คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 118

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 824 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากรแสตมป์แต่เสียเงินเพิ่มแล้ว ถือใช้เป็นหลักฐานได้
โจทก์นำหนังสือมอบอำนาจที่มิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ไปยื่นขอเสียเงินอากรและเงินเพิ่มอากรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ต่อจากนั้นย่อมเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะพิจารณาวินิจฉัย เมื่อโจทก์ได้เสียเงินอากรและเงินเพิ่มอากรตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ก็ถือได้ว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์เป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 117 จึงใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ และถือได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ, สิทธิเครื่องหมายการค้า, การฟ้องซ้ำ, ความคล้ายคลึงเครื่องหมายการค้า, และความสุจริต
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ อ.ฟ้องคดีเป็นใบมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศ โดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ 2 คน ลงชื่อต่อหน้าโนตารีปับลิก และมีรองกงสุลไทย ณ เมืองนั้นลงชื่อเป็นพยาน ใบมอบอำนาจของโจทก์จึงเชื่อได้ว่าเป็นใบมอบอำนาจอันแท้จริง ไม่มีเหตุอันควรสงสัยใบมอบ-อำนาจดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น แม้ อ.จะไม่เคยเดินทางไปบริษัทโจทก์ที่ประเทศมาเลเซีย และโจทก์ไม่ได้นำกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์2 คน มาเบิกความเป็นพยาน แต่จำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นหนังสือมอบอำนาจนั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และแม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะได้ทำขึ้นก่อนโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคดีนี้แต่ข้อความในใบมอบอำนาจมีว่าโจทก์มอบอำนาจให้ อ.มีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับการป้องกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และดำเนินการจนถึงที่สุดในศาลไทยได้อ.จึงมีอำนาจฟ้องคดีผู้โต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าใบมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้นั้น แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในเมืองต่างประเทศ มีโนตารีปับลิกและกงสุลไทย ณ เมืองนั้น รับรองอีกชั้นหนึ่งว่าลายมือชื่อและตราที่ประทับเป็นลายมือชื่อและตราที่ประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริง เป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศดังกล่าวแล้ว ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
ป.วิ.พ. มาตรา 144 ห้ามศาลมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีเรื่องเดิมนั้นในศาลเดียวกันต่อไปอีกทั้งคดีหรือเฉพาะประเด็นบางเรื่องซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งครั้งหนึ่งและศาลนั้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นอีก จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเดิมในศาลเดียวกัน ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีของศาลแพ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 143673 ที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ดีกว่าจำเลยที่ 2 ห้ามการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ตามคำขอเลขที่ 139116 ซึ่งยื่นเมื่อวันที่15 พฤษภาคม 2527 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2530 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอเลขที่ 164038 จึงทราบว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปขอจดทะเบียนอีก 2 คำขอ คือคำขอเลขที่ 142555 ซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วสำหรับสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกและคำขอเลขที่ 163600 ซึ่งยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเลขที่ 163600 ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทในคดีเดิมจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่143673 ดีกว่าจำเลยตามคำขอเลขที่ 139116 หรือไม่ ส่วนคดีนี้ประเด็นข้อพิพาทมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่164038 ดีกว่าจำเลยตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 142555 และ 163600หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอเลขที่ 163600 หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีเดิมกับคดีนี้จึงอาศัยข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่แตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม เพราะมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตราม้าทองคำพิพาทซึ่งได้จดทะเบียนที่ประเทศมาเลเซีย สำหรับสินค้าลูกมะกอก (ลูกหนำเลี้ยบ)ในน้ำเกลือ ตั้งแต่ พ.ศ.2515 โดยได้รับโอนจาก ฉ. และ ท. เมื่อ พ.ศ.2522 ได้สั่งสินค้าลูกมะกอก (ลูกหนำเลี้ยบ) ในน้ำเกลือของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2519ก่อนจำเลยและบริษัท ล.ของบิดาจำเลยจะผลิตสินค้าอย่างเดียวกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทออกจำหน่ายใน พ.ศ.2520 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเป็นคดีนี้ได้ แม้คำขอที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ก่อนฟ้องคดีนี้จะระบุชื่อสินค้าเฉพาะอย่างในจำพวก 42 คือลูกมะกอก (ลูกหนำเลี๊ยบ) ในน้ำเกลือ ส่วนคำขอของจำเลยระบุว่าจำพวก 42ทั้งจำพวกก็ตาม เพราะเป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนดีกว่ากันตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ศาลชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอของจำเลยได้
