พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการสิ้นสุดฐานะผู้จัดการมรดก ทำให้สิทธิเรียกร้องคืนทรัพย์สินหมดอายุ
โจทก์กับ ส. สามีจำเลยเป็นบุตรของ ย. เมื่อ ย. ตายแล้ว ส. ได้เป็นผู้จัดการมรดกอันมีที่ดินมือเปล่า 1 แปลงกับเรือนในที่ดิน 1 หลัง ต่อมาได้มีการรื้อเรือนปลูกใหม่แทนหลังเดิมและปลูกห้องแถวขึ้นเก็บค่าเช่า ส. ตายไปโดยยังมิได้แบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ ฐานะของ ส. ในการเป็นผู้จัดการมรดกของ ย. ย่อมสิ้นสุดลง
ก่อนตาย ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินเรือนและห้องแถวนั้นให้จำเลยกับบุตร จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จำเลยก็ครอบครองทรัพย์สินเหล่านั้นมาโดยถือว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยรับมรดกจาก ส.และขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ดังนี้ จะถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยครอบครองมาเป็นเวลาถึง 5 ปีกว่าแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินนั้นและเมื่อโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ประธานเสียแล้ว เรือนกับห้องแถวหากปลูกอยู่ในที่ดินนั้นตลอดจนค่าเช่าห้องแถวอันเป็นทรัพย์ส่วนควบและดอกผลของที่ดิน จึงตกเป็นของจำเลยไปด้วย โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนเช่นกัน
ก่อนตาย ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินเรือนและห้องแถวนั้นให้จำเลยกับบุตร จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จำเลยก็ครอบครองทรัพย์สินเหล่านั้นมาโดยถือว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยรับมรดกจาก ส.และขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ดังนี้ จะถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยครอบครองมาเป็นเวลาถึง 5 ปีกว่าแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินนั้นและเมื่อโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ประธานเสียแล้ว เรือนกับห้องแถวหากปลูกอยู่ในที่ดินนั้นตลอดจนค่าเช่าห้องแถวอันเป็นทรัพย์ส่วนควบและดอกผลของที่ดิน จึงตกเป็นของจำเลยไปด้วย โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความครอบครองปรปักษ์และการสิ้นสุดฐานะผู้จัดการมรดก ทำให้สิทธิเรียกร้องคืนทรัพย์สินหมดไป
โจทก์กับ ส.สามีจำเลยเป็นบุตรของ ย. เมื่อ ย. ตายแล้ว ส. ได้เป็นผู้จัดการมรดกอันมีที่ดินมือเปล่า 1 แปลงกับเรือนในที่ดิน 1 หลัง ต่อมาได้มีการรื้อเรือนปลูกใหม่แทนหลังเดิมและปลูกห้องแถวขึ้นเก็บค่าเช่า ส. ตายไปโดยยังมิได้แบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ ฐานะของ ส. ในการเป็นผู้จัดการมรดกของ ย. ย่อมสิ้นสุดลง
ก่อนตาย ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินเรือนและห้องแถวนั้นให้จำเลยกับบุตร จำเลยร้องขอให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จำเลยก็ครอบครองทรัยพ์สินเหล่านั้นมาโดยถือว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยรับมรดกจาก ส. และขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ดังนี้จะถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยครอบครองมาเป็นเวลาถึง 5 ปีกว่าแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินนั้น และเมื่อโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ประธานเสียแล้ว เรือนกับห้องแถวหากปลูกอยู่ในที่ดินนั้น ตลอดจนค่าเช่าห้องแถวอันเป็นทรัพย์ส่วนควบและดอกผลของที่ดิน จึงตกเป็นของจำเลยไปด้วย โจทก์ย่อยหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนเช่นกัน
ก่อนตาย ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินเรือนและห้องแถวนั้นให้จำเลยกับบุตร จำเลยร้องขอให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จำเลยก็ครอบครองทรัยพ์สินเหล่านั้นมาโดยถือว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยรับมรดกจาก ส. และขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ดังนี้จะถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยครอบครองมาเป็นเวลาถึง 5 ปีกว่าแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินนั้น และเมื่อโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ประธานเสียแล้ว เรือนกับห้องแถวหากปลูกอยู่ในที่ดินนั้น ตลอดจนค่าเช่าห้องแถวอันเป็นทรัพย์ส่วนควบและดอกผลของที่ดิน จึงตกเป็นของจำเลยไปด้วย โจทก์ย่อยหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีเอากับกองมรดกเมื่อทายาทรับโอนทรัพย์สินก่อนชำระหนี้
หน้าที่โอนขายที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมนั้น. ทั้งตามกฎหมายและโดยสภาพไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จึงเป็นมรดกของผู้ตาย.ผู้ซื้อในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีสิทธิขอให้บังคับคดีเอาที่ดินของผู้ตายโอนชำระหนี้ให้แก่ตนได้ตามคำพิพากษา.
ที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นทรัพย์ซึ่งจะต้องโอนขายตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วศาลย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้จนเสร็จการ. แม้โจทก์จะได้รับมรดกที่ดินมาตามพินัยกรรมและจดทะเบียนรับโอนแล้ว. แต่ที่ดินดังกล่าวก็เป็นมรดกที่ยังอยู่ในระหว่างจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736. เพราะผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งปรากฏตัวยังไม่ได้รับชำระหนี้. ผู้ซื้อจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้โดยตรง. ไม่จำต้องร้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่.
การที่ผู้ซื้อขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาจากกองมรดกมิใช่เป็นกรณีฟ้องร้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ1 ปี. แต่เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งมีสิทธิทำได้ภายในกำหนด 10 ปี.(ปัญหาข้อสุดท้ายนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512).
ที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นทรัพย์ซึ่งจะต้องโอนขายตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วศาลย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้จนเสร็จการ. แม้โจทก์จะได้รับมรดกที่ดินมาตามพินัยกรรมและจดทะเบียนรับโอนแล้ว. แต่ที่ดินดังกล่าวก็เป็นมรดกที่ยังอยู่ในระหว่างจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736. เพราะผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งปรากฏตัวยังไม่ได้รับชำระหนี้. ผู้ซื้อจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้โดยตรง. ไม่จำต้องร้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่.
การที่ผู้ซื้อขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาจากกองมรดกมิใช่เป็นกรณีฟ้องร้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ1 ปี. แต่เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งมีสิทธิทำได้ภายในกำหนด 10 ปี.(ปัญหาข้อสุดท้ายนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีเอากับกองมรดกของผู้ตายจากการซื้อขายที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
หน้าที่โอนขายที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมนั้น ทั้งตามกฎหมาย และโดยสภาพไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จึงเป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ซื้อในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีสิทธิขอให้บังคับดีเอาที่ดินของผู้ตายโอนชำระหนี้ ให้แก่ตนได้ตามคำพิพากษา
ที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นทรัพย์ซึ่งจะต้องโอนขายตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้จนเสร็จการ แม้โจทก์จะได้รับมรดกที่ดินมาตามพินัยกรรม และจดทะเบียนรับโอนแล้ว แต่ที่ดินดังกล่าวก็เป็นมรดกที่ยังอยู่ในระหว่างการจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 เพราะผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งปรากฏตัวยังไม่ได้รับชำระหนี้ ผู้ซื้อจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้โดยตรง ไม่จำต้องร้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่
การที่ผู้ซื้อขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาจากกองมรดก มิใช่เป็นกรณีฟ้องร้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปี แต่เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งมีสิทธิทำได้ภายในกำหนด 10 ปี (ปัญหาข้อสุดท้ายนี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512)
ที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นทรัพย์ซึ่งจะต้องโอนขายตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้จนเสร็จการ แม้โจทก์จะได้รับมรดกที่ดินมาตามพินัยกรรม และจดทะเบียนรับโอนแล้ว แต่ที่ดินดังกล่าวก็เป็นมรดกที่ยังอยู่ในระหว่างการจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 เพราะผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งปรากฏตัวยังไม่ได้รับชำระหนี้ ผู้ซื้อจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้โดยตรง ไม่จำต้องร้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่
