พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาประกันภัย, การพิสูจน์สัญญา, และประเด็นการพิจารณาของศาลเมื่อจำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้ในชั้นศาลล่าง
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ไว้ในชั้นชี้สองสถาน ซึ่งจำเลยได้โต้แย้งคัดค้านและอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงประเด็นดังกล่าวรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ทั้งเป็นประเด็นข้อแพ้ชนะในคดีอันถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะหากฟังได้ว่าโจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ จำเลยย่อมไม่ต้องผูกพันและรับผิดต่อโจทก์ ที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา แต่เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นนี้เสียเองได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
แม้ตามทางปฏิบัติผู้เอาประกันภัยจะต้องยื่นคำขอประกันภัยตามแบบของบริษัทประกันภัย เพื่อให้บริษัทพิจารณาก่อน แต่กรณีดังกล่าวก็เป็นกรณีที่กระทำผ่านมาจากตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทรับประกันภัย ส่วนกรณีของโจทก์ตัวแทนของโจทก์ได้ทำคำเสนอต่อ ส.ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้โดยตรง จึงไม่ได้มีแบบพิธีที่จะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาก่อน เมื่อ ส.ไปตรวจสอบสินค้าเครื่องจักรเป็นที่พอใจก็สนองรับคำเสนอของตัวแทนโจทก์ผู้อยู่เฉพาะหน้า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้ว
การที่จำเลยได้ยื่นแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยสำหรับสต็อกสินค้าเครื่องจักรของโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2510มาตรา 27 วรรคแรก ซึ่งบัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกันอัคคีภัยเมื่อบริษัททำสัญญาประกันอัคคีภัยรายใดให้บริษัทยื่นรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้น ดังนี้ การกระทำของจำเลยแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า จำเลยได้ทำสัญญารับประกันอัคคีภัยสำหรับสินค้าของโจทก์แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เมื่อมีลายมือชื่อผู้แทนของจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญในตารางแห่งกรมธรรม์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์อ้างจึงเป็นพยานหลักฐานฟ้องบังคับจำเลยได้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความตรงตามสัญญาประกันภัยและส่งมอบให้โจทก์ผู้เอาประกันภัยแต่กรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาท้ายฟ้อง เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งที่โจทก์อ้างอิงตามที่ได้กล่าวไว้ในคำฟ้องเท่านั้น ส่วนหลักฐานที่มีเป็นหนังสือจะฟ้องร้องให้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบอยู่แล้วดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นโดยใช้ถ้อยคำว่าสัญญาประกันภัยท้ายฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่ ย่อมหมายความเพียงว่า สัญญาประกันภัยตามฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่ เมื่อปรากฏว่าโจทก์นำสืบโดยส่งสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาล และจำเลยนำสืบยอมรับว่าต้นฉบับของเอกสารดังกล่าวมีอยู่จริงและมีลายมือชื่อของผู้แทนจำเลยพร้อมประทับตราของบริษัทถูกต้อง จึงเท่ากับโจทก์นำสืบว่าสัญญาประกันภัยตามฟ้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 867 แล้ว
โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอันดับที่ 9 ระบุแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยกรมธรรม์เลขที่ 86/338057 จากสำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานประกันภัยได้ส่งเอกสารต่าง ๆ เป็นชุดมารวม 12 ฉบับ มีสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์อันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นส่วนหนึ่งของแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยตามกรมธรรม์ดังกล่าวรวมอยู่ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้ระบุอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 (เดิม) แล้ว เอกสารดังกล่าวจึงรับฟังได้เมื่อจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยไว้ แม้ว่าขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้รับมอบกรมธรรม์-ประกันภัยจากจำเลย แต่กรมธรรม์ประกันภัยนั้นก็มีอยู่ที่จำเลยก่อนโจทก์ฟ้องคดีแล้วโจทก์ย่อมกล่าวอ้างถึงและใช้เอกสารดังกล่าวฟ้องบังคับคดีได้
ที่ ป.พ.พ.มาตรา 326 บัญญัติว่า บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้นั้น เป็นกรณีที่ผู้รับชำระหนี้จะไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระหนี้ จึงให้สิทธิผู้ชำระหนี้เรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จรับเงินได้ซึ่งต่างกับกรณีที่จำเลยออกใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันไว้แล้ว แต่ยังไม่ส่งมอบให้โจทก์แม้ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลย ก็ฟังว่าโจทก์ชำระเบี้ยประกันแล้วได้ไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว
เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วเพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยกลับเพิกเฉย เพราะมีกรณีที่จำเลยอ้างเหตุโต้แย้งกับโจทก์ในปัญหาที่ว่ามีการทำสัญญาประกันภัยแล้วหรือไม่ เนื่องจากกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยไม่ได้สนใจหรือติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารรายการละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่วินาศหรือเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะจำเลยจะไม่พิจารณาชดใช้ให้อยู่แล้ว โดยจำเลยถือว่าไม่มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย อีกทั้งจำเลยจะไปสำรวจความเสียหายหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นเมื่อจำเลยถือว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีสัญญาประกันภัยต่อกันและจำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่อาจอ้างให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อนี้อีกได้
กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่า จำเลยจะบอกเลิกกรมธรรม์ฉบับนี้ได้ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงโจทก์ผู้เอาประกันภัย ในกรณีนี้จำเลยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์โดยหักเบี้ยประกันสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน เมื่อสัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้นและจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยตามสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์-ประกันภัย โดยโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันให้แก่จำเลยแล้ว การที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาประกันภัย จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์นี้ เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยเป็นหนังสือไปยังโจทก์ สัญญาประกันภัยจึงยังไม่เลิกกัน และกรมธรรมม์ประกันภัยยังมีสภาพบังคับอยู่
จำเลยให้การว่า สาเหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติหากแต่เกิดขึ้นในสถานที่ที่โจทก์ครอบครอง และโจทก์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเหตุที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นเหตุตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้เพียงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพราะโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2 และ 6 จริงหรือไม่เท่านั้น ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงประเด็นตามคำให้การจำเลย คำให้การของจำเลยถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบในประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาท และให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา อย่างไรก็ตาม คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นว่าที่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเหตุตามกฎหมายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบเองนั้นเป็นเหตุอะไรเพราะเหตุที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามกฎหมายนั้นต้องเป็นวินาศภัยที่เกิดเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือเพราะความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัยตามนัยที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 879 เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การถึงเหตุแห่งการปฏิเสธนั้น จำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบ และปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวแล้วศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
ที่จำเลยฎีกาว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากการวางเพลิง โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยนั้น ปรากฏว่าข้อนี้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามทางปฏิบัติผู้เอาประกันภัยจะต้องยื่นคำขอประกันภัยตามแบบของบริษัทประกันภัย เพื่อให้บริษัทพิจารณาก่อน แต่กรณีดังกล่าวก็เป็นกรณีที่กระทำผ่านมาจากตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทรับประกันภัย ส่วนกรณีของโจทก์ตัวแทนของโจทก์ได้ทำคำเสนอต่อ ส.ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้โดยตรง จึงไม่ได้มีแบบพิธีที่จะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาก่อน เมื่อ ส.ไปตรวจสอบสินค้าเครื่องจักรเป็นที่พอใจก็สนองรับคำเสนอของตัวแทนโจทก์ผู้อยู่เฉพาะหน้า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้ว
การที่จำเลยได้ยื่นแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยสำหรับสต็อกสินค้าเครื่องจักรของโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2510มาตรา 27 วรรคแรก ซึ่งบัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกันอัคคีภัยเมื่อบริษัททำสัญญาประกันอัคคีภัยรายใดให้บริษัทยื่นรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้น ดังนี้ การกระทำของจำเลยแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า จำเลยได้ทำสัญญารับประกันอัคคีภัยสำหรับสินค้าของโจทก์แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เมื่อมีลายมือชื่อผู้แทนของจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญในตารางแห่งกรมธรรม์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์อ้างจึงเป็นพยานหลักฐานฟ้องบังคับจำเลยได้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความตรงตามสัญญาประกันภัยและส่งมอบให้โจทก์ผู้เอาประกันภัยแต่กรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาท้ายฟ้อง เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งที่โจทก์อ้างอิงตามที่ได้กล่าวไว้ในคำฟ้องเท่านั้น ส่วนหลักฐานที่มีเป็นหนังสือจะฟ้องร้องให้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบอยู่แล้วดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นโดยใช้ถ้อยคำว่าสัญญาประกันภัยท้ายฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่ ย่อมหมายความเพียงว่า สัญญาประกันภัยตามฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่ เมื่อปรากฏว่าโจทก์นำสืบโดยส่งสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาล และจำเลยนำสืบยอมรับว่าต้นฉบับของเอกสารดังกล่าวมีอยู่จริงและมีลายมือชื่อของผู้แทนจำเลยพร้อมประทับตราของบริษัทถูกต้อง จึงเท่ากับโจทก์นำสืบว่าสัญญาประกันภัยตามฟ้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 867 แล้ว
โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอันดับที่ 9 ระบุแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยกรมธรรม์เลขที่ 86/338057 จากสำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานประกันภัยได้ส่งเอกสารต่าง ๆ เป็นชุดมารวม 12 ฉบับ มีสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์อันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นส่วนหนึ่งของแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยตามกรมธรรม์ดังกล่าวรวมอยู่ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้ระบุอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 (เดิม) แล้ว เอกสารดังกล่าวจึงรับฟังได้เมื่อจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยไว้ แม้ว่าขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้รับมอบกรมธรรม์-ประกันภัยจากจำเลย แต่กรมธรรม์ประกันภัยนั้นก็มีอยู่ที่จำเลยก่อนโจทก์ฟ้องคดีแล้วโจทก์ย่อมกล่าวอ้างถึงและใช้เอกสารดังกล่าวฟ้องบังคับคดีได้
ที่ ป.พ.พ.มาตรา 326 บัญญัติว่า บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้นั้น เป็นกรณีที่ผู้รับชำระหนี้จะไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระหนี้ จึงให้สิทธิผู้ชำระหนี้เรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จรับเงินได้ซึ่งต่างกับกรณีที่จำเลยออกใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันไว้แล้ว แต่ยังไม่ส่งมอบให้โจทก์แม้ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลย ก็ฟังว่าโจทก์ชำระเบี้ยประกันแล้วได้ไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว
เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วเพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยกลับเพิกเฉย เพราะมีกรณีที่จำเลยอ้างเหตุโต้แย้งกับโจทก์ในปัญหาที่ว่ามีการทำสัญญาประกันภัยแล้วหรือไม่ เนื่องจากกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยไม่ได้สนใจหรือติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารรายการละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่วินาศหรือเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะจำเลยจะไม่พิจารณาชดใช้ให้อยู่แล้ว โดยจำเลยถือว่าไม่มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย อีกทั้งจำเลยจะไปสำรวจความเสียหายหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นเมื่อจำเลยถือว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีสัญญาประกันภัยต่อกันและจำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่อาจอ้างให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อนี้อีกได้
กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่า จำเลยจะบอกเลิกกรมธรรม์ฉบับนี้ได้ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงโจทก์ผู้เอาประกันภัย ในกรณีนี้จำเลยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์โดยหักเบี้ยประกันสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน เมื่อสัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้นและจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยตามสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์-ประกันภัย โดยโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันให้แก่จำเลยแล้ว การที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาประกันภัย จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์นี้ เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยเป็นหนังสือไปยังโจทก์ สัญญาประกันภัยจึงยังไม่เลิกกัน และกรมธรรมม์ประกันภัยยังมีสภาพบังคับอยู่
จำเลยให้การว่า สาเหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติหากแต่เกิดขึ้นในสถานที่ที่โจทก์ครอบครอง และโจทก์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเหตุที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นเหตุตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้เพียงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพราะโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2 และ 6 จริงหรือไม่เท่านั้น ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงประเด็นตามคำให้การจำเลย คำให้การของจำเลยถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบในประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาท และให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา อย่างไรก็ตาม คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นว่าที่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเหตุตามกฎหมายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบเองนั้นเป็นเหตุอะไรเพราะเหตุที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามกฎหมายนั้นต้องเป็นวินาศภัยที่เกิดเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือเพราะความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัยตามนัยที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 879 เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การถึงเหตุแห่งการปฏิเสธนั้น จำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบ และปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวแล้วศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
ที่จำเลยฎีกาว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากการวางเพลิง โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยนั้น ปรากฏว่าข้อนี้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเหตุอัคคีภัย การปฏิเสธความรับผิดของจำเลย และการพิสูจน์เหตุผล
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ไว้ในชั้นสอบสวน ซึ่งจำเลยได้โต้แย้งคัดค้านและอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงประเด็นดังกล่าวรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ทั้งเป็นประเด็นข้อแพ้ชนะในคดีอันถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะหากฟังได้ว่าโจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ จำเลยย่อมไม่ต้องผูกพันและรับผิดต่อโจทก์ที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาแต่เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้วศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นนี้เสียเองได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ แม้ตามทางปฏิบัติผู้เอาประกันภัยจะต้องยื่นคำขอประกันภัยตามแบบของบริษัทประกันภัย เพื่อให้บริษัทพิจารณาก่อน แต่กรณีดังกล่าวก็เป็นกรณีที่กระทำผ่านมาจากตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทรับประกันภัย ส่วนกรณีของโจทก์ตัวแทนของโจทก์ได้ทำคำเสนอต่อส. ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้โดยตรง จึงไม่ได้มีแบบพิธีที่จะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาก่อน เมื่อ ส. ไปตรวจสอบสินค้าเครื่องจักรเป็นที่พอใจก็สนองรับคำเสนอของตัวแทนโจทก์ผู้อยู่เฉพาะหน้า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้ว การที่จำเลยได้ยื่นแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยสำหรับสต็อกสินค้าเครื่องจักรของโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2510 มาตรา 27 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกันอัคคีภัยเมื่อบริษัททำสัญญาประกันอัคคีภัยรายใดให้บริษัทยื่นรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้น ดังนี้ การกระทำของจำเลยแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยได้ทำสัญญารับประกันอัคคีภัยสำหรับสินค้าของโจทก์แล้ว กรมธรรมประกันภัยเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เมื่อมีลายมือชื่อผู้แทนของจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญในตารางแห่งกรมธรรม์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์อ้างจึงเป็นพยานหลักฐานฟ้องยังคับจำเลยได้ โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความตรงตามสัญญาประกันภัยและส่งมอบให้โจทก์ผู้เอาประกันภัย แต่กรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาท้ายฟ้อง เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งที่โจทก์อ้างอิงตามที่ได้กล่าวไว้ในคำฟ้องเท่านั้น ส่วนหลักฐานที่มีเป็นหนังสือจะฟ้องร้องให้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบอยู่แล้ว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นโดยใช้ถ้อยคำว่าสัญญาประกันภัยท้ายฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่ย่อมหมายความเพียงว่า สัญญาประกันภัยตามฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่เมื่อปรากฏว่าโจทก์นำสืบโดยส่งสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาล และจำเลยนำสืบยอมรับว่าต้นฉบับของเอกสารดังกล่าวมีอยู่จริงและมีลายมือชื่อของผู้แทนจำเลยพร้อมประทับตราของบริษัทถูกต้อง จึงเท่ากับโจทก์นำสืบว่าสัญญาประกันภัยตามฟ้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 867 แล้ว โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอันดับที่ 9 ระบุแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยกรมธรรม์เลขที่ 86/338057 จากสำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานประกันภัยได้ส่งเอกสารต่าง ๆ เป็นชุดมารวม 12 ฉบับ มีสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์อันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นส่วนหนึ่งของแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยตามกรมธรรม์ดังกล่าวรวมอยู่ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้ระบุอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88(เดิม) แล้ว เอกสารดังกล่าวจึงรับฟังได้ เมื่อจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยไว้ แม้ว่าขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้รับมอบกรมธรรม์ประกันภัยจากจำเลย แต่กรมธรรม์ประกันภัยนั้นก็มีอยู่ที่จำเลยก่อนโจทก์ฟ้องคดีแล้ว โจทก์ย่อมกล่าวอ้างถึงและใช้เอกสารดังกล่าวฟ้องบังคับคดีได้ ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 บัญญัติว่า บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้นั้นเป็นกรณีที่ผู้รับชำระหนี้จะไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระหนี้จึงให้สิทธิผู้ชำระหนี้เรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จรับเงินได้ ซึ่งต่างกับกรณีที่จำเลยออกใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันไว้แล้ว แต่ยังไม่ส่งมอบให้โจทก์แม้ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลย ก็ฟังว่าโจทก์ชำระเบี้ยประกันแล้วได้ไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วเพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยกลับเพิกเฉย เพราะมีกรณีที่จำเลยอ้างเหตุโต้แย้งกับโจทก์ในปัญหาที่ว่ามีการทำสัญญาประกันภัยแล้วหรือไม่เนื่องจากกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยไม่ได้สนใจหรือติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารรายการละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่วินาศหรือเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะจำเลยจะไม่พิจารณาชดใช้ให้อยู่แล้ว โดยจำเลยถือว่าไม่มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย อีกทั้งจำเลยจะไปสำรวจความเสียหายหรือไม่ก็ได้ดังนั้น เมื่อจำเลยถือว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีสัญญาประกันภัยต่อกันและจำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่อาจอ้างให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อนี้อีกได้ กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่า จำเลยจะบอกเลิกกรมธรรม์ฉบับนี้ได้ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงโจทก์ผู้เอาประกันภัย ในกรณีนี้จำเลยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์โดยหักเบี้ยประกันสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน เมื่อสัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้นและจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยตามสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัย โดยโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันให้แก่จำเลยแล้ว การที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาประกันภัย จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์นี้ เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยเป็นหนังสือไปยังโจทก์ สัญญาประกันภัยจึงยังไม่เลิกกันและกรมธรรม์ประกันภัยยังมีสภาพบังคับอยู่ จำเลยให้การว่า สาเหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ หากแต่เกิดขึ้นในสถานที่ที่โจทก์ครอบครอง และโจทก์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเหตุที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นเหตุตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้เพียงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพราะโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2 และ 6จริงหรือไม่เท่านั้น ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงประเด็นตามคำให้การจำเลยคำให้การของจำเลยถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบในประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาท และให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา อย่างไรก็ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นว่าที่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเหตุตามกฎหมายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบเองนั้นเป็นเหตุอะไรเพราะเหตุที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามกฎหมายนั้นต้องเป็นวินาศภัยที่เกิดเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือเพราะความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัยตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 879 เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การถึงเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นจำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบ และปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ที่จำเลยฎีกาว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากการวางเพลิง โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยนั้น ปรากฏว่าข้อนี้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันสมบูรณ์แม้เข้าใจผิดเรื่องทายาท ความผิดพลาดไม่กระทบสัญญาค้ำประกัน อายุความ 10 ปี
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับรองการชดใช้เงินคืนแก่ทางราชการในขณะที่จำเลยที่ 1 จะรับเงินจากโจทก์สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อดังกล่าว จึงมิใช่เป็นเพียงคำเสนอที่จะก่อให้เกิดสัญญาเมื่อมีคำสนอง เพราะขณะมีการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 ได้รับเข้าผูกพันตนทำสัญญาค้ำประกันเสร็จไปในวันเดียวกัน สัญญาค้ำประกันจึงเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว แม้ว่าการที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นมารดาของร้อยตรี ท.เพื่อขอรับเงินบำนาญพิเศษจากโจทก์ซึ่งความจริงมิได้เป็นมารดาอาจเป็นการละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่การที่โจทก์ได้จ่ายเงินบำนาญพิเศษให้จำเลยที่ 1 โดยมีการทำสัญญาว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เงินคืนให้แก่โจทก์นั้น ถือว่าเป็นการชดใช้เงินคืนตามสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชดใช้เงินคืนจึงมีอายุความ10 ปีเช่นกัน การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันโดยเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1ผู้ขอรับเงินบำนาญพิเศษเป็นมารดาของร้อยตรี ท. นั้น มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด ความเข้าใจผิดดังกล่าวมิใช่เป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งสัญญาค้ำประกันจึงไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 ข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเพราะจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารฝ่ายธุรการและกำลังพล เป็นตำแหน่งที่ต้องกระทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวนั้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี: สัญญาเดิมมีผลบังคับใช้ ธนาคารเพิ่มดอกเบี้ยโดยไม่แจ้งจำเลยไม่มีสิทธิ
จำเลยมีสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โดยโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 12 ครึ่งต่อปีนับแต่จำเลยเริ่มเบิกเงินเกินบัญชี พร้อมกันนั้นจำเลยได้ทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย ในสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ร้อยละ 14ต่อปี ดังนี้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนี้ประธานส่วนหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ แม้ในสัญญาจำนองจำเลยจะตกลงเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร้อยละ 14 ต่อปี ก็มิใช่ว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร้อยละ 14 ต่อปีเสมอไป จำเลยจะรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ตามสัญญาอุปกรณ์เพียงใดต้องดูข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธาน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีร้อยละ 12 ครึ่งตลอดมา ดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธาน การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารให้กู้จากอัตราเดิมร้อยละ 14 ต่อปีเป็นร้อยละ 15ต่อปี เป็นเพียงให้ธนาคารโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ทำให้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างโจทก์จำเลยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธานเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การที่โจทก์เพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้จากร้อยละ 12 ครึ่ง มาเป็นร้อยละ 14 ต่อปีโดยพลการมิได้แจ้งให้จำเลยทราบและตกลงด้วยนั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและบอกกล่าวบังคับจำนองกับจำเลย สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าว การที่จำเลยขอให้โจทก์ยกเลิกหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง และขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปนับแต่วันครบตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์นั้น เป็นเพียงคำเสนอขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไป ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่บัญชีเดินสะพัดของจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่โจทก์เพียงแต่รับหนังสือดังกล่าวของจำเลยไว้โดยไม่ได้ตอบสนองคำเสนอของจำเลย จึงหาทำให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปไม่ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีอีกหลายครั้ง แต่ไม่มีสิทธิจะเบิกเงินจากโจทก์ได้อีกการนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เท่านั้น เพราะมีแต่การหักทอนบัญชีหนี้บางส่วนของจำเลยลงฝ่ายเดียว หาได้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีอยู่ต่อไปไม่
โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลย แต่โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นแล้วแจ้งยอดจำนวนหนี้ให้จำเลยทราบจำเลยได้รับสภาพหนี้ตามจำนวนที่โจทก์แจ้งไปนั้น หามีผลให้จำเลยต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่จำเลยรับสภาพหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสารภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ต่อกัน
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและบอกกล่าวบังคับจำนองกับจำเลย สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าว การที่จำเลยขอให้โจทก์ยกเลิกหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง และขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปนับแต่วันครบตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์นั้น เป็นเพียงคำเสนอขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไป ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่บัญชีเดินสะพัดของจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่โจทก์เพียงแต่รับหนังสือดังกล่าวของจำเลยไว้โดยไม่ได้ตอบสนองคำเสนอของจำเลย จึงหาทำให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปไม่ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีอีกหลายครั้ง แต่ไม่มีสิทธิจะเบิกเงินจากโจทก์ได้อีกการนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เท่านั้น เพราะมีแต่การหักทอนบัญชีหนี้บางส่วนของจำเลยลงฝ่ายเดียว หาได้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีอยู่ต่อไปไม่
โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลย แต่โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นแล้วแจ้งยอดจำนวนหนี้ให้จำเลยทราบจำเลยได้รับสภาพหนี้ตามจำนวนที่โจทก์แจ้งไปนั้น หามีผลให้จำเลยต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่จำเลยรับสภาพหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสารภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ต่อกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นโดยพลการหลังมีข้อตกลงเดิม และผลของการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด
จำเลยมีสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โดยโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 12 ครึ่งต่อปีนับแต่จำเลยเริ่มเบิกเงินเกินบัญชี พร้อมกันนั้นจำเลยได้ทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย ในสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ร้อยละ 14ต่อปี ดังนี้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนี้ประธานส่วนหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ แม้ในสัญญาจำนองจำเลยจะตกลงเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร้อยละ 14 ต่อปี ก็มิใช่ว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร้อยละ 14 ต่อปีเสมอไป จำเลยจะรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ตามสัญญาอุปกรณ์เพียงใดต้องดูข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธาน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีร้อยละ 12 ครึ่งตลอดมา ดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธาน การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารให้กู้จากอัตราเดิมร้อยละ 14 ต่อปีเป็นร้อยละ 15ต่อปี เป็นเพียงให้ธนาคารโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ทำให้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างโจทก์จำเลยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธานเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การที่โจทก์เพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้จากร้อยละ 12 ครึ่ง มาเป็นร้อยละ 14 