พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271-1273/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจทางกฎหมายและการละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้า ผู้รับโอนสิทธิมีอำนาจฟ้องร้องได้
การที่คู่ความทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น แม้การมอบอำนาจจะมีหนังสือมอบอำนาจก็ตามแต่กฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าในการยื่นคำฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจนั้นติดมากับฟ้องด้วย ซึ่งต่างกับกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61, 63 และ 64 ซึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าต้องยื่นใบแต่งทนาย แสดงใบมอบอำนาจทำหนังสือแต่งตั้งหรือยื่นใบมอบฉันทะต่อศาล ฉะนั้นแม้โจทก์จะมิได้ยื่นใบมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นคำฟ้องก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายแต่ประการใด
ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า หาใช่จำกัดเฉพาะผู้ทำสินค้าขึ้นเท่านั้นไม่ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับโอนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะค้าขายสินค้าที่มีเครื่องหมายซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้น ฉะนั้น การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าในบังคับแห่งสิทธิของโจทก์เข้ามาจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอม ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เพราะการสั่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายย่อมเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ติดมากับสินค้านั้นด้วย(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่15/2508)
ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า หาใช่จำกัดเฉพาะผู้ทำสินค้าขึ้นเท่านั้นไม่ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับโอนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะค้าขายสินค้าที่มีเครื่องหมายซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้น ฉะนั้น การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าในบังคับแห่งสิทธิของโจทก์เข้ามาจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอม ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เพราะการสั่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายย่อมเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ติดมากับสินค้านั้นด้วย(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่15/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตเพื่อแอบอิงชื่อเสียงของผู้อื่น
เครื่องหมาย "MOLINARD" และ เครื่องหมาย "MOLINARD"กับ "M" เป็นเครื่องหมายที่โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เฉพาะกับสินค้าของโจทก์ซึ่งส่งมาจำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทยกว่า 20 ปีแล้ว การที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า "MOLINARD"และ"MOLINARD" กับ "M" โดยดัดแปลงตัวอักษรให้เพี้ยนไปบ้าง เพื่อแอบอิงชื่อเสียงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้กับสินค้าของจำเลยนั้นเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากความคล้ายคลึงจนอาจทำให้ประชาชนหลงผิด
โจทก์ใช้คำประดิษฐ์ขึ้นเป็นอักษรโรมันว่า'PHENERGAN' สำหรับยารักษาโรคจำพวกหนึ่งที่โจทก์ผลิตขึ้นจำหน่ายและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับคำๆ นี้ไว้แล้วต่อมานายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นคำว่า 'PHENAGIN' ในจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ ดังนี้ เมื่อพิจารณาถึงการเรียงลำดับตัวอักษรตลอดจนสำเนียงที่เรียกขานอันเป็นคำของภาษาต่างประเทศแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองนี้มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกัน อันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดได้ ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเสียได้และเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นเครื่องหมายการค้าที่สำเร็จรูปแล้ว ศาลไม่จำต้องไปพิเคราะห์ถึงส่วนประกอบอื่นใดอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: การเปลี่ยนแปลงชื่อยาเพียงเล็กน้อยอาจเข้าข่ายการลวงประชาชน
ยาที่โจทก์จำเลยผลิตขึ้นเป็นยารักษาโรคอย่างเดียวกัน บรรจุด้วยซองกระดาษขนาดเดียวกัน มีคำอธิบายสรรพคุณและวิธีใช้เป็นภาษาไทยและภาษาจีนทำนองเดียวกัน โจทก์เพียงแต่แก้ชื่อยาเพียงตัวเดียว คือ คำว่า "วิ" เป็น "พิ" อ่านแล้วคงเป็นว่า "วิเศษ" กับ "พิเศษ" เท่านั้น เห็นได้ว่าอาจทำให้ประชาชนผู้ซื้อผิดหลงได้ง่าย ทำให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่ามีเจตนาลวงให้ประชาชนผู้ซื้อผิดหลงว่าเป็นยาอย่างเดียวกับของจำเลย นับว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าว เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของจำเลย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 36/2505
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 36/2505
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: การใช้ชื่อยาที่คล้ายคลึงกันจนอาจทำให้ผู้บริโภคสับสนถือเป็นการเลียนแบบโดยมีเจตนาทุจริต
ยาที่โจทก์จำเลยผลิตขึ้นเป็นยารักษาโรคอย่างเดียวกันบรรจุด้วยซองกระดาษขนาดเดียวกัน มีคำอธิบายสรรพคุณและวิธีใช้เป็นภาษาไทย และภาษาจีนทำนองเดียวกัน โจทก์เพียงแต่แก้ชื่อยาเพียงตัวเดียว คือ คำว่า 'วิ'เป็น'พ' อ่านแล้วคงเป็นว่า 'วิเศษ'กับ 'พิเศษ' เท่านั้นเห็นได้ว่าอาจทำให้ประชาชนผู้ซื้อผิดหลงได้ง่าย ทำให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่ามีเจตนาลวงให้ประชาชนผู้ซื้อผิดหลงว่าเป็นยาอย่างเดียวกับของจำเลยนับว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าว เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของจำเลย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 36/2505)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 36/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเหมือนของเครื่องหมายการค้าและการขอจดทะเบียนภายใต้ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474
