คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 4 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สัญญาเปิดเครดิตระหว่างจังหวัด - มูลคดีเกิดที่ใด
จำเลยทั้งสองเป็นหุ้นส่วนร่วมกันก่อสร้างบ้านพักรับรองข้าราชการและจำเลยที่ 2ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงกับโจทก์ ณ ที่ทำการบริษัทโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง ให้โจทก์ติดต่อซื้อสินค้าจำพวกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างจากบริษัท ล. ในนามของโจทก์เพื่อนำไปก่อสร้างบ้านพักรับรองแล้วจำเลยที่ 2 จะชำระเงินให้บริษัทล. ในนามของโจทก์ หากบริษัท ล. เรียกเก็บเงินค่าสินค้าและค่าเสียหายที่จำเลยที่ 2 สั่งซื้อไปในนามโจทก์ และโจทก์ชำระเงินให้แก่บริษัท ล. ไปจำเลยที่ 2 จะชดใช้คืน การเจรจาติดต่อเปิดเครดิตในการซื้อสินค้าดังกล่าว ใช้ติดต่อทางโทรศัพท์และโทรสาร โดยจำเลยที่ 2 มาเจรจาที่บริษัทโจทก์ ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง แม้บริษัท ล. มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ในเขตศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์) แต่ข้อตกลงในการเจรจาติดต่อเปิดเครดิตในการซื้อสินค้าเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งมีคู่สัญญาสามฝ่าย คือ ฝ่ายโจทก์ ฝ่ายจำเลยทั้งสองโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 และฝ่ายบริษัท ล. โดยการทำข้อตกลงเพื่อเปิดเครดิตได้ติดต่อกันทางโทรศัพท์และโทรสารระหว่างจังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดลำปาง ดังนั้นมูลคดีในการก่อให้เกิดสัญญาสามฝ่ายเกี่ยวกับการทำข้อตกลงในการเปิดเครดิตจึงเกี่ยวเนื่องกันทั้งในเขตอำนาจทั้งศาลจังหวัดลำปาง และศาลชั้นต้น (จังหวัดอุตรดิตถ์)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8874/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: คดีเช็ค - มูลคดีอยู่ที่ธนาคารตามเช็ค ไม่ใช่สถานที่ทำสัญญาขายลด
คดีนี้จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่ ล. ต่อมา ล. ได้นำเช็คมาขายลดแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คมิได้ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาขายลดเช็คและมิได้ฟ้องผู้นำเช็คมาขายลด เมื่อธนาคารตามเช็คซึ่งปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดชัยนาทย่อมถือได้ว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชัยนาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) มูลคดีจึงไม่ได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจทก์รับโอนเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องจำเลยต่างประเทศ, การรับประกันภัยทางทะเล, และการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ป.วิ.พ. มาตรา 3 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่ให้โอกาสโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรได้ หากจำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน ในราชอาณาจักรทั้งโดยตนเองหรือตัวแทน หรือเพียงแต่จำเลยมีผู้ติดต่อในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรเท่านั้น ก็ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการหรือติดต่อดังกล่าว หรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือ ของผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคำฟ้องหรือภายในกำหนด 2 ปี ก่อนนั้นเป็นภูมิลำเนาของจำเลย ซึ่งโจทก์สามารถเสนอคำฟ้องต่อศาลที่สถานที่ดังกล่าวอยู่ในเขตศาลได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ 1 โดยเป็นผู้ติดต่อในการนำเรือให้ถึง ท่าปลายทางและติดต่อนำเรือออกจากท่าปลายทาง ตลอดจนติดต่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนเรือในกิจการขนส่งทางทะเลอันเป็นธุรกิจบริการของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 1 แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร เมื่อปรากฏตามคำฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงถือว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ อันเป็นศาลที่ถือว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
โจทก์ได้ทำสัญญาประกันภัยทางทะเลกับผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัยดังกล่าว เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวแก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัย โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าวได้
การรับประกันภัยของโจทก์เป็นการรับประกันภัยสินค้าตามจำนวนหน่วย การระบุน้ำหนักไว้เป็นเพียงให้ทราบถึงน้ำหนักของสินค้ารวมทุกหน่วยเท่านั้น และความเสียหายที่เกิดแก่สินค้าเป็นกรณีที่สินค้านั้นสูญหายไปบางส่วนจำนวน 10 หน่วย และสินค้าเสียหายเพราะเหล็กบุบย่นไปบางส่วน ซึ่งตามสัญญาประกันภัยได้ให้ความคุ้มครอง โจทก์ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยทางทะเลต่อผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย แม้โจทก์จะรับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเลไว้จากผู้รับตราส่งภายหลังจากที่เรือซึ่งรับขนส่งสินค้าดังกล่าวออกเดินทางจาก ท่าเรือต้นทางแล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าเรือดังกล่าวถึงท่าปลายทางภายหลังวันที่โจทก์รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่ง ทางทะเล ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบโต้แย้งว่าความเสียหายมิได้เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 1 และ มิได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวโดยโจทก์รู้อยู่แล้วเช่นนั้นยังจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งไป การจ่ายค่าสินไหมทดแทนของโจทก์แก่ผู้รับตราส่งจึงเป็นการชำระหนี้ไปตามความรับผิดตามสัญญาประกันภัย ทางทะเล หาใช่การชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระและไม่สุจริต
มาตรา 61 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นเรื่องการคำนวณราคาของที่สูญหายหรือ เสียหายว่าผู้ขนส่งทางทะเลจะต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลเพียงใด ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ซึ่งเป็น ผู้รับประกันภัยทางทะเลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขนส่งทางทะเลในสัญญาประกันภัย การชำระค่าสินไหมทดแทน และการรับช่วงสิทธิ
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 3 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่ให้โอกาสโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรได้หากจำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในราชอาณาจักรทั้งโดยตนเองหรือตัวแทนหรือเพียงแต่จำเลยมีผู้ติดต่อในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรเท่านั้น ก็ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการหรือติดต่อดังกล่าวหรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือของผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคำฟ้องหรือภายในกำหนด 2 ปี ก่อนนั้นเป็นภูมิลำเนาของจำเลย ซึ่งโจทก์สามารถเสนอคำฟ้องต่อศาลที่สถานที่ดังกล่าวอยู่ในเขตศาลได้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ 1 โดยเป็นผู้ติดต่อในการนำเรือให้ถึงท่าปลายทางและติดต่อนำเรือออกจากท่าปลายทางตลอดจนการติดต่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนเรือในกิจการขนส่งทางทะเลอันเป็นธุรกิจบริการของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 1 แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักรเมื่อปรากฏตามคำฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงถือว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้อันเป็นศาลที่ถือว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ได้ โจทก์ได้ทำสัญญาประกันภัยทางทะเลกับบริษัทผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัยดังกล่าว เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวแก่บริษัทผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัย โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าวได้ การรับประกันภัยของโจทก์เป็นการรับประกันภัยสินค้าตามจำนวนหน่วย การระบุน้ำหนักไว้เป็นเพียงให้ทราบถึงน้ำหนักของสินค้ารวมทุกหน่วยเท่านั้น และความเสียหายที่เกิดแก่สินค้าเป็นกรณีที่สินค้านั้นสูญหายไปบางส่วนจำนวน 10 หน่วยและสินค้าเสียหายเพราะเหล็กบุบย่นไปบางส่วน ซึ่งตามสัญญาประกันภัยได้ให้ความคุ้มครอง โจทก์ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยทางทะเลต่อผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยแม้โจทก์จะรับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเลไว้จากผู้รับตราส่งภายหลังจากที่เรือซึ่งรับขนส่งสินค้าดังกล่าวออกเดินทางจากท่าเรือต้นทางแล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าเรือดังกล่าวถึงท่าปลายทางภายหลังวันที่โจทก์รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเล ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบโต้แย้งว่าความเสียหายมิได้เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 1 และมิได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวโดยโจทก์รู้อยู่แล้วเช่นนั้นยังจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งไปการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของโจทก์แก่ผู้รับตราส่งจึงเป็นการชำระหนี้ไปตามความรับผิดตามสัญญาประกันภัยทางทะเล หาใช่การชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระและไม่สุจริต เมื่อโจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนความเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นเจ้าหนี้และเป็นผู้รับตราส่งสำหรับสินค้าที่เอาประกันภัยแล้ว โจทก์ในฐานะลูกหนี้ย่อมเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งผู้เป็นเจ้าหนี้มาเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1ผู้ขนส่งซึ่งต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าที่เอาประกันภัยไว้จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่ง บทบัญญัติมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534เป็นเรื่องการคำนวณราคาของที่สูญหายหรือเสียหายว่าผู้ขนส่งของทางทะเลจะต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลเพียงใด ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยทางทะเลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องคดีหย่า: สถานที่จดทะเบียนหย่าเป็นสถานที่มูลคดีเกิด
บันทึกในทางทะเบียนการหย่าตามฟ้องทำที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ทำหน้าที่ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองจึงถือว่า เป็นกรณีที่อ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่านั้น แม้จำเลยและบุตรทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ก็ตาม ก็ถือว่าสถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนการหย่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในท้องที่ที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงในทะเบียนการหย่าไว้นั้น จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1)
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์แล้ว ต่อมามีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับคำฟ้องและให้จำหน่ายคดี เมื่อศาลสูงเห็นว่าไม่ถูกต้อง ย่อมพิพากษากลับเป็นให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องของโจทก์แล้วให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากกระบวนพิจารณาที่ได้ทำไว้ก่อนวันมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีครอบครัว: สถานที่จดทะเบียนหย่าเป็นที่เกิดมูลคดี
บันทึกในทางทะเบียนการหย่าตามฟ้องทำที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ทำหน้าที่ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองจึงถือว่า เป็นกรณีที่อ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่านั้น แม้จำเลยและบุตรทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ก็ตาม ก็ถือว่าสถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนการหย่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในท้องที่ที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงในทะเบียน การหย่าไว้นั้น จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับ คำฟ้อง โจทก์แล้ว ต่อมามีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับคำฟ้องและให้จำหน่ายคดี เมื่อศาลสูงเห็นว่า ไม่ถูกต้อง ย่อมพิพากษากลับเป็นให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องของโจทก์แล้วให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากกระบวนพิจารณาที่ได้ทำไว้ก่อนวันมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ หากผู้เอาประกันภัยปกปิดเจ็บป่วยร้ายแรงก่อนทำสัญญา และจำเลยมีสิทธิบอกล้างสัญญาได้
ขณะ ท.ทำคำขอประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยท.มีภูมิลำเนาอยู่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรีในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ในวันทำคำขอเอาประกันชีวิต ส.พนักงานของจำเลยไปอธิบายรายละเอียด ผลประโยชน์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่บ้านอันเป็นภูมิลำเนา ของ ท. และพนักงานของจำเลยเป็นผู้กรอกรายละเอียดในคำขอประกันชีวิตให้ ท.ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งพาท.ไปตรวจสุขภาพที่คลีนิคแพทย์ในตลาดวังน้ำเย็น แพทย์ได้ทำรายงานตามใบตรวจสุขภาพ ส. ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ด้วยแล้ว ส. ส่งเอกสารดังกล่าวให้บริษัทจำเลยที่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครพิจารณาออกกรมธรรม์ให้แก่ ท. และต่อมาจำเลยตกลงรับประกันชีวิตกับ ท. ถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันชีวิตรายนี้เกิดที่ภูมิลำเนาของ ท.ที่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ก่อนทำสัญญาประกันชีวิต ท. ได้เคยให้แพทย์ตรวจรักษาร่างกายจากการตรวจร่างกายประกอบกับการเอกซเรย์ปอดแล้วแพทย์พบว่าท. น่าจะเป็นวัณโรคปอดจึงได้รักษา ท.ต่อเนื่องกันประมาณ5เดือนแล้วท.ขาดการติดต่อหลังจากนั้น ท.มาพบแพทย์อีกโดยท.มีอาการไอหอบ แพทย์จึงทำการตรวจรักษาและให้ยาไปรับประทาน การที่ ท. ได้ทำคำขอเอาประกันชีวิตโดยไม่ปรากฏว่า ท. ได้แจ้งว่า เคยเป็นวัณโรคปอดมาก่อน จำเลยย่อมไม่ทราบว่า ท. เคยเป็นวัณโรคปอดและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 เป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยซึ่งการใช้เงิน ย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตนต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบ การที่ ท. ผู้เอาประกันชีวิตป่วยเป็นวัณโรคปอดซึ่งเป็นโรคร้ายแรงและได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเป็นเวลานาน แต่มิได้แจ้งข้อความจริงดังกล่าวให้จำเลยทราบเมื่อขอเอาประกันชีวิต ซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิตสัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิที่บอกล้างนิติกรรมดังกล่าวได้ โดยมิต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะถึงแก่ความตายหรือไม่ หรือตายด้วยเหตุใดเมื่อจำเลยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันเป็นโมฆียะต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตโมฆียะจากการปกปิดข้อมูลสุขภาพของผู้เอาประกันภัย และเขตอำนาจศาล
ขณะ ท.ทำคำขอประกันชีวิตกับบริษัทจำเลย ท.มีภูมิลำเนาอยู่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี ในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ในวันทำคำขอเอาประกันชีวิต ส.พนักงานของจำเลยไปอธิบายรายละเอียด ผลประโยชน์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่บ้านอันเป็นภูมิลำเนาของ ท. และพนักงานของจำเลยเป็นผู้กรอกรายละเอียดในคำขอประกันชีวิตให้ ท.ลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งพา ท.ไปตรวจสุขภาพที่คลีนิคแพทย์ในตลาดวังน้ำเย็น แพทย์ได้ทำรายงานตามใบตรวจสุขภาพ ส.ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ด้วย แล้ว ส.ส่งเอกสารดังกล่าวให้จำเลยสาขาสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครพิจารณาออกกรมธรรม์ให้แก่ ท. และต่อมาจำเลยตกลงรับประกันชีวิตกับ ท. การที่ ท.ตกลงใจที่จะเอาประกันชีวิตกับจำเลย ซึ่งต่อมาจำเลยตกลงรับประกันชีวิตกับ ท.ถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันชีวิตรายนี้เกิดที่ภูมิลำเนาของ ท. ที่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1)
ก่อนทำสัญญาประกันชีวิต ท.ได้เคยให้แพทย์ตรวจรักษาร่างกายจากการตรวจร่างกายประกอบกับการเอกซเรย์ปอดแล้ว แพทย์พบว่า ท.น่าจะเป็นวัณโรคปอด จึงได้รักษา ท.ต่อเนื่องกันประมาณ 5 เดือน แล้ว ท.ขาดการติดต่อหลังจากนั้นมาพบแพทย์อีกโดย ท.มีอาการไอ หอบ แพทย์จึงทำการตรวจรักษาและให้ยาไปรับประทาน ดังนี้ การที่ ท.ได้ทำคำขอเอาประกันชีวิตโดยไม่ปรากฏว่า ท.ได้แจ้งว่า เคยเป็นวัณโรคปอดมาก่อน จำเลยจึงไม่ทราบว่า ท.เคยเป็นวัณโรคปอดและตาม ป.พ.พ.มาตรา 865 เป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยซึ่งการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตนต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกัยภัยทราบ การที่ ท.ผู้เอาประกันชีวิตป่วยเป็นวัณโรคปอดซึ่งเป็นโรคร้ายแรงและได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเป็นเวลานาน แต่มิได้แจ้งข้อความจริงดังกล่าวให้จำเลยทราบเมื่อขอเอาประกันชีวิต ซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิตดังนี้สัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิที่บอกล้างนิติกรรมดังกล่าวได้ โดยมิต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะถึงแก่ความตายหรือไม่ หรือตายด้วยเหตุใดเมื่อจำเลยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันเป็นโมฆียะต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตโมฆียะจากข้อมูลสุขภาพที่ไม่เปิดเผย & เขตอำนาจศาล
