คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 143

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกในการเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกที่เป็นโมฆียะตามพินัยกรรม
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่จะต้องนำมาแบ่งปันให้แก่ทายาทของเจ้ามรดก นิติกรรมการโอนเป็นโมฆียะกรรมที่โจทก์ได้บอกล้างแล้ว การบอกล้างโมฆียะกรรมของโจทก์ตลอดจนการนำคดีมาฟ้องเป็นการกระทำอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรมของเจ้ามรดก เพื่อที่จะนำทรัพย์มรดกมาแบ่งปันให้แก่ทายาทเป็นการใช้สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างนิติกรรมเช่าซื้อเนื่องจากกลฉ้อฉล ต้องทำภายในอายุเวลาที่กฎหมายกำหนด หากพ้นเวลาแล้วสิทธิบอกล้างเป็นอันสูญเสีย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำกลฉ้อฉล โจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมแล้ว ขอให้บังคับให้จำเลยคืนเงินที่ได้รับไปจากโจทก์ ปรากฏจากคำแถลงของโจทก์ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาว่าโจทก์ทราบเหตุแล้วตั้ง 4-5 ปี แต่เพิ่งจะยกมาเป็นข้ออ้างในการบอกล้างนิติกรรมดังกล่าว จึงเป็นการพ้นเวลาที่จะบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 แล้ว ถือว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลพอที่จะฟ้องอย่างคนอนาถาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างนิติกรรมเช่าซื้อเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด ทำให้ฟ้องคดีอนาถาไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำกลฉ้อฉล โจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมแล้ว ขอให้บังคับให้จำเลยคืนเงินที่ได้รับไปจากโจทก์ ปรากฏจากคำแถลงของโจทก์ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาว่าโจทก์ทราบเหตุแล้วตั้ง 4-5 ปี แต่เพิ่งจะยกมาเป็นข้ออ้างในการบอกล้างนิติกรรมดังกล่าว จึงเป็นการพ้นเวลาที่จะบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 แล้ว ถือว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลพอที่จะฟ้องอย่างคนอนาถาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการทำสัญญาจ้างว่าความ ทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะ
การที่โจทก์ปกปิดความจริงโดยนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงที่ควรแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าภรรยาและญาติของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความไว้แล้วเป็นเงิน 10,000 บาท ทำให้จำเลยที่ 1 หลงเข้าใจผิดว่ายังไม่มีสัญญาจ้างว่าความให้ตน จึงยอมทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความอีกเป็นเงิน 25,000 บาท หากโจทก์บอกความจริง จำเลยที่ 1 ก็คงไม่ยอมทำสัญญาให้อีก ถือว่าเป็นกลฉ้อฉลที่มีสาระสำคัญถึงขนาดสัญญาจ้างว่าความที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกเป็นโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121,124 จำเลยที่ 1 มีสิทธิบอกล้างได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างโมฆียะกรรมยังไม่พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ทราบถูกโจทก์ทำกลฉ้อฉล สัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137, 138 ทำให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญานั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าจ้างว่าความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการทำสัญญาจ้างว่าความ สัญญาเป็นโมฆียะ หากบอกล้างภายใน 1 ปี
การที่โจทก์ปกปิดความจริงโดยนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงที่ควรแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าภรรยาและญาติของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความไว้แล้วเป็นเงิน 10,000 บาท ทำให้จำเลยที่ 1 หลงเข้าใจผิดว่ายังไม่มีสัญญาจ้างว่าความให้ตน จึงยอมทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความอีกเป็นเงิน 25,000 บาท หากโจทก์บอกความจริง จำเลยที่ 1 ก็คงไม่ยอมทำสัญญาให้อีก ถือว่าเป็นกลฉ้อฉลที่มีสาระสำคัญถึงขนาด สัญญาจ้างว่าความที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกเป็นโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121,124 จำเลยที่ 1 มีสิทธิบอกล้างได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างโมฆียะกรรมยังไม่พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ทราบถูกโจทก์ทำกลฉ้อฉลสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 137,138 ทำให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญานั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าจ้างว่าความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมขายฝากสินบริคณห์: สิทธิบอกล้างของคู่สมรส แม้ยินยอมโดยปริยาย และความรับผิดของจำเลยที่รู้ถึงความสามารถบกพร่อง
การที่ บ. ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์นำที่พิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปขายฝากไว้กับจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ เบื้องต้นต้องถือว่านิติกรรมการขายฝากเป็นโมฆียะ การดำเนินกิจการโรงเรือนราษฎร์ของ บ. ในฐานะเจ้าของและผู้จัดการเป็นกาประกอบการค้าแสวงหากำไร การซื้อที่พิพาาทจาก น. เจ้าของเดิมก็ลงชื่อ บ. แต่ผู้เดียวโดยโจทก์รู้เห็นยินยอม เมื่อซื้อมาแล้วยังได้ใช้ประโยชน์ปลูกสร้างขยายอาคารโรงเรียนลงในที่พิพาทบางส่วนบ. จำต้องหาเงินทุนมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียน หนี้จำนองราย อ. บ.ก็เอาที่พิพาทไปจำนองไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียน ตามพฤติการณ์จึงแสดงว่ามูลเหตุที่ บ.ต้องไปทำนิติกรรมขายฝากไว้กับจำเลย นอกจากเพื่อให้ได้เงินมาไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเป็นสำคัญแล้ว ยังประสงค์ได้เงินที่เหลือมาสมทบใช้จ่ายในกิจการโรงเรียนด้วย แม้จะถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้อนุญาตให้ บ.ไปทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทโดยตรง กรณีก็เป็นเรื่องที่โจทก์ได้อนุญาตแล้วโดยปริยาย เพราะโจทก์ได้รู้เห้นและมิได้ทักท้วงการทำนิติกรรมจำนองที่พิพาทของ บ. มาก่อน อย่างไรก็ตาม นิติกรรมขายฝากที่พิพาทคงมีผลผูกพันเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของ บ. ซึ่งมีอยู่เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น ในส่วนอีกกึ่งหนึ่งของโจทก์หาจำต้องผูกพันด้วยไม่ นิติกรรมขายฝากที่พิพาทสำหรับสินบริคณห์ส่วนของโจทก์คงตกเป็นโมฆียะเช่นเดิม ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ในอันที่จะบอกล้างโมฆียะกรรมหรือให้สัตยาบันตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 และ 139 อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ขณะทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทระหว่าง บ. ภริยาโจทก์กับจำเลยจำเลยทราบดีว่า บ. เป็นหญิงมีสามี ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้เตือนให้จำเลยทราบถึงความสามารถบกพร่องชอง บ. ก่อนแล้ว จำเลยยังเสี่ยงยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินทำสัญญาขายฝากให้โดยขอยอมรับผิดต่อความเสียหายเอง ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ทราบถึงนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในระหว่างอายุสัญญาขายฝากหรือไม่ ไม่ใช่เหตุตัดรอนสิทธิของโจทก์ที่จะบอกล้างเพราะสิทธิบอกล้างจะสิ้นไปก็แต่ โดยโจทก์เพิกเฉยไม่บอกล้างเสียภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรืออีกนัยหนึ่งนับแต่วันทราบเรื่องการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 143 การบอกล้างของโจทก์ยังไม่เกินกำหนดหนึ่งปี โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ ฉะนั้นนิติกรรมขายฝากที่พิพาทเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของโจทก์เมิ่อบอกล้างแล้วย่อมตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลบังคับนับแต่วันบอกล้างเป็นต้นไป จำเลยจะถือเอาประโยชน์จากนิติกรรมในส่วนที่ไม่สมบูรณ์นั้นไม่ได้ จะต้องคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตไม่ เพราะโจทก์มีความชอบธรรมที่จะปกป้องหรือขอคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินส่วนตนในทางศาลได้อยู่ ส่วนเงินราคาที่ดินอันจะพึงชดใช้แก้กันเป็นจำนวนเท่าใดนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้ง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมขายฝากสินบริคณห์: สิทธิบอกล้างของเจ้าของสินส่วนแบ่ง
การที่ บ.ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์นำที่พิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปขายฝากไว้กับจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ เบื้องต้นต้องถือว่านิติกรรมการขายฝากเป็นโมฆียะ การดำเนินกิจการโรงเรียนราษฎร์ของ บ.ในฐานะเจ้าของและผู้จัดการเป็นการประกอบการค้าแสวงหากำไร การซื้อที่พิพาทจาก น.เจ้าของเดิมก็ลงชื่อ บ.แต่ผู้เดียวโดยโจทก์รู้เห็นยินยอม เมื่อซื้อมาแล้วยังได้ใช้ประโยชน์ปลูกสร้างขยายอาคารโรงเรียนลงในที่พิพาทบางส่วน บ.จำต้องหาเงินทุนมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียน หนี้จำนองราย อ. บ.ก็เอาที่พิพาทไปจำนองไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียนตามพฤติการณ์จึงแสดงว่ามูลเหตุที่ บ.ต้องไปทำนิติกรรมขายฝากไว้กับจำเลย นอกจากเพื่อให้ได้เงินมาไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเป็นสำคัญแล้ว ยังประสงค์ได้เงินส่วนที่เหลือมาสมทบใช้จ่ายในกิจการโรงเรียนด้วย แม้จะถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้อนุญาตให้ บ.ไปทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทโดยตรง กรณีก็เป็นเรื่องที่โจทก์ได้อนุญาตแล้วโดยปริยาย เพราะโจทก์ได้รู้เห็นและมิได้ทักท้วงการทำนิติกรรมจำนองที่พิพาทของ บ.มาก่อน อย่างไรก็ตาม นิติกรรมขายฝากที่พิพาทคงมีผลผูกพันเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของ บ.ซึ่งมีอยู่เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น ในส่วนอีกกึ่งหนึ่งของโจทก์หาจำต้องผูกพันด้วยไม่ นิติกรรมขายฝากที่พิพาทสำหรับสินบริคณห์ส่วนของโจทก์คงตกเป็นโมฆียะเช่นเดิม ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ในอันที่จะบอกล้างโมฆียะกรรมหรือให้สัตยาบันตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 และ 139 แต่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ขณะทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทระหว่าง บ.ภริยาโจทก์กับจำเลย จำเลยทราบดีว่า บ.เป็นหญิงมีสามี ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้เตือนให้จำเลยทราบถึงความสามารถบกพร่องของ บ.ก่อนแล้ว จำเลยยังเสี่ยงยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินทำสัญญาขายฝากให้โดยขอยอมรับผิดต่อความเสียหายเอง ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ทราบถึงนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในระหว่างอายุสัญญาขายฝากหรือไม่ ไม่ใช่เหตุตัดรอนสิทธิของโจทก์ที่จะบอกล้าง เพราะสิทธิบอกล้างจะสิ้นไปก็แต่โดยโจทก์เพิกเฉยไม่บอกล้างเสียภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรืออีกนัยหนึ่งนับแต่วันทราบเรื่องการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 การบอกล้างของโจทก์ยังไม่เกินกำหนดหนึ่งปี โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ ฉะนั้นนิติกรรมขายฝากที่พิพาทเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของโจทก์เมื่อบอกล้างแล้วย่อมตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลบังคับนับแต่วันบอกล้างเป็นต้นไป จำเลยจะถือเอาประโยชน์จากนิติกรรมในส่วนที่ไม่สมบูรณ์นั้นไม่ได้ จะต้องคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตไม่ เพราะโจทก์มีความชอบธรรมที่จะปกป้องหรือขอคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินส่วนของตนในทางศาลได้อยู่ ส่วนเงินราคาที่ดินอันจะพึงชดใช้แก่กันเป็นจำนวนเท่าใดนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้ง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขสัญญาให้ที่ดินที่ไม่ผูกพันโจทก์ และอายุความทั่วไป 10 ปี
เมื่อเงื่อนไขข้อหนึ่งในสัญญายกที่ดินให้โจทก์ ไม่มีผลผูกพันโจทก์ โดยถือว่ามิได้มีข้อสัญญาข้อนี้ต่อกันโจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนออกเสียจากสัญญานั้นได้
สัญญาให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นการยกให้โดยไม่มีมูลค่าตอบแทนใดๆ ย่อมไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน
จำเลยตัดฟ้องว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โดยมิได้อ้างเหตุผลประกอบว่าทำไมจึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม ในข้อไหนอย่างไร เป็นข้อตัดฟ้องที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเงื่อนไขในสัญญายกที่ดินให้โจทก์ไม่เกี่ยวกับการบอกล้างโมฆียะกรรมแต่อย่างไร จึงต้องใช้อายุความทั่วไป มีกำหนด 10 ปี
สัญญาให้ที่ดินซึ่งคู่สัญญาทำขึ้นต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดินไม่ใช่เอกสารมหาชนดังเช่นโฉนดที่ดิน แต่เป็นเอกสารสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งคู่ความมีสิทธิที่จะนำสืบหักล้างถึงความไม่สมบูรณ์ หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขสัญญาให้ที่ดินเพิ่มเติมภายหลัง ไม่ผูกพันผู้รับโอน และอายุความทั่วไป 10 ปี
เมื่อเงื่อนไขข้อหนึ่งในสัญญายกที่ดินให้โจทก์ไม่มีผลผูกพันโจทก์ โดยถือว่ามิได้มีข้อสัญญาข้อนี้ต่อกันโจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนออกเสียจากสัญญานั้นได้
สัญญาให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นการยกให้โดยไม่มีมูลค่าตอบแทนใด ๆ ย่อมไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน
จำเลยตัดฟ้องว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โดยมิได้อ้างเหตุผลประกอบว่าทำไมจึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม ในข้อไหนอย่างไรเป็นข้อตัดฟ้องที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเงื่อนไขในสัญญายกที่ดินให้โจทก์ไม่เกี่ยวกับการบอกล้างโมฆียะกรรมแต่อย่างไร จึงต้องใช้อายุความทั่วไป มีกำหนด 10 ปี
สัญญาให้ที่ดินซึ่งคู่สัญญาทำขึ้นต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดินไม่ใช่เอกสารมหาชนดังเช่นโฉนดที่ดิน แต่เป็นเอกสารสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งคู่ความมีสิทธิที่จะนำสืบหักล้างถึงความไม่สมบูรณ์ หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส สินบริคณห์ โมฆียะ: การโอนขายทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
เมื่อการให้มิได้มีข้อความจดทะเบียนระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายที่รับให้การให้นั้นก็ต้องถือว่าเป็นการให้ตามธรรมดาทรัพย์สินที่ให้กันจึงเป็นสินสมรสอันเป็นสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462
ภรรยานำที่ดินพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่ตนได้รับให้ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากสามีการโอนขายนั้นย่อมเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38สามีจะบอกล้างเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 วรรค 2 แต่ต้องบอกล้างเสียภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจจะให้สัตยาบันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143
of 5