พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์โดยกลฉ้อฉลทำให้โมฆะ เจ้าของร่วมมีสิทธิเข้าอยู่อาศัย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยเข้ามาอาศัยอยู่โดยปราศจากสิทธิขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของล.บุตรสาวจำเลยเดิมล.กับโจทก์เป็นสามีภริยากันโจทก์ได้หลอกลวงล.จะนำบ้านพร้อมที่ดินพิพาทไปกู้เงินธนาคารล.จึงโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หลังจากนั้นล. กับโจทก์ก็หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาจำเลยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของล.โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งศาลชั้นต้นตั้งประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทหรือไม่แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับล.อยู่กินเป็นสามีภริยากันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนสมรสระหว่างเวลาดังกล่าวมีการซื้อบ้านและที่ดินพิพาทจดทะเบียนในนามล.โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์อีกส่วนหนึ่งเป็นของล. โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์อีกส่วนหนึ่งเป็นของล. โจทก์กับล.จึงเป็นเจ้าของร่วมการที่ล.จดทะเบียนยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการกระทำของโจทก์ที่วางแผนเพื่อให้ล.โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยบอกว่าจะเอาไปจำนองในนามของโจทก์เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวตามที่จำเลยกล่าวอ้างจริงอันเป็นการใช้กลอุบายเพียงเพื่อให้ล.หลงเชื่อแล้วโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เท่านั้นโดยโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะนำบ้านและที่ดินพิพาทไปจำนองแก่ธนาคารการจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ของล. จึงเกิดขึ้นจากการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์ให้ด้วยเจตนาที่สำคัญผิดอันเป็นสาระสำคัญจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา156กรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของโจทก์กับล.ในฐานะเจ้าของร่วมเมื่อจำเลยเข้ามาอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของล.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงเป็นการเข้าอยู่อาศัยโดยชอบโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยนั้นเป็นการพิพากษาตามฟ้องตามประเด็นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์โดยกลฉ้อฉลและผลกระทบต่ออำนาจฟ้องขับไล่
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาท จำเลยเข้ามาอาศัยอยู่โดยปราศจากสิทธิ ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ล.บุตรสาวจำเลย เดิม ล.กับโจทก์เป็นสามีภริยากัน โจทก์ได้หลอกลวงล.จะนำบ้านพร้อมที่ดินพิพาทไปกู้เงินธนาคารล.จึงโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หลังจากนั้น ล. กับโจทก์ก็หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา จำเลยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของล.โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งศาลชั้นต้นตั้งประเด็นว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทหรือไม่ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับ ล.อยู่กินเป็นสามีภริยากันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนสมรส ระหว่างเวลาดังกล่าว มีการซื้อบ้านและที่ดินพิพาทจดทะเบียนในนามล.โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ล. โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ล. โจทก์กับ ล.จึงเป็นเจ้าของร่วม การที่ ล.จดทะเบียนยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการกระทำของโจทก์ที่วางแผนเพื่อให้ล.โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยบอกว่าจะเอาไปจำนองในนามของโจทก์ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวตามที่จำเลยกล่าวอ้างจริง อันเป็นการใช้กลอุบายเพียงเพื่อให้ ล.หลงเชื่อแล้วโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เท่านั้นโดยโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะนำบ้านและที่ดินพิพาทไปจำนองแก่ธนาคาร การจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ของล. จึงเกิดขึ้นจากการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์ให้ด้วยเจตนาที่สำคัญผิดอันเป็นสาระสำคัญ จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 กรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของโจทก์กับ ล.ในฐานะเจ้าของร่วม เมื่อจำเลยเข้ามาอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ล.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงเป็นการเข้าอยู่อาศัยโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยนั้น เป็นการพิพากษาตามฟ้องตามประเด็นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์โดยกลฉ้อฉลและสิทธิการครอบครองของเจ้าของร่วม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาท จำเลยเข้ามาอาศัยอยู่โดยปราศจากสิทธิ ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ล.บุตรสาวจำเลย เดิม ล.กับโจทก์เป็นสามีภริยากัน โจทก์ได้หลอกลวงล.จะนำบ้านพร้อมที่ดินพิพาทไปกู้เงินธนาคาร ล.จึงโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หลังจากนั้น ล.กับโจทก์ก็หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา จำเลยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของ ล. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งศาลชั้นต้นตั้งประเด็นว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทหรือไม่ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับ ล.อยู่กินเป็นสามีภริยากันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนสมรส ระหว่างเวลาดังกล่าว มีการซื้อบ้านและที่ดินพิพาทจดทะเบียนในนาม ล.โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ล. โจทก์กับ ล.จึงเป็นเจ้าของร่วม การที่ ล.จดทะเบียนยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการกระทำของโจทก์ที่วางแผนเพื่อให้ ล.โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยบอกว่าจะเอาไปจำนองในนามของโจทก์ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวตามที่จำเลยกล่าวอ้างจริง อันเป็นการใช้กลอุบายเพียงเพื่อให้ ล.หลงเชื่อ แล้วโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เท่านั้น โดยโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะนำบ้านและที่ดินพิพาทไปจำนองแก่ธนาคาร การจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ของ ล. จึงเกิดขึ้นจากการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์ให้ด้วยเจตนาที่สำคัญผิดอันเป็นสาระสำคัญ จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 156 กรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของโจทก์กับ ล.ในฐานะเจ้าของร่วม เมื่อจำเลยเข้ามาอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ล.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงเป็นการเข้าอยู่อาศัยโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยนั้น เป็นการพิพากษาตามฟ้องตามประเด็นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่การขายฝาก, การครอบครองที่ดินร่วม, และขอบเขตการละเมิดสิทธิของเจ้าของร่วม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินที่โจทก์ทั้งสองรับซื้อฝากมาจากจำเลยที่1กับส. เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าจำเลยที่1ได้ใช้สิทธิขอไถ่การขายฝากในกำหนดและมีสิทธิที่จะจดทะเบียนให้เป็นที่ดินของตนตามเดิมส่วนที่ดินที่เป็นของส. แม้ศาลจะยกฟ้องแย้งของจำเลยที่1ที่ใช้สิทธิขอไถ่การขายฝากจำเลยที่1เป็นเจ้าของร่วมกันส. ส่วนของส. ตกเป็นของโจทก์ที่2จำเลยที่1กับโจทก์ที่2เป็นเจ้าของร่วมกันถือว่ามีสิทธิอยู่ทุกส่วนของที่ดินจนกว่าจะแบ่งแยกกันเป็นส่วนสัดจำเลยทั้งสองอาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าวย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์จนกว่าจะแบ่งแยกว่าส่วนใดเป็นของโจทก์ที่2หรือจำเลยที่1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของร่วมที่ดินหลังไถ่การขายฝาก - การฟ้องขับไล่ทำได้เมื่อมีการแบ่งแยกส่วนสัด
โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินที่โจทก์ทั้งสองรับซื้อฝากมาจากจำเลยที่ 1 กับ ส. เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิขอไถ่การขายฝากในกำหนด และมีสิทธิที่จะจดทะเบียนให้เป็นที่ดินของตนตามเดิมส่วนที่ดินที่เป็นของ ส.แม้ศาลจะยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่ใช้สิทธิขอไถ่การขายฝากแต่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกับ ส. ส่วนของ ส.ตกเป็นของโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของร่วมกัน ถือว่ามีสิทธิอยู่ทุกส่วนของที่ดินจนกว่าจะแบ่งแยกกันเป็นส่วนสัด จำเลยทั้งสองอาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าว ย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์จนกว่าจะแบ่งแยกว่าส่วนใดเป็นของโจทก์ที่ 2 หรือจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2275/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม สินสมรส การใช้สิทธิเกินส่วน และขอบเขตอำนาจฟ้อง
แม้จำเลยทั้งสองจะได้ให้การต่อสู้ว่า ร.ได้ทำพินัยกรรมเอาไว้แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมของร. จริงหรือไม่ซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้มาด้วยการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของ ร. จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากที่คู่ความอุทธรณ์อันเป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์การที่จำเลยที่1ฎีกาว่า ร.ทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้ตนเพียงคนเดียวจึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่พิพาทเป็น สินสมรสระหว่าง ร. กับโจทก์เมื่อ ร. ตายจึงตกเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งตกทอดแก่ทายาทดังนั้นโจทก์และจำเลยที่1จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่พิพาทโดยจำเลยที่1มีกรรมสิทธิ์เพียงบางส่วนเมื่อปรากฏว่าที่พิพาทยังมิได้มีการแบ่งแยกกัน ครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วโจทก์จึงไม่มี อำนาจฟ้องขับไล่จำเลยที่1ให้ออกจากที่พิพาทได้ส่วนจำเลยที่2ซึ่งปลูกบ้านในที่พิพาทโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิ ฟ้องขับไล่ได้อย่างไรก็ตามการที่จำเลยที่1ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทแต่เพียงผู้เดียวเช่นนี้ถือว่าเป็นการใช้สิทธิเกินส่วนซึ่งทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะจำเลยที่1มีกรรมสิทธิ์เป็นส่วนน้อยจำเลยที่1จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่พิพาทเป็นคดีใหม่ตามส่วนของตนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางในที่ดินของเจ้าของรวม การใช้สิทธิโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย และขอบเขตความรับผิดทางละเมิด
ถนนพิพาทสร้างขึ้นโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่3และที่4ซึ่งเป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สร้างถนนกรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา146ที่จะไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน จำเลยที่1ที่3ที่4ที่5และที่6เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินอันเป็นที่ตั้งถนนพิพาทบริษัท พ. เป็นผู้สร้างถนนพิพาทโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่3และที่4เพื่อให้บุคคลในเคหะชุมชนบัวขาวและจำเลยที่3กับที่4ใช้สอยด้วยดังนั้นจำเลยที่1ที่5และที่6ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินย่อมมีสิทธิใช้สอยถนนพิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1360 จำเลยที่1ว่าจ้างรถยนต์บรรทุก10ล้อบรรทุกดินไปถมที่ดินในโครงการหมู่บ้านของจำเลยที่1เป็นเหตุให้ถนนพิพาทเสียหายดังนี้แม้จำเลยที่1จะมีสิทธิใช้สอยถนนพิพาทได้ก็ตามแต่ในการใช้สิทธิของจำเลยที่1จะต้องไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421,1360การกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการกระทำที่ ละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ถนน-ทางเข้าออก-ละเมิด: เจ้าของรวมใช้สิทธิไม่เกินขอบเขต
บริษัท พ. ซึ่งโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาได้สร้างถนนพิพาทโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สร้างถนน ฉะนั้นจึงถือได้ว่าถนนพิพาทเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ที่จะไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่มีถนนพิพาทผ่านก็ย่อมมีสิทธิใช้ที่ดินเป็นทางเข้าออกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360
แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่ตั้งถนนพิพาทและมีสิทธิใช้ที่ดินและถนนพิพาทนั้นในฐานะเจ้าของรวมก็ตาม แต่การใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 จะต้องไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 421 และ 1360 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ใช้รถยนต์บรรทุกสิบล้อขนดินและวัสดุต่าง ๆ ในการทำโครงการจัดสรรที่ดินและบ้านทำให้ถนนพิพาทเสียหายจึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่ตั้งถนนพิพาทและมีสิทธิใช้ที่ดินและถนนพิพาทนั้นในฐานะเจ้าของรวมก็ตาม แต่การใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 จะต้องไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 421 และ 1360 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ใช้รถยนต์บรรทุกสิบล้อขนดินและวัสดุต่าง ๆ ในการทำโครงการจัดสรรที่ดินและบ้านทำให้ถนนพิพาทเสียหายจึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของที่ดินมีสิทธิใช้ทาง แต่ต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น การถมดินทำให้เสียหายถือเป็นการละเมิด
