คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 4 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล, มูลคดี, พยานหลักฐานภาษาต่างประเทศ, การระบุพยาน: ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดีแพ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นนั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ก็ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง แม้ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคือศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตาม แต่ตามฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความด้วยว่าจำเลยทั้งสามโอนเงินมัดจำและชำระค่าซื้อสินค้าบางส่วนให้โจทก์ โดยผ่านบัญชีของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ดังนี้ ต้องถือว่ามูลคดีคือเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้มีอำนาจฟ้องเกิดขึ้นในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 2(2)(1) โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ คู่ความส่งต่อศาลได้โดยไม่จำต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทยยื่นต่อศาลเสมอไป นอกจากศาลสั่งให้ทำคำแปลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามเมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทั้งสองทำคำแปลศาลก็รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองได้ แม้ตามบัญชีระบุพยานของโจทก์มีชื่อโจทก์ที่ 1 ในบัญชีระบุพยาน โดยไม่มีชื่อโจทก์ที่ 2 ในบัญชีระบุพยานด้วยก็ตาม แต่เมื่อบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ระบุชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ระบุพยานและมีเครื่องหมายไปยาลน้อยซึ่งเป็นเครื่องหมายละคำที่เป็นที่รู้กันและทนายโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันลงชื่อเป็นผู้ระบุพยานดังนี้ โจทก์ทั้งสองได้ระบุพยานโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล, เอกสารต่างประเทศ, การระบุพยาน: หลักเกณฑ์การรับคำฟ้องและพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นนั้นเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยที่1ก็ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง แม้ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชลบุรีซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคือศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตามแต่ตามฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความด้วยว่าจำเลยทั้งสามโอนเงินมัดจำและชำระค่าซื้อสินค้าบางส่วนให้โจทก์โดยผ่านบัญชีของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ดังนี้ต้องถือว่ามูลคดีคือเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้มีอำนาจฟ้องเกิดขึ้นในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา2(2)(1)โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศคู่ความส่งต่อศาลได้โดยไม่จำต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทยยื่นต่อศาลเสมอไปนอกจากศาลสั่งให้ทำคำแปลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสามเมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทั้งสองทำคำแปลศาลก็รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองได้ แม้ตามบัญชีระบุพยานของโจทก์มีชื่อโจทก์ที่1ในบัญชีระบุพยานโดยไม่มีชื่อโจทก์ที่2ในบัญชีระบุพยานด้วยก็ตามแต่เมื่อบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ระบุชื่อโจทก์ที่1เป็นผู้ระบุพยานและมีเครื่องหมายไปยาลน้อยซึ่งเป็นเครื่องหมายละคำที่เป็นที่รู้กันและทนายโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันลงชื่อเป็นผู้ระบุพยานดังนี้โจทก์ทั้งสองได้ระบุพยานโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องคดีประกันภัย: สถานที่เกิดเหตุเป็นที่ตั้งมูลคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้รับประกันภัยรถยนต์โดยสารประจำทางหมายเลขทะเบียน 10-2549 ขอนแก่น จากโจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องชดใช้และให้ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวแก่โจทก์ ต่อมารถยนต์คันดังกล่าวไปเกิดอุบัติเหตุชนรถจักรยานยนต์ที่จังหวัดขอนแก่น ทำให้ฝ่ายรถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ฝ่ายรถจักรยานยนต์แล้วเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่โจทก์ได้ชดใช้ไป แต่จำเลยไม่ชำระให้ จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัยไว้อยู่ที่จังหวัดขอนแก่น จำเลยมีตัวแทนและสาขาสำนักงานอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ดังนี้ แสดงว่ามูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยเกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่น ถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันภัยรายนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดขอนแก่นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องคดีสัญญาประกันภัย: สถานที่เกิดเหตุเป็นเกณฑ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้รับประกันภัยรถยนต์โดยสารประจำทางหมายเลขทะเบียน 10 - 2549 ขอนแก่น จากโจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะชดใช้และให้ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวแก่โจทก์ต่อมารถยนต์คันดังกล่าวไปเกิดอุบัติเหตุชนรถจักรยานยนต์ที่จังหวัดขอนแก่น ทำให้ฝ่ายรถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ฝ่ายรถจักรยานยนต์ แล้วเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่โจทก์ได้ชดใช้ไป แต่จำเลยไม่ชำระให้ จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัยไว้อยู่ที่จังหวัดขอนแก่น จำเลยมีตัวแทนและสาขาสำนักงานอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ดังนี้ แสดงว่ามูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยเกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่น ถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันภัยรายนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ที่ศาลจังหวัดขอนแก่นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องคดีประกันภัย: มูลคดีเกิดขึ้นที่ใด?
