คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 146

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3845/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: เจตนาให้เจ้าหนี้ได้เปรียบ และสิทธิในการร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้คัดค้าน
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่มีผู้ขอรับชำระหนี้ต่อศาล แม้จะมีความเห็นควรให้ได้รับชำระหนี้ แต่ความเห็นของผู้คัดค้านนั้นไม่มีผลบังคับ เพราะศาลอาจพิจารณาวินิจฉัยและมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ ฉะนั้น จึงย่อมไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหายตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งกลับความเห็นของผู้คัดค้าน ต่อเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้อย่างไรแล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
ข้อฎีกาของผู้ร้องที่ว่า ตามคำสั่งของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยให้ธนาคาร ก.เป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อเป็นกรณีเดียวกับที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้แก้ไขความเห็นของผู้คัดค้านโดยให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก. แต่เมื่อผู้ร้องมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แม้วินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านว่าก่อนที่ผู้ร้องฟ้องให้จำเลยล้มละลายเพียง 21 วัน ซึ่งอยู่ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจดทะเบียนจำนองที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมให้ไว้แก่ธนาคาร ก. ตามพฤติการณ์เป็นการทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ขอให้ผู้คัดค้านพิจารณายกคำร้องขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก. ซึ่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้มีคำวินิจฉัยว่า ในปัญหาเรื่องการเพิกถอนการจำนองนั้น เนื่องจากธนาคาร ก.ผู้รับจำนอง ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินและให้สินเชื่อแก่บุคคลทั่วไป การที่ลูกหนี้ (จำเลย)กู้เงินประจำเพื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคาร ก.โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันซึ่งเป็นเรื่องปกติทางการค้าของธนาคาร จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะเพิกถอนการโอนตามมาตรา 115 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้ว ผู้คัดค้านวินิจฉัยให้ธนาคาร ก.ได้รับชำระหนี้ .. ย่อมแสดงว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันดังกล่าว ผู้คัดค้านเห็นไม่สมควรเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันดังกล่าวและมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 และมีคำขอให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองตามสัญญจำนองที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก.และให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องต่อไป จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินรายนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง กรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านแล้ว ผู้ร้องทั้งสองชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามมาตรา 146แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้
การเพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115เพียงแต่ลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความสุจริตของเจ้าหนี้ผู้ถูกเพิกถอน
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2537 ธนาคาร ก.ได้ให้จำเลยกู้เงินโดยจำเลยจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 67669 และ 67670 ไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ของตนเองให้แก่ธนาคาร ก. แต่จำเลยถูกผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายในวันที่ 6 ตุลาคม2537 ธนาคาร ก.จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยตามสัญญากู้เงินดังกล่าวในขณะมีการจดทะเบียนจำนอง ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 115 การที่จำเลยนำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไปทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้กับธนาคาร ก.ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ย่อมจะทำให้ธนาคาร ก.เจ้าหนี้รายนี้แต่ผู้เดียวมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามพฤติการณ์แห่งคดีย่อมเป็นการแสดงถึงเจตนาของจำเลยว่ามุ่งหมายให้ธนาคาร ก.ผู้รับจำนองได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ๆ
ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน ขอให้เพิกถอนการจำนองโดยผลของกฎหมายตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 การที่ผู้คัดค้านนำสืบหักล้างเพียงว่าธนาคาร ก.และจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้มาก่อน จึงไม่ขอเพิกถอนการจำนองให้ตามที่ผู้ร้องร้องขอนั้น เมื่อจำเลยกับธนาคาร ก.เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้และต้องด้วยเงื่อนไขที่ผู้ร้องจะร้องขอให้ผู้คัดค้านขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้ และผู้คัดค้านมีคำสั่งไม่ดำเนินการเพิกถอนการจำนองให้ผู้ร้อง จึงถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยหรือการกระทำของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 146 และกรณีตามคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลก็ปรากฏว่ามีการขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองรายนี้โดยสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องที่ขอไว้กับผู้คัดค้านต่อไป เท่ากับว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 จึงชอบที่ศาลจะสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรื่องการรับเอกสารและงดสืบพยาน เป็นขั้นตอนการสอบสวน ยังไม่สร้างความเสียหาย
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านเพื่อขอผัดส่งต้นฉบับเอกสารที่อ้างเป็นพยานไว้ผู้คัดค้านไม่อนุญาต และมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง เป็นเรื่องที่อยู่ในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ ซึ่งผู้คัดค้านมีอำนาจสอบสวนในเรื่องหนี้สิน แล้วทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นต่อศาลตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 105การที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งงดการสอบสวนพยานหลักฐานของผู้ร้อง โดยถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจอ้างต้นฉบับเอกสารตามที่ผู้ร้องอ้างเป็นพยานไว้ และมีคำสั่งยกคำร้องที่ผู้ร้องขอผัดส่งต้นฉบับเอกสารหลังจากครบกำหนดวันนัดเป็นการกระทำในขั้นตอนของการสอบสวนตรวจคำขอรับชำระหนี้เท่านั้นยังไม่เป็นการแน่นอนว่าผู้คัดค้านจะทำความเห็นควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องหรือไม่ แม้ต่อมาหากผู้คัดค้านทำความเห็นควรอนุญาตหรือควรยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องด้วยเหตุใดก็ตาม ลำพังความเห็นของผู้คัดค้านก็หามีผลบังคับแต่อย่างใดไม่ เพราะศาลพิจารณาแล้วอาจยกคำขอรับชำระหนี้หรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ ฉะนั้น คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวจึงยังไม่เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามมาตรา 146 ผู้ร้องยังไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านในชั้นนี้ได้ ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งของผู้คัดค้านในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ ยังไม่ถึงขั้นทำให้ผู้ร้องเสียหายและไม่มีสิทธิขอให้ศาลกลับคำวินิจฉัย
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านเพื่อขอผัดส่งต้นฉบับเอกสารที่อ้างเป็นพยานไว้ผู้คัดค้านไม่อนุญาต และมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง เป็นเรื่องที่อยู่ในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ ซึ่งผู้คัดค้านมีอำนาจสอบสวนในเรื่องหนี้สิน แล้วทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นต่อศาลตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 105การที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งงดการสอบสวนพยานหลักฐานของผู้ร้อง โดยถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจอ้างต้นฉบับเอกสารตามที่ผู้ร้องอ้างเป็นพยานไว้ และมีคำสั่งยกคำร้องที่ผู้ร้องขอผัดส่งต้นฉบับเอกสารหลังจากครบกำหนดวันนัดเป็นการกระทำในขั้นตอนของการสอบสวนตรวจคำขอรับชำระหนี้เท่านั้นยังไม่เป็นการแน่นอนว่าผู้คัดค้านจะทำความเห็นควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องหรือไม่ แม้ต่อมาหากผู้คัดค้านทำความเห็นควรอนุญาตหรือควรยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องด้วยเหตุใดก็ตาม ลำพังความเห็นของผู้คัดค้านก็หามีผลบังคับแต่อย่างใดไม่ เพราะศาลพิจารณาแล้วอาจยกคำขอรับชำระหนี้หรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ ฉะนั้น คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวจึงยังไม่เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามมาตรา 146 ผู้ร้องยังไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านในชั้นนี้ได้ ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้: บทบาทของกรรมการเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 37 บัญญัติให้ที่ประชุมเจ้าหนี้อาจลงมติตั้งกรรมการเจ้าหนี้ไว้เพื่อแทนเจ้าหนี้ทั้งหลายในกิจการเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้กรรมการเจ้าหนี้ย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเจ้าหนี้ทั้งหลายในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ เมื่อที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ประการใดแล้วมติดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายนั้นเอง ดังนั้น คำร้องของผู้ร้องที่ขอให้แก้ไขมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ซึ่งตามมาตรา 36ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นได้ โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติ ผู้ร้องหามีสิทธิเช่นว่านั้นไม่ และหากถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ผู้ร้องก็มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรจากการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดให้มีการประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ร้องอาจใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ได้ ดังนี้ จึงไม่มีเหตุแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจมติที่ประชุมเจ้าหนี้และการร้องคัดค้านมติในคดีล้มละลาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 37 