พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6207/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบริจาคที่ดินเพื่อก่อตั้งมูลนิธิ: ที่ดินตกเป็นของมูลนิธิเมื่อจดทะเบียน
โจทก์ทำหนังสือบริจาคที่ดินพิพาทเพื่อเป็นกองทุนในการก่อตั้งมูลนิธิโลกุตรธรรมประทีป และมูลนิธิดังกล่าวจะทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2531ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินอันจัดสรรไว้เป็นแผนกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 81 เดิมซึ่งตรงกับมาตรา 110 ซึ่งตรวจชำระใหม่และย่อมตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่เวลาที่รัฐบาลให้อำนาจเป็นต้นไปตามมาตรา 87 เดิม ซึ่งตรงกับมาตรา 121 ซึ่งตรวจชำระใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมและการให้สัตยาบันโดยปริยาย การกระทำที่แสดงเจตนาปฏิบัติตามสัญญาหลังเหตุโมฆียะกรรมสูญสิ้นถือเป็นการให้สัตยาบัน
จำเลยไม่ได้ให้การว่าได้บอกล้างโมฆียะกรรมภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว การนำสืบของจำเลยที่ว่าได้โทรเลขแจ้งบอกล้างนิติกรรมไปยังโจทก์ก่อนวันที่พากันไปที่สำนักงานที่ดินจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกล้างโมฆียะกรรมก่อนวันที่โจทก์จำเลยพากันไปยังสำนักงานที่ดินเพื่อโอนที่ดินพิพาท แม้วันดังกล่าวภรรยาจำเลยคัดค้านว่า ที่ดินพิพาทเป็นของตนครึ่งหนึ่งจึงจดทะเบียนโอนกันไม่ได้ แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทที่ทำไว้กับโจทก์ตลอดมา จำเลยได้กระทำการดังกล่าวภายหลังเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะกรรมนั้นได้สูญสิ้นไปแล้ว การที่จำเลยไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อโอนที่ดินให้โจทก์อันเป็นการชำระหนี้ตามโมฆียะกรรมโดยจำเลยมิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดประการใด ถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมนั้นแล้วโดยปริยาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสมบูรณ์
คำให้การต่อสู้คดีนี้ของจำเลยฟังว่า จำเลยทำสัญญาดังกล่าวเพราะหลงเชื่อที่โจทก์นำความเท็จมาหลอกลวง สัญญาจึงตกเป็นโมฆะนั้น แม้จะถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม แต่เมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมก่อนยื่นคำให้การแล้ว ย่อมถือว่าการนั้นเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ไม่อาจบอกล้างได้
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกล้างโมฆียะกรรมก่อนวันที่โจทก์จำเลยพากันไปยังสำนักงานที่ดินเพื่อโอนที่ดินพิพาท แม้วันดังกล่าวภรรยาจำเลยคัดค้านว่า ที่ดินพิพาทเป็นของตนครึ่งหนึ่งจึงจดทะเบียนโอนกันไม่ได้ แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทที่ทำไว้กับโจทก์ตลอดมา จำเลยได้กระทำการดังกล่าวภายหลังเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะกรรมนั้นได้สูญสิ้นไปแล้ว การที่จำเลยไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อโอนที่ดินให้โจทก์อันเป็นการชำระหนี้ตามโมฆียะกรรมโดยจำเลยมิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดประการใด ถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมนั้นแล้วโดยปริยาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสมบูรณ์
คำให้การต่อสู้คดีนี้ของจำเลยฟังว่า จำเลยทำสัญญาดังกล่าวเพราะหลงเชื่อที่โจทก์นำความเท็จมาหลอกลวง สัญญาจึงตกเป็นโมฆะนั้น แม้จะถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม แต่เมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมก่อนยื่นคำให้การแล้ว ย่อมถือว่าการนั้นเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ไม่อาจบอกล้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ทำขึ้นโดยถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ หากบอกล้างสัญญาก็เป็นโมฆะ
โจทก์กับพวกประมาณ 8 คน ไปที่บ้านจำเลยซึ่งมีเพียงจำเลยอาศัยอยู่กับบุตร 2 คน อายุ 10 ปี และ 12 ปี แล้วโจทก์ข่มขู่จำเลยว่าหากไม่ลงชื่อในสัญญากู้จะรื้อหรือเผาบ้านจำเลยนั้น ถือได้ว่าเป็นภัยถึงขนาดที่จะจูงใจจำเลยให้มีมูลต้องกลัวว่าจะเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของตนเองอันใกล้จะถึงและร้ายแรงเท่ากับที่จะพึงกลัวต่อการอันเขากรรโชกเอานั้น สัญญากู้ที่จำเลยทำให้แก่โจทก์จึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญากู้ จำเลยให้การปฏิเสธโดยอ้างเหตุดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยบอกล้างสัญญากู้อันเป็นโมฆียะกรรมนั้นแล้วสัญญากู้จึงเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉล โมฆียะกรรม และอายุความบอกล้างนิติกรรม