กรณีที่นายทะเบียนสั่งการตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 17 จะนำอายุความตาม มาตรา 29 วรรคต้นมาใช้ไม่ได้
แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายเป็นรูปหอยแครง ไม่ใช่นกยูงดังเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ขนาดเท่ากันและสีอย่างเดียวกันพอดีลายขอบก็เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อมองดูแล้ว จะเห็นได้ว่า เครื่องหมายของจำเลยมีลักษณะเกือบเหมือนกับของโจทก์ตาม มาตรา 17
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ๆ ใช้มานานก่อนที่จำเลยใช้เครื่องหมายของจำเลยที่เกือบเหมือนของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วสำหรับใช้ที่ฝากล่องและกลุ่มด้าย ที่โจทก์ขอจดเครื่องหมายรายพิพาทนี้ก็เพื่อใช้ที่ข้างกล่องซึ่งยังมิได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอจดดีกว่าจำเลย (แม้จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายของจำเลยสำหรับใช้กับข้างกล่องก่อนโจทก์ แต่นายทะเบียนยังไม่ยอมจดให้)
แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายเป็นรูปหอยแครง ไม่ใช่นกยูงดังเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ขนาดเท่ากันและสีอย่างเดียวกันพอดีลายขอบก็เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อมองดูแล้ว จะเห็นได้ว่า เครื่องหมายของจำเลยมีลักษณะเกือบเหมือนกับของโจทก์ตาม มาตรา 17
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ๆ ใช้มานานก่อนที่จำเลยใช้เครื่องหมายของจำเลยที่เกือบเหมือนของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วสำหรับใช้ที่ฝากล่องและกลุ่มด้าย ที่โจทก์ขอจดเครื่องหมายรายพิพาทนี้ก็เพื่อใช้ที่ข้างกล่องซึ่งยังมิได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอจดดีกว่าจำเลย (แม้จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายของจำเลยสำหรับใช้กับข้างกล่องก่อนโจทก์ แต่นายทะเบียนยังไม่ยอมจดให้)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: ต้องมีลักษณะคล้ายคลึงจนสับสน
ในกรณีที่โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยเลียนหรือลอกเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์ อันจะทำให้เกิดสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นของโจทก์แล้ว ก็ไม่มีเหตุที่โจทก์จะอ้างว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าและไม่มีเหตุที่ศาลจะบังคับให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียน หรือห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าก่อนจดทะเบียน: การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อนจำเลย แม้จำเลยจะไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นก่อนหลายปีโจทก์ก็ขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดไว้ได้
การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนทั้งยังห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อของโจทก์ต่อไปนั้นโจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามคำพิพากษาโดยสมบูรณ์อยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องให้จำเลยทำลายเครื่องหมายการค้านั้นอีก
การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนทั้งยังห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อของโจทก์ต่อไปนั้นโจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามคำพิพากษาโดยสมบูรณ์อยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องให้จำเลยทำลายเครื่องหมายการค้านั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งสิทธิในเครื่องหมายการค้า 'ฟอร์วิล' และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นบริษัทนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศฝรั่งเศส จำเลยให้การไม่ได้โต้แย้งในข้อนี้ เป็นแต่ให้การว่าโจทก์มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย ถือว่าจำเลยรับตามข้ออ้างของโจทก์แล้ว
ตัวการมอบอำนาจให้ตัวแทนรวมทั้งอำนาจฟ้องคดี และให้ตั้งตัวแทนช่วงได้ ตัวแทนจึงตั้งตัวแทนช่วง ตัวแทนช่วงฟ้องคดีได้ เพราะมีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยตรงแล้ว
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า ฟอร์วิล มา 30 ปี และส่งมาจำหน่ายในประเทศไทยกว่า 20 ปี จึงมีผู้เอาเครื่องหมายนี้ไปจดทะเบียน โดยเจตนาแย่งขายสินค้าแทนของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนได้ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า 2474 มาตรา 41 ผู้รับโอนจากผู้จดทะเบียนก็ไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
ตัวการมอบอำนาจให้ตัวแทนรวมทั้งอำนาจฟ้องคดี และให้ตั้งตัวแทนช่วงได้ ตัวแทนจึงตั้งตัวแทนช่วง ตัวแทนช่วงฟ้องคดีได้ เพราะมีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยตรงแล้ว
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า ฟอร์วิล มา 30 ปี และส่งมาจำหน่ายในประเทศไทยกว่า 20 ปี จึงมีผู้เอาเครื่องหมายนี้ไปจดทะเบียน โดยเจตนาแย่งขายสินค้าแทนของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนได้ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า 2474 มาตรา 41 ผู้รับโอนจากผู้จดทะเบียนก็ไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองเฉพาะสินค้าที่จดทะเบียน และกรณีสินค้าต่างจำพวก
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประเภทผ้าฝ้าย (จำพวก 24)ไม่มีสิทธิคุ้มครอง ไม่ให้จำเลยใช้เครื่องหมายคล้ายกันสำหรับสินค้าประเภทไหมเทียม (จำพวก 50) กรณีไม่ใช่แย่งกันเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า เพราะเป็นสินค้าคนละประเภท