คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1361

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะขายที่ดินของเจ้าของร่วม การยินยอมของผู้ถือครองร่วม และการครอบครองแทน
โจทย์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิในที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย จำเลยที่ 2 ร้องสอดขอเป็นจำเลยร่วมและต่อสู้ว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว เมื่อทางพิจารณาฟังจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าร่วมกันดังนี้ ไม่เป็นคำวินิจฉัยนอกประเด็น
สัญญาจะขายที่ดินที่มีเจ้าของร่วมโดยเจ้าของร่วมทุกคนไม่รู้เห็นยินยอมด้วยสัญญานั้นไม่เป็นโมฆะเป็นแต่เพียงผู้ซื้อจะบังคับผู้ขายให้โอนขายไม่ได้
ผู้จะขายมอบที่ให้ผู้จะซื้อเข้าครอบครองสัญญาจะไปโอนกรรมสิทธิในภายหลัง นั้นถือว่าผู้จะซื้อครอบครองแทนผู้จะขายเท่านั้น ( อ้างฎีกาที่ 1232/2491 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินหลังคู่สัญญาตาย: ผู้ซื้อมีสิทธิบังคับโอนแม้เกินอายุความมรดก
สามีภริยาผู้เป็นเจ้าของร่วมในที่ดิน ทำสัญญาจะขายที่ดินนั้นแก่เขา โดยส่งมอบที่ดินและโฉนดให้ผู้ซื้อครอบครองแล้ว และผู้ขายก็ได้รับชำระราคาครบถ้วนแล้วต่อมาสามีตายลงเสียก่อนโอนโฉนดให้ผู้ซื้อ ดังนี้แม้ผู้ซื้อจะฟ้องคดีขอบังคับให้โอนตามสัญญาภายหลังสามีตายเกิน 1 ปี ซึ่งขาดอายุความมรดกแล้วก็ตามก็ถือได้ว่าผู้ซื้อได้ครอบครองที่ดินที่จะซื้อขายกันมีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินไว้จนกว่าจะโอนกรรมสิทธิได้เหตุที่ผู้ขายคนหนึ่งตายเกิน 1 ปีแล้ว ย่อมไม่ห้ามผู้ซื้อผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะใช้สิทธิบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189,241(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/97)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมขายที่ดินโดยไม่ได้รับความยินยอม สัญญาผูกพันเฉพาะส่วนของตน
เจ้าของร่วมเพียงคนเดียวไปทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่เขาหมดทั้งแปลงโดยมิได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วมคนอื่นๆนั้น สัญญาจะซื้อขายนั้นย่อมผูกพันเฉพาะส่วนของเจ้าของร่วมผู้ทำสัญญาจะขายเท่านั้น ไม่ผูกพันส่วนของเจ้าของร่วมคนอื่นด้วย
ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินให้ทั้งแปลงตามสัญญา เมื่อปรากฏว่าที่ดินนั้นมีผู้อื่นเป็นเจ้าของร่วมด้วยอีกหลายคน จะให้โอนทั้งแปลงไม่ได้ได้แต่โอนเฉพาะส่วนของจำเลยเท่านั้น ดังนี้ เมื่อคดีไม่ปรากฏว่าส่วนของจำเลยมีอยู่เท่าใด ศาลก็จะพิพากษาให้แบ่งไป ไม่ได้ ได้แต่พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เสียเท่านั้นแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องร้องว่ากล่าวเป็นเรื่องใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินโดยพินัยกรรมเกินส่วนที่ภริยา/สามีมีสิทธิ และผลของการยินยอม
