คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนหลงผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรง อ้าปากคำรามอยู่ในกรอบรูปไข่สองชั้นส่วนบนเป็นรูปลายฝรั่งส่วนล่างมีอักษรโรมันคำว่า 'LION'ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า สิงโตอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมทับบนกรอบรูปไข่ ส่วนของจำเลยเป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรง อ้าปากคำรามอยู่ภายในกรอบรูปวงกลมสองชั้น ไม่มีตัวอักษร ที่ใต้วงกลมมีรูปช่อรวงข้าวสองช่อโค้งรองรับตามขอบวงกลม แต่ไม่จรดกันระหว่างรวงข้าวทั้งสองช่อมีโบผูกห้อยชายอยู่ตรงกลาง หากพิจารณาแต่เพียงส่วนประกอบก็จะเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารวมทั้งหมดจะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกันมาก เพราะเป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรงอ้าปากคำรามอย่างเดียวกัน ซึ่งเป็นสารสำคัญของเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่าย ทั้งข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีประชาชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น จำเลยเห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน การที่จำเลยเลือกใช้เครื่องหมายการค้าเช่นเดียวกับโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้จะใช้สำหรับสินค้าคนละประเภทกับโจทก์ ก็เป็นการลวงให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าเจ้าของเดียวกันกับของโจทก์อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: โจทก์มีหน้าที่นำสืบวันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยเพื่อยืนยันการฟ้องภายใน 90 วัน
โจทก์ฟ้องคดีโดยอาศัยมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2504 จำเลยให้การว่าโจทก์มิได้นำคดีมาสู่ศาลภายใน 90 วัน นับแต่รับคำวินิจฉัยของนายทะเบียน ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ดังนี้จะถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียนตามวันที่ระบุในฟ้องหาได้ไม่ เพราะจำเลยไม่มีโอกาสที่จะทราบว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยตั้งแต่เมื่อใดจำเลยจึงไม่อาจให้การปฏิเสธได้โดยชัดแจ้งถึงวันที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยนั้น คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความโดยชัดแจ้งแล้วโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบในข้อนี้เมื่อโจทก์นำสืบมายังรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์นำคดีมาสู่ศาลภายในกำหนด90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียน สิทธินำคดีมาสู่ศาลจึงเป็นอันระงับสิ้นไปตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: จำเลยปฏิเสธอายุความ โจทก์มีหน้าที่นำสืบวันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องคดีโดยอาศัยมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2504 จำเลยให้การว่าโจทก์มิได้นำคดีมาสู่ศาลภายใน 90 วัน นับแต่รับคำวินิจฉัยของนายทะเบียน ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ดังนี้จะถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียนตามวันที่ระบุในฟ้องหาได้ไม่ เพราะจำเลยไม่มีโอกาสที่จะทราบว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยตั้งแต่เมื่อใดจำเลยจึงไม่อาจให้การปฏิเสธได้โดยชัดแจ้งถึงวันที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยนั้น คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความโดยชัดแจ้งแล้วโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบในข้อนี้เมื่อโจทก์นำสืบมายังรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์นำคดีมาสู่ศาลภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียน สิทธินำคดีมาสู่ศาลจึงเป็นอันระงับสิ้นไปตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกันจนทำให้สาธารณชนสับสน ศาลพิจารณาจากภาพรวมและรายละเอียดของเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ขอจดทะเบียนคือ "GLUCOLIN""GLAXO" ของจำเลยคือ "UTOPIAN" ตัวอักษรเป็นแนวเดียวกัน สีที่ใช้และกระป๋องอย่างเดียวกัน เมื่อดูทั้งหมดแล้วเกือบเหมือนกัน สามารถทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่า เป็นสินค้าของผู้ผลิตเดียวกัน โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อนมีสิทธิดีกว่าจำเลย การที่บริษัทอื่นเป็นผู้ผลิตสินค้านั้นไม่หมายความว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้า จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายของจำเลยและใช้เครื่องหมายนั้น ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอำนาจฟ้องคดีและสิทธิในการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ซ้ำกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ก่อน
เอกอัครราชทูตโปแลนด์ประจำประเทศไทยได้รับรองเอกสารสองฉบับที่รับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลและได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าแอนโดเรียสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลเป็นลายมือชื่อของหัวหน้ากองกฎหมายแห่งประเทศโปแลนด์จริงโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแอนโดเรียสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลไว้แล้ว และได้มอบอำนาจให้บริษัทในประเทศไทยยื่นคำขอจดทะเบียนสินค้าดังกล่าวอีกเมื่อจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าเครื่องจักรกลเช่นเดียวกับโจทก์แม้จะขอจดเป็นอีกพวกหนึ่งแต่ก็ซ้ำกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งโจทก์เป็นผู้ใช้มาก่อนโจทก์ย่อมขอให้เพิกถอนคำขอของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า 'Dior': การใช้ก่อนและการลวงสาธารณชนเป็นปัจจัยชี้ขาด