การที่ผู้ซื้อขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาจากกองมรดก มิใช่เป็นกรณีฟ้องร้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปี แต่เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งมีสิทธิทำได้ภายในกำหนด 10 ปี (ปัญหาข้อสุดท้ายนี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีเอากับกองมรดกจากคำพิพากษาตามยอม แม้ผู้รับมรดกจะได้รับโอนทรัพย์แล้ว
หน้าที่โอนขายที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมนั้น ทั้งตามกฎหมายและโดยสภาพไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จึงเป็นมรดกของผู้ตายผู้ซื้อในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีสิทธิขอให้บังคับคดีเอาที่ดินของผู้ตายโอนชำระหนี้ให้แก่ตนได้ตามคำพิพากษา
ที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นทรัพย์ซึ่งจะต้องโอนขายตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วศาลย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้จนเสร็จการแม้โจทก์จะได้รับมรดกที่ดินมาตามพินัยกรรมและจดทะเบียนรับโอนแล้วแต่ที่ดินดังกล่าวก็เป็นมรดกที่ยังอยู่ในระหว่างจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 เพราะผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งปรากฏตัวยังไม่ได้รับชำระหนี้ผู้ซื้อจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้โดยตรงไม่จำต้องร้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่
การที่ผู้ซื้อขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาจากกองมรดกมิใช่เป็นกรณีฟ้องร้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปี แต่เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งมีสิทธิทำได้ภายในกำหนด 10 ปี (ปัญหาข้อสุดท้ายนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512)
ที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นทรัพย์ซึ่งจะต้องโอนขายตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วศาลย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้จนเสร็จการแม้โจทก์จะได้รับมรดกที่ดินมาตามพินัยกรรมและจดทะเบียนรับโอนแล้วแต่ที่ดินดังกล่าวก็เป็นมรดกที่ยังอยู่ในระหว่างจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 เพราะผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งปรากฏตัวยังไม่ได้รับชำระหนี้ผู้ซื้อจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้โดยตรงไม่จำต้องร้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่
การที่ผู้ซื้อขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาจากกองมรดกมิใช่เป็นกรณีฟ้องร้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปี แต่เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งมีสิทธิทำได้ภายในกำหนด 10 ปี (ปัญหาข้อสุดท้ายนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้กองมรดกยึดทรัพย์มรดกได้ แม้โอนกรรมสิทธิ์ให้ทายาทแล้ว หากยังมิได้แบ่งมรดก
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินกู้ตามฟ้องให้โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นภริยาผู้รับมรดก บ. โดยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาต้องรับผิดร่วมด้วย แต่ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยนั้น ยังไม่ได้แบ่งมรดกกันระหว่างทายาท โฉนดยังเป็นชื่อของ บ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ผู้ร้องเพิ่งโอนรับมรดกในขณะคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ฉะนั้น ถึงแม้ที่ดินพิพาทโอนใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนนายแบนเจ้ามรดกก็ตาม ทีJพิพาทก็ยังเป็นทรัพย์ในกองมรดกของ บ. ซึ่งยังมิได้แบ่งอยู่นั่นเอง โจทก์จึงชอบที่จะยึดที่ดินพิพาทมาบังคับคดีได้ โดยไม่ต้องฟ้องทายาทผู้รับมรดกคนอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับกองมรดกก่อนแบ่งมรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ในกองมรดก แม้จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้ทายาทแล้ว
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินกู้ตามฟ้องให้โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นภริยาผู้รับมรดก บ. โดยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาต้องรับผิดร่วมด้วย แต่ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยนั้นยังไม่ได้แบ่งมรดกกันระหว่างทายาท โฉนดยังเป็นชื่อของ บ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องเพิ่งโอนรับมรดกในขณะคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ฉะนั้น ถึงแม้ที่ดินพิพาทโอนใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนนายแบนเจ้ามรดกก็ตามที่พิพาทก็ยังเป็นทรัพยในกองมรดกของ บ. ซึ่งยังมิได้แบ่งอยู่นั่นเอง โจทก์จึงชอบที่จะยึดที่ดินพิพาทมาบังคับคดีได้โดยไม่ต้องฟ้องทายาทผู้รับมรดกคนอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404-1405/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดก, การจัดการทรัพย์มรดก, ฟ้องซ้ำ, และการนำสืบพยานในคดีแพ่ง
มาตรา 183 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้อำนาจศาลจะสั่งให้คู่ความฝ่ายใดนำสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้ ฉะนั้น เมื่อประเด็นที่จำเลยต่อสู้เป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งถ้าได้ความแล้วคดีอาจพิจารณาพิพากษาไปได้โดยไม่ต้องพิจารณาประเด็นข้ออื่นๆ แล้ว ศาลอาจสั่งให้จำเลยนำสืบก่อนทุกประเด็นก็ได้
พินัยกรรมก่อตั้งทรัสต์ก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 6 นั้น ไม่ขัดต่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลานั้น และพินัยกรรมที่กำหนดให้โจทก์มีอำนาจจัดการและเก็บค่าเช่านั้น คำว่า จัดการ ในที่นี้ย่อมหมายถึงการดำเนินการต่างๆ ตลอดจนการฟ้องร้องคดีด้วย
พินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกรวมสี่คน เมื่อเหลือโจทก์คนเดียวเพราะผู้จัดการมรดกสองคนถึงแก่กรรม และผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งลาออก เมื่อพินัยกรรมมิได้กำหนดให้จัดการมรดกพร้อมกันแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้
การจัดการมรดกไม่ใช่สิทธิเรียกร้อง ไม่มีอายุความเมื่อจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น ผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจจัดการตลอดไปจนกว่าจะเสร็จสิ้น
โจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลย ศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะโจทก์แสดงอำนาจฟ้องไม่ถูกต้องนั้น ศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อต่อสู้เรื่องขับไล่ ฉะนั้น โจทก์จึงมาฟ้องขับไล่จำเลยได้ใหม่ โดยไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ
พินัยกรรมก่อตั้งทรัสต์ก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 6 นั้น ไม่ขัดต่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลานั้น และพินัยกรรมที่กำหนดให้โจทก์มีอำนาจจัดการและเก็บค่าเช่านั้น คำว่า จัดการ ในที่นี้ย่อมหมายถึงการดำเนินการต่างๆ ตลอดจนการฟ้องร้องคดีด้วย
พินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกรวมสี่คน เมื่อเหลือโจทก์คนเดียวเพราะผู้จัดการมรดกสองคนถึงแก่กรรม และผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งลาออก เมื่อพินัยกรรมมิได้กำหนดให้จัดการมรดกพร้อมกันแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้
การจัดการมรดกไม่ใช่สิทธิเรียกร้อง ไม่มีอายุความเมื่อจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น ผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจจัดการตลอดไปจนกว่าจะเสร็จสิ้น
โจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลย ศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะโจทก์แสดงอำนาจฟ้องไม่ถูกต้องนั้น ศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อต่อสู้เรื่องขับไล่ ฉะนั้น โจทก์จึงมาฟ้องขับไล่จำเลยได้ใหม่ โดยไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้ แม้ยังมิได้เป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้รับมรดกย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกนั้นได้ไม่ต้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้ โดยไม่ต้องเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้รับมรดกย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกนั้นได้ ไม่ต้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน