คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1734

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 61/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืม: ภาระการพิสูจน์, การต่อสู้เรื่องการถูกบังคับ, และการคิดดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ยืมซึ่งจำเลยให้การว่าลงชื่อโดยถูกบังคับหรือหลอกลวงโดยในสัญญากู้มิได้กรอกข้อความใดและไม่เคยรับเงิน จึงเป็นการต่อสู้ว่าสัญญากู้เงินไม่สมบูรณ์ ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ และโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน แต่เมื่อโจทก์นำสืบได้ความว่ามีการกู้ยืมแล้ว จำเลยจึงต้องมีภาระการพิสูจน์ให้ศาลเห็นตามข้อต่อสู้
ผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยเพียงแต่มีหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแทนจำเลยซึ่งถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาเท่านั้น ศาลจะพิพากษาให้ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยแทนจำเลยด้วยไม่ได้ กรณีต้องบังคับเอาจากกองมรดกของจำเลย
แม้คำฟ้องจะมิได้บรรยายว่าคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเท่าใดแต่ตามสัญญากู้ยอมให้คิดดอกเบี้ยอัตราตามกฎหมาย และโจทก์มีคำขอดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เมื่อเห็นว่าดอกเบี้ยที่โจทก์คิดมาเกินอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีศาลฎีกามีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1754/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทรับผิดหนี้สินของผู้ตาย โจทก์ฟ้องทายาทรายเดียวไม่ถือใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีสิทธิรับมรดกที่โจทก์เลือกฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ที่ผู้ตายยืมเงินโจทก์ โดยไม่ฟ้องทายาทอื่น หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่ ทั้งกองมรดกมิใช่บุคคลตามกฎหมายที่จะถูกฟ้องร้องบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส vs. สินเดิม: การแบ่งทรัพย์มรดกและการหักหนี้กองมรดก
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่า เมื่อชำระหนี้กองมรดกแล้วหากมีทรัพย์มรดกเหลืออยู่โจทก์จะมีส่วนได้เพียงใด ดังนั้นการที่ศาลจะคำนวณส่วนแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์จำเลยได้ ก็จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสระหว่างจำเลยกับเจ้ามรดกเสียก่อน ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์พิพาททั้งหมดเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ทรัพย์พิพาทบางส่วนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดกจึงเป็นเรื่องที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
ทรัพย์มรดกของผู้ตายยังไม่ได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเจ้าหนี้กองมรดกอาจบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกได้ เมื่อจำเลยได้ชำระหนี้ที่กองมรดกจะต้องชำระไปก็ต้องหักออกจากกองมรดกใช้ให้จำเลยก่อน ทรัพย์มรดกส่วนที่เหลือจึงจะแบ่งปันให้ทายาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส vs. มรดก: การแบ่งทรัพย์สินหลังชำระหนี้กองมรดก และสิทธิของทายาท
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่า เมื่อชำระหนี้กองมรดกแล้วหากมีทรัพย์มรดกเหลืออยู่โจทก์จะมีส่วนได้เพียงใด ดังนั้นการที่ศาลจะคำนวณส่วนแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์จำเลยได้ก็จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสระหว่างจำเลยกับเจ้ามรดกเสียก่อนซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์พิพาททั้งหมดเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ทรัพย์พิพาทบางส่วนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดกจึงเป็นเรื่องที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
ทรัพย์มรดกของผู้ตายยังไม่ได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเจ้าหนี้กองมรดกอาจบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกได้เมื่อจำเลยได้ชำระหนี้ที่กองมรดกจะต้องชำระไปก็ต้องหักออกจากกองมรดกใช้ให้จำเลยก่อน ทรัพย์มรดกส่วนที่เหลือจึงจะแบ่งปันให้ทายาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินที่เป็นโมฆะ และสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้ตายกู้ยืมเงินผู้ร้องไปโดยทำสัญญากับผู้ร้องว่าถ้าชำระหนี้ไม่ได้จะโอนที่ดินทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องเป็นการชำระหนี้แทน เป็นการตกลงกันให้เอาทรัพย์สินชำระหนี้แทนเงินกู้ยืม โดยมิได้คำนึงถึงราคาทรัพย์สินในเวลาและสถานที่ส่งมอบ ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามวรรคสาม ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบังคับให้มีการโอนที่ดินมรดกเป็นการชำระหนี้แก่ผู้ร้องโดยเจาะจง คงมีแต่สิทธิขอให้บังคับชำระหนี้อันเป็นสิทธิของเจ้าหนี้โดยทั่วไป
ผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกนั้นถ้ามิใช่ทายาทหรือพนักงานอัยการก็จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งหมายความว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทางมรดกหรือในทางพินัยกรรม หรือเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดก ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มิใช่เป็นผู้ที่จะได้ประโยชน์ถ้าหากกองมรดกมีผู้จัดการมรดก หรือเสียประโยชน์ถ้าหากกองมรดกไม่มีผู้จัดการมรดก คดีนี้ผู้ตายยังมีทายาทอยู่ ถึงแม้ไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้ร้องก็สามารถฟ้องร้องบังคับชำระหนี้ได้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้กองมรดกมีอำนาจฟ้องทายาท แม้ทายาทได้สละมรดกไปแล้ว เพื่อบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดก
โจทก์เป็นเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายให้ร่วมกันนำเงินและทรัพย์สินในกองมรดกมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ เป็นกรณีที่เจ้าหนี้กองมรดกฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาท เพื่อให้ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกแม้ต่อมาจำเลยทั้งสองได้สละมรดกเสียในระหว่างพิจารณา โจทก์ก็ยังมีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หากแต่ฟ้องในฐานะเป็นทายาทและก็เพื่อให้โจทก์ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดกในการฟ้องทายาทเพื่อชำระหนี้จากทรัพย์สินมรดก แม้ทายาทสละมรดก
โจทก์เป็นเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายให้ร่วมกันนำเงินและทรัพย์สินในกองมรดกมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้เป็นกรณีที่เจ้าหนี้กองมรดกฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาท เพื่อให้ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกแม้ต่อมาจำเลยทั้งสองได้สละมรดกเสียในระหว่างพิจารณา โจทก์ก็ยังมีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หากแต่ฟ้องในฐานะเป็นทายาทและก็เพื่อให้โจทก์ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1098/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้กองมรดกไม่มีสิทธิคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม หากมีผู้จัดการ/ทายาทรับผิดชำระหนี้อยู่แล้ว
เจ้าหนี้กองมรดกซึ่งมีผู้จัดการมรดกหรือทายาทของผู้ตายที่จะต้องรับผิดชำระหนี้จากกองมรดกให้อยู่แล้วจึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ไม่มีสิทธิคัดค้านและขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1098/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้กองมรดกไม่มีสิทธิคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม หากมีผู้รับผิดชำระหนี้อยู่แล้ว
เจ้าหนี้ กองมรดกซึ่งมีผู้จัดการมรดกหรือทายาทของผู้ตายที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ จากกองมรดกให้อยู่แล้ว จึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ไม่มีสิทธิคัดค้านและขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยา และการบังคับคดีจากมรดกของผู้ตาย
หนี้ที่ ส. กู้เงินโจทก์ เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานที่สามีภริยาทำด้วยกันจึงเป็นหนี้ร่วม แม้ ส. จะตายไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นภริยาในระหว่างที่มูลหนี้เกิดขึ้นต้องรับผิดร่วมด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้รับมรดก ส. ผู้ตาย แม้จำเลยจะไม่ได้รับมรดก ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะบังคับเอาจากมรดกของผู้ตายในชั้นบังคับคดี โดยจำเลยไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
(อ้างฎีกาที่ 866/2508)
of 4