พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: โจทก์มีอำนาจฟ้องแม้ไม่ได้เป็นผู้ผลิตสินค้าโดยตรง ความเสียหายประเมินตามผลกระทบต่อชื่อเสียงและคุณภาพสินค้า
ปัญหาว่าโจทก์จะเป็นผู้ผลิตสินค้าหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปและคำว่า WAXY ใช้กับสินค้าน้ำยาเคลือบเบาะหนังและจำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้ารูปและคำว่า WAXY ไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของโจทก์โดยไม่มีสิทธิ เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนได้
ส่วนความเสียหายของโจทก์ แม้ยอดขายสินค้าของโจทก์จะต่ำลง และหลังจากจำเลยทั้งสองถูกจับกุมยอดขายสินค้าของโจทก์จะเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองก็เป็นเพียงผู้รับสินค้ารายหนึ่งจากผู้ผลิตสินค้ามาจำหน่ายมิใช่ผู้ผลิตสินค้าที่ปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายสินค้าที่ปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ใช่สาเหตุสำคัญที่ทำให้ยอดขายสินค้าของโจทก์ลดลงจำนวนมาก แต่ถือเป็นความเสียหายเพียงส่วนหนึ่งที่จำเลยทั้งสองต้องร่วมรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์
ส่วนความเสียหายของโจทก์ แม้ยอดขายสินค้าของโจทก์จะต่ำลง และหลังจากจำเลยทั้งสองถูกจับกุมยอดขายสินค้าของโจทก์จะเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองก็เป็นเพียงผู้รับสินค้ารายหนึ่งจากผู้ผลิตสินค้ามาจำหน่ายมิใช่ผู้ผลิตสินค้าที่ปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายสินค้าที่ปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ใช่สาเหตุสำคัญที่ทำให้ยอดขายสินค้าของโจทก์ลดลงจำนวนมาก แต่ถือเป็นความเสียหายเพียงส่วนหนึ่งที่จำเลยทั้งสองต้องร่วมรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษซ้ำจากความผิดเดิม: โทษปรับถือเป็นโทษ, ระยะเวลาคำนวณจากวันชำระค่าปรับ
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 113 ได้กำหนดเรื่องการเพิ่มโทษไว้โดยเฉพาะในกรณีที่จำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษมาไม่ครบกำหนดห้าปี โดยไม่ได้ระบุว่าจะต้องเคยต้องโทษจำคุก การปรับก็ถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง ดังนี้เมื่อศาลลงโทษปรับจำเลยและมีการชำระค่าปรับครบถ้วนในวันเวลาใด ย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว การที่จำเลยเคยกระทำความผิดในข้อหาเดียวกันนี้ และศาลได้พิพากษาลงโทษปรับจำเลย และจำเลยมากระทำความผิดในคดีนี้ เมื่อจำเลยพ้นโทษมาแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี จึงต้องวางโทษทวีคูณแก่จำเลย ตามมาตรา 113 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7431/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียน & อายุความฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียน
แม้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้างโดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบด้วยอักษรโรมันสีขาวคำว่า "Kyuta" อยู่ในกรอบวงรีวางอยู่เหนือกรอบสี่เหลี่ยมซึ่งมีเส้นทึบตามแนวกรอบบริเวณเส้นทึบด้านล่างมีอักษรโรมันสีขาวคำว่า "KYUTACHEM.," บริเวณกลางของกรอบสี่เหลี่ยมมีกรอบสี่เหลี่ยมสีขาวซ้อนอยู่ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษรโรมันสีขาวคำว่า "Kyuta" อยู่ในกรอบวงรี แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยอาจทำให้สาธารณชนทั่วไปที่มิได้พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนสับสนหลงผิด เมื่อเห็นคำว่า "Kyuta" ซึ่งเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้แม้ว่าโจทก์จะได้จะทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก อันได้แก่ เคมีวัตถุสำหรับใช้ในการหัตถกรรมการถ่ายรูปหรือการค้นหาความรู้ทางฟิสิกส์ และใช้เป็นยากันผุเสีย ส่วนจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42ทั้งจำพวก อันได้แก่ วัตถุที่ใช้เป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องปรุงอาหารก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตั้งแต่ปี 2523 กับสินค้าเคมีภัณฑ์ประกอบอาหารและจำหน่ายให้แก่โรงงานผลิตอาหารเพื่อนำไปปรับสภาพอาหารให้คงอยู่ได้นาน อันมีลักษณะเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าที่มีลักษณะครอบคลุมถึงสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 ด้วย และเมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี2529 แล้วก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" กับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 มาก่อนจำเลยหลายปี โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ตามคำขอจดทะเบียน สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 42 ดีกว่าจำเลย โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" มาตั้งแต่ปี2523 เมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อปี 2529 โจทก์ก็ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อมา และโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2530สำหรับสินค้าในรายการจำพวกสินค้าจำพวกที่ 1 ทั้งจำพวก เมื่อโจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta" ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าวันที่ 24 มีนาคม 2530 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของ จำเลยโดยโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Kyuta"ดีกว่า อันเป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่ ซึ่งกำหนด10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 เดิม หรือมาตรา 193/12 ใหม่ คือนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้าหลังสมรส: การโอนสิทธิและละเมิดสิทธิแม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
แม้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา33ได้บัญญัติถึงการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนเสียก่อนก็ตามแต่เมื่อโจทก์ได้คิดและออกแบบเครื่องหมายการค้าแล้วนำไปจดทะเบียนโดยใช้ชื่อส.สามีโจทก์เป็นผู้จดทะเบียนในระหว่างเป็นสามีภรรยากันเครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินที่ส.กับโจทก์ผู้เป็นคู่สมรสได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสส. และโจทก์ย่อมเป็นเจ้าของสิทธิร่วมกันในเครื่องหมายการค้าแม้โจทก์จะมิได้มีชื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าในทะเบียนเครื่องหมายการค้าและต่อมาได้มีการหย่าขาดและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันแต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าของบุคคลทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ร่วมกันจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นของโจทก์แต่ลำพังผู้เดียวตามข้อตกลงการที่จำเลยละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามมาตรา27 ตามปกติโจทก์ต้องทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์อยู่แล้วจึงไม่อาจถือว่าค่าโฆษณาสินค้าเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำละเมิดของจำเลยโดยตรงแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยย่อมทำให้ค่านิยมทางการค้าของโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนเสียหายศาลจึงกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนหนึ่งตามพฤติการณ์แห่งละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า 'ธูปหอมโบตั๋น' การลวงขาย และความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า
เดิมเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยที่ 2 คำว่า"ธูปหอมโบตั๋น"โดยมีรูปดอกกุหลาบในกรอบลายไทยรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสระคนปนอยู่ จะมีลักษณะคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คำว่า"ธูปดอกกุหลาบ" ซึ่งมีรูปดอกกุหลาบในกรอบลายไทย รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสระคนปนอยู่เช่นกัน ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ขอแก้ไขคำขอจดทะเบียนโดยตัดรูปดอกกุหลาบ และลายไทยรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสที่ระคนปนอยู่ออกเสีย คงเหลือแต่เครื่องหมายการค้า คำว่า "ธูปหอมโบตั๋น"อย่างเดียวเท่านั้นแล้ว เครื่องหมายการค้าฉบับที่ขอแก้ไขแล้วของจำเลยที่ 2 จึงไม่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้นำมาจดทะเบียนไว้แล้ว จึงไม่มีเหตุจะห้ามจำเลยที่ 2มิให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า "ธูปหอมโบตั๋น" อย่างเดียวตามคำขอฉบับที่แก้ไขแล้ว แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของจำเลยก่อนแก้ไขนั้น จะมีลักษณะคล้ายกันบางประการ แต่เมื่อพิจารณาจากสลากเครื่องหมายการค้าที่ห่อธูปของโจทก์และจำเลยแล้ว มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดหลายประการเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ดูจากลักษณะภายนอกเห็นความแตกต่างในลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าทั้งสองอย่างชัดเจนประชาชนผู้บริโภคซึ่งซื้อธูปดังกล่าวไม่อาจเกิดความสับสนหรือหลงผิดได้ และเสียงเรียกขานชื่อสินค้าธูปของโจทก์จำเลยก็ต่างกันเมื่อเลือกซื้อสินค้าผู้บริโภคย่อมบอกความประสงค์ว่าจะซื้อสินค้าของผู้ใดได้โดยง่าย เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยทั้งสองจึงยังไม่คล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4084/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเครื่องหมายการค้าเกินกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้สิทธิฟ้องคดีระงับ
คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของจำเลยให้ยกคำคัดค้านของโจทก์และดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยต่อไป แต่ทั้งนี้ให้รอไว้ 90 วันนับแต่วันที่คู่กรณีได้รับสำเนาคำวินิจฉัยตามมาตรา 22 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 นั้น เป็นคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 จึงอยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหรือนำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด 90 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียน เมื่อโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจากนายทะเบียนเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2529แต่มายื่นฟ้องต่อศาลในวันที่ 10 เมษายน 2530 จึงเกินกำหนดอำนาจ ในการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นอันสิ้นไปตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 22 สิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหรือนำคดีไปสู่ศาล ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มิใช่อายุความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นแม้ศาลแพ่งจะพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคสอง และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 ไม่อย่างไรก็ดี แม้ระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งศาลจะมีอำนาจขยายระยะเวลานั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แต่โจทก์จะนำคำสั่งอนุญาตของศาลแพ่งดังกล่าวมาใช้กับศาลชั้นต้นในคดีนี้ไม่ได้เพราะเป็นคนละศาลกัน ทั้งคำสั่งอนุญาตนั้นก็มิได้อาศัย มาตรา 23 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การฟ้องคดีโดยใช้สิทธิตามมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 เป็นเรื่องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ส่วนการแย่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งยังมิได้มีการจดทะเบียนหาใช่เรื่องใช้สิทธิตามมาตราดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิมากกว่า แม้ยังมิได้จดทะเบียน และการลวงขายสินค้า
บริษัทจำเลยจัดตั้งขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่พ.ศ. 2456 โดยใช้คำว่า ครอมพ์ตัน เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัท พ.ศ. 2480 จำเลยจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าครอมพ์ตัน ใช้สำหรับโคมไฟฟ้าที่ประเทศอังกฤษ ต่อจากนั้นได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ที่ประเทศอื่น ๆ อีก จำเลยได้ส่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2511และยังมีผู้สั่งเข้ามาจำหน่ายตลอดมา ส่วนโจทก์ใช้ชื่อครอมพ์ตันเมื่อปลายปี2521ทั้งคำว่าครอมพ์ตัน เป็นคำประดิษฐ์แปลไม่ได้ ยากที่โจทก์จะคิดขึ้นมาฟ้องกับจำเลยโจทก์ย่อมทราบว่ามีผู้ใช้เครื่องหมายการค้าครอมพ์ตัน สำหรับเครื่องไฟฟ้าแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทยจึงได้ขอจดทะเบียนเสียก่อน ดังนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตไม่ จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน ดีกว่าโจทก์ แม้จำเลยยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันในประเทศไทย ไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านี้ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้ามาตรา 27 ก็ตามแต่เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยมีสิทธิดีกว่าจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคัดค้านได้ตาม มาตรา 22มิใช่เป็นการอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่จดทะเบียนอันจะต้องห้ามตาม มาตรา 27 จำเลยส่งสินค้าเครื่องไฟฟ้าใช้เครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยมานาน เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนโจทก์นำเครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันมาใช้กับสินค้าเครื่องไฟฟ้าของโจทก์ โดยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายใด ๆ แสดงให้เห็นที่เครื่องไฟฟ้านั้นว่าเป็นของโจทก์เลย พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์เอาสินค้าของโจทก์ไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของจำเลย ดังนี้จำเลยชอบที่จะฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์เลิกใช้เครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตันของจำเลยได้ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 29 วรรคสอง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ตัดพยานโจทก์เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาฯ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งไว้โดยมีโอกาสที่จะโต้แย้งได้ จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ไม่เป็นประเด็นที่โจทก์จะยกขึ้นฎีกาต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าโดยสุจริตตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และการละเมิดจากการใส่ร้ายทำให้เสียชื่อเสียง
ยาเม็ดแก้ปวดท้องที่ใช้เครื่องหมายการค้าตราตกเบ็ด โดยมีรูปคนนั่งตกเบ็ดอยู่ภายในรูปอาร์ม ซึ่งโจทก์ถือสิทธิอยู่โดยการรับโอนมาจาก บ. นั้น โจทก์ได้ยินยอมและทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้มารดาของจำเลยมีสิทธิใช้ได้โดยให้ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าขึ้นใหม่ต่างหาก โดยจะต้องระบุชื่อมารดาของจำเลยให้เห็นชัดเจนในเครื่องหมายการค้าใหม่ นั้น และกล่องที่ใช้บรรจุยาจะต้องให้มีสีต่างกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วย มารดาของจำเลยจึงมีสิทธิใช้และขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้โดยชอบด้วยพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พุทธศักราช2474 ทั้งยังมีสิทธิจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องหมายการค้านี้ให้แก่จำเลยทั้งสองด้วย จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้โดยชอบ
การที่จำเลยเพิ่มข้อความบนกล่องบรรจุยา ฉลากยา และสิ่งพิมพ์ที่ใช้โฆษณาสินค้ายาที่จำเลยผลิตจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าของจำเลยว่า 'ขนานแท้' ก็ดี 'ห้างเก่า'ก็ดี และ 'ระวังยาเลียนแบบ' ก็ดี เป็นการใช้สิทธิโดยชอบธรรมหาเป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใดไม่ส่วนการที่โจทก์ได้ส่งตัวแทนไปบอกร้านขายยาทั่วไปรวมทั้งลูกค้าของจำเลยว่ายาของจำเลยเป็นของปลอมขายไม่ได้หากขายจะถูกจับฐานขายยาปลอม และถ้าจำเลยต้องแพ้คดีก็ไม่มีสิทธิขายยาที่ผลิตออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าของจำเลยทำให้ลูกค้าไม่ยอมซื้อยาของจำเลยเพิ่มเติมและที่ซื้อไว้แล้วก็ไม่ยอมชำระราคา หรือรอให้คดีเสร็จเสียก่อนจึงจะชำระราคานั้น ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 เป็นการละเมิดต่อจำเลย
การที่จำเลยเพิ่มข้อความบนกล่องบรรจุยา ฉลากยา และสิ่งพิมพ์ที่ใช้โฆษณาสินค้ายาที่จำเลยผลิตจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าของจำเลยว่า 'ขนานแท้' ก็ดี 'ห้างเก่า'ก็ดี และ 'ระวังยาเลียนแบบ' ก็ดี เป็นการใช้สิทธิโดยชอบธรรมหาเป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใดไม่ส่วนการที่โจทก์ได้ส่งตัวแทนไปบอกร้านขายยาทั่วไปรวมทั้งลูกค้าของจำเลยว่ายาของจำเลยเป็นของปลอมขายไม่ได้หากขายจะถูกจับฐานขายยาปลอม และถ้าจำเลยต้องแพ้คดีก็ไม่มีสิทธิขายยาที่ผลิตออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าของจำเลยทำให้ลูกค้าไม่ยอมซื้อยาของจำเลยเพิ่มเติมและที่ซื้อไว้แล้วก็ไม่ยอมชำระราคา หรือรอให้คดีเสร็จเสียก่อนจึงจะชำระราคานั้น ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 เป็นการละเมิดต่อจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน: การพิจารณาความแตกต่างของลักษณะเครื่องหมายและการเน้นจุดเด่นของสินค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรโรมันล้วนๆ ส่วนของจำเลยมีอักษรไทยปนอยู่กับอักษรโรมัน ทั้งคำในเครื่องหมายการค้าทั้งสองก็แตกต่างกันเกือบทั้งหมดมีตรงกันเฉพาะคำว่า "DEOCOLOGNE"เท่านั้น แต่ลักษณะการเขียนและความใหญ่ของตัวอักษรก็แตกต่างกันมากสำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้ตัวพิมพ์เล็ก(DEOCOLOGNE) เขียนตัวอักษรโตมากและเล่นตัวอักษรด้วยแสดงถึงการเน้นตรงคำนี้ ส่วนของจำเลยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่(DEOCOLOGNE) และตัวอักษรก็ไม่โต ทั้งยังไม่ได้เล่นตัวอักษรซึ่งแสดงถึงไม่ได้มุ่งที่จะเน้นถึงคำนี้เลย แต่ไปเขียนตัวอักษรโตและเล่นตัวอักษรเน้นตรงคำว่า "ARCHE" คำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันจะชี้ให้เห็นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์อยู่ตรงคำว่า "DEOCOLOGNE" แต่ของจำเลยอยู่ตรงคำว่า ARCHE' ทั้งอักษรโรมันและอักษรไทยเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่แสดงสำหรับสินค้าสบู่ก็ระบุว่าทำในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ส่วนของจำเลยหาปรากฏข้อความเช่นนั้นไม่ ไม่อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดไปในลักษณะของเครื่องหมายการค้า หรือลวงผู้ซื้อในแหล่งกำเนิด หรือทำให้เกิดสับสนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้สินค้าต่างประเภท
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรง อ้าปากคำรามอยู่ในกรอบรูปไข่สองชั้น ส่วนบนเป็นรูปลายฝรั่ง ส่วนล่างมีอักษรโรมันคำว่า "LION" ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า สิงโต อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมทับบนกรอบรูปไข่ ส่วนของจำเลยเป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรง อ้าปากคำรามอยู่ภายในกรอบรูปวงกลมสองชั้น ไม่มีตัวอักษร ที่ใต้วงกลมมีรูปช่อรวงข้าวสองช่อโค้งรองรับตามขอบวงกลม แต่ไม่จรดกัน ระหว่างรวงข้าวทั้งสองช่อมีโบผูกห้อยชายอยู่ตรงกลาง หากพิจารณาแต่เพียงส่วนประกอบก็จะเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารวมทั้งหมดจะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกันมาก เพราะเป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรงอ้าปากคำรามอย่างเดียวกัน ซึ่งเป็นสารสำคัญของเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่าย ทั้งข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีประชาชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น จำเลยเห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน การที่จำเลยเลือกใช้เครื่องหมายการค้าเช่นเดียวกับโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้จะใช้สำหรับสินค้าคนละประเภทกับโจทก์ ก็เป็นการลวงให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าเจ้าของเดียวกันกับของโจทก์อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์