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า โจทก์จำใจทำนิติกรรมขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ทั้ง ๆ ที่โจทก์ไม่สมัครใจก็ตาม แต่โจทก์ก็กล่าวด้วยว่าโจทก์มีความเชื่อ ในคำชี้แจงของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ว่า ถ้า การสร้างเขื่อนทั้งหลายตามโครงการของจำเลยที่ 1เสร็จ น้ำต้องท่วมที่ดินของโจทก์แน่ โจทก์จึงต้องขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องโจทก์กล่าวอ้างว่าถูกจำเลยที่ 1ใช้กลฉ้อฉลให้โจทก์ขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 อันเป็นผลให้สัญญาซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 121 ซึ่งตามมาตรา 143 โจทก์จะต้องบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นภายในเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้ แต่ต้องไม่ล่วงไปถึงสิบปีนับแต่เมื่อได้ทำโมฆียะกรรมนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ได้ทำสัญญาขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ถึงวันฟ้อง พ้นเวลาสิบปีแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจบอกล้างและฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทได้ ลำพังแต่เหตุตามฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าโจทก์ไม่สมัครใจขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น หาเป็นเหตุให้นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกเป็นโมฆะดัง ที่โจทก์ฎีกาไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างนิติกรรมโมฆียะต้องทำภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย หากพ้นกำหนดสิทธิฟ้องเพิกถอนจะหมดไป
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงให้โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย อันมีผลให้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 ซึ่งตามมาตรา 143 โจทก์ต้องบอกล้างภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้แต่ต้องไม่ล่วงไปถึงสิบปีนับแต่เมื่อได้ทำโมฆียะกรรมนั้นแล้วเมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การได้ความว่า นับแต่วันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทถึงวันฟ้องพ้นเวลาสิบปีแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจบอกล้างและฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ คำฟ้องของโจทก์อ้างแต่เพียงว่า โจทก์ไม่สมัครใจขายที่พิพาทให้แก่จำเลย ลำพังแต่เหตุดังกล่าว หาเป็นเหตุให้นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถนิติกรรมซื้อขายที่ดินจากกลฉ้อฉล เกิน 10 ปี ฟ้องขาดอายุความ
โจทก์เป็นบุตรและเป็นผู้จัดการมรดกของมารดาอ้างมูลเหตุในฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงมารดาโจทก์ว่า เมื่อจำเลยสร้างเขื่อนชลประทานและเขื่อนเก็บน้ำแล้วน้ำจะท่วมที่ดินของมารดาโจทก์ ให้มารดาโจทก์ขายที่ดินให้จำเลย มารดาโจทก์หลงเชื่อจึงขายที่ดินให้ ซึ่งความจริงเมื่อสร้างเขื่อนเสร็จแล้วน้ำไม่ท่วมที่ดิน จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินดังกล่าว ข้ออ้างของโจทก์เท่ากับเป็นการอ้างว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินเกิดจากกลฉ้อฉลของจำเลย ซึ่งจะมีผลทำให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 121 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกิน 10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมแล้วจึงไม่อาจฟ้องให้เพิกถอนการโอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายจากกลฉ้อฉล: 10 ปีนับแต่วันทำนิติกรรม
โจทก์ฟ้องอ้างว่ามารดาโจทก์ขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 เพราะถูกจำเลยที่ 1 หลอกลวงเท่ากับเป็นการอ้างว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินนั้นเกิดจากกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีผลทำให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 121 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเกิน 10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้นแล้ว โจทก์จึงไม่อาจฟ้องให้เพิกถอนการโอนได้ตาม มาตรา 143.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบอกล้างนิติกรรมโมฆียะจากการถูกหลอกลวงซื้อขายที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าโจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทเพราะถูกจำเลยหลอกลวงให้หลงเชื่อว่าน้ำจะท่วมที่ดินพิพาทจากการสร้างเขื่อนอันเป็นการอ้างเหตุว่าจำเลยใช้กลฉ้อฉลโจทก์ เป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121แต่โจทก์มิได้บอกล้างและฟ้องคดีเมื่อเวลาได้ล่วงไปเกิน 10 ปีแล้วนับแต่เมื่อโจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้จำเลย โจทก์จึงบอกล้างไม่ได้และไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดินเนื่องจากสติไม่สมบูรณ์และฉ้อฉล ทายาทมีสิทธิบอกล้างได้
