พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, สิทธิบังคับตามสัญญาซื้อขาย, และการเรียกค่าเสียหายจากเจ้าของรวม
ตามข้อตกลงของโจทก์และจำเลยในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและเรียกค่าเสียหายเป็นค่าปรับที่คำนวณจากราคาที่ดินพิพาทกับค่าเสียหายอื่น ๆ ได้ เมื่อโจทก์ขอเพิ่มเติมคำฟ้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้บริบูรณ์ และคำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งจำเลยก็มีโอกาสที่จะซักค้านพยานโจทก์และนำสืบพยานของตนเต็มที่ แม้โจทก์จะขอแก้ไขเพิ่มเติมหลังจากจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีแล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและหลงข้อต่อสู้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 179
คดีเดิมศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทบริเวณติดถนนสุวินทวงศ์ด้านทิศใต้อันเป็นการโอนตัวทรัพย์ซึ่งรวมถึงส่วนที่มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยด้วยแก่โจทก์ และระบุไว้ชัดเจนว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องบังคับตามสิทธิของโจทก์หรือเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่ง ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แม้จะอ้างสิทธิตามสัญญาซื้อขายฉบับเดิม แต่ก็เป็นการขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะในส่วนของตนตามจำนวนในสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวแก่โจทก์ มิใช่เป็นการขอให้โอนตัวทรัพย์ดังเดิม ตลอดทั้งการเรียกค่าเสียหายและเงินค่าที่ดินที่จำเลยได้รับไปแล้วคืนแก่โจทก์ หากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในส่วนของตนดังกล่าวแก่โจทก์ ก็ล้วนแต่เป็นการใช้สิทธิฟ้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว คำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 (3)
แม้ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนตามที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้อง อันเป็นการขายตัวทรัพย์แก่โจทก์ เนื่องจากผลการบังคับคดีย่อมไม่ผูกพัน ฉ. เจ้าของรวมในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้เข้ามาเป็นคู่ความให้จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวก็ยังคงมีผลผูกพันจำเลยในฐานะคู่สัญญาที่เป็นเจ้าของรวมให้ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของตน โดยไม่เจาะจงว่าต้องเป็นบริเวณใดอันเป็นการขายเฉพาะส่วนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง แก่โจทก์ หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจึงชอบที่โจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คดีเดิมศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทบริเวณติดถนนสุวินทวงศ์ด้านทิศใต้อันเป็นการโอนตัวทรัพย์ซึ่งรวมถึงส่วนที่มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยด้วยแก่โจทก์ และระบุไว้ชัดเจนว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องบังคับตามสิทธิของโจทก์หรือเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่ง ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แม้จะอ้างสิทธิตามสัญญาซื้อขายฉบับเดิม แต่ก็เป็นการขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะในส่วนของตนตามจำนวนในสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวแก่โจทก์ มิใช่เป็นการขอให้โอนตัวทรัพย์ดังเดิม ตลอดทั้งการเรียกค่าเสียหายและเงินค่าที่ดินที่จำเลยได้รับไปแล้วคืนแก่โจทก์ หากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในส่วนของตนดังกล่าวแก่โจทก์ ก็ล้วนแต่เป็นการใช้สิทธิฟ้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว คำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 (3)
แม้ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนตามที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้อง อันเป็นการขายตัวทรัพย์แก่โจทก์ เนื่องจากผลการบังคับคดีย่อมไม่ผูกพัน ฉ. เจ้าของรวมในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้เข้ามาเป็นคู่ความให้จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวก็ยังคงมีผลผูกพันจำเลยในฐานะคู่สัญญาที่เป็นเจ้าของรวมให้ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของตน โดยไม่เจาะจงว่าต้องเป็นบริเวณใดอันเป็นการขายเฉพาะส่วนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง แก่โจทก์ หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจึงชอบที่โจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดโฉนดที่ดินจากการกู้ยืมเงิน: กรรมสิทธิ์ร่วม & ความรับผิดชอบของผู้กู้
เมื่อ ป. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินแปลงพิพาทย่อมมีสิทธินำโฉนดที่ดินไปให้จำเลยยึดถือเพื่อเป็นหลักประกันในการที่ ป. กู้ยืมเงินจากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์และทายาทอื่น ๆ ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ป. ในที่ดินดังกล่าว จะไม่ได้รู้เห็นหรือให้ความยินยอม จำเลยก็ย่อมยึดถือโฉนดที่ดินไว้ได้จนกว่า ป. จะชำระหนี้ให้แก่จำเลย หากโจทก์หรือทายาทอื่นได้รับความเสียหายจากการกระทำของ ป. ก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกับ ป. ต่างหาก หาเกี่ยวกับจำเลยไม่ แม้จำเลยจะมีสิทธิบังคับคดีได้เฉพาะที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ ป. ดังที่โจทก์อ้าง ก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี อันเป็นคนละเรื่องกับการที่จำเลยใช้สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินอันเนื่องมาจากการที่ ป. นำมามอบให้ยึดถือไว้ เพื่อประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740-3741/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หุ้นส่วนจำหน่ายส่วนของตนได้ ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
