พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญา: เลือกโทษหนักกว่าเมื่อมีความผิดหลายกระทง
ความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 301 วรรถ 3 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉะบับที่ 4) พ.ศ.2477 มาตรา 7 นั้น กำหนดโทษไว้หนักกว่าความผิดฐานฆ่าคนตายตามมาตรา 250 ประกอบด้วยมาตรา 60
ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 301 วรรค 3 แล้ว แม้โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 250,60 ด้วย ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยจะมีความผิดตามมาตรา 250 ประกอบด้วยมาตรา 60 ด้วยหรือไม่
ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 301 วรรค 3 แล้ว แม้โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 250,60 ด้วย ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยจะมีความผิดตามมาตรา 250 ประกอบด้วยมาตรา 60 ด้วยหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น: การพิจารณาโทษหนักกว่าเมื่อมีความผิดตามมาตรา 301 วรรคสาม
ความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 301 วรรคสาม ตามที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 4)พ.ศ.2477 มาตรา 7 นั้น กำหนดโทษไว้หนักกว่าความผิดฐานฆ่าคนตายตามมาตรา 250 ประกอบด้วยมาตรา 60
ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 301 วรรคสามแล้ว แม้โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 250,60 ด้วย ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยจะมีความผิดตามมาตรา 250 ประกอบด้วยมาตรา 60ด้วยหรือไม่
ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 301 วรรคสามแล้ว แม้โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 250,60 ด้วย ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยจะมีความผิดตามมาตรา 250 ประกอบด้วยมาตรา 60ด้วยหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องจากลักทรัพย์เป็นปล้นทรัพย์: ข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
อัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนมา ครั้นสืบพยานโจทก์ไปได้ 2ปาก โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นว่า จำเลยกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์โดยพนักงานสอบสวนยังมิได้มีการสอบสวนในความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญาต้องห้ามตามกฎหมาย หากพนักงานสอบสวนยังมิได้สอบสวนในความผิดนั้น
อัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนมา ครั้นสืบพยานโจทก์ไปได้ 2 ปาก โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นว่า จำเลยกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์โดยพนักงานสอบสวนยังมิได้มีการสอบสวนในความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาฐานสมคบปล้นทรัพย์และทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย: เจตนาฆ่าต้องระบุชัดเจน
ฟ้องหาว่าจำเลยสมคบกันปล้นทรัพย์และใช้สาตราวุธตีแทงและฟันเจ้าทรัพย์มีบาดเจ็บหลายแห่ง เจ้าทรัพย์ทนพิษบาดแผลไม่ได้ถึงแก่ความตายในทันใดนั้นเอง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการที่จะหลีกเลี่ยงอาญาและเพื่อจะเอาประโยชน์จากการกระทำผิด ไม่ได้บรรยายไว้ด้วยว่าในการทำร้ายเจ้าทรัพย์นั้นจำเลยมีเจตนาจะฆ่าเจ้าทรัพย์ให้ตายโดยเจตนาด้วย ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษตามมาตรา 250 ด้วย แม้โจทก์จะได้อ้างมาตรา 250มาในคำขอท้ายฟ้องด้วยก็ดี ศาลก็ลงโทษจำเลยตามมาตรา 250หาได้ไม่ คงลงโทษจำเลยได้แต่ตามมาตรา 301 ตอนท้ายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องฐานความผิดหลายกระทง: เมื่อจำเลยรับสารภาพฐานหนึ่ง โจทก์ขอพิจารณาความผิดฐานอื่นไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นสองฐาน คือฐานปล้นทรัพย์หรือฐานรับของโจร ขอให้ลงโทษจำเลยฐานใดฐานหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การรับว่าได้กระทำผิดฐานรับของโจรเต็มตามฟ้องแล้ว โจทก์จะขอให้พิจารณาความผิดฐานปล้นทรัพย์อีกไม่ได้ ศาลย่อมสั่งงดสืบพยานและพิพากษาให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรได้ทีเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องฐานความผิดหลายกระทง: จำเลยรับสารภาพฐานหนึ่ง โจทก์ขอพิจารณาความผิดฐานอื่นไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นสองฐานคือฐานปล้นทรัพย์หรือฐานรับของโจร ขอให้ลงโทษจำเลยฐานใดฐานหนึ่งเมื่อจำเลยให้การับว่าได้กระทำผิดฐานรับของโจรเต็มตามฟ้องแล้ว โจทก์จะขอให้พิจารณาความผิดฐานปล้นทรัพย์อีกไม่ได้ ศาลย่อมสั่งงดสืบพยานและพิพากษาให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรได้ทีเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความไม่สมบูรณ์ของฟ้องฐานปล้นทรัพย์: จำเลยไม่ทราบจำนวนพวกที่ร่วมกระทำความผิด
