คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1361

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อมีการโอนมรดก: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้รับมรดกผูกพันตามสัญญาเดิม
ฟ้องโจทก์ตั้งประเด็นว่า น. ผู้ตายเคยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กลับไปขอรับมรดกที่ดินรายนี้แล้วโอนให้จำเลยที่ 2 จำเลยให้การต่อสู้โดยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า สัญญาประนีประนอมที่ น. ทำไว้ใช้ไม่ได้ เพราะเจ้าของที่ดินโฉนดพิพาทมีคนอื่น นอกจาก น. เป็นเจ้าของด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ยกข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นเพราะจำเลยเพิ่งยกขึ้นในตอนที่จำเลยอุทธรณ์
จำเลยเป็นผู้รับมรดกสืบสิทธิจาก น. ต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ น. ทำไว้กับโจทก์ด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยขอแบ่งแยกที่ดินให้ตามสัญญานั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความของผู้รับมรดก แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์รวม
ฟ้องโจทก์ตั้งประเด็นว่า น. ผู้ตายเคยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กลับไปขอรับมรดกที่ดินรายนี้แล้วโอนให้จำเลยที่ 2 จำเลยให้การต่อสู้โดยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า สัญญาประนีประนอมที่ น. ทำไว้ใช้ไม่ได้ เพราะเจ้าของที่ดินโฉนดพิพาทมีคนอื่น นอกจาก น. เป็นเจ้าของด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ยกข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นเพราะจำเลยเพิ่งยกขึ้นในตอนที่จำเลยอุทธรณ์
จำเลยเป็นผู้รับมรดกสืบสิทธิจาก น. ต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ น. ทำไว้กับโจทก์ด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยขอแบ่งแยกที่ดินให้ตามสัญญานั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโดยปริยายในการขายที่ดินมรดก เจ้าของร่วมไม่ได้คัดค้านถือเป็นการยินยอม
การที่จำเลยที่ 2 ขายที่ดินมือเปล่าซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยโดยที่จำเลยที่ 1 ก็รู้เรื่องมิได้คัดค้านประการใดนั้นย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ขายส่วนของจำเลยที่ 1 โดยปริยายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโดยปริยายในการขายทรัพย์สินร่วม การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิในที่ดิน
การที่จำเลยที่ 2 ขายที่ดินมือเปล่าซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยโดยที่จำเลยที่ 1 ก็รู้เรื่องและมิได้คัดค้านประการใดนั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ขายส่วนของจำเลยที่ 1 โดยปริยายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโดยปริยายในการขายที่ดินมรดก: สิทธิของเจ้าของเดิม vs. ผู้ซื้อ
การที่จำเลยที่ 2 ขายที่ดินมือเปล่าซึ่งจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยโดยที่จำเลยที่ 1 ก็รู้เรื่องและมิได้คัดค้านประการใดนั้น. ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ขายส่วนของจำเลยที่ 1 โดยปริยายด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยตัวแทนที่ไม่ได้รับมอบอำนาจ และขอบเขตการบังคับตามสัญญาเมื่อมีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยตกลงจะขายที่ดินให้โจทก์โดยผู้มีชื่อเป็นตัวแทนจำเลย แต่ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่าผู้มีชื่อนั้นไม่ใช่ตัวแทนจำเลย หากแต่เป็นผู้รับซื้อที่ดินจากจำเลยแล้วมาโอนให้โจทก์ ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจึงต่างกับข้อหาตามฟ้อง ทั้งเมื่อจำเลยไม่ได้ตกลงขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์กับจำเลยย่อมไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ได้
ผู้ซื้อกับผู้ขายทำสัญญากันไว้ว่าจะชำระราคาและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน เมื่อโฉนดพ้นจากการอายัด สิทธิเรียกร้องในการบังคับตามสัญญาซื้อขายย่อมเริ่มนับแต่เมื่อมีการเพิกถอนการอายัดเป็นต้นไป หากนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนดสิบปี คดีย่อมไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
จำเลยตกลงจะขายที่ดินของจำเลยตามตราจองซึ่งแบ่งแยกจากตราจองฉบับเดิมซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมหลายเจ้าของ เมื่อตราจองของจำเลยถูกเพิกถอนกลับคืนเป็นตราจองฉบับเดิมก็ถือได้ว่าจำเลยตกลงขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยตามตราจองฉบับเดิมนั้น ซึ่งจำเลยมีสิทธิขายได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติสัมพันธ์ซื้อขายที่ดิน: ตัวแทนจำเลย vs. ผู้รับซื้อจริง, ขอบเขตการขายที่ดินรวม และอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยตกลงจะขายที่ดินให้โจทก์โดยผู้มีชื่อเป็นตัวแทนจำเลย แต่ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่าผู้มีชื่อนั้นไม่ใช่ตัวแทนจำเลย หากแต่เป็นผู้รับซื้อที่ดินจากจำเลยแล้วมาโอนให้โจทก์ ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจึงต่างกับข้อหาตามฟ้อง ทั้งเมื่อจำเลยไม่ได้ตกลงขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์กับจำเลยย่อมไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ได้
ผู้ซื้อกับผู้ขายทำสัญญากันไว้ว่าจะชำระราคาและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน เมื่อโฉนดพ้นจากการอายัด สิทธิเรียกร้องในการบังคับตามสัญญาซื้อขายย่อมเริ่มนับแต่เมื่อมีการเพิกถอนการอายัดเป็นต้นไป หากนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนดสิบปี คดีย่อมไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
จำเลยตกลงจะขายที่ดินของจำเลยตามตราจองซึ่งแบ่งแยกจากตราจองฉบับเดิมซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมหลายเจ้าของ เมื่อตราจองของจำเลยถูกเพิกถอนกลับคืนเป็นตราจองฉบับเดิม ก็ถือได้ว่าจำเลยตกลงขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยตามตราจองฉบับเดิมนั้น ซึ่งจำเลยมีสิทธิขายได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสิทธิซื้อขายที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงตัวแทนขายและผลกระทบต่อการบังคับตามสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยตกลงจะขายที่ดินให้โจทก์โดยผู้มีชื่อเป็นตัวแทนจำเลย. แต่ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่าผู้มีชื่อนั้นไม่ใช่ตัวแทนจำเลย. หากแต่เป็นผู้รับซื้อที่ดินจากจำเลยแล้วมาโอนให้โจทก์. ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจึงต่างกับข้อหาตามฟ้อง. ทั้งเมื่อจำเลยไม่ได้ตกลงขายที่ดินให้โจทก์. โจทก์กับจำเลยย่อมไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ ต่อกัน. โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ได้.
ผู้ซื้อกับผู้ขายทำสัญญากันไว้ว่าจะชำระราคาและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน. เมื่อโฉนดพ้นจากการอายัด สิทธิเรียกร้องในการบังคับตามสัญญาซื้อขายย่อมเริ่มนับแต่เมื่อมีการเพิกถอนการอายัดเป็นต้นไป. หากนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนดสิบปี. คดีย่อมไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง.
จำเลยตกลงจะขายที่ดินของจำเลยตามตราจองซึ่งแบ่งแยกจากตราจองฉบับเดิมซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมหลายเจ้าของ. เมื่อตราจองของจำเลยถูกเพิกถอนกลับคืนเป็นตราจองฉบับเดิม.ก็ถือได้ว่าจำเลยตกลงขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยตามตราจองฉบับเดิมนั้น. ซึ่งจำเลยมีสิทธิขายได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินชำระหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ แต่การครอบครองย้ายไปแล้ว ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครอง
การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน มีแต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ แบบ น.ส. 3 ต้องจดทะเบียนที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 7 ( พ.ศ. 2497) ข้อ 5 และการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ไม่เข้ากรณีที่ไม่ต้องประกาศตามกฎกระทรวงดังกล่าว ข้อ 6 แม้ว่าจำเลยจะได้ตกลงโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ และได้ทำบันทึกข้อตกลงกันไว้แล้วก็ดี นิติกรรมนั้นยังจดทะเบียนไม่ได้ จนกว่าจะได้ประกาศตามความในกฎกระทรวงข้อ 5 เสียก่อน เมื่อไม่กระทำตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมย่อมไม่สมบูรณ์ หาทำให้โจทก์ได้ที่ดินพิพาทโดยทางนิติกรรมไม่
จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของที่นาพิพาทร่วมกันได้โอนที่นาชำระหนี้จำนองแล้ว จำเลยที่ 1 เช่านาพิพาทจากโจทก์ ดังนี้ แม้การโอนนิติกรรมไม่สมบูรณ์ แต่การที่จำเลยตกลงโอนที่นาชำระหนี้ เป็นการแสดงเจตนาโอนการครอบครองให้โจทก์แล้ว การโอนการครอบครอง แม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์อยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาว่าต่อไปจะยึดถือทรัพย์สินไว้แทนผู้โอน การโอนนั้นก็มีผลตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1380 บัญญัติไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่านาพิพาทจากโจทก์ แสดงว่าการทำนาต่อไปโดยเสียค่าเช่าให้โจทก์ เป็นการยึดถือที่นาพิพาทไว้แทนโจทก์ โจทก์จึงเป็นเจ้าของนาพิพาทนี้ โดยการรับโอนการครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่านาพิพาทจากโจทก์เต็มทั้งแปลง จำเลยที่ 1 ก็เป็นผู้ยึดถือทั้งแปลงแทนโจทก์ ทำให้โจทก์ได้ที่นาโดยรับโอนการครอบครองจากจำเลยที่ 2 ด้วยเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะให้ผู้ใดทำนา ก็เป็นบริวารของจำเลยที่ 1 เท่านั้น นาพิพาทจึงเป็นของโจทก์เต็มทั้งแปลง
จำเลยที่ 1 เช่านาโจทก์ทำปีเดียว เมื่อครบกำหนดแล้ว ไม่ส่งคืนนาให้โจทก์และไม่ออกไปจากนาพิพาท โจทก์ก็มีสทิธิฟ้องขับไล่เรียกค่าเช่าที่ไม่ชำระและค่าเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองขัดขวางและขืนทำนาของโจทก์ต่อไปโดยละเมิดได้
สัญญาเช่าได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้แล้ว หาจำต้องบอกเลิกสัญญาอีกไม่
จำเลยที่ 2 มิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือเช่านาโจทก์ จะบังคับให้เสียค่าเช่าด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินชำระหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่เกิดผลทางนิติกรรมจากการรับโอนการครอบครอง
การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินที่ไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน มีแต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ แบบ น.ส.3 ต้องจดทะเบียนที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) ข้อ 5 และการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ไม่เข้ากรณีที่ไม่ต้องประกาศตามกฎกระทรวงดังกล่าว ข้อ 6 แม้ว่าจำเลยจะได้ตกลงโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้และได้ทำบันทึกข้อตกลงกันไว้แล้วก็ดี นิติกรรมนั้นยังจดทะเบียนไม่ได้จนกว่าจะได้ประกาศตามความในกฎกระทรวงข้อ 5 เสียก่อน เมื่อไม่กระทำตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ย่อมไม่สมบูรณ์ หาทำให้โจทก์ได้ที่ดินพิพาทโดยทางนิติกรรมไม่
จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของที่นาพิพาทร่วมกันได้โอนที่นาชำระหนี้จำนองแล้ว จำเลยที่ 1 เช่านาพิพาทจากโจทก์ดังนี้ แม้การโอนโดยนิติกรรมไม่สมบูรณ์ แต่การที่จำเลยตกลงโอนที่นาชำระหนี้ เป็นการแสดงเจตนาโอนการครอบครองให้โจทก์แล้วการโอนการครอบครอง แม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาว่าต่อไปจะยึดถือทรัพย์สินไว้แทนผู้โอน การโอนนั้นก็มีผลตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1380 บัญญัติไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่านาพิพาทจากโจทก์ แสดงว่าการทำนาต่อไปโดยเสียค่าเช่าให้โจทก์ เป็นการยึดถือที่นาพิพาทไว้แทนโจทก์ โจทก์จึงเป็นเจ้าของนาพิพาทนี้ โดยการรับโอนการครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่านาพิพาทจากโจทก์เต็ม ทั้งแปลง จำเลยที่ 1 ก็เป็นผู้ยึดถือทั้งแปลงแทนโจทก์ ทำให้โจทก์ได้ ที่นาโดยรับโอนการครอบครองจากจำเลยที่ 2 ด้วยเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 จะให้ผู้ใดทำนา ก็เป็นบริวารของจำเลยที่ 1 เท่านั้นนาพิพาทจึงเป็นของโจทก์เต็มทั้งแปลง
จำเลยที่ 1 เช่านาโจทก์ทำปีเดียว เมื่อครบกำหนดแล้ว ไม่ส่งคืนนาให้โจทก์ และไม่ออกไปจากนาพิพาทโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขับไล่เรียกค่าเช่าที่ไม่ชำระและค่าเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองขัดขวางและขืนทำนาของโจทก์ต่อไปโดยละเมิดได้
สัญญาเช่าได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้แล้ว หาจำต้องบอกเลิกสัญญาอีกไม่
จำเลยที่ 2 มิได้นำหลักฐานเป็นหนังสือเช่านาโจทก์จะบังคับ ให้เสียค่าเช่าด้วยไม่ได้
of 18