การเอาทรัพย์สินมาลงหุ้นของโจทก์และจำเลยนั้นมิได้เอาทรัพย์สินมาเป็นกรรมสิทธิ์ของห้างหุ้นส่วน เป็นแต่เพียงเอามาใช้ในกิจการของห้างหุ้นส่วน จำเลยและโจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง เจ้าของรวมแต่ละคนสามารถจำหน่ายส่วนของตนหรือจำนองหรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ ฉะนั้นการที่จำเลยจำหน่ายกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยจำหน่ายเฉพาะส่วนของตน จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการชักนำบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน เพราะการเป็นหุ้นส่วนต้องเกิดขึ้นโดยความตกลงระหว่าง ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน เมื่อโจทก์ยังมิได้ตกลงให้ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของจำเลย เข้ามาเป็นหุ้นส่วน ผู้รับโอนก็หากลายมาเป็นหุ้นส่วนไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการผิดสัญญาหุ้นส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามลำดับที่ศาลกำหนด แม้เจ้าของรวมอีกคนยินยอม
เมื่อศาลฎีกาในคดีหลักมีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตามลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่า อ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายนี้แล้ว โจทก์จึงขอให้บังคับคดีแก่จำเลยรวมทั้ง อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 และ 1361 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามลำดับที่ศาลกำหนด แม้จะมีเจ้าของรวมอื่น ยินยอมการทำสัญญา
เมื่อศาลฎีกาในคดีหลักมีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตามลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่า อ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายนี้แล้ว โจทก์จึงขอให้บังคับคดีแก่จำเลยรวมทั้ง อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 และ 1361 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวม - เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายที่ดิน - การยินยอม - อายุความ
คดีก่อนมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่ แต่ในคดีนี้มีประเด็นว่า โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยทั้งสองหรือไม่ นอกจากนี้แล้วโจทก์ก็เพียงแต่ยื่นคำร้องสอดเพื่อขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ฉะนั้นโจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีฐานะเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ทั้งมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 ด้วย
การยินยอมให้ผู้เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของรวมคนอื่นไว้นั้น เป็นความตกลงที่บุคคลสามารถกระทำได้ด้วยไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อของตน แม้จะเป็นด้วยเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม การกระทำเช่นว่านั้นก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ ดังนั้น หากโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง และจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งนำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปทำสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยที่ 2โดยโจทก์มิได้ยินยอม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกเกี่ยวกับการแบ่งส่วนที่ดินต่อศาล แม้เป็นสำเนาเอกสาร แต่เจ้าพนักงานศาลก็ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว และในเวลาต่อมาโจทก์ก็ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือปลอมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบแสดงของคู่ความ
การพิสูจน์ว่าผู้ซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารแสดง จึงหาอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่ โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลได้
จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาททั้งแปลงรวมทั้งส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสองอีกทั้งคดีนี้ก็เป็นกรณีโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมมาแต่แรก แต่ลงชื่อจำเลยที่ 1ถือกรรมสิทธิแทนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการมาตกลงให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังอันจะต้องตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนและการที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นเพียงแต่ตกลงยินยอมให้ลงชื่อจำเลยที่ 1ผู้เดียวในโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิได้มีพฤติการณ์อื่นใดอีกนั้น ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ร่วมอยู่ด้วย ฉะนั้น โจทก์จึงมิใช่ตัวการที่จะต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
การยินยอมให้ผู้เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของรวมคนอื่นไว้นั้น เป็นความตกลงที่บุคคลสามารถกระทำได้ด้วยไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อของตน แม้จะเป็นด้วยเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม การกระทำเช่นว่านั้นก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ ดังนั้น หากโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง และจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งนำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปทำสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยที่ 2โดยโจทก์มิได้ยินยอม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกเกี่ยวกับการแบ่งส่วนที่ดินต่อศาล แม้เป็นสำเนาเอกสาร แต่เจ้าพนักงานศาลก็ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว และในเวลาต่อมาโจทก์ก็ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือปลอมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบแสดงของคู่ความ
