พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: มูลคดีสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นได้ทั้งที่สำนักงานโจทก์และสถานที่จำเลย
ในการเสนอคำฟ้องนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า "คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่" คำว่า "มูลคดี" หมายถึง เหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง มูลคดีของเรื่องนี้เป็นเรื่องสัญญาซื้อขาย การที่จำเลยที่ 2 หรือพนักงานร้าน บ. ของจำเลยที่ 2 โทรศัพท์สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 356 บัญญัติให้ถือว่าเป็นคำเสนอแก่บุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้าด้วยเช่นกันนั้น คงมีผลแต่เพียงว่า การที่บุคคลคนหนึ่งทำคำเสนอไปยังบุคคลอีกคนหนึ่งทางโทรศัพท์ดังกล่าว หากมิได้บ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองไว้ เสนอ ณ ที่ใดเวลาใดก็ย่อมจะสนองรับได้แต่ ณ ที่นั้นเวลานั้นเท่านั้น มิได้บัญญัติไปถึงกับให้ถือว่าขณะนั้นทั้งผู้เสนอและผู้สนองอยู่ในสถานที่เดียวกันด้วย ข้อเท็จจริงยังคงต้องฟังว่า ขณะมีการเจรจาตกลงทำสัญญาซื้อขายรายนี้ จำเลยที่ 2 หรือพนักงานร้าน บ. ของจำเลยที่ 2 เจรจาอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ส่วนโจทก์เจรจาอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ ดังนั้น ทั้งจังหวัดสมุทรปราการที่โจทก์อยู่และจังหวัดกาญจนบุรีที่จำเลยที่ 2 อยู่ จึงต่างเป็นสถานที่ก่อให้เกิดสัญญาซื้อขายรายนี้ร่วมกัน โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลชั้นต้น (ศาลแขวงสมุทรปราการ) อันเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลได้ การที่จำเลยที่ 2 ผู้เสนอได้รับคำสนองรับจากโจทก์นั้นเป็นแต่เพียงข้อพิจารณาว่าสัญญาเกิดขึ้นแล้วหรือไม่เท่านั้น มิได้ทำให้สถานที่ที่จำเลยที่ 2 อยู่เป็นสถานที่มูลคดีเกิดเพียงแห่งเดียวแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายบ้านพร้อมที่ดิน, ค่าเสียหายจากการปรับปรุงซ่อมแซม, ค่านายหน้า, และดอกเบี้ยผิดนัด
เมื่อโจทก์ไม่สามารถผ่อนชำระค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยยังคงค้างชำระ 1,819,355 บาท วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ มีข้อตกลงว่า โจทก์จะชำระเงินตามจำนวนที่ค้างชำระดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือน เป็นระยะเวลา 12 เดือน ให้แก่จำเลย หรือจนกว่าโจทก์หรือจำเลยจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคลอื่นได้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและบันทึกแนบท้ายสัญญา ส่อแสดงอย่างแจ้งชัดว่าแม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยก็ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคหนึ่ง ทั้งมีบันทึกแนบท้ายสัญญาดังกล่าวอีกว่าหากขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคลอื่นได้ จำเลยจะคืนเงินส่วนที่เหลือจากที่โจทก์ค้างชำระค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงที่จำเลยเสียไปคืนให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สามารถผ่อนชำระค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาได้ต่อไป จึงคืนกุญแจส่งมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลย ส่งผลให้สัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์และจำเลยไม่อาจสำเร็จวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ได้ ถือเป็นคำเสนอของโจทก์เพื่อบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า เมื่อจำเลยสนองรับด้วยการแสดงเจตนาถูกต้องตรงกันโดยรับมอบกุญแจ รับมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์โดยไม่อิดเอื้อน ทำการซ่อมแซมและนำไปขายต่อแก่บุคคลภายนอกเยี่ยงนี้ พฤติการณ์ของโจทก์จำเลยดังกล่าวเป็นการสมัครใจเลิกสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 และมาตรา 356 หาจำต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดผิดสัญญา ถึงกระนั้นผลแห่งการเลิกสัญญา แม้ ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมก็ตาม แต่คู่สัญญาอาจตกลงกันเป็นอย่างอื่นโดยให้ไม่ต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้ ฉะนั้น เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันตามบันทึกแนบท้ายสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ว่าให้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขาย หากขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคลอื่นได้ จำเลยจะคืนเงินส่วนที่เหลือจากที่โจทก์ค้างชำระค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงที่จำเลยเสียไปคืนให้แก่โจทก์ อันเป็นการตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่าไม่ต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมเมื่อมีการเลิกสัญญา ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายหรือฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ย่อมใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6231/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: สัญญาซื้อขายเสร็จสมบูรณ์เมื่อรับมอบสินค้า สถานที่รับมอบจึงเป็นสถานที่เกิดมูลคดี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งถือว่าเป็นหนี้เหนือบุคคล โจทก์มีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์มีภูมิลำเนาที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ส่วนจำเลยมีภูมิลำเนาที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ในการติดต่อสั่งซื้อสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยนั้น จำเลยจะส่งใบสั่งซื้อสินค้าทางโทรสารไปยังที่ทำการโจทก์ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หลังจากนั้นโจทก์จะจัดส่งสินค้าให้จำเลย ณ ที่ทำการบริษัทจำเลยที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เห็นว่า การที่จำเลยทำคำเสนอส่งให้แก่โจทก์ทางโทรสารเป็นเพียงการแสดงเจตนาต่อโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์บอกกล่าวสนองรับไปถึงจำเลย ณ ที่นั้นเวลานั้นแต่อย่างใด ทั้งจำเลยไม่ได้แสดงเจตนาโดยให้ถือว่าการดำเนินการจัดส่งสินค้าเป็นการสนองรับหรือปรากฏข้อเท็จจริงใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์และจำเลยมีประเพณีปฏิบัติในการค้าต่อกัน โดยไม่จำต้องมีคำสนองรับที่จะก่อให้เกิดสัญญาจนทำให้เกิดมูลหนี้ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น การที่โจทก์จัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อไปให้จำเลย ณ ที่ทำการบริษัทจำเลยซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และจำเลยได้ยอมรับมอบสินค้าไว้แทนการบอกกล่าวสนองรับ จึงถือว่าสถานที่รับมอบสินค้าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้น โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาและมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล ทั้งกรณีไม่ใช่เรื่องมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันในอันที่โจทก์จะเสนอคำฟ้องได้ทั้งสองศาล โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้น ที่โจทก์ฎีกาว่า การแสดงเจตนาของจำเลยมีผลนับแต่เวลาที่โจทก์ได้ทราบการแสดงเจตนา สัญญาซื้อขายจึงเสร็จสมบูรณ์ ณ ที่ทำการโจทก์นั้นเป็นเรื่องผลของการแสดงเจตนา เมื่อไม่มีการสนองรับในขณะนั้น จึงถือไม่ได้ว่าสัญญาซื้อขายเสร็จสมบูรณ์ ณ สถานที่และในเวลาเดียวกันกับที่มีคำเสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 168 และ 356
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3720/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานที่เกิดมูลคดีสัญญาซื้อขาย: การส่งมอบสินค้าถึงจำเลยที่ภูมิลำเนาเป็นสถานที่เกิดสัญญา
จำเลยทั้งสองสั่งซื้อสินค้าผ่านพนักงานของโจทก์ที่จังหวัดนครปฐมซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสอง จากนั้นพนักงานของโจทก์ส่งใบสั่งซื้อสินค้ามายังโจทก์ที่จังหวัดสมุทรปราการในเขตศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อโจทก์มีคำสั่งอนุมัติก็จะจัดส่งสินค้าไปให้จำเลยทั้งสองที่จังหวัดนครปฐม ดังนี้ เป็นการที่จำเลยทั้งสองทำคำเสนอต่อโจทก์ที่ไม่ได้อยู่เฉพาะหน้า หากโจทก์ประสงค์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยทั้งสองก็ต้องแสดงเจตนาบอกกล่าวสนองรับไปถึงจำเลยทั้งสอง อย่างไรตามการที่โจทก์จัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อไปให้จำเลยทั้งสองที่จังหวัดนครปฐมและจำเลยทั้งสองได้รับมอบสินค้าไว้แทนการบอกกล่าวสนองรับก็ถือว่าสถานที่รับมอบสินค้าเป็นสถานที่ที่มูลแห่งคดีได้เกิดขึ้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
