คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1383

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1760/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน vs. ค่าเสียหายจากการละเมิด: อายุความที่แตกต่างกัน
จำเลยได้ขุดดินของโจทก์ไปขายให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งจำเลยไม่มีสิทธิที่จะขุดดินอันเป็นทรัพย์สินของโจทก์ เมื่อจำเลยขุดเอาดินของโจทก์ไป โจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยนำดินที่ขุดไปนั้นคืนมาหรือขอให้จำเลยใช้ราคาดินดังกล่าวแก่โจทก์ได้เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. 448 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ทั้งการฟ้องคดีเพื่อใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนนั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของมีสิทธิติดตามได้เสมอ เว้นแต่กรณีจะต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1382 และ 1383 โจทก์จึงจะหมดสิทธิติดตามเอาคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4258/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินที่ถูกยักยอกในสัญญาฟื้นฟูป่า ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหาย อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าศูนย์ปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ มีหน้าที่กำหนดแผนงานศูนย์ ควบคุมบังคับบัญชากำกับการมอบหมายงานในการฟื้นฟูป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวได้เบิกเงินงบประมาณของโจทก์ไปดำเนินการฟื้นฟูป่าสงวนแห่งชาติตามแผนงานที่โจทก์กำหนด และจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ไม่ได้ปลูกสร้างสวนป่าทดแทนให้ได้ครบจำนวนตามที่โจทก์กำหนด กลับเบียดบังยักยอกเงินงบประมาณของโจทก์ไป ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินงบประมาณที่ยักยอกไปแก่โจทก์กรณีจึงเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานละเมิด ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา1336 ไม่ใช่เรื่องเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จึงนำอายุความตามมาตรา448 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา1336 ประกอบด้วยมาตรา 1382 และ 1383 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม, การครอบครองปรปักษ์, สิทธิติดตามทรัพย์สิน, อายุความ, ที่ดินมีโฉนด
คดีจะมีประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จะต้องเกิดจากคำให้การของจำเลย ว่าจำเลยจะให้การว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุมศาลย่อมมีอำนาจที่จะนำคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยประกอบคำฟ้องของโจทก์ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ส่วนที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาหมายถึงรายละเอียดปลีกย่อยมิใช่สภาพแห่งข้อหา คดีนี้จำเลยทราบและเข้าใจฟ้องโจทก์โดยยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง แสดงว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
นับแต่วันที่มีการออกโฉนดสำหรับที่พิพาทถึงวันฟ้องยังไม่ถึง10 ปี แม้จำเลยครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจำเลยจะนับระยะเวลาที่ครอบครองก่อนที่พิพาทออกโฉนดรวมเข้าด้วยหาได้ไม่ เพราะการครอบครองปรปักษ์ใช้ได้เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์แล้วเท่านั้น
โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนเป็นคดีไม่มีอายุความฟ้องร้องโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิติดตามทรัพย์สินนั้นได้เสมอเว้นแต่กรณีจะต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382, 1383,โจทก์จึงจะหมดสิทธิติดตามเอาคืนที่พิพาทคดีนี้เป็นที่ดินที่มีโฉนด จะนำเรื่องการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1375 มาปรับใช้แก่คดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินและภาระทำถนน ทายาทรับไปซึ่งหน้าที่ตามสัญญา
ผู้ตายขายที่ดินให้โจทก์โดยมีข้อตกลงว่า ผู้ตายจะต้องทำถนนจากทางสาธารณะสู่ที่ดินที่ขายให้โจทก์ จำเลยทั้งสองเป็นบุตรอันเป็นทายาทของผู้ตายย่อมรับเอาสิทธิและหน้าที่ของผู้ตายมาด้วย จึงมีหน้าที่ต้องทำถนนและจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2581/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดและการแบ่งแยกฐานความรับผิดระหว่างเจ้าหน้าที่ทุจริตและผู้กำกับดูแล
คดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตยักยอกถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 สำหรับจำเลยที่ 4 ให้ยกฟ้องโจทก์ เพราะข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 ปฏิบัติไปตามระเบียบแบบแผน เช่นนี้ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งซึ่งผู้เสียหายฟ้องจำเลยที่ 4 กับพวกให้ชดใช้เงินดังกล่าวในคดีอาญาคืนฐานละเมิด ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญา โดยจำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้ร่วมกันกระทำการทุจริตเบียดบังยักยอกเอาเงินค่าน้ำประปาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยทั้งสี่ อันหมายถึงว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้ทำละเมิดต่อโจทก์โดยเอาเงินค่าน้ำประปาของโจทก์ไปโดยทุจริต เป็นการยึดถือเอาเงินของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิ โจทก์ผู้เป็นเจ้าของเงินมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามมาตรา 1336 ประกอบด้วยมาตรา 438 ส่วนคดีสำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 6 โจทก์ขอให้รับผิดใช้ค่าเสียหายเพราะปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 สมคบกันยักยอกเอาเงินไปได้ จำเลยที่ 5 ที่ 6 มิได้ยึดถือเงินของโจทก์ไว้ หากจะต้องรับผิดต่อโจทก์ก็เป็นความรับผิดในค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 วรรค 2 ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448
คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งได้รายงานต่ออธิบดีกรมโจทก์ว่า เห็นควรให้จำเลยที่ 5 และที่ 6 ร่วมกันชดใช้นายดำรงรองอธิบดีได้รับทราบรายงานดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2506 และสั่งว่า "ปปก.พิจารณาเสนอความเห็น" ลงชื่อ "ดำรง แทน" เช่นนี้มีความหมายว่านายดำรงสั่งแทนอธิบดีและถื่อว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2506 โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2507 ฟ้องโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 ที่ 6 จึงพ้น 1 ปี และขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2581/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดและการรับผิดของเจ้าหน้าที่ต่อการยักยอกเงิน, การพิจารณาความรับผิดตามหลักฐานในคดีอาญา
คดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตยักยอกถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 สำหรับจำเลยที่ 4 ให้ยกฟ้องโจทก์ เพราะข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 ปฏิบัติไปตามระเบียบแบบแผน เช่นนี้ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งซึ่งผู้เสียหายฟ้องจำเลยที่ 4 กับพวกให้ชดใช้เงินดังกล่าวในคดีอาญาคืนฐานละเมิด ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญา โดยจำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้ร่วมกันกระทำการทุจริตเบียดบังยักยอกเอาเงินค่าน้ำประปาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยทั้งสี่ อันหมายถึงว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้ทำละเมิดต่อโจทก์โดยเอาเงินค่าน้ำประปาของโจทก์ไปโดยทุจริต เป็นการยึดถือเอาเงินของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิ โจทก์ผู้เป็นเจ้าของเงินมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามมาตรา 1336 ประกอบด้วยมาตรา 438 ส่วนคดีสำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 6 โจทก์ขอให้รับผิดใช้ค่าเสียหายเพราะปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 สมคบกันยักยอกเอาเงินไปได้ จำเลยที่ 5 ที่ 6 มิได้ยึดถือเงินของโจทก์ไว้ หากจะต้องรับผิดต่อโจทก์ก็เป็นความรับผิดในค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 วรรค 2 ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448
คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งได้รายงานต่ออธิบดีกรมโจทก์ว่า เห็นควรให้จำเลยที่ 5 และที่ 6 ร่วมกันชดใช้นายดำรงรองอธิบดีได้รับทราบรายงานดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2506 และสั่งว่า "ปปก.พิจารณาเสนอความเห็น"ลงชื่อ "ดำรง แทน" เช่นนี้ มีความหมายว่านายดำรงสั่งแทนอธิบดีและถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2506 โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2507 ฟ้องโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 ที่ 6 จึงพ้น 1 ปี และขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของภริยาในสินสมรสที่สามีโอนให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอม คดีไม่มีอายุความ
สามีโจทก์เอาที่ดินและห้องแถวซึ่งเป็นสินสมรสไปจดทะเบียนให้แก่บุตรซึ่งเกิดแต่ภริยาอื่นโดยเสน่หา และโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์นั้นมาเป็นของตนและกองมรดกของสามีได้ ส่วนการเพิกถอนการให้ก็ต้องเพิกถอนทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่
(อ้างฎีกาที่ 872/2508)
การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์ของตนเป็นคดีไม่มีอายุความฟ้องร้อง แม้จะเป็นเวลาช้านานสักปานใดและทราบเรื่องเมื่อใด เจ้าของยังมีสิทธิติดตามทรัพย์นั้นได้เสมอ เว้นแต่กรณีจะต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382, 1383 เจ้าของจึงจะหมดสิทธิติดตามกรณีนี้จะนำเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาปรับใช้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองแทนและผลกระทบต่อสิทธิในที่ดิน รวมถึงสัญญาซื้อขายที่ดินขัดต่อกฎหมาย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินในต่างจังหวัดและประสงค์จะให้บุตรเป็นผู้รับโอน. แต่บุตรยังเป็นเด็กและอยู่ในกรุงเทพฯ. จึงให้จำเลยเป็นผู้รับโอนแทนนั้น. แม้จำเลยจะเข้าครอบครองเสียภาษี และแจ้งการครอบครองลงชื่อของจำเลยเองในที่ดินแปลงนั้นก็ตาม ก็เป็นการครอบครองแทนโจทก์. ถึงแม้จำเลยจะครอบครองมานานเท่าใดก็ไม่อาจยกอายุความขึ้นใช้ยันโจทก์ได้. และจำเลยจะอ้างว่ายึดถือครอบครองเพื่อตนเองก็ไม่ได้. เพราะมิได้มีการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ โดยบอกกล่าวไม่เจตนาจะยึดถือแทนหรือครอบครองโดยสุจริตอาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก.