เครื่องหมายการค้ารูปม้า 2 ตัว ของจำเลยคงมีม้าตัวใหญ่กับชื่อภาษาอังกฤษว่า GOLDEN HORSE BRAND อยู่ข้างบน กับชื่ออักษรจีนอีก3 ตัว อยู่ข้างล่างเหมือนเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ทุกประการคงมีต่างกันเฉพาะรูปม้าตัวเล็ก ๆ เพิ่มเติมที่มุมล่างด้านซ้ายในเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเท่านั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด เพราะผู้ซื้อเห็นรูปม้าตัวใหญ่แล้วก็อาจเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ คงไม่ได้สังเกตรูปม้าตัวเล็กอีก จำเลยอาจเพิ่มเติมรูปม้าในเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นม้า 2 ตัวตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความให้แตกต่างกับเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ได้อีกหลายแบบเพื่อแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยหาได้ทำไม่ การแก้ไขเพิ่มเติมรูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวส่อให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่เจตนาจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีของศาลแพ่ง เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเสียด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครื่องหมายการค้า: การพิพาทระหว่างเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศกับการใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันในไทย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ อ. ฟ้องคดีเป็นใบมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศ โดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ 2 คนลงชื่อต่อหน้าโนตารีปัปลิก และมีรองกงสุลไทย ณ เมืองนั้นลงชื่อเป็นพยาน ใบมอบอำนาจของโจทก์จึงเชื่อได้ว่าเป็นใบมอบอำนาจอันแท้จริง ไม่มีเหตุอันควรสงสัยใบมอบอำนาจดังกล่าวแต่อย่างใดดังนั้น แม้ อ. จะไม่เคยเดินทางไปบริษัทโจทก์ที่ประเทศมาเลเซียและโจทก์ไม่ได้นำกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ 2 คนมาเบิกความเป็นพยาน แต่จำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น หนังสือมอบอำนาจนั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และแม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะได้ทำขึ้นก่อนโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคดีนี้แต่ข้อความในใบมอบอำนาจมีว่าโจทก์มอบอำนาจให้ อ. มีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับการป้องกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และดำเนินการจนถึงที่สุดในศาลไทยได้ อ. จึงมีอำนาจฟ้องคดีผู้โต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ ข้อที่จำเลยฎีกาว่าใบมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้นั้น แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในเมืองต่างประเทศ มีโนตารีปัปลิก และกงสุลไทย ณ เมืองนั้น รับรองอีกขึ้นหนึ่งว่าลายมือชื่อและตราที่ประทับเป็นลายมือชื่อและตราที่ประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริง เป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศดังกล่าวแล้วไม่อยู่ในบังคับที่จะต้อง ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ห้ามศาลมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีเรื่องเดิมนั้นในศาลเดียวกันต่อไปอีกทั้งคดีหรือเฉพาะประเด็นบางเรื่องซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งครั้งหนึ่งและศาลนั้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นอีก จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเดิมในศาลเดียวกัน ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีของศาลแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 143673 ที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ดีกว่าจำเลยที่ 2 ห้ามการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ตามคำขอเลขที่ 139116ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2527 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2530 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอเลขที่ 134038 จึงทราบว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปขอจดทะเบียนอีก 2 คำขอ คือคำขอเลขที่ 142555 ซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วสำหรับสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวก และคำขอเลขที่ 163600 ซึ่งยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเลขที่ 16360 ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทในคดีเดิมจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 143373 ดีกว่าจำเลยตามคำขอเลขที่ 139116 หรือไม่ส่วนคดีนี้ประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 164038 ดีกว่าจำเลยตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 142555 และ 163600 หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอเลขที่ 163600 หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีเดิมกับคดีนี้จึงอาศัยข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่แตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม เพราะมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตราม้าทองคำพิพาทซึ่งได้จดทะเบียนที่ประเทศมาเลเซีย สำหรับสินค้าลูกมะกอก(ลูกหนำเลี้ยบ) ในน้ำเกลือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 โดยได้รับโอนจากฉ.และท.เมื่อพ.ศ.2522ได้สั่งสินค้าลูกมะกอก(ลูกหนำเลียบ)ในน้ำเกลือของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ก่อนจำเลยและบริษัท ล. ของบิดาจำเลยจะผลิตสินค้าอย่างเดียวกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทออกจำหน่ายใน พ.ศ. 2520 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเป็นคดีนี้ได้ แม้คำขอที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ก่อนฟ้องคดีนี้จะระบุชื่อสินค้าเฉพาะอย่างในจำพวก 42 คือ ลูกมะกอก(ลูกหนำเลี๊ยบ) ในน้ำเกลือ ส่วนคำขอของจำเลยระบุว่าจำพวก 42 ทั้งจำพวกก็ตาม เพราะเป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนดีกว่ากันตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ศาลชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอของจำเลยได้ เครื่องหมายการค้ารูปม้า 2 ตัว ของจำเลยคงมีม้าตัวใหญ่กับชื่อภาษาอังกฤษว่า GOLDENHORSEBRAND อยู่ข้างบน กับชื่ออักษรจีนอีก 3 ตัว อยู่ข้างล่างเหมือนเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ทุกประการคงมีต่างกันเฉพาะรูปม้าตัวเล็ก ๆ เพิ่มเติมที่มุมล่างด้านซ้ายในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเท่านั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด เพราะผู้ซื้อรูปม้าตัวใหญ่แล้วก็อาจเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ คงไม่ได้สังเกตรูปม้าตัวเล็กอีก จำเลยอาจเพิ่มเติมรูปม้าในเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นม้า 2 ตัว ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความให้แตกต่างกับเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ได้อีกหลายแบบเพื่อแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยหาได้ทำไม่ การแก้ไขเพิ่มเติมรูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวส่อให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่เจตนาจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีของศาลแพ่ง เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเสียด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5599/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามสัญญาขายลดเช็คและค้ำประกัน การขาดอายุความเป็นความผิดจำเลย
เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็ค จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ และรับมอบเช็คจากโจทก์ไปใช้สิทธิไล่เบี้ยจากผู้สั่งจ่ายในฐานะที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้สลักหลังเช็คและได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสองก็หาได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์การที่เช็คขาดอายุความลงจึงเป็นความผิดของจำเลยทั้งสองเอง
จำเลยทั้งสองไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นว่า สัญญาขายลดเช็คเป็นสัญญาซื้อขายหรือเป็นสัญญากู้ยืม จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าเอกสารดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
ป.พ.พ. มาตรา 700 วรรคแรกไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรมอันดีของประชาชน เพราะวรรคสองของมาตราดังกล่าวบัญญัติว่า ถ้าผู้ค้ำประกันตกลงด้วยในการผ่อนเวลา ผู้ค้ำประกันหาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่ ดังนั้น คู่สัญญาจึงอาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้
โจทก์ฟ้องขอให้ชำระดอกเบี้ยก่อนฟ้องมาด้วย แต่คำพิพากษาศาล-ชั้นต้นมิได้กำหนดว่าดอกเบี้ยก่อนฟ้องมิให้เกินกว่าที่โจทก์ขอ ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5599/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายลดเช็ค, สัญญาค้ำประกัน, การรับผิดของผู้สลักหลัง, อายุความ, ดอกเบี้ยก่อนฟ้อง
เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็ค จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ และรับมอบเช็คจากโจทก์ไปใช้สิทธิไล่เบี้ยจากผู้สั่งจ่ายในฐานะที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้สลักหลังเช็คและได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสองก็หาได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่เช็คขาดอายุความลงจึงเป็นความผิดของจำเลยทั้งสองเอง จำเลยทั้งสองไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นว่า สัญญาขายลดเช็คเป็นสัญญาซื้อขายหรือเป็นสัญญากู้ยืม จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าเอกสารดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 วรรคแรกไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะวรรคสองของมาตราดังกล่าวบัญญัติว่า ถ้าผู้ค้ำประกันตกลงด้วยในการผ่อนเวลา ผู้ค้ำประกันหาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่ดังนั้น คู่สัญญาจึงอาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้ โจทก์ฟ้องขอให้ชำระดอกเบี้ยก่อนฟ้องมาด้วย แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นมิได้กำหนดว่าดอกเบี้ยก่อนฟ้องมิให้เกินกว่าที่โจทก์ขอปัญหาข้อนี้แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่ไม่มีการจดทะเบียนและขาดการปิดอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานได้ หากศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยโจทก์ก็ต้องฎีกาให้ชัดเจน
โจทก์ฎีกาว่า หนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินมีข้อความว่า ผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินไปครบถ้วนแล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินจึงเป็นใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมายมิได้ปิดอากรแสตมป์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แม้โจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้วินิจฉัยให้ เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยให้ไม่ถูกอย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้ง แม้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรที่จะวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยประเด็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินเป็นใบรับ เนื่องจากศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า หนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินมีข้อความว่าผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินไปครบถ้วนแล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินจึงเป็นใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมายมิได้ปิดอากรแสตมป์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แม้โจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้วินิจฉัยให้ เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยให้ไม่ถูกอย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้ง แม้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรที่จะวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5084/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์เกินกำหนด ถือว่าสมบูรณ์ ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องได้ คดีมีค่าเช่าต่ำกว่าเกณฑ์ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้
ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ช. และหรือว. ฟ้องจำเลยแทน เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว คือ ฟ้องคดีแทน หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาทเท่านั้น ตามบัญชีอัตราแสตมป์ ข้อ 7(ก) แห่งประมวลรัษฎากร หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ปิดอากรแสตมป์มา 30 บาท ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดถือได้ว่าครบถ้วนสมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แล้วรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 69,000 บาท และค่าเสียหายอีกเดือนละ 6,000 บาทนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากอาคารพิพาทแก่โจทก์แต่โจทก์ก็มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้มาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่นคงเรียกมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทเท่านั้น เมื่อได้ความว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้องอาคารพิพาทมีค่าเช่าไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5084/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์เกิน และข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีเช่า
ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ช. และหรือ ว. ฟ้องจำเลยแทน เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว คือ ฟ้องคดีแทน หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาทเท่านั้น ตามบัญชีอัตราแสตมป์ ข้อ 7 (ก) แห่งประมวล-รัษฎากร หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ปิดอากรแสตมป์มา 30 บาท ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือได้ว่าครบถ้วนสมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แล้วรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 69,000 บาท และค่าเสียหายอีกเดือนละ 6,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากอาคารพิพาทแก่โจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้มาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่น คงเรียกมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทเท่านั้น เมื่อได้ความว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้องอาคารพิพาทมีค่าเช่าไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานในคดีอาญาได้
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า คดีนี้มิได้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษเพราะหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่ได้ปิดอากรแสตมป์นั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติความว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้... เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้..." เห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวตราสารที่ปิดแสตมป์ไม่บริบูรณ์จะใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ไม่รวมถึงคดีอาญาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเอกสารหมายป.จ.2 ของศาลอาญา เป็นเอกสารที่แท้จริงที่ผู้เสียหายมอบอำนาจให้นายสวัสดีวงศ์อริยจิต ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 กับพวก และนายสวัสดีได้ไปร้องทุกข์ตามหนังสือมอบอำนาจนี้ จึงเป็นการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
of 83