พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วม, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, การแบ่งทรัพย์สิน, สิทธิการใช้ประโยชน์, การเพิกถอนการให้
จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าพยานจำเลยที่ประสงค์จะส่งประเด็นไปสืบที่ประเทศอินเดีย เป็นบุตร บุตรเขย และหลาน กับเพื่อนผู้ใกล้ชิดกับ ด.บิดารู้เห็นเกี่ยวกับที่มาของที่ดินพิพาทและต้องให้พยานดังกล่าวรับรองลายมือชื่อหรือลายมือเขียนของ ด. อีกทั้งพยานเหล่านั้นรู้เห็นใกล้ชิดเหตุการณ์ซึ่ง น.ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้เบิกความไว้นั้น แต่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่จะนำสืบพยานดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ น.ได้เบิกความไว้แล้ว ทั้งจำเลยก็ได้อ้างส่งพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารไว้แล้วทั้งสิ้น และโจทก์ก็มิได้ปฏิเสธลายมือชื่อของ ด.ที่ปรากฏในเอกสารจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าวให้เป็นการฟุ่มเฟือยและเสียเวลาเพราะพยานจำเลยเท่าที่นำสืบมากระจ่างชัดแจ้ง แม้จะให้สืบพยานจำเลยต่อไปก็ไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น คดีจึงไม่มีประโยชน์อย่างใดที่จะส่งประเด็นไปสืบพยานเพิ่มเติมที่ประเทศอินเดีย
ตามบันทึกข้อตกลงระบุให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตกได้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลย ด. และ อ.โดยเท่าเทียมกัน เท่ากับมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ1 ใน 5 ส่วน แต่ตามสัญญาดังกล่าว ด.บิดาลงนามแทน อ.โดยไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจกันโดยถูกต้อง ทั้งในขณะทำสัญญา อ.มิใช่ผู้เยาว์ที่บิดาจะกระทำการแทนได้ อีกทั้ง อ.เป็นคนวิกลจริตมาแต่แรกเกิด ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นพูดไม่ได้เพราะสมองพิการ แสดงว่า ด.บิดาได้ทำสัญญาแทน อ. โดย อ.ไม่รู้ถึงการทำสัญญาดังกล่าวเลย และขณะนั้นศาลก็ยังมิได้มีคำสั่งให้ อ.เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่มีผู้อนุบาล จึงถือไม่ได้ว่า อ.ได้ทำสัญญาดังกล่าว อ.จึงมิใช่คู่สัญญาด้วยแม้สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ.มาตรา 374 ก็ตาม แต่เมื่อ อ.ไม่ได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะ อ.เป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถแสดงเจตนาด้วยตนเองว่าจะเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นดังนั้นสิทธิของ อ.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงยังไม่เกิดขึ้น อ.จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท แม้ อ.สละสิทธิในส่วนนั้นก็ไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อพิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์ของบิดากับบุตรตามบันทึกข้อความที่ประสงค์จะให้แต่ละคนมีสิทธิคนละส่วนเท่าเทียมกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสอง จำเลย กับ ด.จึงมีสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคนละ 1 ใน 4 ส่วน
ที่จำเลยฎีกาว่า ด.ยังไม่สละสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิให้ ช.จัดการโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของ ด.กับ อ.ผู้ไร้ความสามารถเป็นของโจทก์ทั้งสองนั้น เมื่อสิทธิของ อ.ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทยังไม่เกิด จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยฎีกาว่า การสละสิทธิของ อ.ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะหรือไม่
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 3 ส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 เจ้าของรวมย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ หรือวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ทั้งสองเรียกให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในเวลาที่เป็นโอกาสอันไม่ควรแต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งแยกจนกว่าจะได้ดำเนินการแบ่งแยกส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะฟ้องแบ่งแยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยในจำนวน 2 ใน 3 ส่วนตามที่ตนเป็นเจ้าของรวมได้
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมมีสิทธิใช้ทรัพย์สินนั้น โดยไม่ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น ทั้งตามบันทึกข้อตกลงก็กำหนดให้รายรับและการสูญเสียใด ๆ อันเกิดขึ้นจากบรรดาทรัพย์สินตามสัญญา ให้จัดการแบ่งโดยเท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญาทุกคน ซึ่งหมายถึงผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินเหล่านั้นดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท จึงมีสิทธิได้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท
ทรัพย์พิพาทมิใช่เป็นของจำเลยมาแต่แรก การที่จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่แรกนั้น เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนบิดา ต่อมาได้มีการตกลงแบ่งแยกกัน โดยให้โจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์คนละ 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้นจึงมิใช่กรณีที่จำเลยให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นปัญหาที่ว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประพฤติเนรคุณทำให้จำเลยเพิกถอนการให้ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
ตามบันทึกข้อตกลงระบุให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตกได้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลย ด. และ อ.โดยเท่าเทียมกัน เท่ากับมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ1 ใน 5 ส่วน แต่ตามสัญญาดังกล่าว ด.บิดาลงนามแทน อ.โดยไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจกันโดยถูกต้อง ทั้งในขณะทำสัญญา อ.มิใช่ผู้เยาว์ที่บิดาจะกระทำการแทนได้ อีกทั้ง อ.เป็นคนวิกลจริตมาแต่แรกเกิด ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นพูดไม่ได้เพราะสมองพิการ แสดงว่า ด.บิดาได้ทำสัญญาแทน อ. โดย อ.ไม่รู้ถึงการทำสัญญาดังกล่าวเลย และขณะนั้นศาลก็ยังมิได้มีคำสั่งให้ อ.เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่มีผู้อนุบาล จึงถือไม่ได้ว่า อ.ได้ทำสัญญาดังกล่าว อ.จึงมิใช่คู่สัญญาด้วยแม้สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ.มาตรา 374 ก็ตาม แต่เมื่อ อ.ไม่ได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะ อ.เป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถแสดงเจตนาด้วยตนเองว่าจะเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นดังนั้นสิทธิของ อ.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงยังไม่เกิดขึ้น อ.จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท แม้ อ.สละสิทธิในส่วนนั้นก็ไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อพิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์ของบิดากับบุตรตามบันทึกข้อความที่ประสงค์จะให้แต่ละคนมีสิทธิคนละส่วนเท่าเทียมกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสอง จำเลย กับ ด.จึงมีสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคนละ 1 ใน 4 ส่วน
ที่จำเลยฎีกาว่า ด.ยังไม่สละสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิให้ ช.จัดการโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของ ด.กับ อ.ผู้ไร้ความสามารถเป็นของโจทก์ทั้งสองนั้น เมื่อสิทธิของ อ.ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทยังไม่เกิด จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยฎีกาว่า การสละสิทธิของ อ.ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะหรือไม่
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 3 ส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 เจ้าของรวมย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ หรือวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ทั้งสองเรียกให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในเวลาที่เป็นโอกาสอันไม่ควรแต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งแยกจนกว่าจะได้ดำเนินการแบ่งแยกส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะฟ้องแบ่งแยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยในจำนวน 2 ใน 3 ส่วนตามที่ตนเป็นเจ้าของรวมได้
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมมีสิทธิใช้ทรัพย์สินนั้น โดยไม่ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น ทั้งตามบันทึกข้อตกลงก็กำหนดให้รายรับและการสูญเสียใด ๆ อันเกิดขึ้นจากบรรดาทรัพย์สินตามสัญญา ให้จัดการแบ่งโดยเท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญาทุกคน ซึ่งหมายถึงผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินเหล่านั้นดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท จึงมีสิทธิได้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท
ทรัพย์พิพาทมิใช่เป็นของจำเลยมาแต่แรก การที่จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่แรกนั้น เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนบิดา ต่อมาได้มีการตกลงแบ่งแยกกัน โดยให้โจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์คนละ 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้นจึงมิใช่กรณีที่จำเลยให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นปัญหาที่ว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประพฤติเนรคุณทำให้จำเลยเพิกถอนการให้ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วม, การแบ่งทรัพย์สิน, ค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์, และการเพิกถอนการให้เนื่องจากเนรคุณ
จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าพยานจำเลยที่ประสงค์จะส่งประเด็นไปสืบที่ประเทศอินเดีย เป็นบุตร บุตรเขย และหลาน กับเพื่อนผู้ใกล้ชิดกับ ด. บิดารู้เห็นเกี่ยวกับที่มาของที่ดินพิพาทและต้องให้พยานดังกล่าวรับรองลายมือชื่อหรือลายมือเขียนของด.อีกทั้งพยานเหล่านั้นรู้เห็นใกล้ชิดเหตุการณ์ซึ่ง น.ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้เบิกความไว้นั้น แต่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่จะนำสืบพยานดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ น. ได้เบิกความไว้แล้วทั้งจำเลยก็ได้อ้างส่งพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารไว้แล้วทั้งสิ้นและโจทก์ก็มิได้ปฏิเสธลายมือชื่อของ ด.ที่ปรากฏในเอกสารจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าวให้เป็นการฟุ่มเฟือยและเสียเวลาเพราะพยานจำเลยเท่าที่นำสืบมากกระจ่างชัดแจ้ง แม้จะให้สืบพยานจำเลยต่อไปก็ไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น คดีจึงไม่มีประโยชน์อย่างใดที่จะส่งประเด็นไปสืบพยานเพิ่มเติมที่ประเทศอินเดีย ตามบันทึกข้อตกลงระบุให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตกได้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลย ด.และอ. โดยเท่าเทียมกันเท่ากับมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 5 ส่วน แต่ตามสัญญาดังกล่าวด.บิดาลงนามแทนอ. โดยไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจกันโดยถูกต้อง ทั้งในขณะทำสัญญา อ. มิใช่ผู้เยาว์ที่บิดาจะกระทำการแทนได้ อีกทั้ง อ. เป็นคนวิกลจริตมาแต่แรกเกิดไม่สามารถรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นพูดไม่ได้เพราะสมองพิการแสดงว่า ด.บิดาได้ทำสัญญาแทนอ.โดยอ.ไม่รู้ถึงการทำสัญญาดังกล่าวเลย และขณะนั้นศาลก็ยังมิได้มีคำสั่งให้อ.เป็นคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาลจึงถือไม่ได้ว่าอ.ได้ทำสัญญาดังกล่าว อ. จึงมิใช่คู่สัญญาด้วยแม้สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ก็ตาม แก่เมื่ออ.ไม่ได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะอ.เป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถแสดงเจตนาด้วยตนเองว่าจะเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นดังนั้นสิทธิของ อ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงยังไม่เกิดขึ้น อ. จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท แม้ อ. สละสิทธิใส่วนนั้นก็ไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อพิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์ของบิดากับบุตรตามบันทึกข้อความที่ประสงค์จะให้แต่ละคนมีสิทธิคนละส่วนเท่าเทียมกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจำเลย กับด. จึงมีสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคนละ1 ใน 4 ส่วน ที่จำเลยฎีกาว่า ด. ยังไม่สละสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิให้ ช. จัดการโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของด.กับอ. ผู้ไร้ความสามารถเป็นของโจทก์ทั้งสองนั้นเมื่อสิทธิของ อ.ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทยังไม่เกิดจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยฎีกาว่า การสละสิทธิของอ.ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะหรือไม่ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 3 ส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 เจ้าของรวมย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ หรือวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ทั้งสองเรียกให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในเวลาที่เป็นโอกาส อันไม่ควรแต่อย่างใดและไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งแยกจนกว่าจะได้ดำเนินการแบ่งแยกส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงกันไว้โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะฟ้องแบ่งแยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยในจำนวน 2 ใน 3 ส่วน ตามที่ตนเป็นเจ้าของรวมได้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมมีสิทธิใช้ทรัพย์สินนั้น โดยไม่ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น ทั้งตามบันทึกข้อตกลงก็กำหนดให้รายรับและการสูญเสียใด ๆ อันเกิดขึ้นจากบรรดาทรัพย์สินตามสัญญาให้จัดการแบ่งโดยเท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญาทุกคน ซึ่งหมายถึงผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินเหล่านั้นดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท จึงมีสิทธิได้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท ทรัพย์พิพาทมิใช่เป็นของจำเลยมาแต่แรก การที่จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่แรกนั้น เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนบิดาต่อมาได้มีการตกลงแบ่งแยกกัน โดยให้โจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์คนละ 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้นจึงมิใช่กรณีที่จำเลยให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นปัญหาที่ว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประพฤติเนรคุณทำให้จำเลยเพิกถอนการให้ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกแทนทายาทโดยธรรมและการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน ศาลยกฟ้องคดีขับไล่
เมื่อมารดาโจทก์จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินและบ้านพิพาทจากเจ้ามรดกโดยใส่ชื่อมารดาโจทก์คนเดียวนั้นเป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนทายาทโดยธรรมทุกคนรวมทั้งจำเลยที่ 2 ด้วย ที่ดินและบ้านพิพาทจึงยังมิได้มีการแบ่งปันกันระหว่างทายาทโดยธรรม มารดาโจทก์ไม่มีสิทธิจดทะเบียนยกที่ดินและบ้านพิพาทในส่วนมรดกที่ตกได้แก่ทายาทอื่นให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของมารดาโจทก์ที่รับมรดกมาในฐานะทายาทโดยธรรม จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิยึดถือครอบครองโดยอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทได้ ส่วนจำเลยที่ 1สามีจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นบริวารของจำเลยที่ 2ย่อมมีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาท เมื่อที่ดินและบ้านพิพาทยังเป็นมรดกอยู่โจทก์และจำเลยที่ 2 รวมทั้งทายาทอื่นจึงเป็นเจ้าของรวม ดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์โรงแรมและสินสมรส: การแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสและมรดก
ผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสร่วมกันทำกิจการโรงแรมมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เงินที่ใช้เป็นทุนปลูกสร้างโรงแรมจะเกิดจากฝ่ายใดหามาไม่สำคัญ ต้องถือว่าโรงแรมเป็นทรัพย์สินร่วมกันระหว่างผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินยินยอมให้ใช้ที่ดินดังกล่าวปลูกสร้างโรงแรมเพื่อทำกิจการค้าร่วมกันกับโจทก์ที่ 1 โรงแรมจึงไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากันทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส
เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 111 และมาตรา1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้จำเลยที่ 4 ปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากันทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส
เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 111 และมาตรา1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้จำเลยที่ 4 ปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แบ่งมรดกที่ดิน, โรงแรม, เงินฝาก, รายได้โรงแรม ระหว่างทายาทและอดีรภัสยา โดยคำนึงถึงสัดส่วนการเป็นเจ้าของและรายได้
ผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาร่วมกันทำกิจการโรงแรมมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เงินที่ใช้เป็นทุนปลูกสร้างโรงแรมจะเกิดจากฝ่ายใดหามาไม่สำคัญ ต้องถือว่าโรงแรมเป็นทรัพย์สินร่วมกันระหว่างผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 เมื่อผู้ตายยินยอมให้ใช้ที่ดินดังกล่าวปลูกสร้างโรงแรมเพื่อทำกิจการค้าร่วมกันกับโจทก์ที่ 1โรงแรมจึงไม่เป็นส่วนควบกับที่ดินเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากัน ทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภรรยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111และมาตรา 1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้ทายาทคนหนึ่งปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ทายาทคนนั้นก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมและผลของการซื้อขายโดยไม่ยินยอม สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์สิน
จำเลยและ ส. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินและบ้านพิพาท ซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งจะจำหน่ายทรัพย์สินโดยเจ้าของคนอื่นมิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยยอมให้ ส. ขายที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ แม้หนี้เงินกู้จะเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างจำเลยและ ส. สัญญาขายที่ดินและบ้านพิพาทก็หาผูกพันจำเลยไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย แต่โจทก์มีสิทธิเข้าสวมสิทธิของ ส. เรียกร้องให้แบ่งส่วนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองร่วม การฟ้องขับไล่ และผลกระทบต่อสิทธิของคู่ครองร่วม
โจทก์จำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินร่วมกันโดยยังมิได้แบ่งแยกสัดส่วนแน่นอน โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินส่วนของโจทก์ต่อมาเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไป โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย การที่ศาลยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีของโจทก์ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงสมควรที่จะกำหนดในคำพิพากษาว่า ไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ภายในอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินร่วมกันและอำนาจฟ้องขับไล่: การฟ้องขับไล่ต้องคำนึงถึงสิทธิครอบครองร่วมกันของผู้ถูกฟ้อง
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน โดยยังไม่มีการแบ่งแยกการครอบครองออกเป็นสัดส่วน แม้จำเลยที่ 1 ยกที่ดินส่วนของตนให้จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 ไปยื่นคำขอออก น.ส.3 ก.ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการแบ่งแยกการครอบครองออกเป็นสัดส่วน การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินทั้งแปลงย่อมเป็นการลบล้างสิทธิครอบครองของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ด้วย และแม้จำเลยที่ 1 จะเช่าที่ดินส่วนของโจทก์และสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ได้เพราะเป็นการขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เองด้วยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลพิพากษายกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่อยู่จริงหรือไม่เพียงใด สมควรไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินร่วมกัน-อำนาจฟ้อง-การครอบครองแทนและโดยอาศัยสิทธิของตนเอง-การยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินทั้งแปลง ได้แบ่งขายให้โจทก์บางส่วนโดยยังมิได้มีการแบ่งแยกออกเป็นสัดส่วนแน่นอน และแม้จำเลยที่ 1 จะได้ยกที่ดินอีกบางส่วนให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ไปยื่นขอออก น.ส.3 ก. แล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการแบ่งแยกออกเป็นสัดส่วนเช่นกัน การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินดังกล่าว นอกจากจะเป็นการครอบครองแทนโจทก์แล้ว ก็ยังเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของตนเองด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะได้เช่าที่ดินในส่วนของโจทก์และสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่ามาฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ได้ และเมื่อจำเลยที่ 2 อยู่ในที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2เช่นกัน ศาลยกฟ้องของโจทก์ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่เพียงใด จึงสมควรที่จะไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5144/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสัญญาเช่าที่ดิน: สัญญาเช่า 5 ปีมีผลเหนือข้อตกลงด้วยวาจา 10 ปี แม้มีการลงทุนทำประโยชน์ในที่ดิน
แม้จำเลยจะมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในที่ดินที่เข่าและส่วนของจำเลยกับส่วนของโจทก์ยังไม่ได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ซึ่งจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตามที่โจทก์ฟ้องจริงแต่มิได้ผิดสัญญาจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิตามสัญญา สัญญาที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องที่จำเลยตกลงทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนตัวแต่ผู้เดียวโดยลำพัง ซึ่งเป็นการประกอบธุรกิจต่างหากนอกจากเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดสัญญา จึงฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยมิให้เข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ได้ จำเลยได้ทำวังกุ้งอยู่ก่อนแล้ว ได้จ้างผู้อื่นขุดดินทำคันกั้นน้ำ แต่ที่ดินแปลงที่จำเลยทำไม่พอทำวังกุ้งจึงได้มาตกลงเช่าที่ดินในส่วนของโจทก์เพิ่มขึ้น เห็นได้ว่าแม้จำเลยได้ลงทุนในการทำวังกุ้งมากก็ตามแต่จำเลยได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของตนนั่นเองสัญญาเช่ามีกำหนด 5 ปี ไม่มีข้อตกลงใด ๆ บันทึกไว้เป็นหลักฐานว่าจำเลยตกลงเช่าที่ดินโจทก์โดยมีเงื่อนไขและเงื่อนเวลา 10 ปีสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ไม่ใช่สัญญาเช่าที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีกำหนด 10 ปี.