การที่โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินและให้จำเลยซึ่งเป็นคนไทยเป็นผู้รับโอนแทนนั้น.วัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย. เพราะขัดกับประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 และมาตรา113. จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113. โจทก์จะบังคับจำเลยให้โอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์โดยโอนในนามของบุตรโจทก์ซึ่งเป็นคนไทยหาได้ไม่. และการยึดถือที่ดินของจำเลยเป็นการยึดถือแทนโจทก์. จำเลยก็จะอ้างว่าเป็นเจ้าของไม่ได้. ผลต่อไปต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 96. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินโดยคนต่างด้าวและถือครองแทนบุคคลอื่น สัญญาเป็นโมฆะและอายุความไม่ตัดสิทธิ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินในต่างจังหวัดและประสงค์จะให้บุตรเป็นผู้รับโอน แต่บุตรยังเป็นเด็กและอยู่ในกรุงเทพฯจึงให้จำเลยเป็นผู้รับโอนแทนนั้น แม้จำเลยจะเข้าครอบครองเสียภาษี และแจ้งการครอบครองลงชื่อของจำเลยเองในที่ดินแปลงนั้นก็ตาม ก็เป็นการครอบครองแทนโจทก์ ถึงแม้จำเลยจะครอบครองมานานเท่าใดก็ไม่อาจยกอายุความขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ และจำเลยจะอ้างว่ายึดถือครอบครองเพื่อตนเองก็ไม่ได้ เพราะมิได้มีการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ โดยบอกกล่าวไม่เจตนาจะยึดถือแทนหรือครอบครองโดยสุจริตอาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก
การที่โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินและให้จำเลยซึ่งเป็นคนไทยเป็นผู้รับโอนแทนนั้นวัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เพราะขัดกับประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 และมาตรา113 จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 โจทก์จะบังคับจำเลยให้โอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์โดยโอนในนามของบุตรโจทก์ซึ่งเป็นคนไทยหาได้ไม่และการยึดถือที่ดินของจำเลยเป็นการยึดถือแทนโจทก์ จำเลยก็จะอ้างว่าเป็นเจ้าของไม่ได้ ผลต่อไปต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 96
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยคนต่างด้าวและการครอบครองแทน สัญญาเป็นโมฆะหากขัดกฎหมายที่ดิน อายุความไม่ตัดสิทธิ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินในต่างจังหวัด และประสงค์จะให้บุตรเป็นผู้รับโอน แต่บุตรยังเป็นเด็กและอยู่ในกรุงเทพฯ จึงให้จำเลยเป็นผู้รับโอนแทนนั้น แม้จำเลยจะเข้าครอบครองเสียภาษี และแจ้งการครอบครองลงชื่อของจำเลยเองในที่ดินแปลงนั้นก็ตาม ก็เป็นการครอบครองแทนโจทก์ ถึงแม้จำเลยจะครอบครองมานานเท่าใด ก็ไม่อาจยกอายุความขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ และจำเลยจะอ้างว่ายึดถือครอบครองเพื่อตนเองก็ไม่ได้เพราะมิได้มีการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ โดยบอกกล่าวไม่เจตนาจะยึดถือแทนหรือครอบครองโดยสุจริตอาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก
การที่โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินและให้จำเลยซึ่งเป็นคนไทยเป็นผู้รับโอนแทนนั้นวัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เพราะขัดกับประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 และมาตรา 113 จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 โจทก์จะบังคับจำเลยให้โอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์โดยโอนในนามของบุตรโจทก์ซึ่งเป็นคนไทยหาได้ไม่ และการยึดถือที่ดินของจำเลยเป็นการยึดถือแทนโจทก์ จำเลยก็จะอ้างว่าเป็นเจ้าของไม่ได้ ผลต่อไปต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 96
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2511)
of 2