พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8252/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน, สัญญาประนีประนอมยอมความ, อายุความ, อำนาจฟ้อง, การเรียกร้องสิทธิ
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำสั่งไม่รับ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยื่นอุทธรณ์คัดค้าน คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มายื่นฟ้องจำเลยคดีนี้ต่อศาลแพ่งในระหว่างที่คดีก่อนค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173วรรคสอง
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ พ. ตกลงกับ ล.โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และ พ.เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ พ.ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาท พ.ต่อไป จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้ เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 168เดิม
แม้ พ.จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่ พ.จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเอง โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทน พ.และเมื่อฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นฟ้องซ้อน จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้
การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 (3)
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ พ. ตกลงกับ ล.โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และ พ.เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ พ.ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาท พ.ต่อไป จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้ เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 168เดิม
แม้ พ.จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่ พ.จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเอง โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทน พ.และเมื่อฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นฟ้องซ้อน จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้
การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8252/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน สัญญาประนีประนอมยอมความ อายุความ และการแบ่งทรัพย์สินมรดก
โจทก์ที่2ถึงที่4ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำสั่งไม่รับโจทก์ที่2ถึงที่4ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การที่โจทก์ที่2ถึงที่4มายื่นฟ้องจำเลยคดีนี้ต่อศาลแพ่งในระหว่างที่คดีก่อนค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของพ. ตกลงกับล.โจทก์ที่2ถึงที่4และพ. เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของพ. ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาทพ.ต่อไปจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของพ. จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไปจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง โจทก์ที่1ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา168เดิม แม้พ. จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่พ. จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเองโจทก์ที่1ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทนพ. และเมื่อฟ้องโจทก์ที่2ถึงที่4เป็นฟ้องซ้อนจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่2ถึงที่4ได้ การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่2ถึงที่4ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่2ถึงที่4ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3683/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายทรัพย์มรดกและสินสมรส, อายุความมรดก, สิทธิของทายาทและผู้รับโอน
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่อยู่กินกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ต้องแบ่งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย เมื่อต่างฝ่ายต่างไม่มีสินเดิม ฝ่ายชายได้ 2 ส่วนฝ่ายหญิงได้ 1 ส่วน
การยกให้ที่ดินที่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการไม่ปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนด จึงไม่สมบูรณ์ สำหรับปัญหาการครอบครองปรปักษ์นั้น มิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกา จึงไม่รับวินิจฉัย
สินสมรสในส่วนของ ป. นั้น แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. สามีของป. จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิที่จะจัดการจำหน่ายจ่ายโอนได้เพราะมิใช่มรดกของ ท. การที่จำเลยที่ 1โอนทรัพย์สินส่วนนี้ของ ป.ให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 โอนให้จำเลยที่ 3 ต่อมา จึงไม่มีผลให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนนี้เปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
สำหรับสินสมรสส่วนของ ท.นั้น เป็นมรดกของ ท. ซึ่ง ป.ภริยาของ ท. กับจำเลยที่ 1 น้องของ ท.มีสิทธิได้รับคนละกึ่งหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (2) จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท.มีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกของ ท.โดยทายาทย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันผู้จัดการมรดกได้ทำไปภายในขอบอำนาจตามป.พ.พ. มาตรา 1724 การขายทรัพย์มรดกเป็นเรื่องอยู่ภายในขอบอำนาจของผู้จัดการมรดกอย่างหนึ่งดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 1736 และมาตรา 1740 บัญญัติให้อำนาจไว้ แต่ถ้าผู้จัดการมรดกโอนขายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้อื่นโดยไม่สุจริตหรือโดยสมยอมกัน ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
จำเลยที่ 3 รับโอนที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป.จากจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏว่าได้สมรู้หรือคบคิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือรับโอนโดยไม่สุจริตอย่างไร ทั้งเป็นการรับโอนโดยมีค่าตอบแทน แม้การโอนก่อนหน้านี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะไม่สุจริต ก็ไม่อาจเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ในส่วนที่เป็นมรดกของ ท.ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238 คงต้องเพิกถอนเฉพาะการโอนในส่วนที่เป็นสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วน เท่านั้น
จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินมีโฉนดซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป. จากจำเลยที่ 1 โดยทราบว่ายังมีผู้อื่นนอกจากจำเลยที่ 1 ที่มีสิทธิรับมรดกของ ท. และจำเลยที่ 1ยังมิได้จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ผู้รับมรดกแทนที่ของทายาทจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ แต่อย่างไรก็ตามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอนในฐานะผู้จัดการมรดกมีส่วนได้ทรัพย์มรดกรายนี้ในฐานะทายาทด้วยครึ่งหนึ่ง จึงให้เพิกถอนการโอนเฉพาะในส่วนที่เกินสิทธิของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินโฉนดนี้ไม่เต็มทั้งแปลงโดยรับโอนเพียง 16 ไร่เศษ ในจำนวน 22 ไร่เศษ กล่าวคือต้องเพิกถอนการโอนเฉพาะส่วนที่เกิน 1 ใน 3 ส่วน ของที่ดิน และเมื่อนำส่วนที่เพิกถอนไปรวมกับส่วนที่จำเลยที่ 1รับโอนไว้เองจำนวน 6 ไร่แล้ว ได้จำนวน 2 ใน 3 ส่วน ครบจำนวนตามสิทธิของโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของผู้จัดการมรดกยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1755 แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วนนั้น ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ท.จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่อาจอ้างอายุความมรดกมาตัดสิทธิ ป.เจ้าของหรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้าของในการติดตามเอาทรัพย์สินคืน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เกี่ยวกับสินสมรสส่วนของ ท. 2 ส่วน ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท.นั้น การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการ ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยที่ 1 จะยกอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้
การยกให้ที่ดินที่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการไม่ปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนด จึงไม่สมบูรณ์ สำหรับปัญหาการครอบครองปรปักษ์นั้น มิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกา จึงไม่รับวินิจฉัย
สินสมรสในส่วนของ ป. นั้น แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. สามีของป. จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิที่จะจัดการจำหน่ายจ่ายโอนได้เพราะมิใช่มรดกของ ท. การที่จำเลยที่ 1โอนทรัพย์สินส่วนนี้ของ ป.ให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 โอนให้จำเลยที่ 3 ต่อมา จึงไม่มีผลให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนนี้เปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
สำหรับสินสมรสส่วนของ ท.นั้น เป็นมรดกของ ท. ซึ่ง ป.ภริยาของ ท. กับจำเลยที่ 1 น้องของ ท.มีสิทธิได้รับคนละกึ่งหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (2) จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท.มีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกของ ท.โดยทายาทย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันผู้จัดการมรดกได้ทำไปภายในขอบอำนาจตามป.พ.พ. มาตรา 1724 การขายทรัพย์มรดกเป็นเรื่องอยู่ภายในขอบอำนาจของผู้จัดการมรดกอย่างหนึ่งดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 1736 และมาตรา 1740 บัญญัติให้อำนาจไว้ แต่ถ้าผู้จัดการมรดกโอนขายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้อื่นโดยไม่สุจริตหรือโดยสมยอมกัน ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
จำเลยที่ 3 รับโอนที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป.จากจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏว่าได้สมรู้หรือคบคิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือรับโอนโดยไม่สุจริตอย่างไร ทั้งเป็นการรับโอนโดยมีค่าตอบแทน แม้การโอนก่อนหน้านี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะไม่สุจริต ก็ไม่อาจเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ในส่วนที่เป็นมรดกของ ท.ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238 คงต้องเพิกถอนเฉพาะการโอนในส่วนที่เป็นสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วน เท่านั้น
จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินมีโฉนดซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป. จากจำเลยที่ 1 โดยทราบว่ายังมีผู้อื่นนอกจากจำเลยที่ 1 ที่มีสิทธิรับมรดกของ ท. และจำเลยที่ 1ยังมิได้จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ผู้รับมรดกแทนที่ของทายาทจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ แต่อย่างไรก็ตามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอนในฐานะผู้จัดการมรดกมีส่วนได้ทรัพย์มรดกรายนี้ในฐานะทายาทด้วยครึ่งหนึ่ง จึงให้เพิกถอนการโอนเฉพาะในส่วนที่เกินสิทธิของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินโฉนดนี้ไม่เต็มทั้งแปลงโดยรับโอนเพียง 16 ไร่เศษ ในจำนวน 22 ไร่เศษ กล่าวคือต้องเพิกถอนการโอนเฉพาะส่วนที่เกิน 1 ใน 3 ส่วน ของที่ดิน และเมื่อนำส่วนที่เพิกถอนไปรวมกับส่วนที่จำเลยที่ 1รับโอนไว้เองจำนวน 6 ไร่แล้ว ได้จำนวน 2 ใน 3 ส่วน ครบจำนวนตามสิทธิของโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของผู้จัดการมรดกยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1755 แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วนนั้น ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ท.จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่อาจอ้างอายุความมรดกมาตัดสิทธิ ป.เจ้าของหรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้าของในการติดตามเอาทรัพย์สินคืน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เกี่ยวกับสินสมรสส่วนของ ท. 2 ส่วน ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท.นั้น การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการ ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยที่ 1 จะยกอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6135/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดก, การตัดทายาท, การเพิกถอนพินัยกรรม และผลของการทำหนังสือตัดทายาท
ตามคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ร้องมีทรัพย์สินจะต้องจัดการถึง7 รายการ แม้ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินเฉพาะบางรายการให้ผู้คัดค้านที่ 2 แล้ว ก็ยังมีทรัพย์สินอื่นนอกพินัยกรรมที่จะต้อง จัดการอยู่อีก ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและ ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 จึงมีสิทธิที่จะเป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ หนังสือตัดทายาทโดยธรรมระบุนามสกุลผู้คัดค้านที่ 1 ว่า สกุล"ธรรมรัตน์"เป็น"ธรรมรักษ์" ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ไม่ ทำให้หนังสือตัดทายาทโดยธรรมเสียไป การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ถูกตัดจากการเป็นทายาทโดยธรรม โดยไม่วินิจฉัยชี้ชัดว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นทายาท จริงหรือไม่นั้น การวินิจฉัยชี้ขาดว่าเป็นทายาทหรือไม่เป็นทายาท ของผู้ตายไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปปัญหาข้อนี้เป็นอุทธรณ์ที่ ไร้สาระศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยให้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1695 ผู้ทำพินัยกรรมอาจเพิกถอนพินัยกรรมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้ โดยทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจหมายความว่า ต้องเพิกถอนด้วยการฉีก ทำลาย หรือทำให้หมดสิ้นจนใช้การไม่ได้ หรือขีดฆ่าลงบนพินัยกรรมนั้นเพื่อให้เห็นว่า ผู้ทำพินัยกรรมไม่มีเจตนาจะให้มีผลเป็นพินัยกรรมต่อไป ดังนั้น เพียงแต่บันทึกไว้ในช่องหมายเหตุในทะเบียนพินัยกรรมของ ที่ว่าการอำเภอว่า ขอถอนพินัยกรรม และบันทึกในใบรับพินัยกรรมว่า ขอถอน 14 มี.ค. 20 จึงยังไม่ถือว่าผู้ทำพินัยกรรมมีเจตนาทำลาย พินัยกรรม พินัยกรรมจึงยังมีผลสมบูรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การครอบครองร่วมกันของทายาทไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
คดีเดิม ศาลมีคำสั่งว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องว่าโจทก์และทายาทอื่นมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยไม่ต้องผูกพันตามคำสั่งดังกล่าว ในคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ จำเลยกับทายาทอื่นเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่พิพาทเฉพาะส่วนของผู้ตายที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งยังไม่ได้ รังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ ทุกคนจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่จำเลยบังอาจยื่นคำร้องและเบิกความพร้อมกับแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาล จนศาลหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเพียงผู้เดียว จึงมีคำสั่งว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ทำให้โจทก์และทายาทอื่นเสียหาย ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์พอจะแปลความหมายได้ว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์และทายาทอื่นมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย ขอให้คำสั่งดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ คำขอท้ายฟ้องในข้อนี้จึงบังคับได้ ส่วนคำขอท้ายฟ้องอีกข้อที่ขอให้พิพากษาให้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางเขน ยุติการดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขชื่อ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามคำสั่งดังกล่าวข้างต้น หรือหากได้จดทะเบียนแล้วก็ให้จัดการแก้ไขให้อยู่ในสภาพเดิมนั้น เจ้าพนักงานที่ดินดังกล่าวเป็นบุคคลภายนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วยศาลก็ไม่อาจพิพากษาถึงเจ้าพนักงานที่ดินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคสอง
คำบรรยายฟ้องดังกล่าวข้างต้นของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยรวมเข้ากองมรดกเพื่อจัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องการจัดการมรดกที่ยังจัดการไม่เสร็จ หาใช่เรื่องฟ้องแบ่งมรดกอันมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 ไม่
โจทก์ จำเลย และทายาทอื่นของผู้ตายได้อาศัยสิทธิของผู้ตายเข้าปลูกบ้านอาศัยในที่พิพาทตั้งแต่ก่อนผู้ตายถึงแก่ความตาย และยังร่วมกันครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตลอดมาแม้ภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ถือได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์และทายาทอื่น จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์และทายาทอื่นจึงมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย จำเลยไม่อาจใช้คำสั่งศาลในคดีเดิม ที่แสดงว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์มายันโจทก์และทายาทอื่นได้.
คำบรรยายฟ้องดังกล่าวข้างต้นของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยรวมเข้ากองมรดกเพื่อจัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องการจัดการมรดกที่ยังจัดการไม่เสร็จ หาใช่เรื่องฟ้องแบ่งมรดกอันมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 ไม่
โจทก์ จำเลย และทายาทอื่นของผู้ตายได้อาศัยสิทธิของผู้ตายเข้าปลูกบ้านอาศัยในที่พิพาทตั้งแต่ก่อนผู้ตายถึงแก่ความตาย และยังร่วมกันครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตลอดมาแม้ภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ถือได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์และทายาทอื่น จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์และทายาทอื่นจึงมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย จำเลยไม่อาจใช้คำสั่งศาลในคดีเดิม ที่แสดงว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์มายันโจทก์และทายาทอื่นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในมรดกและการครอบครองปรปักษ์: ทายาทร่วมมีสิทธิเหนือผู้ครอบครองโดยมิชอบ
คดีเดิม ศาลมีคำสั่งว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องว่าโจทก์และทายาทอื่นมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยไม่ต้องผูกพันตามคำสั่งดังกล่าว ในคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ จำเลยกับทายาทอื่นเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่พิพาทเฉพาะส่วนของผู้ตายที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งยังไม่ได้รังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ ทุกคนจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่จำเลยบังอาจยื่นคำร้องและเบิกความพร้อมกับแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาล จนศาลหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเพียงผู้เดียว จึงมีคำสั่งว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ทำให้โจทก์และทายาทอื่นเสียหาย ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์พอจะแปลความหมายได้ว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์และทายาทอื่นมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย ขอให้คำสั่งดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ คำขอท้ายฟ้องในข้อนี้จึงบังคับได้ ส่วนคำขอท้ายฟ้องอีกข้อที่ขอให้พิพากษาให้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางเขน ยุติการดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขชื่อ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามคำสั่งดังกล่าวข้างต้น หรือหากได้จดทะเบียนแล้วก็ให้จัดการแก้ไขให้อยู่ในสภาพเดิมนั้น เจ้าพนักงานที่ดินดังกล่าวเป็นบุคคลภายนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วยศาลก็ไม่อาจพิพากษาถึงเจ้าพนักงานที่ดินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคสอง คำบรรยายฟ้องดังกล่าวข้างต้นของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยรวมเข้ากองมรดกเพื่อจัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องการจัดการมรดกที่ยังจัดการไม่เสร็จ หาใช่เรื่องฟ้องแบ่งมรดกอันมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 ไม่ โจทก์ จำเลย และทายาทอื่นของผู้ตายได้อาศัยสิทธิของผู้ตายเข้าปลูกบ้านอาศัยในที่พิพาทตั้งแต่ก่อนผู้ตายถึงแก่ความตาย และยังร่วมกันครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตลอดมาแม้ภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ถือได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์และทายาทอื่น จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์และทายาทอื่นจึงมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย จำเลยไม่อาจใช้คำสั่งศาลในคดีเดิม ที่แสดงว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์มายันโจทก์และทายาทอื่นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้จัดการมรดกยังคงมีอยู่จนกว่าการจัดการมรดกจะเสร็จสิ้น แม้จะโอนทรัพย์สินให้ทายาทแล้ว
พินัยกรรมตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก กำหนดให้โจทก์ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินมรดกให้ทายาทผู้ตายโดยให้มีถนนเข้าสู่ที่ดินทุกแปลง เมื่อโจทก์เพียงแต่โอนที่ดินใส่ชื่อทายาทของผู้ตายลงในโฉนด แต่ยังมิได้จัดการแบ่งแยกที่ดินและทำถนนการจัดการมรดกจึงยังไม่เสร็จสิ้น โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินอันเป็นมรดกของผู้ตายได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาท แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินนั้นติดต่อกันมาเกิน 10 ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์.
เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาท แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินนั้นติดต่อกันมาเกิน 10 ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกฟ้องขับไล่และการไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์
พินัยกรรมตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก กำหนดให้โจทก์ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินมรดกให้ทายาทผู้ตายโดยให้มีถนนเข้าสู่ที่ดินทุกแปลง เมื่อโจทก์เพียงแต่โอนที่ดินใส่ชื่อทายาทของผู้ตายลงในโฉนด แต่ยังมิได้จัดการแบ่งแยกที่ดินและทำถนนการจัดการมรดกจึงยังไม่เสร็จสิ้น โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินอันเป็นมรดกของผู้ตายได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาท แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินนั้นติดต่อกันมาเกิน 10 ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์.
เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาท แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินนั้นติดต่อกันมาเกิน 10 ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก แม้มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ และการละเมิดสิทธิในทรัพย์มรดก
ในระหว่างจัดการมรดก โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ ในทางจัดการที่จำเป็นได้ ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 จำเลยและบริวารเข้าครอบครองอาคารพิพาทโดยทายาทอื่นมิได้ยินยอม ทำให้ทายาทอื่นขาดผลประโยชน์จากการใช้อาคาร จึงเป็นการละเมิด แม้จำเลยจะเป็นทายาทคนหนึ่ง จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์จากทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งเป็นของตนแต่ผู้เดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ที่ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งจนกว่าถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น นั้น เป็นเรื่องที่ให้ถือว่าผูกพันเฉพาะคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งดังกล่าวเท่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเรื่องนั้นไม่ผูกพันคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคนละคดีกัน และจำเลยไม่อาจยกคำสั่งดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ เพราะคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคลที่บุคคลภายนอกจะยกขึ้นใช้อ้างอิงได้ต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ที่ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งจนกว่าถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น นั้น เป็นเรื่องที่ให้ถือว่าผูกพันเฉพาะคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งดังกล่าวเท่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเรื่องนั้นไม่ผูกพันคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคนละคดีกัน และจำเลยไม่อาจยกคำสั่งดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ เพราะคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคลที่บุคคลภายนอกจะยกขึ้นใช้อ้างอิงได้ต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก & การละเมิดจากทายาท การครอบครองทรัพย์มรดกโดยไม่ยินยอม
ในระหว่างจัดการมรดก โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ ในทางจัดการที่จำเป็นได้ ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 จำเลยและบริวารเข้าครอบครองอาคารพิพาทโดยทายาทอื่นมิได้ยินยอม ทำให้ทายาทอื่นขาดผลประโยชน์จากการใช้อาคาร จึงเป็นการละเมิด แม้จำเลยจะเป็นทายาทคนหนึ่ง จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์จากทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งเป็นของตนแต่ผู้เดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ที่ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งจนกว่าถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น นั้น เป็นเรื่องที่ให้ถือว่าผูกพันเฉพาะคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งดังกล่าวเท่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเรื่องนั้นไม่ผูกพันคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคนละคดีกัน และจำเลยไม่อาจยกคำสั่งดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ เพราะคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคลที่บุคคลภายนอกจะยกขึ้นใช้อ้างอิงได้ต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ที่ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งจนกว่าถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น นั้น เป็นเรื่องที่ให้ถือว่าผูกพันเฉพาะคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งดังกล่าวเท่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเรื่องนั้นไม่ผูกพันคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคนละคดีกัน และจำเลยไม่อาจยกคำสั่งดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ เพราะคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคลที่บุคคลภายนอกจะยกขึ้นใช้อ้างอิงได้ต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น.