จำเลยทั้งสองมิได้แสดงเจตนาให้ถือว่าการกระทำของโจทก์ที่อนุมัติและดำเนินการจัดส่งสินค้าแก่จำเลยทั้งสองเป็นการบอกกล่าวสนองรับ ทั้งไม่ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายมีประเพณีปฏิบัติเช่นนั้นที่จะทำให้ก่อเกิดสัญญาในอันจะทำให้เกิดมูลคดี ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น
แม้โจทก์จะอ้างว่าคู่สัญญาอาจตกลงทำสัญญากันทางโทรศัพท์หรือเครื่องโทรสารก็ตาม แต่คดีนี้เป็นสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง มิใช่เรื่องสัญญาระหว่างบุคคลที่อยู่เฉพาะหน้า ที่คู่สัญญาอาจเสนอและสนองรับกัน ณ สถานที่และในเวลาเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 168 และ 356
จำเลยทั้งสองมิได้แสดงเจตนาให้ถือว่าการกระทำของโจทก์ที่อนุมัติและดำเนินการจัดส่งสินค้าแก่จำเลยทั้งสองเป็นการบอกกล่าวสนองรับ ทั้งไม่ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายมีประเพณีปฏิบัติเช่นนั้นที่จะทำให้ก่อเกิดสัญญาในอันจะทำให้เกิดมูลคดี ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น
แม้โจทก์จะอ้างว่าคู่สัญญาอาจตกลงทำสัญญากันทางโทรศัพท์หรือเครื่องโทรสารก็ตาม แต่คดีนี้เป็นสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง มิใช่เรื่องสัญญาระหว่างบุคคลที่อยู่เฉพาะหน้า ที่คู่สัญญาอาจเสนอและสนองรับกัน ณ สถานที่และในเวลาเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 168 และ 356
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8260/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอทรัพย์ชำระหนี้ vs. การปฏิเสธรับชำระหนี้ และข้อตกลงพิเศษในสัญญาจำนอง
แผ่นพับโฆษณาให้บุคคลทั่วไปทราบว่า โจทก์มีโครงการโอนทรัพย์จำนองชำระหนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีภาระหนี้ค้างชำระสูงและไม่สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ ให้สามารถปลดภาระหนี้ที่มีอยู่ด้วยวิธีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่จำนองให้โจทก์แทนการชำระหนี้ โดยโจทก์กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขซึ่งจะต้องผ่านการพิจารณาของโจทก์ก่อน แผ่นพับโฆษณาดังกล่าวยังไม่ชัดเจนแน่นอน จึงมิใช่คำเสนอ แต่เป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ผู้สนใจทำคำเสนอเข้ามาเท่านั้น คำร้องขอของจำเลยที่แสดงความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ จึงจัดว่าเป็นคำเสนอเมื่อโจทก์มิได้สนองรับย่อมไม่ก่อให้เกิดสัญญา
จำเลยค้างชำระหนี้เงินแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องชำระเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอขอชำระหนี้แก่โจทก์ โดยให้โจทก์รับโอนทรัพย์จำนองแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์โดยชอบ โจทก์ย่อมมีเหตุผลที่จะปฏิเสธการรับชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลย โจทก์จึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 จำเลยต้องชำระหนี้ให้โจทก์ตามฟ้อง
แม้ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองจะเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้รับจำนองและจำเลยผู้จำนองตกลงกันเป็นประการพิเศษนอกเหนือจากที่ ป.พ.พ. มาตรา 733 บัญญัติไว้ ซึ่งบทบัญญัติตามมาตรา 733 ดังกล่าว เป็นบทบัญญัติสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณีเท่านั้น มิใช่บทกฎหมายซึ่งเกี่ยวด้วยผลประโยชน์ของมหาชนโดยทั่วไปแต่เกี่ยวแก่คู่กรณีโดยเฉพาะ และมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไปหรือธรรมเนียมประเพณีของสังคมแต่อย่างใด จึงไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์อาจตกลงกับจำเลยเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ก็ย่อมกระทำได้ ดังนั้น ในกรณีที่โจทก์ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอใช้เงิน โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์อื่นของจำเลยในฐานะผู้จำนองเป็นประกันมาใช้หนี้จนครบ