บริษัทพ. ซึ่งโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาได้สร้างถนนพิพาทโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่3และที่4ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สร้างถนนฉะนั้นจึงถือได้ว่าถนนพิพาทเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา146ที่จะไม่เป็นส่วนควบของที่ดินจำเลยที่1ที่3ที่4ที่5และที่6เป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่มีถนนพิพาทผ่านก็ย่อมมีสิทธิใช้ที่ดินเป็นทางเข้าออกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1360 แม้จำเลยที่1จะเป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่ตั้งถนนพิพาทและมีสิทธิใช้ที่ดินและถนนพิพาทนั้นในฐานะเจ้าของรวมก็ตามแต่การใช้สิทธิของจำเลยที่1จะต้องไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421และ1360การกระทำของจำเลยที่1ที่ใช้รถยนต์บรรทุกสิบล้อขนดินและวัสดุต่างๆในการทำโครงการจัดสรรที่ดินและบ้านทำให้ถนนพิพาทเสียหายจึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8264/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยเจ้าของรวม และความยินยอมของภริยา
จำเลยซึ่งเป็นสามีทำสัญญาจะขายที่พิพาทอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และการขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยร่วมผู้เป็นภริยาจึงต้องให้ความยินยอมเป็นหนังสือ โจทก์จะอ้างว่าการนั้นได้รับความยินยอมแล้วโดยไม่มีหลักฐานการให้ความยินยอมเป็นหนังสืออันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเช่นนี้ย่อมฟังไม่ได้
โจทก์นำสืบเพียงว่าพบจำเลยร่วมหลังจากทำสัญญาในขณะไปรังวัดที่ดิน โดยไม่มีพฤติการณ์อื่นใดที่พอจะฟังว่าจำเลยร่วมได้ให้สัตยาบัน ทั้งการพบครั้งสุดท้ายจำเลยร่วมยังบอกให้จำเลยคืนมัดจำโดยจะไม่มีการขาย ซึ่งจำเลยร่วมก็นำสืบหักล้างว่า ไม่ทราบเรื่องจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์และไม่เคยเห็นโจทก์ไปรังวัดที่พิพาทแต่อย่างใด ดังนี้ ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยร่วมให้สัตยาบันแล้ว
จำเลยและจำเลยร่วมร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทในระหว่างอยู่กินกันตั้งแต่ปี 2500 แต่เพิ่งจดทะเบียนสมรสเมื่อปี 2519 การถือครองที่พิพาทในขณะนั้นจึงเป็นลักษณะเจ้าของรวม ที่พิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยและจำเลยร่วมฝ่ายละครึ่งหนึ่ง หาใช่สินสมรสไม่ การที่จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทแก่โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าของรวม สัญญาดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนที่เป็นของจำเลย โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาทส่วนที่เป็นของจำเลยได้
โจทก์นำสืบเพียงว่าพบจำเลยร่วมหลังจากทำสัญญาในขณะไปรังวัดที่ดิน โดยไม่มีพฤติการณ์อื่นใดที่พอจะฟังว่าจำเลยร่วมได้ให้สัตยาบัน ทั้งการพบครั้งสุดท้ายจำเลยร่วมยังบอกให้จำเลยคืนมัดจำโดยจะไม่มีการขาย ซึ่งจำเลยร่วมก็นำสืบหักล้างว่า ไม่ทราบเรื่องจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์และไม่เคยเห็นโจทก์ไปรังวัดที่พิพาทแต่อย่างใด ดังนี้ ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยร่วมให้สัตยาบันแล้ว
จำเลยและจำเลยร่วมร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทในระหว่างอยู่กินกันตั้งแต่ปี 2500 แต่เพิ่งจดทะเบียนสมรสเมื่อปี 2519 การถือครองที่พิพาทในขณะนั้นจึงเป็นลักษณะเจ้าของรวม ที่พิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยและจำเลยร่วมฝ่ายละครึ่งหนึ่ง หาใช่สินสมรสไม่ การที่จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทแก่โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าของรวม สัญญาดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนที่เป็นของจำเลย โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาทส่วนที่เป็นของจำเลยได้