พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1741/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมทำสัญญาจะขายที่ดินโดยพลการ ไม่ผูกพันเจ้าของรวมคนอื่น ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งทำสัญญาจะขายที่ดินมีโฉนดไปโดยพลการ สัญญานั้นย่อมไม่ผูกพัน และไม่มีผลให้เจ้าของรวมคนอื่นต้องขายส่วนของตนด้วย จึงไม่เป็นการทำสัญญาและรับเงินแทนเจ้าของรวมคนอื่น ซึ่งไม่มีสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งเงินมัดจำ และจำเลยไม่ต้องมอบเงินดังกล่าวแก่เจ้าของรวม การกระทำของจำเลยจึงไม่มีมูลเป็นความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส มรดก และการโอนทรัพย์สิน: สิทธิของทายาทและเจ้าของร่วม
การเป็นสามีภริยากันก่อนใช้บทบัญญัติบรรพ 5 และต่อมาแยกกันอยู่ภายหลังที่ใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แล้ว โดยมิได้ทำหนังสือหย่าขาดจากกันตามนัยแห่งมาตรา 1497,1498 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ย่อมไม่ทำให้ขาดจากการเป็นสามีภริยากัน
โจทก์มีสิทธิได้ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนที่เป็นมรดกตกได้แก่โจทก์และได้ครอบครองที่พิพาทอยู่ด้วย โดยเข้าทำกินในที่พิพาทแล้วให้เงินแก่จำเลยที่ 1 ทายาทผู้รับมรดกอีกผู้หนึ่งเป็นรายปีทุกปีตลอดมายังมิได้แบ่งปันกันต้องถือว่าต่างเป็นเจ้าของร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745 การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกนี้ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไปทั้งแปลง จึงผูกพันได้เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 โจทก์ขอให้เพิกถอนการโอนในส่วนของตนที่จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอน กลับคืนมาได้
โจทก์มีสิทธิได้ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนที่เป็นมรดกตกได้แก่โจทก์และได้ครอบครองที่พิพาทอยู่ด้วย โดยเข้าทำกินในที่พิพาทแล้วให้เงินแก่จำเลยที่ 1 ทายาทผู้รับมรดกอีกผู้หนึ่งเป็นรายปีทุกปีตลอดมายังมิได้แบ่งปันกันต้องถือว่าต่างเป็นเจ้าของร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745 การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกนี้ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไปทั้งแปลง จึงผูกพันได้เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 โจทก์ขอให้เพิกถอนการโอนในส่วนของตนที่จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอน กลับคืนมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวม-สิทธิครอบครอง: การขายทรัพย์สินส่วนรวมต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมอื่น
ที่ดินมือเปล่า 22 ไร่ พ. ยกให้โจทก์และ น.สามีเป็นของรับไหว้ในวันแต่งงาน จึงเป็นสินสมรส น. และโจทก์เป็นบิดามารดาจำเลย เมื่อ น.ตายโจทก์มีส่วนแบ่งในฐานะภริยาและทายาท จำเลยมีส่วนแบ่งในฐานะทายาท แต่ยังไม่ได้แบ่งกัน จำเลยกับบุตรคนอื่น ๆ ของ น. และโจทก์เข้าทำนาและมีบ้านเรือนถาวรอยู่ในที่ดินแปลงนี้ บุตรคนหนึ่งช่วยโจทก์ทำนาและโจทก์ไป ๆ มา ๆ ที่บ้านบุตรโจทก์ในที่ดินถือว่าโจทก์จำเลยและทายาทอื่น ๆ ใช้สิทธิครอบครองร่วมกันและแทนกันมีฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน ซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งจะจำหน่ายทรัพย์สินโดยเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง ฉะนั้นเมื่อโจทก์ไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอขายที่ดินบางส่วนของที่พิพาท กับขอให้ออก น.ส.3 ให้ด้วย จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางและยื่นคำร้องคัดค้านได้ โจทก์จะมาฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมที่ดิน: สิทธิครอบครองร่วมกันและผลกระทบต่อการโอน
