คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 146

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนอมหนี้หลังล้มละลาย: อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผลผูกพันของข้อตกลง
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายและมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายกับให้ลูกหนี้มีอำนาจเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา63ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากภาวะล้มละลายและมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินได้ต่อไปและการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบแล้วย่อมผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา63ประกอบมาตรา56ดังนั้นลูกหนี้จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายเท่านั้นและถ้าลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะรายงานต่อศาลให้มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา63ประกอบมาตรา60เจ้าหนี้จะยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขการประนอมหนี้โดยให้ลูกหนี้นำเงินที่มีสิทธิจะได้จากการขายทอดตลาดในคดีแพ่งมาชำระหนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หาได้ไม่เพราะเท่ากับเป็นการขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนอกเหนือไปจากอำนาจหน้าที่และเป็นการเข้าไปจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้โดยตรงในขณะที่ลูกหนี้หลุดพ้นจากการล้มละลายแล้วไม่ว่าภายหลังจากนั้นจะเกิดมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างไรและแม้จะมีผลทำให้เจ้าหนี้สามารถได้รับชำระหนี้ได้เร็วกว่าที่ลูกหนี้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ก็ไม่อาจร้องขอให้นัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขข้อตกลงประนอมหนี้นอกเหนือไปจากที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้นั้นได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเรียกประชุมเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการประชุมเจ้าหนี้ แม้ยังไม่ได้รับชำระหนี้
แม้ศาลจะยังไม่ได้มีคำสั่งให้ ก.ซึ่งได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายในระยะเวลาตามกฎหมายได้รับชำระหนี้ ก็ถือได้ว่า ก.เป็นเจ้าหนี้ในคดี ย่อมมีสิทธิเข้าประชุมเจ้าหนี้และออกเสียงลงคะแนนได้ตามมาตรา34 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ส่วนการที่จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยแค่ไหนเพียงใดนั้น เป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งต่อไปในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ การที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้ ก.ได้รับชำระหนี้ไม่เป็นเหตุที่จะต้องเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกซึ่งต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุดตามมาตรา31 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการประชุมเจ้าหนี้แม้ยังไม่มีคำสั่งรับชำระหนี้ - การดำเนินการประชุมเจ้าหนี้ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
แม้ศาลจะยังไม่ได้มีคำสั่งให้ ก. ซึ่งได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายในระยะเวลาตามกฎหมายได้รับชำระหนี้ก็ถือได้ว่าก. เป็นเจ้าหนี้ในคดีย่อมมีสิทธิเข้าประชุมเจ้าหนี้และออกเสียงลงคะแนนได้ตามมาตรา34แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ส่วนการที่จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยแค่ไหนเพียงใดนั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งต่อไปในสำนวนคำขอรับชำระหนี้การที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้ ก. ได้รับชำระหนี้ไม่เป็นเหตุที่จะต้องเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกซึ่งต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุดตามมาตรา31แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ศาลล้มละลายมีอำนาจพิจารณา
ปัญหาเรื่องอำนาจในการยื่นคำร้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ จำเลยร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่มีคำสั่งไม่เข้าดำเนินคดีร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยตามคำขอของจำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา146แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งยืนตามกลับหรือแก้ไขหรือสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรได้คดีตามคำร้องของจำเลยเป็นสาขาคดีหนึ่งของกระบวนพิจารณาในคดีล้มละลายที่จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดศาลในคดีส่วนล้มละลายจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามคำร้องของจำเลยศาลในคดีส่วนแพ่งคดีนี้ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามคำร้องของจำเลยได้การที่จำเลยยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีล้มละลาย: การร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลในคดีส่วนแพ่งคัดค้านคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่มีคำสั่งไม่เข้าดำเนินคดี ร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยในคดีส่วนแพ่งตามคำขอของจำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483อันเป็นสาขาคดีหนึ่งของกระบวนพิจารณาในคดีล้มละลายที่จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลในคดีส่วนล้มละลายจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามคำร้องของจำเลย ศาลในคดีส่วนแพ่งไม่มีอำนาจรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีล้มละลาย: ศาลล้มละลายมีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ
ปัญหาเรื่องอำนาจในการยื่นคำร้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่มีคำสั่งไม่เข้าดำเนินคดีร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยตามคำขอของจำเลย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งยืนตามกลับหรือแก้ไขหรือสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรได้ คดีตามคำร้องของจำเลยเป็นสาขาคดีหนึ่งของกระบวนพิจารณาในคดีล้มละลาย ที่จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลในคดีส่วนล้มละลายจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามคำร้องของจำเลยศาลในคดีส่วนแพ่งคดีนี้ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามคำร้องของจำเลยได้การที่จำเลยยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ส่อเจตนาสมรู้ราคา เจ้าพนักงานบังคับคดีและผู้ประมูล
การที่ ฉ. เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดปรึกษากับ ป.ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่งแล้วได้เรียก พ. ผู้เข้าสู้ราคาเข้าไปคุยแม้ ม. ผู้รับมอบอำนาจจำเลยทั้งสองให้มาดูแลการขายทอดตลาดไม่ได้ยินการคุยกันต่อจากนั้น ฉ. ประกาศถาม พ.อีกว่าจะให้ราคาสูงกว่า38,000,000บาทหรือไม่ พ. ได้ยืนขึ้นเสนอให้ราคาเป็น40,000,000บาทการกระทำของ ฉ. และ พ.ดังกล่าวส่อเจตนาว่า ฉ. ได้เรียก พ. ไปแนะนำให้เสนอราคาเพิ่มให้สูงกว่าราคาที่ผู้คัดค้านประเมินไว้เพื่อที่ ป. จะอนุมัติให้ ฉ. ขายให้แก่ พ. นั่นเองการที่ พ. เสนอราคาเพิ่มเป็น40,000,000บาทแล้ว ป. อนุมัติให้ขายได้เช่นนี้ส่อพิรุธเป็นข้อสงสัยได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดโดยสมรู้ราคากับพ. ผู้เข้าสู้ราคาซึ่งเป็นผู้ซื้อได้การขายทอดตลาดทรัพย์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดโดยสมรู้ร่วมคิด เจ้าพนักงานบังคับคดีส่อเจตนาช่วยเหลือผู้เข้าสู้ราคา
การที่ ฉ. เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดปรึกษากับ ป.ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง แล้วได้เรียก พ. ผู้เข้าสู้ราคาเข้าไปคุย แม้ ม.ผู้รับมอบอำนาจจำเลยทั้งสองให้มาดูแลการขายทอดตลาดไม่ได้ยินการคุยกัน ต่อจากนั้น ฉ. ประกาศถาม พ. อีกว่า จะให้ราคาสูงกว่า 38,000,000 บาท หรือไม่พ. ได้ยืนขึ้นเสนอให้ราคาเป็น 40,000,000 บาท การกระทำของ ฉ. และ พ.ดังกล่าวส่อเจตนาว่า ฉ. ได้เรียก พ. ไปแนะนำให้เสนอราคาเพิ่มให้สูงกว่าราคาที่ผู้คัดค้านประเมินไว้เพื่อที่ ป. จะอนุมัติให้ ฉ. ขายให้แก่ พ. นั่นเอง การที่พ. เสนอราคาเพิ่มเป็น 40,000,000 บาท แล้ว ป. อนุมัติให้ขายได้ เช่นนี้ส่อพิรุธเป็นข้อสงสัยได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดโดยสมรู้ราคากับ พ. ผู้เข้าสู้ราคา ซึ่งเป็นผู้ซื้อได้ การขายทอดตลาดทรัพย์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1859/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากราคาขายต่ำเกินไป และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับมอบหมายจาก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ทำการ ขายทอดตลาดแทนมีฐานะเป็น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์สินของจำเลยในราคาต่ำทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลา14วันนับแต่วันที่ได้ทราบขอให้ศาล เพิกถอนการขายและประกาศขายทอดตลาดใหม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา146กรณีไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองที่จะอนุโลมนำมาใช้ได้เพราะพระราชบัญญัติล้มละลายฯบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเพิกถอนการขายทอดตลาด: เจ้าหนี้ในคดีอื่นไม่มีสิทธิร้องขอ หากไม่เป็นเจ้าหนี้ในคดีนี้
การที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์โดยอ้างว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้ขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะขายได้โดยไม่พิจารณาว่าราคาที่ผู้เข้าสู้ราคาเสนอซื้อเป็นราคาที่เหมาะสมหรือไม่ทำให้ผู้ร้องตลอดจนเจ้าหนี้ทั้งหลายเสียหายได้รับชำระหนี้ตามส่วนเฉลี่ยลดน้อยลงและผู้คัดค้านไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบซึ่งวันขายทอดตลาดเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา146 ผู้ร้องมิใช่เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีนี้หากแต่เป็นเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายอื่นของศาลชั้นต้นและแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายในคดีอื่นดังกล่าวได้นำหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไว้ในคดีอื่นดังกล่าวทั้งหมดนั้นมาขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ไว้ซึ่งศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ได้รับชำระหนี้แล้วก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดของผู้คัดค้านในอันที่จะได้รับความเสียหายโดยการกระทำของผู้คัดค้านผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้คัดค้านในคดีนี้ได้และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา
of 19