พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ, อายุความมรดก, การจัดการมรดก: ศาลฎีกายืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คดีก่อนผู้พิทักษ์เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถขอแบ่งมรดกของผู้เสมือนไร้ความสามารถ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถเพราะเป็นเพียง ผู้พิทักษ์มีอำนาจหน้าที่เพียงแต่ให้ความยินยอมหรือไม่แก่ ผู้เสมือนไร้ความสามารถเท่านั้น ผู้เสมือนไร้ความสามารถคือโจทก์ในคดีนี้จึงมาเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองโดยได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน และศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ ไม่จำต้องพิพากษาคดีตามศาลอุทธรณ์ในคดีก่อน เพราะคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนย่อมสิ้นผลโดยคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน ดังนั้นศาลอุทธรณ์คดีนี้จึงย่อมพิพากษากลับกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีก่อนได้
ทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์จำเลยเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปัน และต่างได้ร่วมกันปกครองทรัพย์มรดกดังกล่าวตลอดมาจนมารดาโจทก์ จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลแพ่งได้มีคำสั่งตั้งมารดาโจทก์ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ต้องถือว่าทรัพย์มรดกอยู่ในระหว่างจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1736 อายุความจึงสะดุดหยุดลง ตั้งแต่นั้นมา โจทก์มาฟ้องขอแบ่งมรดกเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์จำเลยเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปัน และต่างได้ร่วมกันปกครองทรัพย์มรดกดังกล่าวตลอดมาจนมารดาโจทก์ จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลแพ่งได้มีคำสั่งตั้งมารดาโจทก์ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ต้องถือว่าทรัพย์มรดกอยู่ในระหว่างจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1736 อายุความจึงสะดุดหยุดลง ตั้งแต่นั้นมา โจทก์มาฟ้องขอแบ่งมรดกเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ, อายุความมรดก, อำนาจฟ้อง, ผู้จัดการมรดก: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
คดีก่อนผู้พิทักษ์เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถขอแบ่งมรดกของผู้เสมือนไร้ความสามารถ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง โดยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถเพราะเป็นเพียงผู้พิทักษ์ มีอำนาจหน้าที่เพียงแต่ให้ความยินยอมหรือไม่แก่ ผู้เสมือนไร้ความสามารถเท่านั้น ผู้เสมือนไร้ความสามารถคือ โจทก์ในคดีนี้จึงมาเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองโดยได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน และศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ ไม่จำต้องพิพากษาคดีตามศาลอุทธรณ์ในคดีก่อน เพราะคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนย่อมสิ้นผลโดยคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน ดังนั้นศาลอุทธรณ์คดีนี้จึงย่อมพิพากษากลับกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีก่อนได้
ทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์จำเลยเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปัน และต่างได้ร่วมกันปกครองทรัพย์มรดกดังกล่าวตลอดมาจนมารดาโจทก์ จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลแพ่งได้มีคำสั่งตั้งมารดาโจทก์ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ต้องถือว่าทรัพย์มรดกอยู่ในระหว่างจัดการ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 อายุความจึงสะดุดหยุดลง ตั้งแต่นั้นมา โจทก์มาฟ้องขอแบ่งมรดกเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์จำเลยเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปัน และต่างได้ร่วมกันปกครองทรัพย์มรดกดังกล่าวตลอดมาจนมารดาโจทก์ จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลแพ่งได้มีคำสั่งตั้งมารดาโจทก์ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ต้องถือว่าทรัพย์มรดกอยู่ในระหว่างจัดการ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 อายุความจึงสะดุดหยุดลง ตั้งแต่นั้นมา โจทก์มาฟ้องขอแบ่งมรดกเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกขายฝากทรัพย์มรดก และความรับผิดของเจ้าพนักงานที่ดิน
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจขายฝากทรัพย์มรดก (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1236/2491) เมื่อขายแล้วไม่แบ่งเงินให้ทายาทก็เป็นเรื่องระหว่างผู้จัดการมรดกกับทายาทที่จะว่ากล่าวกันต่างหาก หาทำให้นิติกรรมซื้อขายที่ผู้จัดการมรดกทำไปเป็นโมฆะไม่
การที่เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนขายฝากให้แก่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้สอบสวนว่าทายาทได้ยินยอมและผู้จัดการมรดกมีเหตุผลในการขายสมควรอย่างไรหรือไม่นั้น ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เพราะไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นนั้น
การที่เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนขายฝากให้แก่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้สอบสวนว่าทายาทได้ยินยอมและผู้จัดการมรดกมีเหตุผลในการขายสมควรอย่างไรหรือไม่นั้น ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เพราะไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกขายฝากทรัพย์มรดก และความรับผิดชอบเจ้าพนักงานที่ดิน
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจขายฝากทรัพย์มรดก (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1236/2491) เมื่อขายแล้วไม่แบ่งเงินให้ทายาทก็เป็นเรื่องระหว่างผู้จัดการมรดกกับทายาทที่จะว่ากล่าวกันต่างหาก หาทำให้นิติกรรมซื้อขายที่ผู้จัดการมรดกทำไปเป็นโมฆะไม่
กรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนขายฝากให้แก่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้สอบสวนว่าทายาทได้ยินยอมและผู้จัดการมรดกมีเหตุผลในการขายสมควรอย่างไรหรือไม่นั้น ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เพราะไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นนั้น
กรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนขายฝากให้แก่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้สอบสวนว่าทายาทได้ยินยอมและผู้จัดการมรดกมีเหตุผลในการขายสมควรอย่างไรหรือไม่นั้น ไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เพราะไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนทรัพย์มรดกที่ไม่เป็นไปตามพินัยกรรม
โจทก์ทั้งสองและ อ. เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ อ.เป็นสามีจำเลยและมาเป็นพยานจำเลยซึ่งแสดงให้เห็นว่า อ. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้โอนทรัพย์พิพาทกลับคืนแก่กองมรดกเพื่อจัดแบ่งให้เป็นไปตามพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1715 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1674/2516)
เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมด้วย การแบ่งมรดกของผู้ตายแก่ทายาทจะต้องกระทำโดยผู้จัดการมรดกและผู้จัดการมรดกก็จะต้องจัดการแบ่งมรดกตามที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วยถ้าการแบ่งมรดกแก่ทายาทมิได้เป็นการแบ่งโดยผู้จัดการมรดก และเป็นการแบ่งที่มิได้เป็นไปตามพินัยกรรม แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียนลงชื่อจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกที่พิพาทแล้วโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ยังฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ จำเลยต้องคืนให้แก่ผู้จัดการมรดกเพื่อจะนำไปจัดการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม
เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมด้วย การแบ่งมรดกของผู้ตายแก่ทายาทจะต้องกระทำโดยผู้จัดการมรดกและผู้จัดการมรดกก็จะต้องจัดการแบ่งมรดกตามที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วยถ้าการแบ่งมรดกแก่ทายาทมิได้เป็นการแบ่งโดยผู้จัดการมรดก และเป็นการแบ่งที่มิได้เป็นไปตามพินัยกรรม แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียนลงชื่อจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกที่พิพาทแล้วโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ยังฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ จำเลยต้องคืนให้แก่ผู้จัดการมรดกเพื่อจะนำไปจัดการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกตามพินัยกรรม: ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนทรัพย์ที่ขัดต่อพินัยกรรม
โจทก์ทั้งสองและ อ.เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม แต่อ.เป็นสามีจำเลยและมาเป็นพยานจำเลยซึ่งแสดงให้เห็นว่า อ.ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้ โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้โอนทรัพย์พิพาทกลับคืนแก่กองมรดกเพื่อจัดแบ่งให้เป็นไปตามพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1715 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1674/2516)
เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมด้วยการแบ่งมรดกของผู้ตายแก่ทายาทจะ ต้องกระทำโดยผู้จัดการมรดก และผู้จัดการมรดกก็จะต้องจัดการแบ่งมรดกตามที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วย ถ้าการแบ่งมรดกแก่ทายาทมิได้เป็นการแบ่งโดยผู้จัดการมรดกและเป็นการแบ่งที่มิได้เป็นไปตามพินัยกรรม แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียนลงชื่อจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกที่พิพาทแล้ว โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ยังฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ จำเลยต้องคืนให้แก่ผู้จัดการมรดกเพื่อจะนำไปจัดการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม
เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมด้วยการแบ่งมรดกของผู้ตายแก่ทายาทจะ ต้องกระทำโดยผู้จัดการมรดก และผู้จัดการมรดกก็จะต้องจัดการแบ่งมรดกตามที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วย ถ้าการแบ่งมรดกแก่ทายาทมิได้เป็นการแบ่งโดยผู้จัดการมรดกและเป็นการแบ่งที่มิได้เป็นไปตามพินัยกรรม แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียนลงชื่อจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกที่พิพาทแล้ว โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ยังฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ จำเลยต้องคืนให้แก่ผู้จัดการมรดกเพื่อจะนำไปจัดการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกและการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทตามพินัยกรรม
โจทก์ฎีกาว่า ปัญหาอำนาจฟ้องยุติ คงมีปัญหาเพียงว่าที่พิพาทเป็นของผู้ตายใส่ชื่อจำเลยไว้แทนหรือเป็นของจำเลยจำเลยแก้ฎีกาว่า ในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้แก้อุทธรณ์โต้แย้งอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ และขอถือว่ามีประเด็นข้อนี้ในชั้นฎีกาด้วย ซึ่งถูกต้องตามคำแก้ฎีกา แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ให้
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเรียกร้องให้จำเลยคืนที่พิพาทเพื่อจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมของผู้ตาย ช. ผู้จัดการมรดกร่วมอีกคนหนึ่งไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องด้วย เพราะ ช. เป็นภริยาจำเลย เป็นผู้รับโอนที่พิพาทแทนจำเลยและเป็นพยานจำเลยด้วย แสดงชัดว่า ช. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1715 วรรคสอง และเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะฟ้องได้ในระหว่างจัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719, 1736
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเรียกร้องให้จำเลยคืนที่พิพาทเพื่อจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมของผู้ตาย ช. ผู้จัดการมรดกร่วมอีกคนหนึ่งไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องด้วย เพราะ ช. เป็นภริยาจำเลย เป็นผู้รับโอนที่พิพาทแทนจำเลยและเป็นพยานจำเลยด้วย แสดงชัดว่า ช. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1715 วรรคสอง และเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะฟ้องได้ในระหว่างจัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719, 1736
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกในการเรียกร้องทรัพย์สินตามพินัยกรรม และการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาท
โจทก์ฎีกาว่า ปัญหาอำนาจฟ้องยุติ คงมีปัญหาเพียงว่าที่พิพาทเป็นของผู้ตายใส่ชื่อจำเลยไว้แทนหรือเป็นของจำเลยจำเลยแก้ฎีกาว่า ในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้แก้อุทธรณ์โต้แย้งอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ และขอถือว่ามีประเด็นข้อนี้ในชั้นฎีกาด้วย ซึ่งถูกต้องตามคำแก้ฎีกา แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ให้
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเรียกร้องให้จำเลยคืนที่พิพาทเพื่อจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมของผู้ตาย ช. ผู้จัดการมรดกร่วมอีกคนหนึ่งไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องด้วยเพราะ ช. เป็นภริยาจำเลย เป็นผู้รับโอนที่พิพาทแทนจำเลยและเป็นพยานจำเลยด้วย แสดงชัดว่า ช. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1715 วรรค 2 และเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะฟ้องได้ในระหว่างจัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719, 1736
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเรียกร้องให้จำเลยคืนที่พิพาทเพื่อจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมของผู้ตาย ช. ผู้จัดการมรดกร่วมอีกคนหนึ่งไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องด้วยเพราะ ช. เป็นภริยาจำเลย เป็นผู้รับโอนที่พิพาทแทนจำเลยและเป็นพยานจำเลยด้วย แสดงชัดว่า ช. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1715 วรรค 2 และเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะฟ้องได้ในระหว่างจัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719, 1736
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากกองมรดก: โอนโฉนดรับมรดกไม่ทำให้ทรัพย์พ้นจากหนี้สินของผู้ตาย
โฉนดที่พิพาทมีชื่อ พ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ และ พ. ได้มอบให้เจ้าหนี้ยึดไว้เป็นประกันเงินกู้ต่อมา พ. ตาย ผู้ร้องและจำเลยได้ไปขอออกโฉนดใหม่ใส่ชื่อผู้ร้องและจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในใบแทนโฉนด ดังนี้ ไม่ทำให้ที่พิพาทนั้นพ้นจากสภาพเป็นทรัพย์ในกองมรดกของ พ.ที่จะต้องรับผิดต่อหนี้สินของพ.ที่จะต้องชำระให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วนได้ในกองมรดกจนกว่าจะได้จัดการชำระหนี้สินของ พ. ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์มรดกยังคงรับผิดชอบหนี้สินของผู้ตาย แม้มีการโอนชื่อในโฉนดเป็นผู้รับมรดก
โฉนดที่พิพาทมีชื่อ พ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ และ พ.ได้มอบให้เจ้าหนี้ยึดไว้เป็นประกันเงินกู้ ต่อมา พ. ตาย ผู้ร้องและจำเลยได้ไปขอออกโฉนดใหม่ใส่ชื่อผู้ร้องและจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในใบแทนโฉนด ดังนี้ ไม่ทำให้ที่พิพาทนั้นพ้นจากสภาพเป็นทรัพย์ในกองมรดกของ พ. ที่จะต้องรับผิดต่อหนี้สินของ พ.ที่จะต้องชำระให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วนได้ในกองมรดกจนกว่าจะได้จัดการชำระหนี้สินของ พ.ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน