คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิไม่สุจริตทางการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ผู้บริโภค
โจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลูกกวาดและขนมที่มียาผสมอยู่ด้วยโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "HALLS" และได้จดทะเบียนเครื่องหมายดังกล่าวในจำพวกที่ 3 สำหรับสินค้าลูกกวาดและขนมที่มียาผสมอยู่ด้วย ซึ่งกองเครื่องหมายการค้าได้จดทะเบียนแล้วเมื่อวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2506 ครั้นวันที่ 23 มีนาคม 2510 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า "HALL" ในสินค้าจำพวก 48 เครื่องสำอาง ดังนี้ ความสำคัญที่เห็นเด่นชัดที่ผู้ซื้อสนใจหรือสังเกตว่าเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าอยู่ตรงที่มีอักษรโรมัน และสำเนียงที่เรียกขานทั้งของโจทก์และของจำเลยก็อ่านว่า "ฮอลล์"อย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์นำสืบให้เห็นว่าสินค้าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลาย โดยโจทก์ได้แพร่ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เอกสารสิ่งพิมพ์แผ่นป้ายโฆษณา และหน่วยรถฉายภาพยนตร์แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวจึงส่อให้เห็นถึงการฉวยโอกาสเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพื่อแสวงหาประโยชน์จำหน่ายสินค้าของจำเลย อันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้ว ก็ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย เพราะผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้าอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น การกระทำของจำเลยเป็นการส่อเจตนาที่จะลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นของโจทก์ จึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงตัวอักษรเล็กน้อย
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า TAVIPEC สำหรับสินค้าจำพวก 3 จำพวกเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า VIPEXของจำเลยซึ่งจดทะเบียนไว้ก่อน เครื่องหมายการค้าทั้งสองเป็นคำประดิษฐ์ซึ่งเป็นตัวอักษรโรมัน สองพยางค์ท้ายอ่านออกเสียงหรือเรียกขานเหมือนกันว่า ไวเป๊ก แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า TA เพิ่มข้างหน้าอีกพยางค์หนึ่ง แม้ตัวอักษรโรมันที่ประดิษฐ์ขึ้นจะต่างกันก็จริง แต่ประชาชนโดยทั่ว ๆ ไปก็มิได้พิจารณาตัวหนังสือ หากแต่อาศัยฟังจากเสียงตามสำเนียงเรียกขานแม้จะเปลี่ยนแปลงตัวอักษรตัวท้ายจาก X เป็น C สำเนียงที่อ่านก็ยังอ่านอย่างเดียวกัน การที่เพิ่มพยางค์อีกพยางค์หนึ่ง ก็ยังมีคำว่า VIPEC อยู่ บางคนอาจเรียกย่อ ๆ ว่า ไวเป๊ก ก็ได้ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับยาช่วยระงับไอและขับเสมหะส่วนจำเลยใช้สำหรับยาอมแก้ไอและยาทาแก้โรคผิวหนัง การที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า TAVIPEC อาจทำให้เกิดสับสนเข้าใจผิดได้ กล่องและคำอธิบายสำหรับสินค้าจะแตกต่างกันอย่างไรไม่สำคัญ เมื่อจำเลยเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า VIPEX และจดทะเบียนไว้ก่อนโดยสุจริต โจทก์จะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า อันมีถ้อยคำประดิษฐ์ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันหรือคล้ายกันใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน อันอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดหาได้ไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 779/2506 และ 105/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน แม้มีการเปลี่ยนแปลงตัวอักษรเล็กน้อย
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า TAVIPEC สำหรับสินค้าจำพวก 3 จำพวกเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า VIPEXของจำเลยซึ่งจดทะเบียนไว้ก่อน เครื่องหมายการค้าทั้งสองเป็นคำประดิษฐ์ซึ่งเป็นตัวอักษรโรมัน สองพยางค์ท้ายอ่านออกเสียงหรือเรียกขานเหมือนกันว่า ไวเป๊ก แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า TA เพิ่มข้างหน้าอีกพยางค์หนึ่ง แม้ตัวอักษรโรมันที่ประดิษฐ์ขึ้นจะต่างกันก็จริง แต่ประชาชนโดยทั่ว ๆ ไปก็มิได้พิจารณาตัวหนังสือ หากแต่อาศัยฟังจากเสียงตามสำเนียงเรียกขานแม้จะเปลี่ยนแปลงตัวอักษรตัวท้ายจาก X เป็น C สำเนียงที่อ่านก็ยังอ่านอย่างเดียวกันการที่เพิ่มพยางค์อีกพยางค์หนึ่ง ก็ยังมีคำว่า VIPEC อยู่ บางคนอาจเรียกย่อ ๆ ว่าไวเป๊กก็ได้ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับยาช่วยระงับไอและขับเสมหะส่วนจำเลยใช้สำหรับยาอมแก้ไอและยาทาแก้โรคผิวหนัง การที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า