ขณะ ท.ทำคำขอประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยท.มีภูมิลำเนาอยู่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรีในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ในวันทำคำขอเอา ประกันชีวิต ส. พนักงานของจำเลยไปอธิบายรายละเอียด ผลประโยชน์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่บ้านอันเป็นภูมิลำเนาของ ท. โดยพนักงานของจำเลยเป็นผู้กรอกรายละเอียดในคำขอประกันชีวิตให้ ท.ลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งพา ท.ไปตรวจสุขภาพที่คลินิก แพทย์ในตลาดวังน้ำเย็น แพทย์ได้ทำรายงานตามใบตรวจสุขภาพและ ส.ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ด้วยแล้วส. ส่งเอกสารดังกล่าวให้บริษัทจำเลยที่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครพิจารณาออกกรมธรรม์ให้แก่ ท. ต่อมาจำเลยตกลงรับประกันชีวิตกับ ท.การที่ท. ตกลงใจที่จะเอาประกันชีวิตกับจำเลยซึ่งต่อมาจำเลยตกลงรับประกันชีวิตกับ ท.ถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันชีวิตรายนี้ เกิดที่ภูมิลำเนาของ ท.ที่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ที่ศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ก่อนทำสัญญาประกันชีวิต ท. ได้เคยให้แพทย์ตรวจรักษาร่างกายจากการตรวจร่างกายประกอบกับการเอกซเรย์ปอดแล้วแพทย์พบว่าท. น่าจะเป็นวัณโรคปอด จึงได้รักษาท. ต่อเนื่องกันประมาณ 5 เดือน แล้ว ท.ขาดการติดต่อหลังจากนั้นมาพบแพทย์อีกโดยท. มีอาการไอหอบแพทย์จึงทำการตรวจรักษาและให้ยาไปรับประทาน ดังนี้ การที่ ท. ได้ทำคำขอเอาประกันชีวิตโดย ท. มิได้แจ้งว่าเคยเป็นวัณโรคปอดมาก่อน จำเลยจึงไม่ทราบว่า ท. เคยเป็นวัณโรคปอด และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 เป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยซึ่งการใช้เงินย่อม อาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตนต้องเปิดเผย ข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบ การที่ ท. ผู้เอาประกันชีวิตป่วยเป็นวัณโรคปอดซึ่งเป็นโรคร้ายแรง และได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเป็นเวลานาน แต่มิได้แจ้งข้อความจริงดังกล่าวให้จำเลยทราบ เมื่อขอเอาประกันชีวิต ซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียก เบี้ยประกันสูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิต จึงเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิที่บอกล้างนิติกรรม ดังกล่าวได้โดยมิต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะ ถึงแก่ความตายหรือไม่ หรือตายด้วยเหตุใด เมื่อจำเลย บอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันเป็นโมฆียะต่อโจทก์ ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาแล้วจำเลยจึงไม่ต้อง รับผิดใช้เงินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ หากผู้เอาประกันภัยจงใจปกปิดโรคร้ายแรงก่อนทำสัญญา ผู้รับประกันภัยมีสิทธิบอกล้างได้
พนักงานหรือตัวแทนของจำเลยเป็นผู้ไปอธิบายรายละเอียด ผลประโยชน์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ให้ ท. ฟังที่บ้านในเขตท้องที่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรีอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งเป็นภูมิลำเนาของท.เมื่อท. ได้รับฟังคำอธิบายแล้วจึงตกลงใจเอาประกันชีวิตกับจำเลยโดยลงลายมือชื่อในคำขอเอาประกันชีวิต ซึ่งพนักงาน ของจำเลยเป็นผู้กรอกรายละเอียดในคำขอให้ และได้พา ท.ไปตรวจสุขภาพที่คลินิก แพทย์ และได้นำคำขอเอาประกันชีวิตของ ท. พร้อมรายงานแพทย์ส่งให้สำนักงานใหญ่ของจำเลย จำเลย ตกลงรับประกันชีวิตกับ ท. มูลคดีจากการทำสัญญาประกันชีวิตเกิดที่ภูมิลำเนาของ ท. โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ในสัญญาประกันชีวิตเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยซึ่ง การใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตน ต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบ ท. ผู้เอาประกันชีวิตป่วยเป็นวัณโรคปอด ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงและได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเป็นเวลานาน แต่มิได้แจ้งข้อความจริงให้จำเลยทราบเมื่อขอเอาประกันชีวิต ซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิตสัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมได้โดยมิต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะถึงแก่ความตายหรือไม่ หรือตายด้วยเหตุใด เมื่อผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายแล้วจำเลยจะบอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันเป็นโมฆียะต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาได้เมื่อจำเลยบอกล้างสัญญาอันเป็นโมฆียะแล้วจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์
of 14