คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 39

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการทำนิติกรรมของผู้อนุบาลในสินบริคณห์: การยกที่ดินให้บุตรโดยเสน่หาไม่ผูกพันส่วนของผู้ไร้ความสามารถ
กรณีภริยาเป็นผู้อนุบาลสามีซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 นั้น มาตรา 1581ไม่ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยความปกครองมาบังคับจึงจะนำมาตรา 1561,1562,1563. ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความปกครองมาบังคับแก่ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามีหาได้ไม่
ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามี มีสิทธิทำนิติกรรมขายสินบริคณห์ได้โดยลำพัง หากกระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 710/2490 แต่การที่ภริยาเอาที่ดินสินบริคณห์ไปยกให้แก่บุตรคนหนึ่งโดยเสน่หา มิใช่กระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีแต่อย่างใด ภริยาในฐานะผู้อนุบาลจึงไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนที่เป็นของสามีไปยกให้แก่บุตรโดยเสน่หาได้ คงมีสิทธิกระทำได้ในฐานะที่เป็นภริยา ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินสินบริคณห์นั้นด้วย โดยมิพักต้องได้รับอนุญาตจากสามี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 39 นิติกรรมการให้ที่ดินโดยเสน่หาดังกล่าว จึงผูกพันส่วนที่เป็นของภริยา แต่ไม่ผูกพันส่วนของสามี เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าที่ดินสินบริคณห์นั้น สามีกับภริยามีส่วนคนละเท่าใด และภริยาก็ทำนิติกรรมให้บุตรมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับสามีอันมีผลเท่ากับภริยายอมสละส่วนของตนให้แก่บุตรเท่านั้น นิติกรรมรายนี้จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้อนุบาลทำนิติกรรมเกี่ยวกับสินสมรสและผลผูกพันของนิติกรรมยกให้เมื่อสามีไร้ความสามารถ
กรณีภริยาเป็นผู้อนุบาลสามีซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 นั้นมาตรา 1581 ไม่ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยความปกครองมาบังคับจึงจะนำมาตรา 1561, 1562, 1563. ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความปกครองมาบังคับแก่ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามีหาได้ไม่
ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามี มีสิทธิทำนิติกรรมขายสินบริคณห์ได้โดยลำพัง หากกระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 710/2490 แต่การที่ภริยาเอาที่ดินสินบริคณห์ไปยกให้แก่บุตรคนหนึ่งโดยเสน่หา มิใช่กระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีแต่อย่างใด ภริยาในฐานะผู้อนุบาลจึงไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนที่เป็นของสามีไปยกให้แก่บุตรโดยเสน่หาได้ คงมีสิทธิกระทำได้ในฐานะที่เป็นภริยา ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินสินบริคณห์นั้นด้วย โดยมิพักต้องได้รับอนุญาตจากสามี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 39 นิติกรรมการให้ที่ดินโดยเสน่หาดังกล่าว จึงผูกพันส่วนที่เป็นของภริยา แต่ไม่ผูกพันส่วนของสามี เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าที่ดินสินบริคณห์นั้นสามีกับภริยามีส่วนคนละเท่าใด และภริยาก็ทำนิติกรรมให้บุตรมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับสามีอันมีผลเท่ากับภริยายอมสละส่วนของตนให้แก่บุตรเท่านั้น นิติกรรมรายนี้จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภริยาผู้เป็นลูกหนี้มิอาจยกข้อต่อสู้โมฆียะกรรมสัญญาได้ สิทธิอยู่ที่สามี
ภรรยาเป็นลูกหนี้ จะยกข้อต่อสู้กับผู้เป็นเจ้าหนี้ของตนว่า นิติกรรมที่ตนทำไปนั้นเป็นโมฆียะกรรม หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างนิติกรรมโมฆียะเฉพาะสามีเมื่อภรรยามีส่วนร่วมในสินบริคณห์
