คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 121

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนอมหนี้ที่ทำภายหลังถูกทวงหนี้และขู่ฟ้อง ไม่ถือเป็นการข่มขู่ทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ
จำเลยทำสัญญาประนอมหนี้กับโจทก์ที่สถานีตำรวจโดยโจทก์พูดว่า "ให้เอาเงินมาใช้เสีย ถ้าไม่ใช้จะฟ้องและติดตะราง" พวกของโจทก์พูดว่า "ใช้เสียน้องเอ๋ย ถึงคราวจำเป็นแล้ว ถ้าไม่ใช้จะถูกฟ้องให้ติดตะราง" และพนักงานสอบสวนพูดว่า "ผู้ใหญ่ใช้เสียเรา มีวินัยอยู่มิฉะนั้นจะเป็นโทษอาญานะ" เป็นเรื่องที่โจทก์กับพวกขู่ว่าถ้าจำเลยไม่ใช้เงินโจทก์จะฟ้องเอาผิดกับจำเลยทางอาญา อันเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่เป็นการข่มขู่อันจะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 126 สัญญาประนอมหนี้จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนอมหนี้ที่ทำไปโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการขู่ว่าจะฟ้อง ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ
จำเลยทำสัญญาประนอมหนี้กับโจทก์ที่สถานีตำรวจโดยโจทก์พูดว่า "ให้เอาเงินมาใช้เสีย ถ้าไม่ใช้จะฟ้องและติดตะราง" พวกของโจทก์พูดว่า "ใช้เสียน้องเอ๋ย ถึงคราวจำเป็นแล้ว ถ้าไม่ใช้จะถูกฟ้องให้ติดตะราง" และพนักงานสอบสวนพูดว่า "ผู้ใหญ่ใช้เสียเรา มีวินัยอยู่มิฉะนั้นจะเป็นโทษอาญานะ" เป็นเรื่องที่โจทก์กับพวกขู่ว่าถ้าจำเลยไม่ใช้เงินโจทก์จะฟ้องเอาผิดกับจำเลยทางอาญา อันเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่เป็นการข่มขู่อันจะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 126 สัญญาประนอมหนี้จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้องได้หรือไม่ และผลของการตายของจำเลยต่อคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ปัญหาที่ว่าสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะเพราะสำคัญผิดในสาระสำคัญหรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นพิพาทไว้และโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านแต่อย่างใดศาลจะยกประเด็นข้อดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยไม่ได้เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องพิจารณาคำฟ้องว่ามีประเด็นดังกล่าวหรือไม่เพราะถ้ามีก็ถือว่าโจทก์สละประเด็นนี้แล้ว คดีอาญาศาลชั้นต้นตัดสินแล้วแต่ยังอยู่ในอายุอุทธรณ์แม้จะเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯมาตรา22แต่โจทก์ก็อาจอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายได้การตายของจำเลยระหว่างอายุอุทธรณ์ทำให้คดีอาญาระงับไปและทำให้โจทก์หมดสิทธิอุทธรณ์เป็นเหตุให้คดีระงับไปก่อนจะถึงที่สุดจะนำข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ยังไม่ถึงที่สุดมารับฟังในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาไม่ได้จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงใหม่ โจทก์ตกลงจะทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับอ. โจทก์ได้ไปตรวจดูที่ดินพิพาทและตรวจสอบโฉนดที่ดินที่อ. ให้ดู ซึ่งปรากฏรายการจดทะเบียนภารจำยอมไว้ด้านหลังโฉนด เมื่อโจทก์ตรวจดูที่ดินเป็นที่พอใจแล้วจึงเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายกับอ. ดังนี้แม้ต่อมาปรากฏจากการรังวัดที่ดินนี้ว่าจำนวนที่ดินที่จะใช้ประโยชน์ได้ลดน้อยลงไปกว่าจำนวนที่แจ้งไว้ในโฉนด เพราะที่ดินมีภารจำยอมก็เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์เข้าทำสัญญาเองมิใช่เกิดจากการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงของอ. แต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นในคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาที่ยังไม่ถึงที่สุด และการพิจารณาข้อเท็จจริงใหม่
โจทก์ฟ้องว่า อ. ทำกลฉ้อฉลหลอกลวงขายที่ดินให้โจทก์ โดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวมีเนื้อที่เต็มตามโฉนด โจทก์หลงเชื่อจึงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวกับ อ. ภายหลังโจทก์รังวัดที่ดินดังกล่าวได้เนื้อที่ไม่เต็มตามโฉนด โดยบางส่วนถูกตัดเป็นถนนโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาแก่ อ. ขอเรียกมัดจำคืนและเรียกค่าเสียหาย ประเด็นมีว่าการซื้อขายที่ดินดังกล่าวเกิดจากการหลอกลวงของ อ. หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์สำคัญผิดในจำนวนที่ดินซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
อ.ถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาฉ้อโกง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างอายุอุทธรณ์ อ. ถึงแก่กรรม โจทก์จึงฟ้องทายาทและผู้จัดการมรดก อ. เป็นจำเลยคดีแพ่งว่า อ.ทำกลฉ้อฉลหลอกลวงขายที่ดินให้โจทก์เรียกเงินมัดจำคืนและเรียกค่าเสียหาย แม้คดีอาญาข้อหาฉ้อโกงจะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่โจทก์อาจอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย หรืออาจได้รับการรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ คดีอาญาระงับไปก่อนคดีถึงที่สุด. ดังนั้นจะนำข้อเท็จจริงในคดีอาญามารับฟังในคดีแพ่งไม่ได้ ต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง และข้อเท็จจริงจากคดีอาญาที่ยังไม่ถึงที่สุดนำมาใช้ไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าอ.ทำกลฉ้อฉลหลอกลวงขายที่ดินให้โจทก์โดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวมีเนื้อที่เต็มตามโฉนดโจทก์หลงเชื่อจึงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวกับอ.ภายหลังโจทก์รังวัดที่ดินดังกล่าวได้เนื้อที่ไม่เต็มตามโฉนดโดยบางส่วนถูกตัดเป็นถนนโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาแก่อ.ขอเรียกมัดจำคืนและเรียกค่าเสียหายประเด็นมีว่าการซื้อขายที่ดินดังกล่าวเกิดจากการหลอกลวงของอ.หรือไม่การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์สำคัญผิดในจำนวนที่ดินซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น. อ.ถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาฉ้อโกงศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีอยู่ระหว่างอายุอุทธรณ์อ.ถึงแก่กรรมโจทก์จึงฟ้องทายาทและผู้จัดการมรดกอ.เป็นจำเลยคดีแพ่งว่าอ.ทำกลฉ้อฉลหลอกลวงขายที่ดินให้โจทก์เรียกเงินมัดจำคืนและเรียกค่าเสียหายแม้คดีอาญาข้อหาฉ้อโกงจะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแต่โจทก์อาจอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายหรืออาจได้รับการรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้คดีอาญาระงับไปก่อนคดีถึงที่สุด.ดังนั้นจะนำข้อเท็จจริงในคดีอาญามารับฟังในคดีแพ่งไม่ได้ต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมจากการถูกกลฉ้อฉล: สิทธิบอกล้างเป็นของผู้แสดงเจตนาวิปริต ไม่ใช่คู่สมรส
มาตรา 137 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิมถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2519 มาตรา 4 สามีไม่มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมที่ภรรยาเป็นผู้กระทำไว้ สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมเป็นของภรรยาผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริต กฎหมายมิได้กำหนดแบบการบอกล้างโมฆียะกรรมไว้ การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยทำเอกสารดังกล่าวเพราะถูกกลฉ้อฉลสำคัญผิดในวัตถุแห่งนิติธรรมจึงไม่ผูกพันจำเลยโจทก์ไม่มีอำนาจนำเอกสารดังกล่าวมาฟ้องจำเลย ขอให้ยกฟ้อง คำให้การดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างโมฆียะกรรมจากกลฉ้อฉล: สิทธิอยู่ที่ผู้ถูกกลฉ้อฉล และการบอกล้างทำได้โดยการให้การต่อสู้
มาตรา 137 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิมถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 8 ) พ.ศ.2519 มาตรา 4 สามีไม่มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมที่ภรรยาเป็นผู้กระทำไว้ สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมเป็นของภรรยาผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริต
กฎหมายมิได้กำหนดแบบการบอกล้างโมฆียะกรรมไว้ การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยทำเอกสารดังกล่าวเพราะถูกกลฉ้อฉลสำคัญผิดในวัตถุแห่งนิติธรรมจึงไม่ผูกพันจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจนำเอกสารดังกล่าวมาฟ้องจำเลย ขอให้ยกฟ้อง คำให้การดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่มีข้อจำกัดสิทธิ การปกปิดข้อเท็จจริงทำให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆียะ
ที่ดินของจำเลยถูกจำกัดสิทธิห้ามปลูกสร้างอาคารเพราะถูกสายไฟฟ้าแรงสูงผ่าน ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์โดยมิได้แจ้งเรื่องนี้ ให้โจทก์ทราบ ทำให้โจทก์เข้าใจผิดในคุณสมบัติของที่ดินซึ่งเป็นสารสำคัญเพราะโจทก์ซื้อที่พิพาทเพื่อปลูกสร้างโรงงาน การแสดงเจตนาของโจทก์เป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกล้างแล้วสัญญาจะซื้อขายจึงเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก จำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้ให้โจทก์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปกปิดความจริง เป็นกลฉ้อฉล จึงบอกล้างและฟ้องเรียกราคาที่ดินที่ชำระแล้วคืนจากจำเลย การที่จำเลยนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงในคุณสมบัติของทรัพย์ อันโจทก์ไม่รู้นั้นย่อมทำให้โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ไปในตัวที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยเข้าใจผิดในคุณสมบัติของที่ดินจึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น (อ้างฎีกาที่ 1034/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์อันเป็นสาระสำคัญ สัญญาเป็นโมฆียะ
ที่ดินของจำเลยถูกจำกัดสิทธิห้ามปลูกสร้างอาคารเพราะถูกสายไฟฟ้าแรงสูงผ่าน ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2511 จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์โดยมิได้แจ้งเรื่องนี้ให้โจทก์ทราบ ทำให้โจทก์เข้าใจผิดในคุณสมบัติของที่ดินซึ่งเป็นสารสำคัญเพราะโจทก์ซื้อที่พิพาทเพื่อปลูกสร้างโรงงาน การแสดงเจตนาของโจทก์เป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกล้างแล้วสัญญาจะซื้อขายจึงเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก จำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้ให้โจทก์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปกปิดความจริง เป็นกลฉ้อฉล จึงบอกล้างและฟ้องเรียกราคาที่ดินที่ชำระแล้วคืนจากจำเลย การที่จำเลยนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงในคุณสมบัติของทรัพย์ อันโจทก์ไม่รู้นั้นย่อมทำให้โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ไปในตัวที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยเข้าใจผิดในคุณสมบัติของที่ดินจึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น (อ้างฎีกาที่ 1034/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1439/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างเหตุฉ้อฉลเพื่อโต้แย้งความสมบูรณ์ของบันทึกข้อตกลงเลิกห้างหุ้นส่วน จำเลยต้องแสดงรายละเอียดวิธีการฉ้อฉล
คำให้การจำเลยอ้างเพียงว่าโจทก์ใช้กลอุบายร่วมกับบุคคลภายนอกฉ้อฉลจำเลยให้ทำบันทึกข้อตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนเพื่อยึดเอากิจการของห้างไปดำเนินการเอง มิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ได้ฉ้อฉลจำเลยด้วยวิธีการอย่างใด จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามข้ออ้างของตน
of 7