การพิสูจน์ว่าผู้ซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารแสดง จึงหาอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่ โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลได้
จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาททั้งแปลงรวมทั้งส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสองอีกทั้งคดีนี้ก็เป็นกรณีโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมมาแต่แรก แต่ลงชื่อจำเลยที่ 1ถือกรรมสิทธิแทนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการมาตกลงให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังอันจะต้องตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนและการที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นเพียงแต่ตกลงยินยอมให้ลงชื่อจำเลยที่ 1ผู้เดียวในโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิได้มีพฤติการณ์อื่นใดอีกนั้น ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ร่วมอยู่ด้วย ฉะนั้น โจทก์จึงมิใช่ตัวการที่จะต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของเจ้าของรวมที่ไม่ได้รับความยินยอม สิทธิของเจ้าของรวม
คดีก่อนมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่ แต่ในคดีนี้มีประเด็นว่า โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยทั้งสองหรือไม่ นอกจากนี้แล้วโจทก์ก็เพียงแต่ยื่นคำร้องสอดเพื่อขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ฉะนั้นโจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีฐานะเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 ทั้งมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 ด้วย
การยินยอมให้ผู้เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของรวมคนอื่นไว้นั้น เป็นความตกลงที่บุคคลสามารถกระทำได้ด้วยไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อของตน แม้จะเป็นด้วยเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม การกระทำเช่นว่านั้นก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ ดังนั้น หากโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งนำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปทำสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกเกี่ยวกับการแบ่งส่วนที่ดินต่อศาล แม้เป็นสำเนาเอกสาร แต่เจ้าพนักงานศาลก็ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว และในเวลาต่อมาโจทก์ก็ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 93 ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือปลอมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบแสดงของคู่ความ
การพิสูจน์ว่าผู้ซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง จึงหาอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา94 ไม่ โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลได้
จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาททั้งแปลงรวมทั้งส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง อีกทั้งคดีนี้ก็เป็นกรณีโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมมาแต่แรก แต่ลงชื่อจำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการมาตกลงให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังอันจะต้องตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน และการที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นเพียงแต่ตกลงยินยอมให้ลงชื่อจำเลยที่ 1 ผู้เดียวในโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิได้มีพฤติการณ์อื่นใดอีกนั้น ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ร่วมอยู่ด้วย ฉะนั้น โจทก์จึงมิใช่ตัวการที่จะต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
การยินยอมให้ผู้เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของรวมคนอื่นไว้นั้น เป็นความตกลงที่บุคคลสามารถกระทำได้ด้วยไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อของตน แม้จะเป็นด้วยเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม การกระทำเช่นว่านั้นก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ ดังนั้น หากโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งนำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปทำสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกเกี่ยวกับการแบ่งส่วนที่ดินต่อศาล แม้เป็นสำเนาเอกสาร แต่เจ้าพนักงานศาลก็ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว และในเวลาต่อมาโจทก์ก็ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 93 ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือปลอมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบแสดงของคู่ความ
การพิสูจน์ว่าผู้ซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง จึงหาอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา94 ไม่ โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลได้
จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาททั้งแปลงรวมทั้งส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง อีกทั้งคดีนี้ก็เป็นกรณีโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมมาแต่แรก แต่ลงชื่อจำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการมาตกลงให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังอันจะต้องตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน และการที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นเพียงแต่ตกลงยินยอมให้ลงชื่อจำเลยที่ 1 ผู้เดียวในโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิได้มีพฤติการณ์อื่นใดอีกนั้น ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ร่วมอยู่ด้วย ฉะนั้น โจทก์จึงมิใช่ตัวการที่จะต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7940/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การแบ่งแยกสิทธิระหว่างผู้รับมรดก ผู้ครอบครอง และผลของการขายโดยไม่ได้รับความยินยอม
