คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1361

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม การซื้อขายที่ดินส่วนของผู้อื่นเป็นโมฆะ
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1ที่ 2 และ ร. สามีโจทก์ที่ 3 ที่ตายไปแล้วกับจำเลยที่ 1 ให้แบ่งที่ดินมรดกระหว่างกัน ได้มีการตกลงแบ่งเขตที่ดินกันเป็นส่วนสัดแล้ว จึงตกเป็นของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ร. และจำเลยที่ 1ตามส่วนที่ได้รับแบ่งมา แม้จำเลยที่ 1 จะได้นำที่ดินพิพาททั้งหมดไปออกโฉนดเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเต็มทั้งแปลงก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 2และ ร. จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะยกที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ร.ให้แก่พ. คงมีสิทธิที่จะยกส่วนของตนให้ พ.เท่านั้นเมื่อพ. ตาย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยาผู้รับมรดกของ พ.จึงไม่มีสิทธิดีไปกว่าพ. การที่จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาททั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 3 แต่จำเลยที่ 2มีสิทธิขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนที่ได้รับมาให้แก่จำเลยที่ 3เท่านั้น ไม่มีสิทธิขายที่ดินพิพาททั้งหมดซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ร. รวมอยู่ด้วยให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเพียงเฉพาะส่วนที่จำเลยที่ 1 ได้รับแบ่งมรดกและต่อมาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 เท่านั้น แต่ศาลพิพากษาเพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งแปลงไม่ได้ คงเพิกถอนได้เฉพาะการซื้อขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ร.เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมและผลของการซื้อขายโดยไม่ยินยอม สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์สิน
จำเลยและ ส. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินและบ้านพิพาท ซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งจะจำหน่ายทรัพย์สินโดยเจ้าของคนอื่นมิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยยอมให้ ส. ขายที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ แม้หนี้เงินกู้จะเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างจำเลยและ ส. สัญญาขายที่ดินและบ้านพิพาทก็หาผูกพันจำเลยไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย แต่โจทก์มีสิทธิเข้าสวมสิทธิของ ส. เรียกร้องให้แบ่งส่วนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมในที่ดิน: สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์สิน และผลของการโอนขายโดยไม่ยินยอม
จำเลยและ ส. เป็นสามีภริยากันแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยและ ส. ทำมาหาได้ร่วมกันดังนั้น จำเลยและ ส. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินและบ้านพิพาทส. จะจำหน่ายที่ดินและบ้านพิพาทโดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง แม้หนี้เงินกู้จะเป็นหนี้ร่วมของจำเลยและ ส. ก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยยินยอมให้ ส. โอนขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้เงินกู้ยืมและดอกเบี้ย สัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่าง ส. กับโจทก์ย่อมไม่ผูกพันจำเลย จำเลยยังเป็นเจ้าของรวมในที่ดินและบ้านพิพาท โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย แต่โจทก์เข้าสวมสิทธิของ ส. ในการที่จะเรียกร้องให้แบ่งส่วนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมและคดีล้มละลาย: สิทธิในการยึดทรัพย์และแบ่งส่วนของเจ้าหนี้
ที่ดินพิพาทมีลูกหนี้เป็นเจ้าของรวม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิยึดมาแบ่งแก่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 19,22(1) และ 109(1) แม้ผู้ร้องกับพวกเป็นเจ้าของรวมฝ่ายข้างมากเห็นว่าไม่ควรขายที่ดินพิพาททั้งแปลงก็จะนำบทบัญญัติมาตรา 1361 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้ เพราะกรรมสิทธิ์ของเจ้าของรวมแต่ละคนย่อมครอบไปเหนือทรัพย์สินทั้งหมดจนกว่าจะมีการแบ่งทรัพย์สินหรือโดยการขาย ดังนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจยึดที่ดินพิพาทออกขายได้ทั้งแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 ผู้ร้องย่อมใช้สิทธิเรียกขอแบ่งส่วนของตน ตามสิทธิของเจ้าของรวมได้ในทางการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 287 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 153.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วม การโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วน และผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าของร่วม
บ้านพิพาทเป็นของจำเลยกับ ช. ร่วมกัน แม้หลักฐานทางทะเบียนจะปรากฏชื่อ ช.เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวและช. จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทให้ผู้ร้อง ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยโอนมาเป็นของผู้ร้องด้วย เพราะจำเลยมิได้แสดงเจตนายกให้ผู้ร้องทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้เห็นการที่ ช. จดทะเบียนยกบ้านพิพาทให้ผู้ร้อง จะถือว่าจำเลยยอมให้กรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยโอนไปเป็นของผู้ร้องด้วยไม่ได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยบ้านพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วม การโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วน และผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น
บ้านพิพาทเป็นของจำเลยกับ ช.ร่วมกัน แม้หลักฐานทางทะเบียนจะปรากฏชื่อ ช.เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว และช.จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทให้ผู้ร้อง ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยโอนมาเป็นของผู้ร้องด้วย เพราะจำเลยมิได้แสดงเจตนายกให้ผู้ร้อง ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้เห็นการที่ ช.จดทะเบียนยกบ้านพิพาทให้ผู้ร้อง จะถือว่าจำเลยยอมให้กรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยโอนไปเป็นของผู้ร้องด้วยไม่ได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยบ้านพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันสัญญาขายฝาก: การติดต่อขอซื้อคืนทรัพย์สินไม่ถือเป็นการให้สัตยาบัน
จำเลยและจำเลยร่วมเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมาย จำเลยได้ขายฝากทรัพย์ที่เป็นสินสมรสไว้แก่โจทก์โดยจำเลยร่วมมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยการที่จำเลยร่วมทราบเรื่องการขายฝากแล้วได้ไปติดต่อขอซื้อทรัพย์ที่เป็นสินสมรสดังกล่าวคืนจากโจทก์ เป็นเรื่องที่จำเลยร่วมใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของตนคืน ถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้หรือเรียกทวงให้ชำระหนี้อันจะถือเป็นการให้สัตยาบันแก่การขายฝาก (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2534).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันสัญญาขายฝาก สินสมรส การติดตามทรัพย์คืนไม่ถือเป็นการให้สัตยาบัน
จำเลยและจำเลยร่วมเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมาย จำเลยขายฝากทรัพย์ที่เป็นสินสมรสไว้แก่โจทก์โดยจำเลยร่วมมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย การที่จำเลยร่วมทราบเรื่องการขายฝากแล้วได้ติดต่อขอซื้อทรัพย์ดังกล่าวคืนจากโจทก์เป็นเรื่องที่จำเลยร่วมติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้หรือเรียกทวงให้ชำระหนี้อันจะถือเป็นการให้สัตยาบันแก่การขายฝาก และที่จำเลยร่วมทราบแล้วไม่ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝากก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าเมื่อมีเจ้าของร่วมหลายคน โจทก์มีสิทธิเพียงส่วนหนึ่งไม่สามารถฟ้องได้
เมื่อโจทก์และ อ. บุตรโจทก์ต่าง เป็นเจ้าของร่วมกันในสิทธิการเช่า ตึก พิพาท โดย โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิการเช่าแทน และต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ โอนเป็นชื่อ ของจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นตัวแทนของ อ. ให้เป็นผู้ถือสิทธิการเช่า แทนโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่า ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินร่วมจากการอยู่กินฉันสามีภรรยา แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส การโอนโดยไม่สุจริตของผู้รับโอน
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ที่พิพาทมาในระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสนั้นถือว่าเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละครึ่ง แม้ที่พิพาทจะมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียวก็เป็นการกระทำแทนโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเอาที่พิพาทส่วนของโจทก์ไปจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนที่พิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย จึงเป็นการไม่สุจริต ไม่ผูกพันส่วนของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาทด้วย.
of 18