กฎหมายไม่ได้ห้ามหญิงมีสามีไม่ให้ทำนิติกรรม, เหตุที่กฎหมายบัญญัติให้นิติกรรมเป็นโมฆียะก็เฉพาะที่จะผูกพันสินบริคณห์ ซึ่งสามีมีส่วนได้เสียร่วมอยู่ด้วย ป.พ.พ.มาตรา 137 วรรค 2 จึงบัญญัติให้สามีมีสิทธิบอกล้างได้ และเป็นสิทธิเฉพาะสามีที่จะบอกล้างคนเดียวเท่านั้น เพราะหญิงมีสามีไม่ใช่ผู้ไร้ความสามารถดังที่บัญญัติไว้ใน ม.137 วรรคต้น ตัวหญิงเองจึงไม่มีสิทธิบอกล้างได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมในนิติกรรมเกี่ยวกับสินบริคณห์: สามีมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว
กฎหมายไม่ได้ห้ามหญิงมีสามีไม่ให้ทำนิติกรรมเหตุที่กฎหมายบัญญัติให้นิติกรรมเป็นโมฆียะก็เฉพาะที่จะผูกพันสินบริคณห์ ซึ่งสามีมีส่วนได้เสียร่วมอยู่ด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 วรรคสอง จึงบัญญัติให้สามีมีสิทธิบอกล้างได้และเป็นสิทธิเฉพาะสามีที่จะบอกล้างคนเดียวเท่านั้น เพราะหญิงมีสามีไม่ใช่ผู้ไร้ความสามารถดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 137 วรรคต้น ตัวหญิงเองจึงไม่มีสิทธิบอกล้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำสัญญาของภริยาเมื่อสามีไม่อยู่ และขอบเขตกิจการค้าที่ผูกพันสินสมรส
การที่สามีไปต่างประเทศถือว่าเป็นการละทิ้งภรรยา ภรรยาจึงไม่มีอำนาจทำการผูกพันสินบริคณห์ตามลำพัง
ภรรยาได้รับอนุญาตให้ค้าโลงศพ จะเอาห้องที่เช่าทำการค้านั้นไปให้เช่าไม่ได้ เพราะเป็นการนอกกิจการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรส และขอบเขตการค้าของภรรยา
การที่สามีไปต่างประเทศไม่ถือว่าเป็นการละทิ้งภรรยา ภรรยาจึงไม่มีอำนาจทำการผูกพันสินบริคณห์ตามลำพัง
ภรรยาได้รับอนุญาตให้ค้าโลงศพ จะเอาห้องที่เช่าทำการค้านั้นไปให้เช่าไม่ได้ เพราะเป็นการนอกกิจการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหนี้จากการกู้เงินโดยภรรยาโดยไม่ได้รับความยินยอมของสามี และการแยกสินบริคณห์
หญิงมีสามีกู้เงินโดยไม่ได้รับความยินยอมของสามีสัญญานั้นเป็นโมฆียะ เมื่อสามีบอกล้างนิติกรรมนั้นแล้วหญิงก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวซึ่งเจ้าหนี้ฟ้องขอแยกสินบริคณห์เพื่อเอาชำระหนี้ได้
เมื่อคดีไม่ปรากฎว่าเป็นสามีภรรยากันมาก่อนหรือหลังใช้ประมวลแพ่งฯ บรรพ 5 ศาลย่อมแบ่งสินสมรสให้สามีภรรยานั้นคนละครึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้เงินโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรส ทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆียะ และเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องจากสินสมรส
หญิงมีสามีกู้เงินโดยไม่ได้รับความยินยอมของสามีสัญญานั้นเป็นโมฆียะเมื่อสามีบอกล้างนิติกรรมนั้นแล้วหญิงก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวซึ่งเจ้าหนี้ฟ้องขอแยกสินบริคณห์เพื่อเอาชำระหนี้ได้
เมื่อคดีไม่ปรากฏว่าเป็นสามีภรรยากันมาก่อนหรือหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ศาลย่อมแบ่งสินสมรสให้สามีภรรยานั้นคนละครึ่ง
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2488

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่จำนอง: สิทธิการเช่ายังมีผลใช้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด แม้ไม่ได้จดทะเบียนหลังโฉนด
การเช่าไม่ใช่ทรัพย์สิทธิตาม ม.722 ผู้รับจำนองจะขอให้ลบล้างการเช่าจากทรัพย์ที่จำนองไม่ได้ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน แต่มิได้แก้ทะเบียนหลังโฉนด การเช่านั้นคงใช้ได้เพียง 3 ปี แต่ไม่เป็นโมฆะ วิธีพิจารณาความแพ่ง นอกประเด็นการวินิจฉัยโจทก์ขอให้ลบการเช่าออกจากทะเบียนตาม ม.722 อย่างเดียว ปัญหาว่าที่ว่าสัญญาเช่าสมบูรณ์เพียงไรเป็นข้อนอกประเด็นคดีนี้ศาลฎีกากล่าวถึงข้อกฎหมายที่นอกประเด็น
of 2