TAVIPEC อาจทำให้เกิดสับสนเข้าใจผิดได้ กล่องและคำอธิบายสำหรับสินค้าจะแตกต่างกันอย่างไรไม่สำคัญ เมื่อจำเลยเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า VIPEX และจดทะเบียนไว้ก่อนโดยสุจริต โจทก์จะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอันมีถ้อยคำประดิษฐ์ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันหรือคล้ายกันใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน อันอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดหาได้ไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 779/2506 และ 105/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า: ความแตกต่างของรูปภาพและขอบเขตการใช้ในสินค้าจำพวกเดียวกัน ไม่ถือเป็นการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหมีกำลังนั่งป้อนนมลูกด้วยขวดนม ส่วนของจำเลยเป็นรูปหมียืนเกาะถ้วย จึงไม่มีลักษณะในทางเหมือนหรือคล้ายคลึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่อขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกใด ถือเป็น การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งจำพวกของสินค้าในจำพวกนั้น ๆ ผู้ขออาจนำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าชนิดอื่นในจำพวกนั้นก็ได้เว้นแต่จะได้ขอจดทะเบียนจำกัดรายการสินค้าไว้แน่นอนว่าจะใช้กับสินค้าของผู้ขอชนิดนั้นอย่างเดียว
โจทก์เรียกขานเครื่องหมายการค้าของตนว่า 'ตราหมี' จำเลยเรียกของตนว่า 'ตราหมีทอง' ไม่แสดงว่าจำเลยใช้สิทธิในทางไม่สุจริต
การที่จำเลยใช้รูปหมียืนเกาะถ้วยหาเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่เป็นรูปหมีนั่งป้อนนมลูกด้วยขวดนม ไม่ เพราะรูปหมีทั่ว ๆ ไปไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใดโจทก์ไม่มีสิทธิจะสงวนรูปหมีทั่ว ๆ ไปไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของตนแต่ผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันในสินค้าต่างประเภท หากไม่ทำให้สาธารณชนสับสน ไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์จำเลยต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้าที่อ่านแล้วมีสำเนียงคล้ายคลึงกัน คือ Hi-PEX และ HYPEX กับสินค้าของตนซึ่งเป็นคนละชนิด โดยโจทก์ใช้กับสินค้าจำพวกยาและเครื่องหอม ส่วนจำเลยใช้กับสินค้าจำพวกเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเล่นจานเสียง บันทึกเสียง ฯลฯ ทั้งโจทก์จำเลยต่างได้ใช้กันมาโดยสุจริตและนานมาแล้ว จำเลยมิได้ลอกหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ กรณีเป็นเรื่องโจทก์จำเลยต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนมาโดยสุจริตเป็นเวลาช้านานสำหรับสินค้าของตน ไม่ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดหรือหลงผิดว่าสินค้าจำเลยเป็นสินค้าโจทก์ หรือทำให้ความเป็นเจ้าของสับสนแต่อย่างใด จำเลยจึงมีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันโดยสุจริต ไม่ทำให้สับสน ไม่ขัดสิทธิการจดทะเบียน
โจทก์จำเลยต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้า ที่อ่านแล้วมีสำเนียงคล้ายคลึงกัน คือ HI-PEX และ HYPEX กับสินค้าของตนซึ่งเป็นคนละชนิด โดยโจทก์ใช้กับสินค้าจำพวกยาและเครื่องหอม ส่วนจำเลยใช้กับสินค้าจำพวกเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เครื่องเล่นจานเสียง บันทึกเสียง ฯลฯ ทั้งโจทก์จำเลยต่างได้ใช้กันมาโดยสุจริตและนานมาแล้วจำเลยมิได้ลอกหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ กรณีเป็นเรื่องโจทก์จำเลยต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนโดยสุจริตเป็นเวลาช้านานสำหรับสินค้าของตน ไม่ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดหรือหลงผิดว่าสินค้าจำเลยเป็นสินค้าโจทก์ หรือทำให้ความเป็นเจ้าของสับสนแต่อย่างใดจำเลยจึงมีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนทะเบียนเมื่อมีสิทธิเหนือกว่า
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยจดทะเบียนไว้ก่อนแต่โจทก์สามารถแสดงได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลยเป็นกรณีพิพาทกันว่า ระหว่างโจทก์จำเลยใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนกรณีต้องด้วยมาตรา41 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามมาตรานี้กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 29วรรคต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองรูปแบบสินค้า: ศาลฎีกาตัดสินว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272(1) คุ้มครองเฉพาะเครื่องหมายการค้า ไม่ได้คุ้มครองรูปแบบสินค้าโดยรวม