จำเลยค้างชำระหนี้เงินแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องชำระเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอขอชำระหนี้แก่โจทก์ โดยให้โจทก์รับโอนทรัพย์จำนองแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์โดยชอบ โจทก์ย่อมมีเหตุผลที่จะปฏิเสธการรับชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลย โจทก์จึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 จำเลยต้องชำระหนี้ให้โจทก์ตามฟ้อง
แม้ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองจะเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้รับจำนองและจำเลยผู้จำนองตกลงกันเป็นประการพิเศษนอกเหนือจากที่ ป.พ.พ. มาตรา 733 บัญญัติไว้ ซึ่งบทบัญญัติตามมาตรา 733 ดังกล่าว เป็นบทบัญญัติสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณีเท่านั้น มิใช่บทกฎหมายซึ่งเกี่ยวด้วยผลประโยชน์ของมหาชนโดยทั่วไปแต่เกี่ยวแก่คู่กรณีโดยเฉพาะ และมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไปหรือธรรมเนียมประเพณีของสังคมแต่อย่างใด จึงไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์อาจตกลงกับจำเลยเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ก็ย่อมกระทำได้ ดังนั้น ในกรณีที่โจทก์ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอใช้เงิน โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์อื่นของจำเลยในฐานะผู้จำนองเป็นประกันมาใช้หนี้จนครบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6509/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดสูงสุดตามสัญญาเป็นโมฆะ ศาลใช้ดอกเบี้ยตามกฎหมายแพ่ง
จำเลยทำใบคำเสนอขอสินเชื่อจากธนาคารโจทก์โดยตกลงจะชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปี และในวันเดียวกัน จำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งจำเลยได้รับเงินกู้ไปเรียบร้อยแล้ว จะเห็นได้ว่า ใบคำเสนอขอสินเชื่อเป็นเพียงคำเสนอของจำเลยที่เสนอต่อโจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญากู้ยืมเงินเป็นข้อตกลงในการทำสัญญาที่จัดทำขึ้นภายหลังที่โจทก์ได้พิจารณาคำเสนอของจำเลยแล้ว โจทก์จึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้นข้อความหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่โจทก์ให้จำเลยกู้ยืม จึงเป็นจำนวนที่ชัดแจ้งไม่มีข้อความเป็นที่น่าสงสัยหรือมีความเป็นสองนัยอันจะต้องตีความตามเจตนาอันแท้จริงของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ยืมเงินว่าอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นอัตราดอกเบี้ยกรณีที่จำเลยผิดนัดเพราะต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
แม้โจทก์จะมีวิธีคิดในการเรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งในกรณีที่ไม่ผิดนัดและผิดนัดตามประกาศของโจทก์ก็ตาม แต่วิธีการปฏิบัติดังกล่าวก็เป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติของโจทก์ต่อจำเลยเท่านั้น หามีผลกระทบต่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ได้ตกลงกันอย่างชัดแจ้งในสัญญากู้ยืมเงินไม่ข้อตกลงดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 และเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ อย่างชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะ และแม้โจทก์จะมีสถานะเป็นสถาบันการเงินตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ มาตรา 3(2) และพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สิทธิโจทก์เรียกดอกเบี้ยได้เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ก็ตาม แต่ตามประกาศของกระทรวงการคลังและของโจทก์ที่ออกมาใช้บังคับในช่วงของการทำสัญญากู้ยืมเงินนี้กำหนดอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดสูงสุดในกรณีที่ลูกหนี้ปฏิบัติผิดเงื่อนไข หรือเบิกเงินเกินวงเงินให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปีเท่านั้น ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีที่โจทก์กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขมิใช่อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้าในกรณีเงินกู้ทั่วไป การที่โจทก์กำหนดในสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จึงเกินกว่าประกาศและคำสั่งของโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทั่วไปจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีเท่านั้น ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีจึงตกเป็นโมฆะ จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
แม้โจทก์จะมีวิธีคิดในการเรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งในกรณีที่ไม่ผิดนัดและผิดนัดตามประกาศของโจทก์ก็ตาม แต่วิธีการปฏิบัติดังกล่าวก็เป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติของโจทก์ต่อจำเลยเท่านั้น หามีผลกระทบต่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ได้ตกลงกันอย่างชัดแจ้งในสัญญากู้ยืมเงินไม่ข้อตกลงดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 และเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ อย่างชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะ และแม้โจทก์จะมีสถานะเป็นสถาบันการเงินตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ มาตรา 3(2) และพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สิทธิโจทก์เรียกดอกเบี้ยได้เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ก็ตาม แต่ตามประกาศของกระทรวงการคลังและของโจทก์ที่ออกมาใช้บังคับในช่วงของการทำสัญญากู้ยืมเงินนี้กำหนดอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดสูงสุดในกรณีที่ลูกหนี้ปฏิบัติผิดเงื่อนไข หรือเบิกเงินเกินวงเงินให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปีเท่านั้น ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีที่โจทก์กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขมิใช่อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้าในกรณีเงินกู้ทั่วไป การที่โจทก์กำหนดในสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จึงเกินกว่าประกาศและคำสั่งของโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทั่วไปจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีเท่านั้น ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีจึงตกเป็นโมฆะ จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7251/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินสิทธิประโยชน์บางส่วนหลังได้รับการอนุมัติลาออก ย่อมเป็นการสนองรับข้อเสนอใหม่ของจำเลย มิใช่สิทธิเดิม
การที่โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดโดยมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่จำเลยกำหนด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามโครงการดังกล่าว แต่จำเลยยอมรับใบสมัครของโจทก์ไว้แล้วพิจารณาอนุมัติให้โจทก์ลาออก โดยให้โจทก์ได้รับเฉพาะเงินประกันบำเหน็จและเงินเพิ่มพิเศษเท่านั้นส่วนเงินบำเหน็จพิเศษไม่อนุมัติให้ จ่าย ตามที่โจทก์ขอ และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยพิจารณาคำขอของโจทก์อีกครั้งจำเลยยังคงยืนยันไม่จ่ายเงินส่วนนี้ซึ่งโจทก์ก็มิได้แสดงเจตนาว่าจะไม่ลาออกแต่กลับรับเงินส่วนที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายไปเรียบร้อยแล้วโดยมิได้โต้แย้งสงวนสิทธิใด ๆ ไว้ ถือว่าโจทก์ยังคงตกลงลาออกตามเจตนาเดิมที่แสดงไว้ในใบสมัครและสนองรับข้อเสนอดังกล่าวของจำเลย โดย ไม่ ขอรับเงินบำเหน็จพิเศษตามที่ระบุขอไว้ในใบสมัครอีกต่อไป การที่ จำเลยรับใบสมัครที่มีคำขอให้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษแก่โจทก์ เช่นเดียวกับผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นการรับไว้พิจารณาเท่านั้น หาใช่จำเลยยอมรับข้อเสนอของโจทก์และตกลงจ่ายเงินตามที่โจทก์ขอแล้วไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7251/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับใบสมัครโครงการเกษียณก่อนกำหนดที่ไม่ครบคุณสมบัติ การตกลงเงื่อนไข และการสละสิทธิ
การที่โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดโดยมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่จำเลยกำหนด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามโครงการดังกล่าว แต่จำเลยยอมรับใบสมัครของโจทก์ไว้แล้วพิจารณาอนุมัติให้โจทก์ลาออก โดยให้โจทก์ได้รับเฉพาะเงินประกันบำเหน็จและเงินเพิ่มพิเศษเท่านั้นส่วนเงินบำเหน็จพิเศษไม่อนุมัติให้จ่ายตามที่โจทก์ขอ และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยพิจารณาคำขอของโจทก์อีกครั้ง จำเลยยังคงยืนยันไม่จ่ายเงินส่วนนี้ซึ่งโจทก์ก็มิได้แสดงเจตนาว่าจะไม่ลาออก แต่กลับรับเงินส่วนที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายไปเรียบร้อยแล้วโดยมิได้โต้แย้งสงวนสิทธิใด ๆ ไว้ ถือว่าโจทก์ยังคงตกลงลาออกตามเจตนาเดิมที่แสดงไว้ในใบสมัครและสนองรับข้อเสนอดังกล่าวของจำเลย โดยไม่ขอรับเงินบำเหน็จพิเศษตามที่ระบุขอไว้ในใบสมัครอีกต่อไป การที่จำเลยรับใบสมัครที่มีคำขอให้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษแก่โจทก์เช่นเดียวกับผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นการรับไว้พิจารณาเท่านั้น หาใช่จำเลยยอมรับข้อเสนอของโจทก์และตกลงจ่ายเงินตามที่โจทก์ขอแล้วไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลสัญญา 3 ฝ่าย: การติดต่อเปิดเครดิตทางโทรศัพท์/โทรสาร และการชำระหนี้แทน
จำเลยทั้งสองเป็นหุ้นส่วนร่วมกันก่อสร้างบ้านพักรับรอง จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงกับโจทก์ ณ ที่ทำการบริษัทโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง ให้โจทก์ติดต่อซื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างจากบริษัท ล. ในนามของโจทก์เพื่อนำไปก่อสร้างบ้านพักรับรองแล้วจำเลยที่ 2 จะชำระเงินให้บริษัท ล. ในนามของโจทก์หากบริษัท ล. เรียกเก็บเงินค่าสินค้าและค่าเสียหายที่จำเลยที่ 2สั่งซื้อไปในนามโจทก์และโจทก์ชำระเงินให้แก่บริษัท ล. ไป จำเลยที่ 2 จะชดใช้คืน จึงได้มีการติดต่อเปิดเครดิตกับบริษัท ล. โดยทางโทรศัพท์และโทรสาร ซึ่งบริษัท ล. ตกลงด้วย แม้บริษัท ล. มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ แต่ข้อตกลงในการเจรจาติดต่อเปิดเครดิตในการซื้อสินค้าเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งมีคู่สัญญาสามฝ่ายคือ ฝ่ายโจทก์ ฝ่ายจำเลยทั้งสองโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 และฝ่ายบริษัทล. โดยการทำข้อตกลงเพื่อเปิดเครดิตได้ติดต่อกันทางโทรศัพท์และโทรสารระหว่างจังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดลำปาง ดังนั้น มูลคดีในการก่อให้เกิดสัญญาสามฝ่ายเกี่ยวกับการทำข้อตกลงในการเปิดเครดิต จึงเกี่ยวเนื่องกันทั้งในเขตอำนาจทั้งศาลจังหวัดลำปาง และศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ดังนั้น ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9502/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: การเสนอและสนองรับสัญญาโดยปริยาย
การสื่อสารแห่งประเทศไทย โจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยตกลงร่วมมือกันให้บริการโทรศัพท์แก่ผู้เช่าโทรศัพท์ โดยแยกหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้เป็นของโจทก์ ซึ่งจำเลยในฐานะผู้เช่าโทรศัพท์จากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีสิทธิใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศของโจทก์ผ่านทางเครื่องโทรศัพท์ที่เช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ โดยจำเลยต้องรับผิดชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศแก่โจทก์ตามระเบียบการใช้โทรศัพท์ดังกล่าว ซึ่งระเบียบนี้องค์การโทรศัพท์ก็ได้พิมพ์ลงไว้ในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์เพื่อแจกให้จำเลยผู้เช่าโทรศัพท์ได้ทราบแล้ว ถือได้ว่ามีการเสนอให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศตามเงื่อนไขในระเบียบดังกล่าวเมื่อมีการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศจากเครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย อันมีลักษณะเป็นการขอใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบตามระเบียบดังกล่าวข้างต้น ก็เท่ากับจำเลยตกลงสนองรับเข้าทำสัญญาขอใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศกับโจทก์ จำเลยจึงเป็นคู่สัญญาใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศกับโจทก์และมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศแก่โจทก์ตามระเบียบนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าบริการดังกล่าวแก่โจทก์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามสัญญาโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ได้