเข้าควบคุมดำเนินกิจการของจำเลยและรับเงินแทนจำเลย ผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทจำเลยส่วนใหญ่เป็นพนักงานและกรรมการของผู้ร้องรายที่ 2 ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องรายที่ 2 กับจำเลย แม้ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลย กิจการนั้น ๆ ก็ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ร้องรายที่ 1 ในฐานะส่วนตัวแม้ผู้ร้องรายที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีจำนวนหนี้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหนี้ทั้งหมดและแสดงท่าทีจะลงคะแนนเสียงให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องรายที่ 1 ก็เป็นเรื่องของเจ้าหนี้จะใช้สิทธิของตนได้ตามความสมัครใจ จะถือเป็นเหตุว่า เจ้าหนี้ผู้นั้นได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยหาได้ไม่ ดังนี้ ผู้ร้องรายที่ 2 จึงไม่ต้องห้ามออกเสียงลงคะแนนในข้อปรึกษาของที่ประชุมเจ้าหนี้ในเรื่องนี้ตามมาตรา 34 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ก็มีอำนาจที่จะยื่นคำขอต่อศาลห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้ตามมาตรา 36 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ผู้ร้องรายที่ 2 งดออกเสียง ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ภายในกำหนดการที่ผู้ร้องทั้งสองมิได้โต้แย้งก็ดี ผู้ร้องรายที่1 ได้ยื่นคำขอใหม่ก็ดีมิได้มีบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามไม่ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาล ศาลย่อมมีคำสั่งให้ยกเลิกมติและคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการพิจารณาคำขอลดหนี้ของผู้ร้องรายที่ 1 ที่ประชุมไปนั้นให้จัดประชุมใหม่ และให้ผู้ร้องรายที่ 2 มีสิทธิลงคะแนนได้พลางก่อนโดยมีเงื่อนไขตามมาตรา 35

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิออกเสียงเจ้าหนี้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ล้มละลาย: การมีส่วนได้เสียโดยตรงและโดยอ้อม
จำเลยถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องรายที่ 2 เป็นเจ้าหนี้จำเลยซึ่งได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นลูกหนี้ของจำเลยโดยค้างชำระเงินค่าหุ้น ได้ยื่นคำขอลดหนี้ของตนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้มีการนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอนี้ หนี้รายนี้เป็นหนี้ซึ่งผู้ร้องรายที่ 1 ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว การที่ผู้ร้องรายที่ 1 ขอลดหนี้นั้น หากผลของการประชุมเจ้าหนี้เป็นผลดีแก่ผู้ร้องรายที่ 1 เช่น ได้รับลดจำนวนหนี้หรืองดดอกเบี้ยทรัพย์สินของจำเลยส่วนที่ลดไปก็เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นส่วนตัวแต่ผู้เดียว เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องรายที่ 1 เป็นผู้มีหุ้นส่วนกับผู้ร้องรายที่ 2 และผู้ร้องรายที่ 2 จะได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยโดยประการใดแล้ว ผลของการประชุมเจ้าหนี้ไม่ว่าจะมีมติเป็นอย่างใด ย่อมไม่ทำให้ผู้ร้องรายที่ 2 หรือผู้มีหุ้นส่วนกับผู้ร้องรายที่ 2 ได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยโดยตรงหรือโดยอ้อมนอกจากที่ควรได้รับตามส่วนในฐานะเป็นเจ้าหนี้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ที่ผู้ร้องรายที่ 2 เคยเข้าควบคุมดำเนินกิจการของจำเลยและรับเงินแทนจำเลย ผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทจำเลยส่วนใหญ่เป็นพนักงานและกรรมการของผู้ร้องรายที่ 2 ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องรายที่ 2 กับจำเลย แม้ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลย กิจการนั้น ๆ ก็ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ร้องรายที่ 1 ในฐานะส่วนตัวแม้ผู้ร้องรายที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีจำนวนหนี้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหนี้ทั้งหมดและแสดงท่าทีจะลงคะแนนเสียงให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องรายที่ 1 ก็เป็นเรื่องของเจ้าหนี้จะใช้สิทธิของตนได้ตามความสมัครใจ จะถือเป็นเหตุว่า เจ้าหนี้ผู้นั้นได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยหาได้ไม่ ดังนี้ ผู้ร้องรายที่ 2 จึงไม่ต้องห้ามออกเสียงลงคะแนนในข้อปรึกษาของที่ประชุมเจ้าหนี้ในเรื่องนี้ตามมาตรา 34 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ก็มีอำนาจที่จะยื่นคำขอต่อศาลห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้ตามมาตรา 36 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ผู้ร้องรายที่ 2 งดออกเสียง ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องผู้มีส่วนได้เสียย่อมยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ภายในกำหนด การที่ผู้ร้องทั้งสองมิได้โต้แย้งก็ดี ผู้ร้องรายที่1 ได้ยื่นคำขอใหม่ก็ดี มิได้มีบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามไม่ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาล ศาลย่อมมีคำสั่งให้ยกเลิกมติและคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการพิจารณาคำขอลดหนี้ของผู้ร้องรายที่ 1 ที่ประชุมไปนั้นให้จัดประชุมใหม่ และให้ผู้ร้องรายที่ 2 มีสิทธิลงคะแนนได้พลางก่อนโดยมีเงื่อนไขตามมาตรา 35

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: หน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และขอบเขตอำนาจศาล
ในการตรวจคำขอรับชำระหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการสอบสวนแล้ว โดยผู้ขอรับชำระหนี้อ้างส่งเอกสารหลักฐานแห่งหนี้และอ้างตนเองเป็นพยาน ไม่ปรากฏว่านอกจากนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยังประสงค์จะอ้างอิงหลักฐานหรือพยานอื่นใดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเพิ่มเติมอีกทั้งในชั้นศาลชั้นต้นพิจารณาผู้ขอรับชำระหนี้ก็มิได้ร้องขอให้ศาลสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนพยานเพิ่มเติม และในชั้นอุทธรณ์ก็มิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์สั่งให้มีการสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก จึงไม่มีเหตุอย่างใดที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนเพิ่มเติมแล้วทำความเห็นใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับการสอบสวนคดีล้มละลาย: ดุลพินิจในการมอบอำนาจร้องทุกข์
แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 160จะบัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย ก็ไม่เป็นการตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนกรณีเดียวกันนี้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะสอบสวนผู้ใด หรือจะมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้ใดเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ดำเนินการสอบสวน ผู้เสียหายก็ชอบที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้ด้วยตนเอง จะบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนหรือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้นั้นผู้นี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนคดีล้มละลาย และสิทธิของผู้เสียหายในการร้องทุกข์
แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 160 จะบัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย ก็ไม่เป็นการตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนกรณีเดียวกันนี้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะสอบสวนผู้ใด หรือจะมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้ใดเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ดำเนินการสอบสวน ผู้เสียหายก็ชอบที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้ด้วยตนเองจะบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนหรือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้นั้นผู้นี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความหลังศาลพิพากษาตามยอม ถือเป็นสิทธิและหน้าที่ตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ล้มละลายไม่อาจปฏิเสธได้
จำเลยถูกผู้ร้องฟ้องคดีแพ่งเรื่องผิดสัญญาซื้อขายที่ดินคดีนั้นจำเลยกับผู้ร้องได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้ว่า จำเลยจะออกโฉนดที่พิพาทแล้วโอนให้ผู้ร้อง โดยผู้ร้องจะต้องชำระราคาที่ดินอีก 10,000 บาทให้จำเลย ต่อมาจำเลยถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และที่ดินมีราคาสูงขึ้นเป็น 100,000 บาท เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรา 122 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2485 มาบอกปัดความผูกพันตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเพราะสิทธิที่จะเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระราคาที่ดินอีก 10,000 บาทนั้น มิใช่สิทธิตามสัญญาโดยแท้ แต่เป็นสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว ถือได้ว่าเป็นสิทธิตามคำพิพากษานั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมมีสถานะเป็นคำพิพากษา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจยกเว้นการปฏิบัติตามได้
จำเลยถูกผู้ร้องฟ้องคดีแพ่งเรื่องผิดสัญญาซื้อขายที่ดินคดีนั้นจำเลยกับผู้ร้องได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้ว่า จำเลยจะออกโฉนดที่พิพาทแล้วโอนให้ผู้ร้อง โดยผู้ร้องจะต้องชำระราคาที่ดินอีก 10,000 บาทให้จำเลย ต่อมาจำเลยถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และที่ดินมีราคาสูงขึ้นเป็น 100,000 บาทเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรา 122 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2485 มาบอกปัดความผูกพันตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเพราะสิทธิที่จะเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระราคาที่ดินอีก 10,000 บาท นั้นมิใช่สิทธิตามสัญญาโดยแท้ แต่เป็นสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว ถือได้ว่าเป็นสิทธิตามคำพิพากษานั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเห็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ vs. คำสั่งศาล: สิทธิอุทธรณ์ของผู้ขอรับชำระหนี้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นส่งสำนวนต่อศาลในกรณีที่มีผู้ขอรับชำระหนี้ แม้จะเห็นควรให้ยกคำขอนั้นเสีย ลำพังความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีผลบังคับอย่างใด ศาลอาจวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นก็ได้ ฉะนั้น จึงยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อย่างใดที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 146 ผู้ขอรับชำระหนี้จะมายื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งกลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไปอย่างใดแล้ว ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเห็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีผลผูกพันศาลไม่ได้ ผู้ขอรับชำระหนี้ต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลภายในกำหนด
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นส่งสำนวนต่อศาลในกรณีที่มีผู้ขอรับชำระหนี้ แม้จะเห็นควรให้ยกคำขอนั้นเสีย ลำพังความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีผลบังคับอย่างใด ศาลอาจวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นก็ได้ ฉะนั้นจึงยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อย่างใดที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 146 ผู้ขอรับชำระหนี้จะมายื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งกลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไปอย่างใดแล้ว ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการอายัดทรัพย์และการพิจารณาของศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดทรัพย์ของลูกหนี้ผู้ล้มละลาย แล้วต่อมามีผู้คัดค้าน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้สอบสวนพยานของผู้คัดค้านแล้วสั่งถอนการอายัดนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจทำได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 19 และเมื่อผู้ร้องร้องต่อศาลขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งกลับคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ศาลก็มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรเป็นราย ๆ ไป ตามมาตรา 146 กรณีไม่เข้ามาตรา 158 ซึ่งเป็นเรื่องที่มีผู้คัดค้านว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจยึดทรัพย์.
of 19