ประมวลกฎหมายแพ่ง ฯ มาตรา 1477 ที่บัญญัติว่า สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรม์ยกสินบรคณห์ให้ผู้อื่นเกินกว่าส่วนของต้นนั้น ถ้าปรากฎว่า ภริยาหรือสามีรู้เห็นยินยอมในการที่อีกฝ่ายหนึ่ง ทำพินัยกรรม์ยกสินบริคณห์ทั้งหมด ทั้งตนเองก็เป็นผู้มีส่วนรับพินัยกรรม์มากกว่าคนอื่น และได้รับผลแห่งพินัยกรรม์-มาหลายปีแล้ว ดังนี้ ผู้รับพินัยกรรม์คนอื่นย่อมจะไม่มีสิทธิมาคัดค้านในข้อที่ว่าสามีหรือภริยาทำพินัยกรรม์ยกสินบริคณห์ทั้งหมด ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกสินบริคณห์: การยินยอมของภริยาผู้มีส่วนรับพินัยกรรมทำให้จำเลยไม่มีสิทธิคัดค้าน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 ที่บัญญัติว่าสามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ให้ผู้อื่นเกินกว่าส่วนของตนนั้นถ้าปรากฏว่า ภริยาหรือสามีรู้เห็นยินยอมในการที่อีกฝ่ายหนึ่งทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ทั้งหมดทั้งตนเองก็เป็นผู้มีส่วนรับพินัยกรรมมากกว่าคนอื่นและได้รับผลแห่งพินัยกรรมมาหลายปีแล้วดังนี้ ผู้รับพินัยกรรมคนอื่นย่อมจะไม่มีสิทธิมาคัดค้านในข้อที่ว่าสามีหรือภริยาทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ทั้งหมดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในสวนยาง & การโอนสิทธิหุ้นส่วน: สิทธิสมบูรณ์ต้องจดทะเบียน
การรวมทุนกันประกอบกิจการมีและทำสวนยาง อีกนัยหนึ่งก็คือการร่วมกันมีที่ดินสวนยางหรือทำเป็นสวนยาง เพื่อแสวงหาดอกผลธรรมดาจากสวนยางนั้น แม้จะเรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ(โดยมิได้จดทะเบียน)ก็ตามความสัมพันธ์เช่นนี้ จะต้องบังคับตามกฎหมายอันว่าด้วยกรรมสิทธิ์รวมในอสังหาริมทรัพย์นั้น จะบังคับตามกฎหมายเรื่องหุ้นส่วนแต่อย่างเดียวไม่ได้เพราะทรัพย์สินอันเป็นประธานที่ผู้เป็นหุ้นส่วนมีอยู่ร่วมกันคือที่ดินสวนยางและส่วนของหุ้นส่วนในเรื่องนี้ก็คือส่วนหนึ่งในสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวมในสวนยาง อันเป็นอสังหาริมทรัพย์จะมีตราจองหรือไม่ ก็ย่อมเป็นสิทธิในอสังหาริมทรัพย์เช่นเดียวกัน แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะมีสิทธิทำนิติกรรมจำหน่ายส่วนของตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1361 ก็ตาม แต่ก็ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจะสมบูรณ์
ถ้าผู้ได้รับซื้อสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนไว้โดยเพียงแต่ทำสัญญากันเป็นหนังสือเท่านั้น แล้วภายหลังผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นได้ขายสิทธินั้นไปแก่ผู้รับซื้อคนใหม่โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกันโดยสุจริตแล้ว ดังนี้ ผู้รับซื้อคนแรกก็ย่อมจะฟ้องบังคับให้ผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งขายสิทธินั้นแก่ตน โอนสิทธิที่ขายให้แก่ตนไม่ได้
เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้เข้าสู้คดีในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยแล้วภายหลังตนเองได้ร้องสอดเข้ามาในคดีในฐานะตัวเอง ดังนี้ ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อให้มีผลยกฟ้องแล้ว ศาลก็พอบังคับได้ แต่ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อที่จะให้ศาลบังคับตัวเองในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยนั้น ศาลจะบังคับให้ หาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ประโยชน์ของตัวแทนขัดกับประโยชน์ของตัวการอันเป็นกรณีที่ตัวแทนไม่อาจทำแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวม vs. สัญญาซื้อขาย: การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์และเงื่อนไขสัญญา
เจ้าของรวมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 นั้นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินอันรวมกันอยู่ไม่ทราบว่าส่วนของใครเท่าไร ตรงไหนในทรัพย์นั้นๆ กฎหมายจึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน
โฉนดที่ดินมีชื่อบุคคล 2 คนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่ได้จดทะเบียนบรรยายส่วนของใครไว้ในโฉนดแล้วว่าของใครอยู่ตอนไหน เป็นจำนวนเนื้อที่เท่าไรชัดแจ้งแล้วเช่นนี้หาใช่เป็นเจ้าของรวมไม่
เงื่อนไขแห่งนิติกรรมนั้นหมายถึงเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตและ ไม่แน่นอน
สัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงกันว่าผู้ซื้อผู้ขายจะมาทำการโอนซื้อขายกันในวันมาทำการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินนั้น หาใช่เป็นเงื่อนไขไม่
แม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินได้ กำหนดเบี้ยปรับกันไว้ในเมื่อผู้ขายผิดสัญญาก็ดี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้เลือกเรียกเอาเบี้ยปรับหรือเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้แต่อย่างหนึ่งอย่างใดได้ ฉะนั้นถ้าผู้ขายทำผิดสัญญาโดยไม่ยอมขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อผู้ซื้อก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องผู้ขายขอให้ศาลบังคับให้โอนขายตามสัญญาได้(อ้างฎีกาที่ 131/2489)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมขายส่วนของตนได้ แม้คนอื่นไม่ยินยอม แต่ห้ามจำหน่ายภาระติดพันโดยไม่ยินยอม
เจ้าของร่วมคนหนึ่งๆ ขายที่ดินให้ผู้อื่นโดยระบุส่วนสัดของตนบอกจำนวนเนื้อที่ไว้อย่างชัดแจ้ง มิได้เกินกว่าส่วนสิทธิของตนนั้น แม้เจ้าของร่วมคนอื่นจะมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยก็ตาม การซื้อขายนั้นก็ย่อมสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง ส่วนมาตรา 1361 วรรคสอง นั้น ท่านประสงค์ห้ามมิให้เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จำหน่ายจำนำหรือก่อให้เกิดภาระติดพันแก่ตัวทรัพย์สินนั้น โดยมิได้รับความยินยอมแห่งเจ้าของร่วมทุกคน เพราะเป็นการทำลายสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นด้วย มิใช่แต่เฉพาะส่วนของตน (ฎีกาที่ 277/2493)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมขายส่วนของตนได้ แม้ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วมอื่น หากระบุส่วนสัดชัดเจน
เจ้าของร่วมคนหนึ่ง ๆ ขายที่ดินให้ผู้อื่นโดยระบุส่วนสัดของคนบอกจำนวนเนื้อที่ไว้อย่างชัดแจ้ง มิได้เกินกว่าส่วนสิทธิของตนนั้น แม้เจ้าของร่วมคนอื่นจะมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย ก็ตาม การซื้อขายนั้นก็ย่อมสมบูรณ์ตาม ป.ม.แพ่ง ฯมาตรา 1361 วรรค 1 ส่วนมาตรา 1361 วรรค 2 นั้น ท่านประสงค์ห้ามมิให้เจ้าของร่วมคนหนึ่ง ๆ จำหน่าย จำนำ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันแก่ตัวทรัพย์สินนั้น โดยมิได้รับความยินยอมแห่งเจ้าของร่วมทุกคนเพราะเป็นการทำลายสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นด้วย มิใช่แต่เฉพาะส่วนของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยินยอมขายฝากแล้วไม่ไถ่ถอน ถือสละที่ดิน สิทธิคงเหลือเป็นผู้เช่า
เจ้าของที่ดินมือเปล่ายินยอมให้เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งเอาที่ดินไปขายฝากแก่เขาไว้ทั้งแปลง ครบกำหนดไถ่ถอนตามสัญญาก็ไม่ไถ่ถอนทั้งตนและเจ้าของร่วมผู้ขายได้เช่าที่ดินนี้จากเขาทำกินดังนี้ ถือได้ว่าเจ้าของที่ดินสละที่ดินนั้นแล้ว ที่ยังคงครอบครองที่ดินอยู่ ก็เป็นเรื่องครอบครองในฐานะเป็นผู้เช่า
of 18