ล.บิดาของโจทก์ทั้งสามและด.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาแต่เดิม ต่อมา ล. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 และด. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และด. ได้ที่ดินพิพาทเป็นอัตราส่วนเพียงใดต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และด.มีส่วนในที่ดินพิพาทเท่ากันคนละกึ่งหนึ่ง ต่อมาด.ได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอม ด.ขายที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 1 ได้ด้วยสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทจึงมีผลผูกพันเฉพาะที่ดินในส่วนของด. เท่านั้น หามีผลผูกพันในส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ด้วยไม่ โจทก์ที่ 1 และจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่ง โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาจำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากด.และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วยจึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการ ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัย ในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้ว โดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาใน ประเด็นดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2 ที่ 3และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุด ดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่ เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือ ตามสิทธิของตนต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7940/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินร่วมกัน, ประเด็นนอกฟ้อง, และขอบเขตการบังคับคดี
ล.บิดาของโจทก์ทั้งสาม และ ด.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาแต่เดิม ต่อมา ล.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 และ ด. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และ ด.ได้ที่ดินพิพาทเป็นอัตราส่วนเพียงใด ต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และ ด.มีส่วนในที่ดินพิพาทเท่ากันคนละกึ่งหนึ่ง ต่อมา ด.ได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอม ด.ขายที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 1 ได้ด้วยสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงมีผลผูกพันเฉพาะที่ดินในส่วนของ ด.เท่านั้น หามีผลผูกพันในส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ด้วยไม่ โจทก์ที่ 1 และจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่ง
โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา จำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจาก ด. และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2ที่ 3 และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุดดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือตามสิทธิของตนต่อไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 (3)
โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา จำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจาก ด. และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2ที่ 3 และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุดดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือตามสิทธิของตนต่อไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7632/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินของผู้มีชื่อร่วม การซื้อขายที่ดินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วม และผลของการครอบครอง
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ และโจทก์มิได้เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยกับให้จำเลยได้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 750 บาท นับแต่วันจำเลยทำละเมิดบุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ และโจทก์ฎีกา ดังนี้ เมื่อคดีมีจำนวนค่าเสียหายอันเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท และเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
ที่ดินพิพาทมี บ.เป็นเจ้าของรวมกับโจทก์ โดย บ.เป็นผู้เข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทในส่วนของตน และครอบครองที่ดินพิพาทแทนในส่วนของโจทก์ การที่จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก บ.ทั้งแปลงโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม แม้จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม แต่เมื่อ บ.ไม่มีสิทธินำสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนที่โจทก์เป็นเจ้าของร่วมที่ บ.ครอบครองแทนมอบให้แก่จำเลยครอบครองโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งเจ็ดได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา1361 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทมี บ.เป็นเจ้าของรวมกับโจทก์ โดย บ.เป็นผู้เข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทในส่วนของตน และครอบครองที่ดินพิพาทแทนในส่วนของโจทก์ การที่จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก บ.ทั้งแปลงโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม แม้จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม แต่เมื่อ บ.ไม่มีสิทธินำสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนที่โจทก์เป็นเจ้าของร่วมที่ บ.ครอบครองแทนมอบให้แก่จำเลยครอบครองโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งเจ็ดได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา1361 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท