คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 121

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์โดยมีเจตนาหลอกลวงและสุจริตของผู้รับโอน ผลต่อการเพิกถอนนิติกรรม
การร้องทุกข์หรือการฟ้องคดีกล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยนั้น ไม่ถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม การโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138
หากฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตทั้งได้มีการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1329 และมาตรา 1300 แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดิมจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนนั้นไม่ได้ (ทั้งนี้ มิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะและนิติกรรมนั้นถูกบอกล้างในภายหลัง หรือหาไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่สุจริตและการคุ้มครองผู้รับโอนที่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การร้องทุกข์หรือการฟ้องคดีกล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยนั้น ไม่ถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138
หากฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต ทั้งได้มีการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1329 และ มาตรา 1300 แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดิมจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนนั้นไม่ได้ (ทั้งนี้ มิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะและนิติกรรมนั้นถูกบอกล้างในภายหลังหรือหาไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีแบ่งสินบริคณห์เดิม
เติมศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้หนี้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์ จะใช้หนี้ โจทก์จึงร้องขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์ของจำเลยที่ 1 ออกเป็นสินส่วนตัว ของจำเลยที่ 1 คือ ที่ดิน 2 แปลง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 1 ได้ร้องคัดค้านเข้ามาว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้ว และว่า ที่ดิน 2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งในการหย่าขาดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแยกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดกันจริงโดยสุจริต และได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเด็ดขาดแล้ว ที่ดิน2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งมากจากการหย่า เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังการหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์กันแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอแยกสินบริคณห์ ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้น โจทก์มาฟ้องคดีหลังขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในที่ดิน สองแปลงที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งไปจากจำเลยที่ 1 อีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะประเด็นแห่งคดีต่างกัน
โดยในคดีแรก นี้มีประเด็นว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่า จำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีขอแบ่งสินทรัพย์
เดิมศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้หนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์จะใช้หนี้ โจทก์จึงร้องขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์ของจำเลยที่ 1 ออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 คือ ที่ดิน 2 แปลงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 1 ได้ร้องคัดค้านเข้ามาว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากินแล้ว และว่าที่ดิน 2 แปลง ที่ โจทก์ขอให้แบ่งแยกออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งในการหย่าขาดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแยกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดกันจริงโดยสุจริต และได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเด็ดขาดแล้ว ที่ดิน 2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งมาจากการหย่า เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังการหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์กันแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอแยกสินบริคณห์ ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้น โจทก์มาฟ้องคดีหลังขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในที่ดินสองแปลงที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งไปจากจำเลยที่ 1 อีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะประเด็นแห่งคดีต่างกันโดยในคดีแรกนี้มีประเด็นว่าจำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่าจำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญสัญญาเช่า ทำให้สัญญาเป็นโมฆะและได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
ข้อกำหนดในเรื่องค่าเช่าเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมสัญญาเช่า เมื่อมีการสำคัญผิดขึ้น สัญญาเช่านั้นย่อมเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญาเช่าทำให้สัญญาเป็นโมฆะ คุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
ข้อกำหนดในเรื่องค่าเช่าเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมสัญญาเช่าเมื่อมีการสำคัญผิดขึ้นสัญญาเช่านั้นย่อมเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซื้อขายที่ดินเกิน 10 ปี และฟ้องไม่ชัดเจน ศาลยกฟ้องตามอายุความและลักษณะฟ้อง
ฟ้องว่า จำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ให้เข้าทำสัญญาขายที่ดินของโจทก์ให้จำเลยโดยที่โจทก์ไม่ได้ตกลงขายนั้น เป็นเรื่องโมฆียะกรรมตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 121 ต้องฟ้องเสียภายใน 10 ปี นับแต่วันทำนิติกรรม
ฟ้องที่ถือว่าเคลือบคลุมไม่ควรรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมสัญญาซื้อขายที่ดิน, อายุความ, ฟ้องไม่ชัดเจน, ไม่มีอำนาจฟ้อง
ฟ้องว่า จำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ให้เข้าทำสัญญาขายที่ดินของโจทก์ให้จำเลยโดยที่โจทก์ไม่ได้ตกลงขายนั้น เป็นเรื่องโมฆียะกรรมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 ต้องฟ้องเสียภายใน 10 ปี นับแต่วันทำนิติกรรม ซึ่งโจทก์หมดสิทธิบอกล้างแล้วตามมาตรา 143 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์ที่กล่าวความขัดกันเองเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมไม่แน่นอนไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ เป็นฟ้องที่ไม่ควรรับไว้พิจารณาชอบที่ศาลจะยกฟ้องเสียได้ แม้รับไว้พิจารณาหากเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลก็พิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเหตุไม่มีอำนาจฟ้องเสียทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อที่ดินในการฟ้องขับไล่ผู้อาศัยเดิม และเรียกค่าเสียหายจากความเสียหายในที่ดิน
ผู้ซื้อที่ดินฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ดินนั้นได้แม้สัญญาซื้อขายจะเกิดจากการกลฉ้อฉลหรือไม่ ก็ไม่เกี่ยวกับผู้อาศัย และหากผู้อาศัยทำให้เสียหายในที่ดินที่ได้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อย่อมฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้อาศัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อที่ดินในการฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยอยู่เดิม และเรียกค่าเสียหายจากความเสียหายที่เกิดขึ้นในที่ดิน
ผู้ซื้อที่ดินฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ดินนั้นได้ แม้สัญญาซื้อขายจะเกิดจากการกลฉ้อฉลหรือไม่ ก็ไม่เกี่ยวกับผู้อาศัย และหากผู้อาศัยทำให้เสียหายในที่ดินที่ได้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อย่อมฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้อาศัยได้
of 7