บัญญัติให้ที่ประชุมเจ้าหนี้อาจลงมติตั้งกรรมการเจ้าหนี้ไว้เพื่อแทนเจ้าหนี้ทั้งหลายในกิจการเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ กรรมการเจ้าหนี้ย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเจ้าหนี้ทั้งหลายในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ เมื่อที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ประการใดแล้ว มติดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายนั้นเอง ดังนั้น คำร้องของผู้ร้องที่ขอให้แก้ไขมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ซึ่งตามมาตรา 36ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นได้ โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติ ผู้ร้องหามีสิทธิเช่นว่านั้นไม่ และหากถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ผู้ร้องก็มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรจากการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดให้มีการประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ร้องอาจใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ได้ ดังนี้ จึงไม่มีเหตุแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการเจ้าหนี้และสิทธิในการคัดค้านมติ – เจ้าหนี้ต้องใช้อำนาจตามกม.ผ่านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา37บัญญัติให้ที่ประชุมเจ้าหนี้อาจลงมติตั้งกรรมการเจ้าหนี้ไว้เพื่อแทนเจ้าหนี้ทั้งหลายในกิจการเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้กรรมการเจ้าหนี้ย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเจ้าหนี้ทั้งหลายในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ประการใดแล้วมติดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายนั้นเองดังนั้นคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้แก้ไขมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายซึ่งตามมาตรา36ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นได้โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายใน7วันนับแต่วันที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติผู้ร้องหามีสิทธิเช่นว่านั้นไม่และหากถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา146ผู้ร้องก็มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรจากการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดให้มีการประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ร้องอาจใช้สิทธิตามมาตรา146ได้ดังนี้จึงไม่มีเหตุแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ทายาทไม่มีสิทธิร้องขอ
ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่เห็นชอบด้วยกับมติที่ประชุมเจ้าหนี้เนื่องจากผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ดำเนินการตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ลงมติยอมรับข้อเสนอของจำเลยอื่น ๆ ในคดีแพ่งซึ่งเป็นมติที่ไม่ชอบ คำร้องของผู้ร้องมีผลเป็นการขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 36 ซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ที่จะขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาด: กำหนดระยะเวลาการยื่นคำร้อง
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 1 ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 การที่ ด.ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องได้ทราบวันขายทอดตลาด แต่ไม่มาดูแลการขาย ต้องถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงการขายทอดตลาดในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 ดังกล่าวด้วย ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2535 จึงเกินสิบสี่วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบถึงการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาดล่าช้าเกินกำหนดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 146
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่1ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่13พฤศจิกายน2535การที่ด.ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องได้ทราบวันขายทอดตลาดแต่ไม่มาดูแลการขายต้องถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงการขายทอดตลาดในวันที่13พฤศจิกายน2535ดังกล่าวด้วยผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดเมื่อวันที่3ธันวาคม2535จึงเกินสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้ร้องทราบถึงการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่1ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมดสิทธิคัดค้านการขายทอดตลาดจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เนื่องจากยื่นคำร้องเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 1 ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 การที่ ด.ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องได้ทราบวันขายทอดตลาด แต่ไม่มาดูแลการขาย ต้องถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงการขายทอดตลาดในวันที่13 พฤศจิกายน 2535 ดังกล่าวด้วย ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2535 จึงเกินสิบสี่วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบถึงการกระทำหรือ คำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ 1ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146
of 19