โจทก์ฟ้องกล่าวว่า จำเลย(คนเดียว)กับพวกที่ยังหลบหนีจับตัวยังไม่ได้ สมคบกันปล้นทรัพย์ผู้มีชื่อไป ขอให้ลงโทษฐานปล้นทรัพย์ ดังนี้ รู้ไม่ได้ว่าพวกของจำเลยที่โจทก์กล่าวจะมีจำนวนคนเดียวหรือหลายคน ถือว่า โจทก์ไม่กล่าวถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องจึงฟังให้สมบูรณ์ในฐานความผิดปล้นทรัพย์ไม่ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ฉะนั้นแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยกับพวกรวม 5 คนทำการปล้นทรัพย์ ศาลก็จะลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ไม่ได้ คงลงโทษได้แต่เพียงฐานชิงทรัพย์เท่านั้น
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยกับพวกมีมีดเป็นศาตราวุธทำการปล้นทรัพย์ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกับพวกมีมีดและปืนสั้นด้วย ย่อมถือว่าไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะทางพิจารณาก็ได้ความว่าจำเลยกับพวกมีมีดสมตามฟ้องแล้ว จะถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับฟ้องยังไม่ได้
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยกับพวกมีมีดเป็นศาตราวุธทำการปล้นทรัพย์ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกับพวกมีมีดและปืนสั้นด้วย ย่อมถือว่าไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะทางพิจารณาก็ได้ความว่าจำเลยกับพวกมีมีดสมตามฟ้องแล้ว จะถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับฟ้องยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องไม่สมบูรณ์ในความผิดฐานปล้นทรัพย์ เนื่องจากไม่ระบุตัวผู้ร่วมกระทำความผิดชัดเจน แม้พยานหลักฐานแสดงว่ามีการกระทำผิดฐานชิงทรัพย์
โจทก์ฟ้องกล่าวว่า จำเลย(คนเดียว)กับพวกที่ยังหลบหนีจับตัวยังไม่ได้ สมคบกันปล้นทรัพย์ผู้มีชื่อไป ขอให้ลงโทษฐานปล้นทรัพย์ ดังนี้รู้ไม่ได้ว่าพวกของจำเลยที่โจทก์กล่าวจะมีจำนวนคนเดียวหรือหลายคน ถือว่าโจทก์ไม่กล่าวถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องจึงฟังให้สมบูรณ์ในฐานความผิดปล้นทรัพย์ไม่ได้ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 158(5) ฉะนั้นแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยกับพวกรวม 5 คนทำการปล้นทรัพย์ ศาลก็จะลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ไม่ได้ลงลงโทษได้แต่เพียงฐานชิงทรัพย์เท่านั้น
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยกับพวกมีมีดเป็นสาตราวุธทำการปล้นทรัพย์ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกับพวกมีมีดและปืนสั้นด้วย ย่อมถือว่าไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะทางพิจารณาก็ได้ความว่าจำเลยกับพวกมีมีดสมตามฟ้องแล้ว จะถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับฟ้องยังไม่ได้
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยกับพวกมีมีดเป็นสาตราวุธทำการปล้นทรัพย์ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกับพวกมีมีดและปืนสั้นด้วย ย่อมถือว่าไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะทางพิจารณาก็ได้ความว่าจำเลยกับพวกมีมีดสมตามฟ้องแล้ว จะถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับฟ้องยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาว่าไฟฉายถือเป็นอาวุธในความผิดฐานปล้นทรัพย์หรือไม่ ศาลพิจารณาจากลักษณะของวัตถุ
ไฟฉายชนิดถือเดินทางจะเป็นอาวุธหรือไม่ ย่อมแล้วแต่ลักษณะว่าจะเป็นเครื่องประหารตามความในมาตรา 6 ข้อ 15 แห่ง ก.ม.ลักษณะอาญาหรือไม่
คนร้าย 3 คนขึ้นไปทำการชิงทรัพย์บนเรือนผู้เสียหายปรากฎว่าผู้ร้ายไม่มีอาวุธอย่างใดนอกจากไฟฉายสำหรับถือเดินทางเมื่อไม่ปรากฎว่าไฟฉายนั้นใหญ่และยาวเท่าใด ก็จะอนุมานเอาว่าเป็นเครื่องประหารอันสามารถจะใช้กระทำแก่ร่างกายให้แตกหักบุบสลายได้ถึงสาหัสเช่นตระบอง หาได้ไม่ ไฟฉายนั้นจึงไม่ใช่สาสตราวุธ คนร้ายนั้นจึงมีความผิดเพียงฐานชิงทรัพย์ ไม่ใช่ปล้นทรัพย์
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาและเพิ่งโต้แย้งในชั้นฎีกาว่าความผิดฐานปล้นทรัพย์จะต้องประกอบด้วยการมีสาสตราวุธ ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยให้ได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนว่าจำเลยจะมีความผิดดั่งข้อที่โจทก์กล่าวหาหรือไม่
คนร้าย 3 คนขึ้นไปทำการชิงทรัพย์บนเรือนผู้เสียหายปรากฎว่าผู้ร้ายไม่มีอาวุธอย่างใดนอกจากไฟฉายสำหรับถือเดินทางเมื่อไม่ปรากฎว่าไฟฉายนั้นใหญ่และยาวเท่าใด ก็จะอนุมานเอาว่าเป็นเครื่องประหารอันสามารถจะใช้กระทำแก่ร่างกายให้แตกหักบุบสลายได้ถึงสาหัสเช่นตระบอง หาได้ไม่ ไฟฉายนั้นจึงไม่ใช่สาสตราวุธ คนร้ายนั้นจึงมีความผิดเพียงฐานชิงทรัพย์ ไม่ใช่ปล้นทรัพย์
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาและเพิ่งโต้แย้งในชั้นฎีกาว่าความผิดฐานปล้นทรัพย์จะต้องประกอบด้วยการมีสาสตราวุธ ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยให้ได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนว่าจำเลยจะมีความผิดดั่งข้อที่โจทก์กล่าวหาหรือไม่