พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทั้งหมด มิฉะนั้นสัญญาเป็นโมฆะ
ที่ดินมีโฉนดซึ่ง ด. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ล. บิดาจำเลยทั้งสอง เมื่อที่ดินดังกล่าวมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดว่าส่วนของใครอยู่ตอนไหนและมีเนื้อที่เท่าใด ด. และ ล. ผู้มีชื่อในโฉนดซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันจึงยังเป็นเจ้าของรวมอยู่ตามส่วนที่ตนถือกรรมสิทธิ์ การที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับ ด. โดยระบุเนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 52 ตารางวา ซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายตัวทรัพย์ซึ่งมิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของ ด. จะกระทำได้ก็แต่ความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน การที่ ด. เอาตัวทรัพย์มาทำสัญญาจะขายแก่โจทก์ โดย ล. เจ้าของรวมมิได้ยินยอมด้วย จึงไม่มีผลผูกพัน ล. เมื่อจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนมรดกจาก ล. จึงถือว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันทุกส่วนและมีส่วนในที่ดินพิพาททั้งแปลงเท่ากัน โจทก์จึงฟ้องขอให้แบ่งแยกที่ดินโดยให้โจทก์ได้ที่ดินทางด้านทิศเหนือและจำเลยทั้งสองได้ที่ดินด้านทิศใต้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมมีสิทธิใช้สอยที่ดินร่วมกัน จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบโฉนดคืนให้โจทก์เพื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ จำเลย และ ร. เป็นเจ้าของรวมในที่ดิน แต่ละคนย่อมมีสิทธิใช้สอยที่ดินดังกล่าวได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายที่ดินดังกล่าวส่วนของตนก็ได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินไว้นำโฉนดที่ดินไปให้บุคคลอื่นยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ได้ ย่อมขัดต่อสิทธิของโจทก์ จำเลยมีหน้าที่ต้องดำเนินการนำโฉนดที่ดินคืนมาเพื่อส่งมอบแก่โจทก์ กรณีมิใช่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดิน ศาลจึงไม่อาจสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดิน ศาลจึงไม่อาจสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมและหน้าที่ส่งมอบโฉนดที่ดิน แม้โฉนดอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น
โจทก์ จำเลย และ ร. เป็นเจ้าของรวมในที่ดิน แต่ละคนย่อมมีสิทธิใช้สอยที่ดินดังกล่าวได้แต่ต้องไม่ขัดสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ และเจ้าของรวมคนหนึ่ง จะจำหน่ายที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของตนก็ได้ การที่จำเลยนำโฉนดที่ดินไปให้บุคคลอื่นยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ย่อมขัดต่อสิทธิของโจทก์ จำเลยต้องส่งมอบโฉนดที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ หากโฉนดที่ดินอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น จำเลยย่อมต้องมีหน้าที่ดำเนินการนำโฉนดที่ดินมาเพื่อมอบแก่โจทก์จนได้ กรณีไม่ใช่สภาพหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ และการโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของโจทก์ให้แก่ ร. ไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะสามารถขอให้ศาลสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์จะสามารถขอให้ศาลสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์ไม่ต้องขอให้จำเลยส่งมอบโฉนดแก่โจทก์ได้ เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสองนั้น ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้ก็เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดิน ศาลจึงไม่อาจสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3921/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนเจ้าของรวม: สิทธิทำพินัยกรรมเฉพาะส่วนของตนโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
ผู้ตายกับผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน ผู้ตายย่อมมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้านได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361และมาตรา 1646 โดยไม่จำต้องรับความยินยอมจากผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3921/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนตัวในกรรมสิทธิ์รวมโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมรายอื่น
ปัญหาว่า ข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นอันไร้ผลหรือไม่นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 คู่ความก็หยิบยกขึ้นอ้างได้
การทำพินัยกรรมเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินที่จะมีผลเมื่อตายและเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ทำพินัยกรรมซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 บัญญัติว่า "บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง? เมื่อตนตายก็ได้" นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือ? ก็ได้" แม้ผู้ตายและผู้ร้องจะมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 8372 ก็ตาม ผู้ตายย่อมมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้านได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้อง ข้อกำหนดแห่งพินัยกรรมในส่วนนี้จึงมีผลบังคับได้
การทำพินัยกรรมเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินที่จะมีผลเมื่อตายและเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ทำพินัยกรรมซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 บัญญัติว่า "บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง? เมื่อตนตายก็ได้" นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือ? ก็ได้" แม้ผู้ตายและผู้ร้องจะมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 8372 ก็ตาม ผู้ตายย่อมมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้านได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้อง ข้อกำหนดแห่งพินัยกรรมในส่วนนี้จึงมีผลบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องถูกจำกัดจากคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อน การฟ้องคดีใหม่ต้องไม่ขัดแย้งกับคำพิพากษาเดิม
จำเลยที่ 3 เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และโจทก์ต่อศาลแพ่งว่า จำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้งแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 และเจ้าของรวมคนอื่น ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ซึ่งคดีดังกล่าวโจทก์ให้การว่า จำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของรวม จำเลยที่ 3 เชิดหรือยอมให้จำเลยที่ 1เป็นตัวแทน จำเลยที่ 3 จึงปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวซึ่งต่อมาศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท 3 ใน 7 ส่วน การที่จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์โดยจำเลยที่ 3 และเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอมและมิได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาดังกล่าวได้ โดยพิพากษาให้เพิกถอนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของจำเลยที่ 3 จำนวน 3 ใน 7 ส่วน คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้ให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท และให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีที่จำเลยทั้งสี่ฟ้องร้องกันโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยอื่นร่วมกับจำเลยที่ 1 แสดงเจตนาลวงและฉ้อฉลโจทก์โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว อันเป็นข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่โจทก์ต้องผูกพันหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่สามารถอ้างสิทธิใด ๆ ในการฟ้องขอให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลง สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247และกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทรัพย์มรดกส่วนแบ่งของทายาทให้แก่ทายาทอื่น ถือเป็นการแบ่งมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์ที่ 1 และทายาทอื่นของเจ้ามรดกขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของเจ้ามรดกส่วนของตนที่ได้รับนั้น เป็นการแสดงเจตนาขายสิทธิในทรัพย์มรดกส่วนของทายาทแต่ละคนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของเจ้ามรดก และมีการโอนทางทะเบียนเป็นชื่อของจำเลยแล้ว ย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย เนื่องจากทายาทแต่ละคนมีอำนาจขายทรัพย์มรดกส่วนของตนได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 1745 ทั้งเป็นกรณีที่ถือได้ว่า โจทก์ที่ 1 จำเลย และทายาทอื่นตกลงแบ่งทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาทตามป.พ.พ. มาตรา 1760 วรรคหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7063/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่กินฉันสามีภริยา แม้จดทะเบียนซื้อด้วยชื่อฝ่ายเดียว
ขณะที่ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจำเลยกับผู้ร้องยังอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ร่วมกันประกอบกิจการค้าขายเสื้อผ้าจนกระทั่งจดทะเบียนตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดในเวลาต่อมา ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจึงเป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างอยู่กินด้วยกัน แม้จะมีชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยและผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกันและมีเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยและผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมไม่มีสิทธิ์ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินพิพาทคงมีสิทธิเฉพาะที่จะร้องขอกันส่วนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมไม่มีสิทธิ์ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินพิพาทคงมีสิทธิเฉพาะที่จะร้องขอกันส่วนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาซื้อขายที่ดิน: การสละสิทธิรับโอนกรรมสิทธิ์เมื่อผู้ซื้อไม่ชำระหนี้ค่าที่ดิน และการระงับผลของการซื้อขาย
โจทก์กับจำเลยทั้งสองพิพาทกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และมีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วกำหนดให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา แต่ในกรณีถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ให้โจทก์วางเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือเป็นเงิน 3,640,000 บาท ให้แก่จำเลยทั้งสองรับไป และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นคำพิพากษากำหนดให้ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างมีหน้าที่ปฏิบัติต่อกันเป็นการตอบแทนเพื่อให้การซื้อขายที่ดินที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจะซื้อขายตามฟ้องได้สำเร็จลุล่วงไปสมเจตนาของทั้งสองฝ่าย
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้คู่ความฝ่ายชนะคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คือลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาก็ตาม แต่ด้วยผลของคำพิพากษา นอกจากโจทก์ได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายแล้ว โจทก์ยังอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นการตอบแทนจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับโจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองเช่นกัน ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองได้เสนอชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์แล้ว และได้นำโฉนดที่ดินที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์พร้อมค่าเสียหายกับดอกเบี้ยมาวางศาลเพื่อให้โจทก์มารับไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา ทั้งศาลได้มีคำบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองได้ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาแล้วก็ไม่มีหนี้ที่โจทก์จะขอบังคับเอาจากจำเลยทั้งสองอีกต่อไป แต่โจทก์ยังคงมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่จำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาคือ เงินค่าที่ดินที่เหลือเป็นการตอบแทนเพื่อให้การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นอันเสร็จสิ้นไป เมื่อโจทก์ได้รับคำบังคับโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนดตามคำบังคับ แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะขอหมายบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275
การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนดตามคำบังคับ ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยทั้งสอง หนี้ตามคำพิพากษาระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองเฉพาะเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันย่อมเป็นอันระงับไป แม้คำพิพากษามิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือไว้ก็ตาม เพราะมิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยทั้งสองได้ ทั้งกรณีไม่ใช่เป็นการย่นระยะเวลาบังคับคดีอันจะขัดกับ ป.วิ.พ. มาตรา 271
ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินย่อมมีสิทธิที่จะทำนิติกรรมใด ๆ ในที่ดินเฉพาะส่วนของตนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยเป็นผู้นำโฉนดที่ดินมาวางศาลไว้เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมก็มีสิทธิขอยืมโฉนดที่ดินฉบับดังกล่าวไปทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินเฉพาะส่วนของตนได้ เมื่อดำเนินการเสร็จผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมก็ได้นำโฉนดที่ดินดังกล่าวส่งคืนแก่ศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมยืมโฉนดที่ดินไป จึงไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ แก่จำเลย
ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนนัดการอ่านคำสั่งหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นเรื่อง ๆ ไป
ตามคำร้องขอเลื่อนนัดการอ่านคำพิพากษากล่าวอ้างว่า จำเลยมีหนังสือไปถึงโจทก์เพื่อแจ้งให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา อันเป็นสิทธิของจำเลยส่วนหนึ่งเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการอ่านคำสั่งตามคำร้องของจำเลยย่อมกระทำได้ ทั้งมิได้ทำให้จำเลยเสียหาย ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้เป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีจึงไม่วินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้คู่ความฝ่ายชนะคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คือลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาก็ตาม แต่ด้วยผลของคำพิพากษา นอกจากโจทก์ได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายแล้ว โจทก์ยังอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นการตอบแทนจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับโจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองเช่นกัน ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองได้เสนอชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์แล้ว และได้นำโฉนดที่ดินที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์พร้อมค่าเสียหายกับดอกเบี้ยมาวางศาลเพื่อให้โจทก์มารับไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา ทั้งศาลได้มีคำบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองได้ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาแล้วก็ไม่มีหนี้ที่โจทก์จะขอบังคับเอาจากจำเลยทั้งสองอีกต่อไป แต่โจทก์ยังคงมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่จำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาคือ เงินค่าที่ดินที่เหลือเป็นการตอบแทนเพื่อให้การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นอันเสร็จสิ้นไป เมื่อโจทก์ได้รับคำบังคับโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนดตามคำบังคับ แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะขอหมายบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275
การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนดตามคำบังคับ ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยทั้งสอง หนี้ตามคำพิพากษาระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองเฉพาะเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันย่อมเป็นอันระงับไป แม้คำพิพากษามิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือไว้ก็ตาม เพราะมิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยทั้งสองได้ ทั้งกรณีไม่ใช่เป็นการย่นระยะเวลาบังคับคดีอันจะขัดกับ ป.วิ.พ. มาตรา 271
ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินย่อมมีสิทธิที่จะทำนิติกรรมใด ๆ ในที่ดินเฉพาะส่วนของตนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยเป็นผู้นำโฉนดที่ดินมาวางศาลไว้เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมก็มีสิทธิขอยืมโฉนดที่ดินฉบับดังกล่าวไปทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินเฉพาะส่วนของตนได้ เมื่อดำเนินการเสร็จผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมก็ได้นำโฉนดที่ดินดังกล่าวส่งคืนแก่ศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมยืมโฉนดที่ดินไป จึงไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ แก่จำเลย
ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนนัดการอ่านคำสั่งหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นเรื่อง ๆ ไป
ตามคำร้องขอเลื่อนนัดการอ่านคำพิพากษากล่าวอ้างว่า จำเลยมีหนังสือไปถึงโจทก์เพื่อแจ้งให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา อันเป็นสิทธิของจำเลยส่วนหนึ่งเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการอ่านคำสั่งตามคำร้องของจำเลยย่อมกระทำได้ ทั้งมิได้ทำให้จำเลยเสียหาย ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้เป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีจึงไม่วินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การโต้แย้งสิทธิ, เพิกถอนนิติกรรม: กรณีจำเลยขายทรัพย์สินส่วนของโจทก์โดยไม่ยินยอม
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสินสมรสต่อท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ตกลงยกบ้านพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามนั้นเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่ง แต่บุตรทั้งสามไม่ได้แสดงเจตนาต่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์กับจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง นอกจากนี้โจทก์ยังอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส ซึ่งหากฟังได้ตามที่โจทก์อ้าง โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทคนละครึ่งหนึ่งเช่นเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
ว. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ระหว่างปี 2514 ถึง 2516ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 เพราะการให้มิได้แสดงว่าให้ไว้เป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1464(3) และกรณีเป็นการยกให้ก่อนปี 2519 จึงไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 บังคับ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 เคยขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่ ท. เมื่อปี 2525 และมิได้ไถ่คืนภายในกำหนด ต่อมาจึงได้ซื้อคืนจาก ท. เมื่อปี 2526 แม้จะใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1474(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนสัญญาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามมาตรา 1361 วรรคสอง แต่ยังคงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1361 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้
ว. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ระหว่างปี 2514 ถึง 2516ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 เพราะการให้มิได้แสดงว่าให้ไว้เป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1464(3) และกรณีเป็นการยกให้ก่อนปี 2519 จึงไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 บังคับ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 เคยขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่ ท. เมื่อปี 2525 และมิได้ไถ่คืนภายในกำหนด ต่อมาจึงได้ซื้อคืนจาก ท. เมื่อปี 2526 แม้จะใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1474(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนสัญญาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามมาตรา 1361 วรรคสอง แต่ยังคงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1361 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้