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้รับประกันภัยรถยนต์โดยสารประจำทางหมายเลขทะเบียน10-2549ขอนแก่นจากโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องชดใช้และให้ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวแก่โจทก์ต่อมารถยนต์คันดังกล่าวไปเกิดอุบัติเหตุชนรถจักรยานยนต์ที่จังหวัดขอนแก่นทำให้ฝ่ายรถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ฝ่ายรถจักรยานยนต์แล้วเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่โจทก์ได้ชดใช้ไปแต่จำเลยไม่ชำระให้จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัยไว้อยู่ที่จังหวัดขอนแก่นจำเลยมีตัวแทนและสาขาสำนักงานอยู่ที่จังหวัดขอนแก่นดังนี้แสดงว่ามูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยเกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่นซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่นถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันภัยรายนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดขอนแก่นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล, การรับรองพยาน, และการเปลี่ยนแปลงตั๋วสัญญาใช้เงินในคดีแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามความตกลงการขายลดตั๋วเงินกับโจทก์โดยกำหนดวงเงินสินเชื่อตามสัญญาซึ่งมีจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม โดยได้กล่าวถึงรายละเอียดของตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับว่า เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินเลขที่เท่าใด จำนวนเงินเท่าใด อัตราดอกเบี้ยเท่าใด ถึงกำหนดใช้เงินเมื่อใด ฉบับใดที่จำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินให้โจทก์บางส่วนแล้ว และจำเลยที่ 1 เริ่มผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดตั้งแต่เมื่อใด และเมื่อครบกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ชำระต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน คงค้างชำระต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่พิพาทเป็นเงินเท่าใด ซึ่งเป็นสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์แล้ว ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดที่จำเลยที่ 1 ใช้เงินแก่โจทก์แล้วหรือเมื่อถึงกำหนดใช้เงินแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ให้โจทก์แทนแล้วนั้นไม่จำต้องกล่าวในฟ้องอีก เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว นอกจากนี้จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องโจทก์เพียงฉบับเดียว ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินอีก 5 ฉบับ จำเลยไม่ปฏิเสธ แสดงว่าจำเลยทั้งสามเข้าใจฟ้องของโจทก์ดีแล้วไม่ได้หลงข้อต่อสู้ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา172 วรรคสอง จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงการขายลดตั๋วเงินและสัญญาวงเงินสินเชื่อกับโจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ในกรุงเทพมหานคร มูลคดีจึงเกิดในเขตอำนาจของศาลแพ่ง จำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่ง-ธนบุรี จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินที่จังหวัดระยองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1โจทก์จึงอาจยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามได้ที่ศาลแพ่งหรือศาลแพ่งธนบุรีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และถ้าถือว่าฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ตามที่จำเลยทั้งสามฎีกา โจทก์ก็อาจยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดระยองได้อีกศาลหนึ่ง เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้นขึ้นไป และคดีนี้เป็นเรื่องฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์โดยจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกันและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคำฟ้องที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งซึ่งมีเขตศาลดังที่กล่าวข้างต้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 5 ดังนี้ ศาลแพ่งไม่จำต้องใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็มีอำนาจรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาได้