โจทก์กับ พ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2514ที่ดินตามฟ้อง พ. ได้มาก่อนจดทะเบียนสมรส ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินเดิมของ พ. ต่อมาเมื่อใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แล้วที่ดินนั้นย่อมเป็นสินส่วนตัวของ พ. ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง พ. จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินตามฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ให้พ. ทำนิติกรรมเป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องทั้งสองเหตุรวมกันมาก็ไม่เคลือบคลุมเพราะเหตุทั้งสองคือการใช้อุบายหลอกลวง กับการขู่เข็ญอาจเกิดพร้อม ๆ กันได้ ส่วนการใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ จำเลยกระทำอย่างไรเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้ พ. ทำสัญญาขายที่ดินให้จำเลยในขณะสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และนิติกรรมดังกล่าวเกิดจากกลฉ้อฉลหรือการใช้อุบายหลอกลวงของจำเลย ย่อมเป็นโมฆียะ โจทก์ในฐานะทายาทของ พ. ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว นิติกรรมการซื้อขายตกเป็นโมฆะในการนี้ให้ผู้เป็นคู่กรณีได้กลับคืนยังฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม จำเลยจึงต้องโอนที่ดินกลับคืนให้แก่ทายาทของ พ. โดยผลของกฎหมาย และมิใช่เป็นการคืนโดยการเลิกสัญญา โจทก์จึงมิต้องเสนอคืนราคาที่ดินที่ พ.ได้รับไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมซื้อขายจากสติไม่สมบูรณ์และการฉ้อฉล ทายาทมีสิทธิบอกล้างได้
โจทก์กับ พ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2514ที่ดินตามฟ้อง พ. ได้มาก่อนจดทะเบียนสมรส ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินเดิมของ พ. ต่อมาเมื่อใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แล้วที่ดินนั้นย่อมเป็นสินส่วนตัวของ พ. ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง พ. จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินตามฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ให้พ. ทำนิติกรรมเป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องทั้งสองเหตุรวมกันมาก็ไม่เคลือบคลุมเพราะเหตุทั้งสองคือการใช้อุบายหลอกลวง กับการขู่เข็ญอาจเกิดพร้อม ๆ กันได้ ส่วนการใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ จำเลยกระทำอย่างไรเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้
พ. ทำสัญญาขายที่ดินให้จำเลยในขณะสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และนิติกรรมดังกล่าวเกิดจากกลฉ้อฉลหรือการใช้อุบายหลอกลวงของจำเลย ย่อมเป็นโมฆียะ โจทก์ในฐานะทายาทของ พ. ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137
การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
เมื่อบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว นิติกรรมการซื้อขายตกเป็นโมฆะในการนี้ให้ผู้เป็นคู่กรณีได้กลับคืนยังฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม จำเลยจึงต้องโอนที่ดินกลับคืนให้แก่ทายาทของ พ. โดยผลของกฎหมาย และมิใช่เป็นการคืนโดยการเลิกสัญญา โจทก์จึงมิต้องเสนอคืนราคาที่ดินที่ พ.ได้รับไป.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ให้พ. ทำนิติกรรมเป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องทั้งสองเหตุรวมกันมาก็ไม่เคลือบคลุมเพราะเหตุทั้งสองคือการใช้อุบายหลอกลวง กับการขู่เข็ญอาจเกิดพร้อม ๆ กันได้ ส่วนการใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ จำเลยกระทำอย่างไรเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้
พ. ทำสัญญาขายที่ดินให้จำเลยในขณะสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และนิติกรรมดังกล่าวเกิดจากกลฉ้อฉลหรือการใช้อุบายหลอกลวงของจำเลย ย่อมเป็นโมฆียะ โจทก์ในฐานะทายาทของ พ. ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137
การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
เมื่อบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว นิติกรรมการซื้อขายตกเป็นโมฆะในการนี้ให้ผู้เป็นคู่กรณีได้กลับคืนยังฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม จำเลยจึงต้องโอนที่ดินกลับคืนให้แก่ทายาทของ พ. โดยผลของกฎหมาย และมิใช่เป็นการคืนโดยการเลิกสัญญา โจทก์จึงมิต้องเสนอคืนราคาที่ดินที่ พ.ได้รับไป.