ที่ดินมือเปล่า 22 ไร่ พ. ยกให้โจทก์และน.สามีเป็นของรับไหว้ในวันแต่งงาน จึงเป็นสินสมรส น. และโจทก์เป็นบิดามารดาจำเลย เมื่อน.ตายโจทก์มีส่วนแบ่งในฐานะภริยาและทายาท จำเลยมีส่วนแบ่งในฐานะทายาท แต่ยังไม่ได้แบ่งกัน จำเลยกับบุตรคนอื่น ของ น. และโจทก์เข้าทำนาและมีบ้านเรือนถาวรอยู่ในที่ดินแปลงนี้ บุตรคนหนึ่งช่วยโจทก์ทำนาและโจทก์ไปๆ มาๆ ที่บ้านบุตรโจทก์ในที่ดิน ถือว่าโจทก์จำเลยและทายาทอื่นๆ ใช้สิทธิครอบครองร่วมกันและแทนกันมีฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน ซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งจะจำหน่ายทรัพย์สินโดยเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสองฉะนั้นเมื่อโจทก์ไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอขายที่ดินบางส่วนของที่พิพาท กับขอให้ออก น.ส.3 ให้ด้วย จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางและยื่นคำร้องคัดค้านได้โจทก์จะมาฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314-315/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จำนองเป็นขายฝากของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตศาล ไม่ผูกพันผู้เยาว์ และผู้แทนโดยชอบธรรมขอเพิกถอนได้
ผู้แทนโดยชอบธรรมแปลงหนี้จำนองเป็นขายฝากที่ดินของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ไม่ผูกพันผู้เยาว์ แม้ผู้เยาว์ไม่มีชื่อในน.ส.3 ซึ่งเป็นชื่อผู้แทนโดยชอบธรรมรับมรดกแต่ผู้เดียวก็ตามผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ขอเพิกถอนได้ทั้งแปลงรวมทั้งส่วนของตนและของผู้เยาว์ที่รวมกันอยู่ เมื่อเพิกถอนแล้วก็คงติดจำนองอยู่ตามเดิมผู้รับขายฝากขับไล่ผู้เยาว์และผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สินบริรุณภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อพินัยกรรม
การให้สินบริคณห์โดยเสน่หาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม ซึ่งสามีทำได้โดยไม่ต้องรับความยินยอมของภรรยาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 นั้น ผู้ได้รับการยกให้ต้องมีความสัมพันธ์หรือมีฐานะชอบด้วยกฎหมาย จำเลยผู้รับให้เป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่เป็นการให้ที่ยกเว้นตามมาตรานี้ แต่ไม่ใช่เรื่องโมฆะกรรมหรือโมฆียะเป็นแต่เพียงนิติกรรมที่ทำไปโดยไม่ชอบซึ่งภริยาเพิกถอนได้
สามีทำพินัยกรรมฉบับหลังว่ามิให้พินัยกรรมฉบับแรกที่ยกทรัพย์ให้ภริยาทั้งหมดมีผลกระทบถึงทรัพย์ที่ยกให้ภริยาน้อยไปแล้วดังนี้ ภริยาน้อยได้รับที่ดินส่วนของสามีครึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361,1477
ชายออกเงินซื้อที่ดินยกให้ภริยาน้อย ที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างชายกับภริยาหลวง มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างชายกับภริยาน้อย
สามีทำพินัยกรรมฉบับหลังว่ามิให้พินัยกรรมฉบับแรกที่ยกทรัพย์ให้ภริยาทั้งหมดมีผลกระทบถึงทรัพย์ที่ยกให้ภริยาน้อยไปแล้วดังนี้ ภริยาน้อยได้รับที่ดินส่วนของสามีครึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361,1477
ชายออกเงินซื้อที่ดินยกให้ภริยาน้อย ที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างชายกับภริยาหลวง มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างชายกับภริยาน้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596-597/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดก การแบ่งมรดก และสิทธิในการโอนทรัพย์มรดกของทายาท
เจ้ามรดกมีทายาท 9 คนรวมทั้งโจทก์และ พ. กับ น.จำเลยในคดีนี้ด้วย ทายาทอื่น 3 คน เคยฟ้องโจทก์ขอแบ่งที่พิพาทอันเป็นที่ดินมรดกซึ่งโจทก์มีชื่อใน น.ส.3 แทน ทายาทจำเลยให้การสู้คดีโดยอ้างว่าได้ครอบครองเพื่อตนคดีนั้นศาลพิพากษาถึงที่สุดให้แบ่งที่พิพาทเป็น 9 ส่วน ให้ทายาทที่ฟ้องคนละ 1 ส่วน การที่โจทก์ถูกฟ้องและให้การต่อสู้คดีโดยอ้างว่าได้ครอบครองเพื่อตนนั้นหาใช่เป็นการบอกกล่าวไปยังทายาทอื่นที่ไม่ได้ฟ้องด้วยว่าโจทก์จะไม่เจตนายึดถือที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกไว้แทนต่อไปไม่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้บอกกล่าวไปยังทายาทอื่นว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนต่อไป ก็ต้องถือว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นด้วยดังเดิม พ. และ น. จำเลยคดีนี้ยังคงเป็นเจ้าของรวมในที่พิพาทในส่วนที่ยังมิได้โต้แย้งกัน ทั้งการฟ้องคดีขอแบ่งที่พิพาทอันเป็นมรดกนั้น ทายาทอื่นซึ่งมีส่วนอยู่ด้วยไม่จำต้องฟ้องคดีหมดทุกคนก็ย่อมได้สิทธิตามส่วนที่จะรับมรดกตามคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงส่วนของทายาทนั้นๆ โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นจะอ้างเอาการต่อสู้คดีดังกล่าวว่าเป็นการเข้าแย่งการครอบครองเองหาได้ไม่ และไม่อยู่ในบังคับของเวลาสำหรับเรียกร้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง เมื่อคดีก่อนนั้นศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทไว้แทนทายาทอื่นซึ่งรวมถึง พ. และ น. จำเลยคดีนี้ด้วย พ. และน. ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่ออำเภอขอให้ใส่ชื่อของตนใน น.ส.3 ตามสิทธิของตนได้เมื่อใส่แล้วก็มีความชอบธรรมที่จะโอนขายส่วนของตนให้ผู้อื่นไปโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยลงลายพิมพ์นิ้วมือตั้ง พ. เป็นทนายความแม้จะมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเพียงคนเดียว แต่ พ. ก็ได้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายของจำเลยมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงชั้นอุทธรณ์ โดยจำเลยยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมา และโจทก์ก็มิได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้นดังนี้ พ. จึงมีอำนาจที่จะฎีกาในฐานะทนายของจำเลยได้
จำเลยลงลายพิมพ์นิ้วมือตั้ง พ. เป็นทนายความแม้จะมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเพียงคนเดียว แต่ พ. ก็ได้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายของจำเลยมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงชั้นอุทธรณ์ โดยจำเลยยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมา และโจทก์ก็มิได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้นดังนี้ พ. จึงมีอำนาจที่จะฎีกาในฐานะทนายของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596-597/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท การโอนสิทธิ และการเรียกร้องสิทธิในที่ดินมรดก
เจ้ามรดกมีทายาท 9 คนรวมทั้งโจทก์และ พ.กับ น.จำเลยในคดีนี้ด้วย ทายาทอื่น 3 คนเคยฟ้องโจทก์ขอแบ่งที่พิพาทอันเป็นที่ดินมรดกซึ่งโจทก์มีชื่อใน น.ส.3 แทนทายาท จำเลยให้การสู้คดีโดยอ้างว่าได้ครอบครองเพื่อตน คดีนั้นศาลพิพากษาถึงที่สุดให้แบ่งที่พิพาทเป็น 9 ส่วน ให้ทายาทที่ฟ้องคนละ 1 ส่วน การที่โจทก์ถูกฟ้องและให้การต่อสู้คดีโดยอ้างว่าได้ครอบครองเพื่อตนนั้น หาใช่เป็นการบอกกล่าวไปยังทายาทอื่นที่ไม่ได้ฟ้องด้วยว่าโจทก์จะไม่เจตนายึดถือที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกไว้แทนต่อไปไม่ ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้บอกกล่าวไปยังบทายาทอื่นว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนต่อไป ก็ต้องถือว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นด้วยดังเดิม พ.และ น.จำเลยคดีนี้ยังคงเป็นเจ้าของรวมในที่พิพาทในส่วนที่ยังมิได้โต้แย้งกัน ทั้งการฟ้องคดีขอแบ่งที่พิพาทอันเป็นมรดกนั้นทายาทอื่นซึ่งมีส่วนอยู่ด้วยไม่จำต้องฟ้องคดีหมดทุกคนก็ย่อมได้สิทธิ ตามส่วนที่จะรับมรดกตามคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงส่วนของทายาทนั้น ๆ โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นจะอ้างเอาการต่อสู้คดีดังกล่าวว่าเป็นการเข้าแย่งการครอบครองเองหาได้ไม่ และไม่อยู่ในบังคับของเวลาสำหรับเรียกร้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง เมื่อคดีก่อนนั้นศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทไว้แทนทายาทอื่นซึ่งรวมถึง พ. และ น.จำเลยคดีนี้ด้วย พ. และ น. ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่ออำเภอขอให้ใส่ชื่อของตนใน น.ส.3 ตามสิทธิของตนได้ เมื่อใส่แล้วก็มีความชอบธรรมที่จะโอนขายส่วนของตนให้ผู้อื่นไปโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยลงลายพิมพ์นิ้วมือตั้ง พ.เป็นทนายความ แม้จะมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเพียงคนเดียว แต่ พ.ก็ได้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายของจำเลยมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงชั้นอุทธรณ์ โดยจำเลยยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมาและโจทก์ก็มิได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้น ดังนี้ พ.จึงมีอำนาจที่จะฎีกาในฐานะทนายของจำเลยได้
จำเลยลงลายพิมพ์นิ้วมือตั้ง พ.เป็นทนายความ แม้จะมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเพียงคนเดียว แต่ พ.ก็ได้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายของจำเลยมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงชั้นอุทธรณ์ โดยจำเลยยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมาและโจทก์ก็มิได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้น ดังนี้ พ.จึงมีอำนาจที่จะฎีกาในฐานะทนายของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้อนุบาลทำนิติกรรมเกี่ยวกับสินสมรสและผลผูกพันของนิติกรรมยกให้เมื่อสามีไร้ความสามารถ
กรณีภริยาเป็นผู้อนุบาลสามีซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 นั้นมาตรา 1581 ไม่ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยความปกครองมาบังคับจึงจะนำมาตรา 1561, 1562, 1563. ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความปกครองมาบังคับแก่ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามีหาได้ไม่
ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามี มีสิทธิทำนิติกรรมขายสินบริคณห์ได้โดยลำพัง หากกระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 710/2490 แต่การที่ภริยาเอาที่ดินสินบริคณห์ไปยกให้แก่บุตรคนหนึ่งโดยเสน่หา มิใช่กระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีแต่อย่างใด ภริยาในฐานะผู้อนุบาลจึงไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนที่เป็นของสามีไปยกให้แก่บุตรโดยเสน่หาได้ คงมีสิทธิกระทำได้ในฐานะที่เป็นภริยา ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินสินบริคณห์นั้นด้วย โดยมิพักต้องได้รับอนุญาตจากสามี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 39 นิติกรรมการให้ที่ดินโดยเสน่หาดังกล่าว จึงผูกพันส่วนที่เป็นของภริยา แต่ไม่ผูกพันส่วนของสามี เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าที่ดินสินบริคณห์นั้นสามีกับภริยามีส่วนคนละเท่าใด และภริยาก็ทำนิติกรรมให้บุตรมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับสามีอันมีผลเท่ากับภริยายอมสละส่วนของตนให้แก่บุตรเท่านั้น นิติกรรมรายนี้จึงไม่เป็นโมฆะ
ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามี มีสิทธิทำนิติกรรมขายสินบริคณห์ได้โดยลำพัง หากกระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 710/2490 แต่การที่ภริยาเอาที่ดินสินบริคณห์ไปยกให้แก่บุตรคนหนึ่งโดยเสน่หา มิใช่กระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีแต่อย่างใด ภริยาในฐานะผู้อนุบาลจึงไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนที่เป็นของสามีไปยกให้แก่บุตรโดยเสน่หาได้ คงมีสิทธิกระทำได้ในฐานะที่เป็นภริยา ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินสินบริคณห์นั้นด้วย โดยมิพักต้องได้รับอนุญาตจากสามี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 39 นิติกรรมการให้ที่ดินโดยเสน่หาดังกล่าว จึงผูกพันส่วนที่เป็นของภริยา แต่ไม่ผูกพันส่วนของสามี เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าที่ดินสินบริคณห์นั้นสามีกับภริยามีส่วนคนละเท่าใด และภริยาก็ทำนิติกรรมให้บุตรมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับสามีอันมีผลเท่ากับภริยายอมสละส่วนของตนให้แก่บุตรเท่านั้น นิติกรรมรายนี้จึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการทำนิติกรรมของผู้อนุบาลในสินบริคณห์: การยกที่ดินให้บุตรโดยเสน่หาไม่ผูกพันส่วนของผู้ไร้ความสามารถ
กรณีภริยาเป็นผู้อนุบาลสามีซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 นั้น มาตรา 1581ไม่ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยความปกครองมาบังคับจึงจะนำมาตรา 1561,1562,1563. ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความปกครองมาบังคับแก่ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามีหาได้ไม่
ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามี มีสิทธิทำนิติกรรมขายสินบริคณห์ได้โดยลำพัง หากกระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 710/2490 แต่การที่ภริยาเอาที่ดินสินบริคณห์ไปยกให้แก่บุตรคนหนึ่งโดยเสน่หา มิใช่กระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีแต่อย่างใด ภริยาในฐานะผู้อนุบาลจึงไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนที่เป็นของสามีไปยกให้แก่บุตรโดยเสน่หาได้ คงมีสิทธิกระทำได้ในฐานะที่เป็นภริยา ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินสินบริคณห์นั้นด้วย โดยมิพักต้องได้รับอนุญาตจากสามี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 39 นิติกรรมการให้ที่ดินโดยเสน่หาดังกล่าว จึงผูกพันส่วนที่เป็นของภริยา แต่ไม่ผูกพันส่วนของสามี เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าที่ดินสินบริคณห์นั้น สามีกับภริยามีส่วนคนละเท่าใด และภริยาก็ทำนิติกรรมให้บุตรมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับสามีอันมีผลเท่ากับภริยายอมสละส่วนของตนให้แก่บุตรเท่านั้น นิติกรรมรายนี้จึงไม่เป็นโมฆะ
ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามี มีสิทธิทำนิติกรรมขายสินบริคณห์ได้โดยลำพัง หากกระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 710/2490 แต่การที่ภริยาเอาที่ดินสินบริคณห์ไปยกให้แก่บุตรคนหนึ่งโดยเสน่หา มิใช่กระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีแต่อย่างใด ภริยาในฐานะผู้อนุบาลจึงไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนที่เป็นของสามีไปยกให้แก่บุตรโดยเสน่หาได้ คงมีสิทธิกระทำได้ในฐานะที่เป็นภริยา ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินสินบริคณห์นั้นด้วย โดยมิพักต้องได้รับอนุญาตจากสามี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 39 นิติกรรมการให้ที่ดินโดยเสน่หาดังกล่าว จึงผูกพันส่วนที่เป็นของภริยา แต่ไม่ผูกพันส่วนของสามี เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าที่ดินสินบริคณห์นั้น สามีกับภริยามีส่วนคนละเท่าใด และภริยาก็ทำนิติกรรมให้บุตรมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับสามีอันมีผลเท่ากับภริยายอมสละส่วนของตนให้แก่บุตรเท่านั้น นิติกรรมรายนี้จึงไม่เป็นโมฆะ