เมื่อพยานที่จำเลยขอระบุเพิ่มเติมเป็นพยานที่จำเลยรู้จักดีและได้มีอยู่ก่อนที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนสืบพยานเสร็จและมิได้เป็นพยานเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นจึงชอบแล้ว
โจทก์ใช้คำว่า 'CHRISTIANDIOR' และคำว่า 'DIOR' เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าต่าง ๆ ของโจทก์ที่ทำจากต่างประเทศมานานแล้วจนเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปนอกจากนี้ก่อนที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 'DIOR' สำหรับสินค้าจำพวกเครื่องนุ่งห่มและแต่งกายของจำเลยจำเลยก็เคยเห็นและทราบว่ามีแว่นตาที่ใช้เครื่องหมายการค้า 'DIOR' ขาย ทั้งการโฆษณาสินค้าของจำเลยที่ใช้เครื่องหมายการค้า 'DIOR' ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นสินค้าของจำเลยและจำเลยยังใช้คำว่าดิออร์เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยก่อนยื่นคำขอจดทะเบียนประมาณ 1 เดือนเศษอีกด้วยเห็นได้ว่าจำเลยใช้คำว่า 'DIOR'เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าของจำเลยเพื่อให้ประชาชนทั่วไปหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่ทำจากต่างประเทศนับว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้าของจำเลยโจทก์มีสิทธิใช้คำว่า 'DIOR' เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลยแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวจะยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าอย่างเดียวกันของโจทก์ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้า CUPID ก่อนยื่นจดทะเบียน และการลวงสาธารณชนจากการใช้เครื่องหมายที่คล้ายกัน
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีตัวเล็ก ๆ ว่า FULYIN อยู่บนอักษร CUPID ซึ่งเป็นอักษรตัวใหญ่เห็นชัดเจนมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้า CUPID ของโจทก์ จนอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นก่อนโจทก์แต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า CUPID มาก่อนจำเลยทั้งในขณะที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนก็ยังไม่มีสินค้าที่มีเครื่องหมายตามที่ขอจดทะเบียนนั้นออกจำหน่ายโจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยจำเลยไม่มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า CUPID

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน ไม่ทำให้สับสน แม้มีรูปปลาเหมือนกัน ศาลยืนตามคำวินิจฉัยนายทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยต่างมีรูปปลาตัวหนึ่งอยู่ตรงกลางของโจทก์ส่วนกลางลำตัวปลาแนบอยู่บนรูปเพชรมีอักษรภาษาไทยว่า"ตราปลา-เพชร" อยู่ด้านล่าง ของจำเลยมีรูปคนผู้ชายยืนอยู่ภายในและบนเส้นรอบวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางวงกลมยาวไปตามลำตัวปลา ด้านล่างมีอักษรโรมันอ่านว่า เซอร์เคิลแมนแบรนด์ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้นำมาจดทะเบียนไว้แล้วไม่ทำให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดจนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ให้ดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1669-1672/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การรับโอนสิทธิพร้อมกิจการค้า และการละเมิดสิทธิเมื่อสั่งนำเข้าก่อนการรับโอน
แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้าชนิดที่มีเครื่องหมายการค้ารายพิพาทแต่เมื่อโจทก์รับโอนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทจากเจ้าของเดิมไว้พร้อมกับรับโอนกิจการค้าอื่นเกี่ยวกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้ารายพิพาทนับแต่วันรับโอนมาและจดทะเบียนการรับโอนไว้แล้วโจทก์จึงมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการค้าและเสนอสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้ารายพิพาทตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 3,27
จำเลยสั่งเครื่องพิมพ์ที่มีเครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาขายในประเทศไทยก่อนโจทก์รับโอนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทและกิจการค้าเกี่ยวกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาจากเจ้าของเดิมไม่ถือว่าจำเลยละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3079/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเครื่องหมายการค้าที่มิได้จดทะเบียนว่าเป็นเครื่องหมายที่จดทะเบียนแล้ว เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าตราควาย คำขอจดทะเบียนเลขที่ 24057เลขทะเบียน 16049 จดทะเบียนแล้ว จำเลยส่งผ้าไปขายมีสลากปิดรูปควายทอง ซึ่งเจ้าพนักงานไม่รับจดและมีคำบอกว่า"เครื่องหมายจดทะเบียนเลขที่ 24057" เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายที่จดทะเบียนแล้ว มีความผิดตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 45 ฉบับที่ 3 พ.ศ.2504 มาตรา 9
of 9