พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5360/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ของผู้ไม่เป็นคู่ความ: กรณีบุคคลภายนอกคดีล้มละลายไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันนำยึดที่ดินพร้อมบ้านพิพาทซึ่งมีลูกหนี้ที่ 2 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์และจำนองไว้แก่ผู้ร้อง ส. ยื่นคำร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านว่าบ้านหลังดังกล่าวเป็นของตนขอให้ผู้คัดค้าน ถอนการยึด ผู้คัดค้านสอบสวน แล้วมีคำสั่งให้ถอนการยึด ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งกลับหรือแก้ไขคำสั่งของ ผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ผู้คัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความใน คดีโดยยื่นคำคัดค้านต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านโดยไม่ให้ถอนการยึด ผู้คัดค้านไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ แต่ ส. อุทธรณ์ คู่ความในคดีคือ ผู้ร้องและผู้คัดค้านเท่านั้น ส่วนส.เป็นบุคคลภายนอกคดีไม่ใช่คู่ความที่ถูกโต้แย้งสิทธิในชั้นนี้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ไม่มีสิทธิที่จะเข้ามาในคดีเพื่ออุทธรณ์ และฎีกาในคดีนี้ได้ สิทธิของ ส. จะมีอย่างไรเป็นเรื่องที่ส.จะต้องไปดำเนินการอีกเรื่องหนึ่งส. จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือแจ้งให้โอนทรัพย์สินจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ถือเป็นคำสั่งที่ผู้ร้องต้องปฏิบัติตาม
การที่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องโอนที่ดินคืนแก่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นการกระทำในขั้นตอนของการจัดกิจการและทรัพย์สิน ของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และ 24 แต่ตามหนังสือของผู้คัดค้านดังกล่าวเป็นเพียงแจ้งข้อเท็จจริงประกอบข้อกฎหมายให้ผู้ร้องทราบ แม้ในตอนท้ายจะมี ข้อความขอให้ผู้ร้องโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินคืนแก่ลูกหนี้ที่ 1 หาก ไม่ปฏิบัติตาม ผู้คัดค้านจะดำเนินการตามกฎหมายก็ตาม ก็มีลักษณะเป็นเพียงคำชี้แนะของผู้คัดค้าน มิใช่เป็นคำสั่ง หรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่ผู้ร้องต้องปฏิบัติตาม ถ้าผู้ร้องเห็นว่า คำชี้แนะไม่ถูกต้อง ผู้ร้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ ฉะนั้น ลำพัง หนังสือของผู้คัดค้านที่แจ้งไปยังผู้ร้องดังกล่าว จึงยังไม่เป็นการ กระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 ผู้ร้องจึงไม่มี อำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งกลับหรือแก้ไขได้ ฎีกาผู้ร้องที่ว่า ภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด ผู้คัดค้านมิได้ตรวจสอบอายัดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1โดยเร็ว เป็นเหตุให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับซื้อที่ดินในภายหลังได้ รับความเสียหาย และผู้คัดค้านไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอน การโอนที่ดินดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นโมฆะเพราะคดีขาดอายุความ เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้เป็นประเด็นประกอบ กับคดีนี้ศาลชั้นต้นงดไต่สวนคำร้องโดยเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ แล้วมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยข้อกฎหมาย จึงเป็นการที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำร้องขอของ ผู้คัดค้านซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 คดีจึงเสร็จไปทั้งเรื่องตามปัญหาข้อกฎหมายดังที่วินิจฉัยแล้ว ไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาอื่นตามฎีกาผู้ร้องอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแจ้งให้โอนคืน แต่ไม่สร้างหนี้ได้
หนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเป็นเพียงหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้ร้องรับรู้ว่าการรับโอนที่ดินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับ อ.และระหว่างอ.กับผู้ร้องเป็นการโอนขายที่ดินภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด แม้จะมีถ้อยคำขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1ภายใน 30 วัน อยู่ด้วยก็ตาม แต่เมื่อผลถึงที่สุดแล้วหากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม ผู้คัดค้านหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 ก็หามีอำนาจที่จะถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นเด็ดขาดไม่เพราะไม่ถือว่าการที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวคืนเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่ 1 ที่มีมาก่อนการขอให้ลูกหนี้ที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับความเสียหายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิของบุคคลภายนอกและขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ขอให้ ผู้ร้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 สืบเนื่องมาจากการสอบสวนของผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์และทราบมาว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำนิติกรรม โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 4 แปลง ให้แก่ อ.ต่อมาอ. กับบุคคลอื่นได้รวมโฉนดที่ดินทั้ง 4 แปลง เข้าด้วยกัน เป็นโฉนดเดียว แล้วแบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงหรือหลายโฉนด โอนขายให้ผู้ร้อง 8 แปลง การโอนที่ดินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับ อ.และระหว่างอ. กับผู้ร้องเป็นการโอนภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดการที่ผู้คัดค้านมีความเห็นว่าการที่ลูกหนี้ที่ 1 โอนที่ดิน ให้แก่ อ. และที่ อ. โอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายล้มละลายนั้น แต่การกระทำดังกล่าวที่เกี่ยวกับผู้ร้องต้องถือว่าผู้ร้อง เป็นบุคคลภายนอก และสิทธิของบุคคลภายนอกหากจะได้รับ ผลกระทบถึง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินคดี ขอให้เพิกถอนต่อไป แต่หนังสือของผู้คัดค้านที่มีไปถึงผู้ร้อง แจ้งหรือเตือนให้ผู้ร้องรับรู้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินดังกล่าวทั้ง 8 แปลง ไม่ชอบเท่านั้น แม้จะมีถ้อยคำ ขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ภายใน 30 วัน ไว้ด้วยก็ตาม แต่เมื่อผลถึงที่สุดแล้ว หากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ของลูกหนี้ก็หามีอำนาจที่จะถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สิน ของลูกหนี้เป็นเด็ดขาดไม่ เพราะไม่ถือว่าการที่จะต้อง โอนที่ดินดังกล่าวคืนเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีมาก่อนการขอให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้อง จึงยังไม่ได้รับความเสียหายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ดังนี้ ผู้ร้องจะยื่นคำร้อง ขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิของบุคคลภายนอกและขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ขอให้ผู้ร้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 สืบเนื่องมาจากการสอบสวนของผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และทราบมาว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 4 แปลง ให้แก่ อ. ต่อมา อ.กับบุคคลอื่นได้รวมโฉนดที่ดินทั้ง 4 แปลง เข้าด้วยกันเป็นโฉนดเดียว แล้วแบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงหรือหลายโฉนดโอนขายให้ผู้ร้อง 8 แปลง การโอนที่ดินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับ อ.และระหว่างอ.กับผู้ร้องเป็นการโอนภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดการที่ผู้คัดค้านมีความเห็นว่าการที่ลูกหนี้ที่ 1 โอนที่ดินให้แก่ อ.และที่ อ.โอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายล้มละลายนั้น แต่การกระทำดังกล่าวที่เกี่ยวกับผู้ร้องต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอก และสิทธิของบุคคลภายนอกหากจะได้รับผลกระทบถึง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินคดีขอให้เพิกถอนต่อไป แต่หนังสือของผู้คัดค้านที่มีไปถึงผู้ร้องแจ้งหรือเตือนให้ผู้ร้องรับรู้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวทั้ง 8 แปลง ไม่ชอบเท่านั้น แม้จะมีถ้อยคำขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ภายใน 30 วัน ไว้ด้วยก็ตาม แต่เมื่อผลถึงที่สุดแล้วหากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ก็หามีอำนาจที่จะถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นเด็ดขาดไม่ เพราะไม่ถือว่าการที่จะต้องโอนที่ดินดังกล่าวคืนเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีมาก่อนการขอให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับความเสียหายตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ดังนี้ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีมติให้เช่าทรัพย์สิน - ความเสียหายต้องเกิดขึ้นจริง
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 บัญญัติให้สิทธิบุคคลผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำ หรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำขอ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งยืนตามกลับหรือ แก้ไขหรือสั่งประการใดตามที่ศาลเห็นสมควรได้ แต่ตามคำร้องของผู้ร้องปรากฏเพียงว่า ที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งสองครั้ง มีมติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนำพื้นที่ลานจอดรถ ชั้นที่ 1 ของอาคารซึ่งเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ออกให้บุคคลภายนอก เช่าเพื่อหาผลประโยชน์เข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้ดำเนินการอย่างใดตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้และยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้ร้องแต่ประการใด ดังนั้น ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับความเสียหาย ผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการกระทำของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม มาตรา 146 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องร้องเมื่อยังไม่เกิดความเสียหายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้ระงับในการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะนำพื้นที่จอดรถในชั้นที่ 1 ซึ่งผู้ร้องเช่าจากลูกหนี้มีกำหนด 20 ปี ไปให้ผู้อื่นเช่า และหากมีการทำสัญญาเช่าไปแล้ว ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า แต่ตามคำร้องของผู้ร้องปรากฏเพียงว่า ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนำพื้นที่ลานจอดรถชั้นที่ 1 ของอาคารซึ่งเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ออกให้บุคคลภายนอกเช่าเพื่อหาผลประโยชน์เข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น แต่ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้ดำเนินการอย่างใดตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ และยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องแต่ประการใด ดังนี้ เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้รับความเสียหาย ผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามคำร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: ความเสียหายต้องเกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้ระงับในการที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะนำพื้นที่จอดรถในชั้นที่ 1 ซึ่งผู้ร้องเช่าจากลูกหนี้มีกำหนด 20 ปี ไปให้ผู้อื่นเช่า และหากมีการทำสัญญาเช่าไปแล้ว ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า แต่ตามคำร้องของ ผู้ร้องปรากฏเพียงว่า ที่ประชุมเจ้าหนี้ มีมติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนำพื้นที่ลานจอดรถ ชั้นที่ 1 ของอาคารซึ่งเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ ออกให้บุคคลภายนอกเช่าเพื่อหาผลประโยชน์เข้ากองทรัพย์สิน ของลูกหนี้เท่านั้น แต่ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้ดำเนินการอย่างใดตามมติของที่ประชุม เจ้าหนี้ และยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องแต่ประการใด ดังนี้ เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้รับความเสียหาย ผู้ร้อง ไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการกระทำของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ตามคำร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องความเสียหายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเกิดจากการกระทำหรือคำวินิจฉัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายแล้ว
ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนำพื้นที่ลานจอดรถของอาคารซึ่งเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ออกให้บุคคลภายนอกเช่าเพื่อหาผลประโยชน์เข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น แต่ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้ระงับในการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะนำพื้นที่จอดรถซึ่งผู้ร้องเช่าจากลูกหนี้ไปให้ พ. หรือผู้อื่นเช่าและหากมีการทำสัญญาเช่าไปแล้ว ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า แต่ตามคำร้อง ของ ผู้ร้องนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้ ดำเนินการอย่างใดตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้และยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อม ไม่ได้รับความเสียหาย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาล เพิกถอนการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3845/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: เจตนาให้เจ้าหนี้ได้เปรียบ และสิทธิในการร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้คัดค้าน
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่มีผู้ขอรับชำระหนี้ต่อศาล แม้จะมีความเห็นควรให้ได้รับชำระหนี้ แต่ความเห็นของผู้คัดค้านนั้นไม่มีผลบังคับ เพราะศาลอาจพิจารณาวินิจฉัยและมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ ฉะนั้น จึงย่อมไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหายตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งกลับความเห็นของผู้คัดค้าน ต่อเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้อย่างไรแล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
ข้อฎีกาของผู้ร้องที่ว่า ตามคำสั่งของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยให้ธนาคาร ก.เป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อเป็นกรณีเดียวกับที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้แก้ไขความเห็นของผู้คัดค้านโดยให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก. แต่เมื่อผู้ร้องมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แม้วินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านว่าก่อนที่ผู้ร้องฟ้องให้จำเลยล้มละลายเพียง 21 วัน ซึ่งอยู่ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจดทะเบียนจำนองที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมให้ไว้แก่ธนาคาร ก. ตามพฤติการณ์เป็นการทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ขอให้ผู้คัดค้านพิจารณายกคำร้องขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก. ซึ่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้มีคำวินิจฉัยว่า ในปัญหาเรื่องการเพิกถอนการจำนองนั้น เนื่องจากธนาคาร ก.ผู้รับจำนอง ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินและให้สินเชื่อแก่บุคคลทั่วไป การที่ลูกหนี้ (จำเลย)กู้เงินประจำเพื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคาร ก.โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันซึ่งเป็นเรื่องปกติทางการค้าของธนาคาร จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะเพิกถอนการโอนตามมาตรา 115 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้ว ผู้คัดค้านวินิจฉัยให้ธนาคาร ก.ได้รับชำระหนี้ .. ย่อมแสดงว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันดังกล่าว ผู้คัดค้านเห็นไม่สมควรเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันดังกล่าวและมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 และมีคำขอให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองตามสัญญจำนองที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก.และให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องต่อไป จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินรายนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง กรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านแล้ว ผู้ร้องทั้งสองชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามมาตรา 146แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้
การเพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115เพียงแต่ลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความสุจริตของเจ้าหนี้ผู้ถูกเพิกถอน
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2537 ธนาคาร ก.ได้ให้จำเลยกู้เงินโดยจำเลยจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 67669 และ 67670 ไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ของตนเองให้แก่ธนาคาร ก. แต่จำเลยถูกผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายในวันที่ 6 ตุลาคม2537 ธนาคาร ก.จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยตามสัญญากู้เงินดังกล่าวในขณะมีการจดทะเบียนจำนอง ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 115 การที่จำเลยนำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไปทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้กับธนาคาร ก.ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ย่อมจะทำให้ธนาคาร ก.เจ้าหนี้รายนี้แต่ผู้เดียวมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามพฤติการณ์แห่งคดีย่อมเป็นการแสดงถึงเจตนาของจำเลยว่ามุ่งหมายให้ธนาคาร ก.ผู้รับจำนองได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ๆ
ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน ขอให้เพิกถอนการจำนองโดยผลของกฎหมายตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 การที่ผู้คัดค้านนำสืบหักล้างเพียงว่าธนาคาร ก.และจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้มาก่อน จึงไม่ขอเพิกถอนการจำนองให้ตามที่ผู้ร้องร้องขอนั้น เมื่อจำเลยกับธนาคาร ก.เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้และต้องด้วยเงื่อนไขที่ผู้ร้องจะร้องขอให้ผู้คัดค้านขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้ และผู้คัดค้านมีคำสั่งไม่ดำเนินการเพิกถอนการจำนองให้ผู้ร้อง จึงถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยหรือการกระทำของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 146 และกรณีตามคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลก็ปรากฏว่ามีการขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองรายนี้โดยสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องที่ขอไว้กับผู้คัดค้านต่อไป เท่ากับว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 จึงชอบที่ศาลจะสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งต่อไป
ข้อฎีกาของผู้ร้องที่ว่า ตามคำสั่งของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยให้ธนาคาร ก.เป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อเป็นกรณีเดียวกับที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้แก้ไขความเห็นของผู้คัดค้านโดยให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก. แต่เมื่อผู้ร้องมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แม้วินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านว่าก่อนที่ผู้ร้องฟ้องให้จำเลยล้มละลายเพียง 21 วัน ซึ่งอยู่ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจดทะเบียนจำนองที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมให้ไว้แก่ธนาคาร ก. ตามพฤติการณ์เป็นการทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ขอให้ผู้คัดค้านพิจารณายกคำร้องขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก. ซึ่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้มีคำวินิจฉัยว่า ในปัญหาเรื่องการเพิกถอนการจำนองนั้น เนื่องจากธนาคาร ก.ผู้รับจำนอง ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินและให้สินเชื่อแก่บุคคลทั่วไป การที่ลูกหนี้ (จำเลย)กู้เงินประจำเพื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคาร ก.โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันซึ่งเป็นเรื่องปกติทางการค้าของธนาคาร จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะเพิกถอนการโอนตามมาตรา 115 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้ว ผู้คัดค้านวินิจฉัยให้ธนาคาร ก.ได้รับชำระหนี้ .. ย่อมแสดงว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันดังกล่าว ผู้คัดค้านเห็นไม่สมควรเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันดังกล่าวและมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 และมีคำขอให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองตามสัญญจำนองที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก.และให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องต่อไป จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินรายนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง กรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านแล้ว ผู้ร้องทั้งสองชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามมาตรา 146แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้
การเพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115เพียงแต่ลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความสุจริตของเจ้าหนี้ผู้ถูกเพิกถอน
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2537 ธนาคาร ก.ได้ให้จำเลยกู้เงินโดยจำเลยจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 67669 และ 67670 ไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ของตนเองให้แก่ธนาคาร ก. แต่จำเลยถูกผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายในวันที่ 6 ตุลาคม2537 ธนาคาร ก.จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยตามสัญญากู้เงินดังกล่าวในขณะมีการจดทะเบียนจำนอง ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 115 การที่จำเลยนำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไปทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้กับธนาคาร ก.ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ย่อมจะทำให้ธนาคาร ก.เจ้าหนี้รายนี้แต่ผู้เดียวมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามพฤติการณ์แห่งคดีย่อมเป็นการแสดงถึงเจตนาของจำเลยว่ามุ่งหมายให้ธนาคาร ก.ผู้รับจำนองได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ๆ
ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน ขอให้เพิกถอนการจำนองโดยผลของกฎหมายตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 การที่ผู้คัดค้านนำสืบหักล้างเพียงว่าธนาคาร ก.และจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้มาก่อน จึงไม่ขอเพิกถอนการจำนองให้ตามที่ผู้ร้องร้องขอนั้น เมื่อจำเลยกับธนาคาร ก.เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้และต้องด้วยเงื่อนไขที่ผู้ร้องจะร้องขอให้ผู้คัดค้านขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้ และผู้คัดค้านมีคำสั่งไม่ดำเนินการเพิกถอนการจำนองให้ผู้ร้อง จึงถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยหรือการกระทำของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 146 และกรณีตามคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลก็ปรากฏว่ามีการขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองรายนี้โดยสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องที่ขอไว้กับผู้คัดค้านต่อไป เท่ากับว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 จึงชอบที่ศาลจะสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งต่อไป