โจทก์เป็นผู้ผลิตไฟฉายเรโอแวคส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จำเลยผลิตไฟฉายยี่ห้อไพล๊อต โจทก์จึงฟ้องว่าจำเลยเอาลักษณะ รูปและรอยประดิษฐ์ของโจทก์ไปใช้กับไฟฉายของจำเลย ด้วยเจตนาจะให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นไฟฉายของโจทก์ เป็นการละเมิดต่อโจทก์
ศาลฎีกาเห็นว่า ที่จะเป็นละเมิดนั้น ต้องเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายต่อสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายมาตรา 272 (1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่โจทก์อ้างว่าบัญญัติคุ้มครองสิทธิของโจทก์ไว้นั้น เป็นบทบัญญัติเรื่องเครื่องหมายของสินค้าเท่านั้น เพราะชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าจะแปลว่าเป็นแบบของวัตถุที่ผลิตเป็นสินค้านั้นไม่ได้ ส่วนรอยประดิษฐ์ก็เป็นแต่ลวดลายของเครื่องหมาย รูปนั้นก็คือภาพเขียน ภาพถ่ายของบุคคลหรือสถานที่หรือสิ่งอื่นที่ใช้ให้ปรากฏที่สินค้าเพื่อให้เป็นที่สังเกตุว่าเป็นสินค้าของตนหาใช่รูปทรงลวดลายของสิ่งผลิตไม่ มาตรา 272(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงไม่ใช่บทบัญญัติห้ามการผลิตวัตถุอันเป็นสินค้ามิให้ซ้ำกันหรือมีแบบมีรูปอย่างเดียวกัน เมื่อไม่มีกฎหมายคุ้มครองประโยชน์ที่โจทก์ต้องการจึงไม่เป็นสิทธิที่มีตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองรูปแบบสินค้า: มาตรา 272(1) คุ้มครองเฉพาะเครื่องหมายการค้า ไม่ได้คุ้มครองรูปแบบหรือรูปร่างของสินค้า
โจทก์เป็นผู้ผลิตไฟฉายเรโอแวคส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จำเลยผลิตไฟฉายยี่ห้อไฟล๊อต โจทก์จึงฟ้องว่าจำเลยเอาลักษณะ รูปและรอยประดิษฐ์ของโจทก์ไปใช้กับไฟฉายของจำเลย ด้วยเจตนาจะให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นไฟฉายของโจทก์ เป็นการละเมิดต่อโจทก์
ศาลฎีกาเห็นว่า ที่จะเป็นละเมิดนั้น ต้องเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายต่อสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมาย มาตรา 272(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่โจทก์อ้างว่าบัญญัติคุ้มครองสิทธิของโจทก์ไว้นั้น เป็นบทบัญญัติเรื่องเครื่องหมายของสินค้าเท่านั้น เพราะชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าจะแปลว่าเป็นแบบของวัตถุที่ผลิตเป็นสินค้านั้นไม่ได้ ส่วนรอยประดิษฐ์ก็เป็นแต่ลวดลายของเครื่องหมายรูปนั้นก็คือภาพเขียนภาพถ่ายของบุคคลหรือสถานที่หรือสิ่งอื่นที่ใช้ให้ปรากฏที่สินค้าเพื่อให้เป็นที่สังเกตุว่าเป็นสินค้าของตนหาใช่รูปทรงลวดลายของสิ่งผลิตไม่มาตรา 272(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงไม่ใช่บทบัญญัติห้ามการผลิตวัตถุอันเป็นสินค้ามิให้ซ้ำกันหรือมีแบบมีรูปอย่างเดียวกันเมื่อไม่มีกฎหมายคุ้มครองประโยชน์ที่โจทก์ต้องการจึงไม่เป็นสิทธิที่มีตามกฎหมายการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271-1273/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าและการละเมิดสิทธิ โจทก์มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการค้าขายสินค้ามีเครื่องหมายการค้านั้น
การที่คู่ความทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น แม้การมอบอำนาจจะมีหนังสือมอบอำนาจก็ตาม แต่กฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าในการยื่นคำฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจนั้นติดมากับฟ้องด้วย ซึ่งต่างกับกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61,63 และ 64 ซึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าต้องยื่นใบแต่งทนาย แสดงใบมอบอำนาจ ทำหนังสือแต่งตั้งหรือยื่นใบมอบฉันทะต่อศาล ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้ยื่นใบมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นคำฟ้อง ก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายแต่ประการใด
ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า หาใช่จำกัดเฉพาะผู้ทำสินค้าขึ้นเท่านั้นไม่ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับโอนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะค้าขายสินค้าที่มีเครื่องหมายซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้น ฉะนั้น การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าในบังคับแห่งสิทธิของโจทก์เข้ามาจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอม ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เพราะการสั่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายย่อมเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ติดมากับสินค้านั้นด้วย (วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2508)
of 9