พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนการขายทอดตลาด: ผู้ร้องต้องมีส่วนได้เสียโดยตรงจากการกระทำนั้น จึงจะสามารถร้องขอเพิกถอนได้
การที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์โดยอ้างว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้ขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะขายได้ โดยไม่พิจารณาว่าราคาที่ผู้เข้าสู้ราคาเสนอซื้อเป็นราคาที่เหมาะสมหรือไม่ ทำให้ผู้ร้องตลอดจนเจ้าหนี้ทั้งหลายเสียหายได้รับชำระหนี้ตามส่วนเฉลี่ยลดน้อยลง และผู้คัดค้านไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบซึ่งวันขายทอดตลาดเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 146
ผู้ร้องมิใช่เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ หากแต่เป็นเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายอื่นของศาลชั้นต้น และแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายในคดีอื่นดังกล่าวได้นำหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไว้ในคดีอื่นดังกล่าวทั้งหมดนั้นมาขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ไว้ ซึ่งศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ได้รับชำระหนี้แล้วก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดของผู้คัดค้านในอันที่จะได้รับความเสียหายโดยการกระทำของผู้คัดค้าน ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้คัดค้านในคดีนี้ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา
ผู้ร้องมิใช่เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ หากแต่เป็นเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายอื่นของศาลชั้นต้น และแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายในคดีอื่นดังกล่าวได้นำหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไว้ในคดีอื่นดังกล่าวทั้งหมดนั้นมาขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ไว้ ซึ่งศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ได้รับชำระหนี้แล้วก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดของผู้คัดค้านในอันที่จะได้รับความเสียหายโดยการกระทำของผู้คัดค้าน ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้คัดค้านในคดีนี้ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้สู้ราคาสู้ราคาเกินกำหนด ผู้ขายมีสิทธิ์เคาะไม้ขายได้
ผู้คัดค้านได้ทำการขายทอดตลาดที่ดินของลูกหนี้โดยกำหนดเงื่อนไขในการขายไว้ว่าผู้คัดค้านจะขานราคาครั้งแรกเป็นเงิน 11,400,000 บาท และผู้สู้ราคาจะต้องเสนอสู้ราคาเพิ่มขึ้นเป็นเงินครั้งละ 100,000 บาท เมื่อผู้สู้ราคาเสนอสู้ราคาแล้วผู้คัดค้านจะขานราคาและนับ 1 สามสี่ครั้ง หากมีผู้สู้ ราคาสูงขึ้นก็จะขานราคาและนับ 1 สามสี่ครั้งใหม่ การขานราคาแต่ละครั้งผู้คัดค้านจะบันทึกราคาไว้เป็นหลักฐานแล้วอ่านให้ผู้สู้ราคาซื้อทรัพย์ฟังด้วย หากไม่มีผู้ใดสู้ราคาอีกก็จะนับ 2 สามสี่ครั้ง เพื่อรอให้มีการสู้ราคาสูงขึ้น ถ้าหากไม่มีผู้ใดสู้ราคาแล้ว ผู้คัดค้านจะหยุดราคาไว้แล้วนำเสนอผู้อำนวยการขายทอดตลาดพิจารณาและมีคำสั่งว่าจะอนุมัติให้ขายหรือไม่ เมื่อมีคำสั่งประการใดผู้คัดค้านก็จะปฎิบัติตามคำสั่งนั้น ในกรณีมีคำสั่งอนุมัติให้ขายผู้คัดค้านจะนับ 3 และเคาะไม้โดยไม่เปิดโอกาสให้มีการสู้ราคาต่อไปอีก เป็นคำโฆษณาบอกขายที่ผู้คัดค้านได้แถลงไว้ก่อน เผดิมการสู้ราคา ซึ่งมีผลผูกพันผู้ซื้อตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 510 เมื่อผู้คัดค้านเปิดประมูลการขายทอดตลอด ผู้เข้าสู้ราคาซื้อทรัพย์ได้เสนอราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งผู้ทรัพย์เสนอราคาที่ 12,100,000 บาท ผู้คัดค้านได้ขานราคาและนับไปถึง 2 แล้ว ปรากฎว่าไม่มีผู้ใดสู้ราคาให้สูงขึ้นไปอีกผู้คัดค้านจึงหยุดราคาไว้แล้วเสนอเรื่องให้ผู้อำนวยการขายทอดตลาดพิจารณา ระหว่างนี้ผู้ร้องได้เสนอราคาสูงขึ้นไปอีกเป็นเงิน 12,200,000 บาท แต่ผู้คัดค้านไม่ยินยอมให้มีการสู้ราคาต่อไปและได้นับ 3 แล้วเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ตามที่ได้รับอนุมัติให้ขายจากผู้อำนวยการขายทอดตลาด เช่นนี้การกระทำของผู้คัดค้านจึงชอบกฎหมาย การที่ผู้ร้องได้เสนอสู้ราคาสูงขึ้นไปอีกในระหว่างนั้น เป็นการสู้ราคาเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ผู้คัดค้านได้โฆษณาเปิดโอกาสให้มีการสู้ราคาได้ การสู้ราคาดังกล่าวจึงไม่มีผลตามกฎหมายและไม่เป็นเหตุให้ต้องเปิดการประมูลสู้ราคากันต่อไปอีก เพราะมิฉะนั้นแล้วการขายทอดตลาดก็อาจจะยืดเยื้อออกไปไม่มีที่สิ้นสุด การขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายหรือในคดีอื่น ๆผลปฎิบัติย่อมจะต้องเป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือจะต้องขายให้เป็นผลดีทั้งแก่เจ้าหนี้และลูกหนี้รวมตลอดถึงบุคคลที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อมีการขายทอดตลาดไม่มีข้อโต้แย้งว่า ผู้คัดค้านขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาต่ำกว่าราคาในท้องตลาด จึงไม่มีข้อที่จะยกขึ้นมาอ้างว่าการขายทอดตลาดมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่จะยกมาเป็นเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ การขายทอดตลาดของผู้คัดค้านจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากราคาต่ำกว่าท้องตลาด แสดงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้อง
คำร้องของผู้ร้องกล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินในราคาต่ำกว่าราคาท้องตลาดมาก ซึ่งหากเป็นจริงดังคำร้อง ก็เป็นข้อแสดงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ใช้ดุลพินิจในการขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อให้ได้ราคาดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ อันถือได้ว่าเป็นการร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งทำให้ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายได้รับความเสียหายกรณีต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ชอบที่ศาลจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้ทำการไต่สวนต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5907/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดหลังพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายล้มละลาย และผลของการตกลงประนีประนอม
การที่โจทก์ยื่นคำร้องว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปโดยไม่ชอบและโจทก์ต้องเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการกระทำนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 146 คำร้องของโจทก์ไม่ว่าจะเป็นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดหรือขอให้ประกาศขายทอดตลาดใหม่ก็เป็นคำร้องที่ได้ยื่นเมื่อพ้นระยะเวลาที่จะยื่นคำร้องได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์ไม่อาจขอให้ระงับการโอนที่ดินที่ขายหรือขอให้ดำเนินการขายทอดตลาดใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5342/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทน
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 2 ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแทนโดยที่ดินดังกล่าวได้ถูกยึดในคดีแพ่งเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมก่อนแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอ้างว่าการขายทอดตลาดกระทำไปโดยไม่สุจริต ซึ่งหากเป็นความจริงย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงมีสิทธิยื่นคำร้องในคดีล้มละลายขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากราคาต่ำกว่าท้องตลาด จำเลยมีสิทธิคัดค้านได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมถือว่า การขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 คือผู้ล้มละลายย่อมมีอำนาจร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตาม มาตรา 22
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและทำการขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ผิดพลาดทำให้ขายทอดตลาดได้ในราคาต่ำแม้จะมิได้บรรยายว่าตนได้รับความเสียหายอย่างไรมาในคำร้องก็ถือเป็นคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146แล้ว กรณีมิใช่เรื่องการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายนี้ได้
แม้การขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังนับคับคดีตกลงขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ แม้จะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึด แต่ก็ต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กรมบังคับคดีประเมินไว้ ย่อมแสดงว่า ราคาขายทอดตลาดดังกล่าวตำกว่าราคาขายในท้องตลาดมาก เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้คัดค้านว่าราคาต่ำไป กรณีจึงไม่ควรด่วนขาย สมควรเลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วได้เสียและประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก หากได้ราคาสูงกว่าเดิมก็จะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งปวงที่จะได้รับชำระหนี้โดยทั่วกัน
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและทำการขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ผิดพลาดทำให้ขายทอดตลาดได้ในราคาต่ำแม้จะมิได้บรรยายว่าตนได้รับความเสียหายอย่างไรมาในคำร้องก็ถือเป็นคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146แล้ว กรณีมิใช่เรื่องการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายนี้ได้
แม้การขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังนับคับคดีตกลงขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ แม้จะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึด แต่ก็ต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กรมบังคับคดีประเมินไว้ ย่อมแสดงว่า ราคาขายทอดตลาดดังกล่าวตำกว่าราคาขายในท้องตลาดมาก เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้คัดค้านว่าราคาต่ำไป กรณีจึงไม่ควรด่วนขาย สมควรเลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วได้เสียและประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก หากได้ราคาสูงกว่าเดิมก็จะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งปวงที่จะได้รับชำระหนี้โดยทั่วกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ล้มละลายคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากราคาต่ำกว่าราคาตลาด และการเพิกถอนการขายทอดตลาด
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมถือว่าการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 คือผู้ล้มละลายย่อมมีอำนาจร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่ 2ตาม มาตรา 22 คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและทำการขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ผิดพลาดทำให้ขายทอดตลาดได้ในราคาต่ำแม้จะมิได้บรรยายว่าตนได้รับความเสียหายอย่างไรมาในคำร้องก็ถือเป็นคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 แล้ว กรณีมิใช่เรื่องการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายนี้ได้ แม้การขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตกลงขายให้ผู้ซื้อทรัพย์แม้จะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึด แต่ก็ต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กรมบังคับคดีประเมินไว้ ย่อมแสดงว่าราคาขายทอดตลาดดังกล่าวต่ำกว่าราคาขายในท้องตลาดมาก เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและจำเลยที่ 1ที่ 2 ได้คัดค้านว่าราคาต่ำไป กรณีจึงไม่ควรด่วนขาย สมควรเลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก หากได้ราคาสูงกว่าเดิมก็จะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งปวงที่จะได้รับชำระหนี้โดยทั่วกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4096/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองเฉพาะส่วนของเจ้าของร่วม: ผู้รับจำนองทราบข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวม การแบ่งแยกไม่ทำให้เสียหาย
การที่ผู้ร้องรับจำนองที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้คัดค้านที่ 2 เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 โดยผู้ร้องทราบถึงข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับจำเลยที่ 2 แม้ตามโฉนดที่ดินพิพาทและสัญญาจำนองที่ได้จดทะเบียนไว้จะมิได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นส่วนของผู้คัดค้านที่ 2 กับจำเลยที่ 2 ว่ามีอาณาเขตอย่างไร แต่เมื่อขณะทำสัญญาจดทะเบียนจำนอง ผู้ร้องทราบว่าที่ดินพิพาทส่วนของจำเลยที่ 2 อยู่ส่วนใดย่อมแสดงว่าผู้ร้องประสงค์รับจำนองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2ในส่วนนั้น การจำนองจึงครอบถึงที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 การที่ผู้คัดค้านที่ 1 อนุญาตให้ผู้คัดค้านที่ 2 นำโฉนดที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ตามบันทึกข้อตกลงจึงไม่เป็นการกระทำให้ผู้ร้องเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการคัดค้านการขายทอดตลาดของจำเลยในคดีล้มละลาย
จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีกมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการขาย-ทอดตลาดทรัพย์พิพาท มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 จะนำ มาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ เพราะมาตราดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเท่านั้น
คำสั่งของกรมบังคับคดี เรื่องการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงการกำหนดแนวทางในการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานขายทรัพย์เพื่อให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและรวดเร็วเท่านั้น หาใช่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม
คำสั่งของกรมบังคับคดี เรื่องการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงการกำหนดแนวทางในการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานขายทรัพย์เพื่อให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและรวดเร็วเท่านั้น หาใช่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยล้มละลายในการคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สิน และขอบเขตอำนาจของคำสั่งกรมบังคับคดี
จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีกมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 จะนำมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ เพราะมาตราดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเท่านั้น คำสั่งของกรมบังคับคดี เรื่องการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานขายทรัพย์เพื่อให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและรวดเร็วเท่านั้น หาใช่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม