คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประมูล สุวรรณศร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,225 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินให้สถานที่สักการะบรรพบุรุษซึ่งมิใช่บุคคล ทำให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นโมฆะ ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน
ในเรื่องมรดกนั้นเมื่อบุคคลใดตาย ทรัพย์สินของผู้ตายย่อมตกทอดแก่ทายาท (ทายาทโดยธรรมผู้รับพินัยกรรม) ถ้าไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรมมรดกของผู้นั้นจะตกทอดแก่แผ่นดินพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยให้บุคคลใดอยู่ในภาระติดพันที่จะต้องก่อตั้งมูลนิธิ เมื่อมีการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรมเป็นนิติบุคคลแล้วจึงให้ถือว่าทรัพย์สินนั้นตกเป็นของมูลนิธินิติบุคคลนั้นตั้งแต่เวลาซึ่งพินัยกรรมมีผลพินัยกรรมที่สั่งจัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 81 เช่น เพื่อบำเพ็ญทานการศาสนา ฯลฯ ผู้รับตามพินัยกรรมนั้นจะต้องเป็นบุคคลสามารถมีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย เพราะถ้าผู้รับมิใช่บุคคล ไม่สามารถมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน ทรัพย์สินนั้นจะเป็นทรัพย์สินอันไม่มีเอกชนเป็นเจ้าของจะตกทอดแก่แผ่นดิน ในกรณีที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่สถานที่สักการะบรรพบุรุษ (ชื่อตึ๊ง) เมื่อสถานที่สักการะบรรพบุรุษมิใช่บุคคล จึงไม่อาจเป็นผู้ทรงสิทธิเหนือทรัพย์สินได้ดังนั้น ข้อกำหนดตามพินัยกรรมจึงไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ไม่ว่าในฐานะพินัยกรรมธรรมดาหรือพินัยกรรมก่อตั้งทรัสต์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้สถานที่สักการะ: ผู้รับต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีสิทธิได้ตามกฎหมาย
ในเรื่องมรดกนั้นเมื่อบุคคลใดตาย ทรัพย์สินของผู้ตายย่อมตกทอดแก่ทายาท(ทายาทโดยชอบธรรม, ผู้รับพินัยกรรม) ถ้าไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของผู้นั้นจะตกทอดแก่แผ่นดิน พินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยให้บุคคลใดอยู่ในภาระติดพันที่จะต้องก่อตั้งมูลนิธิ เมื่อมีการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรมเป็นนิติบุคคลแล้ว จึงให้ถือว่าทรัพย์สินนั้นตกเป็นของมูลนิธินิติบุคคลนั้นตั้งแต่เวลาซึ่งพินัยกรรมมีผล พินัยกรรมที่สั่งจัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 81 เช่น เพื่อบำเพ็ญทาน การศาสนา ฯลฯ ผู้รับตามพินัยกรรมนั้นจะต้องเป็นบุคคลสามารถมีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมายเพราะถ้าผู้รับมิใช่บุคคล ไม่สามารถมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน ทรัพย์สินนั้นจะเป็นทรัพย์สินอันไม่มีเอกชนเป็นเจ้าของจะตกทอดแก่แผ่นดิน ในกรณีที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่สถานที่สักการะบรรพบุรุษ(ซื่อตึ๊ง) เมื่อสถานที่สักการะบรรพบุรุษมิใช่บุคคล จึงไม่อาจเป็นผู้ทรงสิทธิเหนือทรัพย์สินได้ ดังนั้น ข้อกำหนดตามพินัยกรรมจึงไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ไม่ว่าในฐานะพินัยกรรมธรรมดาหรือพินัยกรรมก่อตรั้งทรัสต์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114-1115/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายศุลกากร: พยานหลักฐานเชื่อมโยงผู้ครอบครองกับผู้นำเข้า
มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 กฎหมายมิได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เมื่อปรากฏว่าผู้ใดมีสิ่งต้องห้าม หรือสิ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสิ่งต้องกำกัดหรือเป็นสิ่งลักลอบหนีศุลกากรไว้ในครอบครองก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นได้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากรหากแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นความจริงตามข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้พบเห็น ข้อนี้เป็นข้อสันนิษฐานข้อแรกส่วนข้อสันนิษฐานว่าผู้ที่มีสิ่งนั้นไว้ในครอบครอง เป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือนำเข้ามาเป็นการลักลอบหนีศุลกากรนั้นเป็นเพียงผลที่สืบเนื่องจากข้อสันนิษฐานข้อแรกนั้น เมื่อแปลความหมายดังนี้ จึงเห็นว่าข้อเท็จจริงที่จะจดแจ้งลงในบันทึกนั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมพอจะแสดงเค้ามูลว่า ผู้มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร
บันทึกการดูของกลางว่าได้มีการขายของกลางไปจากร้านจึงมีลักษณะเป็นเพียงบันทึกดูของกลางในคดีอื่นๆทั่วไปหาได้มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2497(ฉบับที่ 12) ไม่ ฉะนั้น เรื่องหน้าที่นำสืบ การวินิจฉัยพยานหลักฐานย่อมเป็นไปตามหลักที่ใช้ทั่วไปแก่คดีอาญาทั้งปวง คือ โจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย และจะลงโทษจำเลยก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานพอให้ฟังว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114-1115/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสันนิษฐานตามกฎหมายศุลกากร: พยานแวดล้อมต้องแสดงเค้ามูลการนำเข้าโดยมิชอบ
มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 กฎหมายมิได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เมื่อปรากฎว่าผู้ใดมีสิ่งต้องห้าม หรือสิ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสิ่งต้องกำกักหรือเป็นลักลอบหนีศุลกากรไว้ในครอบครอง ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นได้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร หากแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นความจริงตามข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้พบเห็น ข้อนี้เป็นข้อสันนิษฐานข้อแรกส่วนข้อสันนิษฐานว่าผู้ที่มีสิ่งนั้นไว้ในครอบครอง เป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือนำเข้ามาเป็นการลักลอบหนีศุลกากรนั้น เป็นเพียงผลที่สืบเนื่องจากข้อสันนิษฐานข้อแรกนั้น เมื่อแปลความหมายดังนี้ จึงเห็นว่าข้อเท็จจริงที่จะจดแจ้งลงในบันทึกนั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นพยานประพฤติเหตุแวดล้อมพอจะแสดงเค้ามูลว่า ผู้มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร
บันทึกการดูของกลางว่าได้มีการขายของกลางไปจากร้าน จึงมีลักษณะเป็นเพียงบันทึกดูของกลางอย่างในคดีอื่น ๆ ทั่วไป หาได้มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อนให้เกิดข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2497 (ฉบับที่ 12)ไม่ ฉะนั้น เรื่องหน้าที่นำสืบ การวินิจฉัยพยานหลักฐานย่อมเป็นไปตามหลักที่ใช้ทั่วไปแก่คดีอาญาทั้งปวง คือ โจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลยและจะลงโทษจำเลยก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานพอให้ฟังว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครอง: ที่ดินต้องมีโฉนดหรือมีผู้มีกรรมสิทธิ์เดิม จึงจะขอแสดงกรรมสิทธิ์ได้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ย่อมหมายถึงการครอบครองที่ดินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์ เมื่อที่ดินที่ผู้ร้องครอบครองเป็นที่ดินไม่มีโฉนด หรือยังไม่เคยมีผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องก็จะใช้สิทธิทางศาลเสนอคดีไม่มีข้อพิพาท ขอให้ศาลแสดงว่าผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นหาได้ไม่
กรณีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงว่าที่นามีใบไต่สวนเป็นกรรมสิทธิ์ ของผู้ร้องโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 นั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ร้องขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ได้ ศาลย่อมยกคำร้องขอของผู้ร้อง
แม้เจ้าของที่นาจะไปขอออกโฉนดที่นา แต่ตราบใดที่เจ้าของที่นายังไม่ได้ขอรับโฉนดมา ที่นานั้นก็ยังไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่นา ผู้ยึดถือที่นานั้นมีแต่สิทธิครอบครองเท่านั้น หากมีผู้ใดมาแย่งสิทธิ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ก็ให้ใช้อายุความ 1 ปี ไม่ใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ต้องเป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่นที่มีกรรมสิทธิ์อยู่แล้ว
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ย่อมหมายถึงการครอบครองที่ดินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์ เมื่อที่ดินที่ผู้ร้องครอบครองเป็นที่ดินไม่มีโฉนดหรือยังไม่เคยมีผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องก็จะใช้สิทธิทางศาลเสนอคดีไม่มีข้อพิพาทขอให้ศาลแสดงว่าผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 995/2497)
กรณีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงว่าที่นามีใบไต่สวนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ร้องขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ได้ ศาลย่อมยกคำร้องขอของผู้ร้อง
แม้เจ้าของที่นาจะไปขอออกโฉนดที่นา แต่ตราบใดที่เจ้าของที่นายังไม่ได้ขอรับโฉนดมา ที่นานั้นก็ยังไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่นา ผู้ยึดถือที่นานั้นมีแต่สิทธิครอบครองเท่านั้นหากมีผู้ใดมาแย่งสิทธิประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ก็ให้ใช้อายุความ 1 ปี ไม่ใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีเงินรองรับ & เพิ่มโทษจำคุกซ้ำ: การกำหนดวันกระทำผิด & ผลของการรับสารภาพ
1.ฟ้องโจทก์กล่าวถึงข้อที่ว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้ว อันจะเป็นเหตุให้ถูกเพิ่มโทษ และได้อ้างบทมาตราเรื่องเพิ่มโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย เมื่อจำเลยให้การว่าขอรับสารภาพตามฟ้องก็ถือได้ว่ารับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาขอให้เพิ่มโทษด้วย
2.บุคคลใดทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 487,488 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วก็เป็นเช็ค เมื่อผู้ทรงนำไปขึ้นเงินไม่ได้ (แม้จะเป็นเพราะบัญชีเงินฝากของบุคคลนั้นปิดเสียแล้วในขณะที่ออกเช็ค) ผู้ออกเช็คก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
3.ในกรณีออกเช็คล่วงหน้า วันที่เขียนเช็คยังไม่ถือว่าเป็นวันออกเช็ค ต้องถือเอาวันที่ลงในเช็คเป็นวันออกเช็ค และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ต้องถือว่าวันออกเช็คเป็นวันที่เริ่มการกระทำอันจะก่อให้เกิดความผิด และความผิดได้เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อยังไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่พ้นโทษในคดีเรื่องก่อน ย่อมเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2507 และ18/2507)
อนึ่ง ที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2507 ได้เห็นชอบให้ออกไปตามร่างคำพิพากษาฎีกานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีเงินรองรับ & เพิ่มโทษซ้ำ: การเพิ่มโทษอาญาแก่ผู้กระทำผิดซ้ำในคดีเช็ค
1. ฟ้องโจทก์กล่าวถึงข้อที่ว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้ว อันจะเป็นเหตุให้ถูกเพิ่มโทษ และได้อ้างบทมาตราเรื่องเพิ่มโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย เมื่อจำเลยให้การว่าขอรับสารภาพตามฟ้อง ก็ถือได้ว่ารับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาขอให้เพิ่มโทษด้วย 2. บุคคลใดทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 987,988แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วก็เป็นเช็ค เมื่อผู้ทรงนำไปขึ้นเงินไม่ได้ (แม้จะเป็นเพราะบัญชีเงินฝากของบุคคลนั้นปิดเสียแล้วในขณะที่ออกเช็ค)ผู้ออกเช็คก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 3. ในกรณีออกเช็คล่วงหน้า วันที่เขียนเช็คยังไม่ถือว่าเป็นวันออกเช็ค ต้องถือเอาวันที่ลงในเช็คเป็นวันออกเช็ค และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ต้องถือว่าวันออกเช็คเป็นวันที่เริ่มการกระทำอันจะก่อให้เกิดความผิด และความผิดได้เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อยังไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่พ้นโทษในคดีเรื่องก่อน ย่อมเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2507,18/2507 และ 29/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง และหน้าที่การนำสืบของโจทก์เมื่อจำเลยปฏิเสธความประมาท
ล.กับศ.ขับรถกระแทกกันเป็นเหตุให้ ม.ตกจากรถถึงแก่ความตาย อัยการได้ฟ้อง ล.เป็นคดีอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้คนตาย โดยระบุในฟ้องและนำสืบว่า ล.กับศ.ต่างขับรถสวนกันด้วยความประมาทจึงเกิดเหตุและศาลก็ได้อาศัยข้อเท็จจริงนั้นพิพากษาว่า ล.มีความผิด ดังนี้ย่อมเห็นได้ว่า ศาลมิได้ชี้ขาดว่า ล.กระทำการโดยประมาทแต่ฝ่ายเดียวและเมื่ออัยการโจทก์เป็นผู้ดำเนินคดีอาญานั้นแทนบิดาของม.ผู้ตาย ต่อมาเมื่อบิดาของผู้ตายมาฟ้อง ล.กับนายจ้างเป็นคดีแพ่งเรียกร้องให้ใช้ค่าปลงศพและค่าขาดไร้อุปการะ ข้อเท็จจริงที่ว่า ล.มิได้กระทำการโดยประมาทแต่ฝ่ายเดียวนั้น ย่อมมีผลผูกพันโจทก์ในคดีแพ่งนี้ด้วย ส่วนนายจ้างของ ล.นั้น ถ้าให้การปฏิเสธว่า ล.จำเลยมิได้ประมาท โจทก์จะต้องนำสืบด้วยว่า ล.ได้ขับรถโดยประมาท เพราะข้อเท็จจริงในคดีอาญาไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในคดีแพ่งจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผลผูกพันจากคำพิพากษาคดีอาญา และหน้าที่การนำสืบของโจทก์
ล. กับ ศ. ขับรถกระแทกกันเป็นเหตุให้ ม. ตกจากรถถึงแก่ความตายอัยการได้ฟ้อง ล. เป็นคดีอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้คนตาย โดยระบุในฟ้องและนำสืบว่า ล. กับ ศ. ต่างขับรถสวนกันด้วยความประมาทจึงเกิดเหตุ และศาลก็ได้อาศัยข้อเท็จจริงนั้นพิพากษาว่า ล.มีความผิด ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่า ศาลมิได้ชี้ขาดว่าล. กระทำการโดยประมาทแต่ฝ่ายเดียว และเมื่ออัยการโจทก์เป็นผู้ดำเนินคดีอาญานั้นแทนบิดาของ ม. ผู้ตาย ต่อมาเมื่อบิดาของผู้ตายมาฟ้อง ล. กับนายจ้างเป็นคดีแพ่งเรียกร้องให้ใช้ค่าปลงศพและค่าขาดไร้อุปการะ ข้อเท็จจริงที่ว่า ล. มิได้กระทำการโดยประมาทแต่ฝ่ายเดียวนั้น ย่อมมีผลผูกพันโจทก์ในคดีแพ่งนี้ด้วย ส่วนนายจ้างของ ล. นั้น ถ้าให้การปฏิเสธว่า ล. จำเลยมิได้ประมาท โจทก์จะต้องนำสืบด้วยว่า ล. ได้ขับรถโดยประมาท เพราะข้อเท็จจริงในคดีอาญาไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอก
of 323