ต่อปีโดยพลการมิได้แจ้งให้จำเลยทราบและตกลงด้วยนั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและบอกกล่าวบังคับจำนองกับจำเลย สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าว การที่จำเลยขอให้โจทก์ยกเลิกหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง และขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปนับแต่วันครบตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์นั้น เป็นเพียงคำเสนอขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไป ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่บัญชีเดินสะพัดของจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่โจทก์เพียงแต่รับหนังสือดังกล่าวของจำเลยไว้โดยไม่ได้ตอบสนองคำเสนอของจำเลย จึงหาทำให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปไม่ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีอีกหลายครั้ง แต่ไม่มีสิทธิจะเบิกเงินจากโจทก์ได้อีกการนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เท่านั้น เพราะมีแต่การหักทอนบัญชีหนี้บางส่วนของจำเลยลงฝ่ายเดียว หาได้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีอยู่ต่อไปไม่
โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลย แต่โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นแล้วแจ้งยอดจำนวนหนี้ให้จำเลยทราบจำเลยได้รับสภาพหนี้ตามจำนวนที่โจทก์แจ้งไปนั้น หามีผลให้จำเลยต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่จำเลยรับสภาพหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสารภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ต่อกัน
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและบอกกล่าวบังคับจำนองกับจำเลย สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าว การที่จำเลยขอให้โจทก์ยกเลิกหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง และขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปนับแต่วันครบตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์นั้น เป็นเพียงคำเสนอขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไป ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่บัญชีเดินสะพัดของจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่โจทก์เพียงแต่รับหนังสือดังกล่าวของจำเลยไว้โดยไม่ได้ตอบสนองคำเสนอของจำเลย จึงหาทำให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปไม่ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีอีกหลายครั้ง แต่ไม่มีสิทธิจะเบิกเงินจากโจทก์ได้อีกการนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เท่านั้น เพราะมีแต่การหักทอนบัญชีหนี้บางส่วนของจำเลยลงฝ่ายเดียว หาได้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีอยู่ต่อไปไม่
โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลย แต่โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นแล้วแจ้งยอดจำนวนหนี้ให้จำเลยทราบจำเลยได้รับสภาพหนี้ตามจำนวนที่โจทก์แจ้งไปนั้น หามีผลให้จำเลยต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่จำเลยรับสภาพหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสารภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ต่อกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การแก้ไขคำเสนอ, การรับรองความเสี่ยง, และการปฏิเสธการจ่ายเงิน
คำสนองรับประกันภัยที่แก้ไขคำเสนอ คนของผู้รับประกันภัยนำไปตกลงกับผู้ขอเอาประกันภัย เป็นคำเสนอต่อหน้าขึ้นใหม่เกิดสัญญาเมื่อตกลงกันทันที บันทึกล่วงหน้าของผู้รับประกันภัยเป็นเอกสารตาม มาตรา 867 ได้ ไม่ต้องส่งมอบกรมธรรม์ เงื่อนไขในใบสมัครที่ว่าต้องได้ออกและส่งมอบกรมธรรม์ก่อน ไม่มีผลบังคับ
คำแถลงเกี่ยวกับอาชีพของผู้ขอประกันภัยไม่เป็นความจริง แต่ผู้รับประกันภัยไม่ถือเป็นสำคัญ ไม่ทำให้สัญญาประกันภัยไม่สมบูรณ์
มีคำเตือนให้ผู้รับประกันภัยใช้เงิน ผู้รับประกันภัยตอบปฏิเสธเป็นการผิดนัดตั้งแต่วันปฏิเสธ ต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันปฏิเสธนั้น
คำแถลงเกี่ยวกับอาชีพของผู้ขอประกันภัยไม่เป็นความจริง แต่ผู้รับประกันภัยไม่ถือเป็นสำคัญ ไม่ทำให้สัญญาประกันภัยไม่สมบูรณ์
มีคำเตือนให้ผู้รับประกันภัยใช้เงิน ผู้รับประกันภัยตอบปฏิเสธเป็นการผิดนัดตั้งแต่วันปฏิเสธ ต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันปฏิเสธนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ฟ้องร้องได้แม้ไม่มีเอกสาร
สัญญาจ้างว่าความ ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือก็ใช้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
สัญญาจ้างว่าความไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ก็ใช้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ มีผลผูกพันทางกฎหมายได้
สัญญาจ้างว่าความไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ก็ใช้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสินค้าไม่ตรงตามตัวอย่าง และสิทธิในการฟ้องคดี แม้มีข้อตกลงเรื่องอนุญาโตตุลาการ
เมื่อข้อความในสัญญาเป็นแต่กล่าวไว้ว่าถ้าจะเรียกร้องเอาค่าเสียหายทดแทนอย่างใดๆ จะต้องกระทำภายใน 3 วันนับจากวันที่สินค้ามาถึง และในการเรียกร้องค่าเสียหายทดแทนนั้นถ้าจำต้องมอบเรื่องให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามคำตัดสินชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการและคำชี้ขาดนั้นจะผูกพันคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย ดังนี้ไม่ปรากฏว่ามีข้อความใดบังคับว่าคู่กรณีจำต้องมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดทุกกรณีไป เพราะข้อสัญญานั้นกล่าวแต่ว่าถ้ามอบเรื่องให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดแล้วคู่กรณีจะปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้นๆ เท่านั้น สัญญาดังกล่าวจึงไม่ตัดสิทธิคู่กรณีที่จะนำคดีมาฟ้องศาล