เอกสารหมาย จ.34 เป็นใบแจ้งหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน5 ฉบับเดิม โดยหักจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนออกแล้วการที่จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมาย จ.14 มอบแก่โจทก์โดยระบุจำนวนเงินเท่ากับยอดหนี้ในเอกสารหมาย จ.34 ให้โจทก์ไว้ จึงถือได้ว่าเป็นการออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์เพื่อชำระหนี้แทนตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมที่ถึงกำหนดใช้เงินแล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้รับเงินจากโจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมายจ.14 ตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมาย จ.14 ก็มีมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน5 ฉบับเดิม และแม้โจทก์จะไม่มีหลักฐานการคืนตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมแก่จำเลยที่ 1 มาแสดง พยานหลักฐานโจทก์ก็รับฟังได้ และเมื่อจำเลยที่ 1ต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.14 แก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่อาจนำตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมมาฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 อีก
นับตั้งแต่วันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกถึงวันนัดครั้งสุดท้ายเป็นเวลา 7 เดือนเศษ พยานจำเลยทั้งสามมีจำเลยที่ 2 เบิกความเพียงปากเดียวยังไม่สิ้นกระแสความ ส่วนจำเลยที่ 3 ยังไม่ได้เข้าเบิกความเพราะจำเลยที่ 2และที่ 3 ต่างขอเลื่อนคดี อ้างเหตุเจ็บป่วยบ้าง มีธุรกิจต้องเดินทางไปต่างประเทศบ้าง และเปลี่ยนทนายจำเลยบ้าง หลายครั้งหลายหน ทั้ง ๆ ที่ทนายจำเลยทั้งสามได้ให้คำรับรองต่อศาลว่าจะนำพยานมาสืบให้เสร็จ หากไม่มีพยานมาศาลไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ การขอเลื่อนคดีของจำเลยทั้งสามมีพฤติการณ์ประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีอีก และถือว่าหมดพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
ในระหว่างพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นโจทก์ได้ร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามฉ้อโกงโจทก์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการพิจารณาสำนวนสอบสวนแล้วมีคำสั่งไม่ฟ้อง แต่เมื่อคดีนี้ไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาและข้อเท็จจริงตามสำนวนสอบสวนก็ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความในชั้นศาลปัญหาว่าจำเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด ย่อมอาศัยข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยทั้งสามนำสืบในคดีนี้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงในสำนวนสอบสวนคดีอาญา การที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมอ้างผลคดีอาญาในสำนวนการสอบสวนดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีข้ามชาติ, สัญญาประนีประนอมยอมความ, เงื่อนไขการชำระหนี้, กฎหมายต่างประเทศ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านเป็นบริษัทของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน อ.ผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ตั้งแต่พ.ศ.2528กระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านได้รับรองหนังสือมอบอำนาจไว้และได้มีการรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านด้วยจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นประการอื่นแม้หนังสือมอบอำนาจจะได้ทำในเมืองต่างประเทศและไม่ได้ให้กงสุลสยามเป็นพยานก็ตามแต่กรณีไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงการยื่นหนังสือมอบอำนาจนั้นจึงไม่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา47วรรคสามแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแม้ว่าตามหนังสือราชกิจจานุเบกษาของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประกาศว่าอ.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์นั้นลงวันที่6มิถุนายน2535ภายหลังที่บุคคลดังกล่าวได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ตามแต่หนังสือราชกิจจานุเบกษาดังกล่าวอ้างถึงการประชุมของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่15ธันวาคม2534ซึ่งแต่งตั้งกรรมการบริษัทโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปเป็นเวลา3ปีอ.ก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับแต่งตั้งมิได้หมายความว่าก่อนหน้านี้อ.มิได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์เพราะกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านก็ได้ตรวจลงตรารับรองลายมือชื่อกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ที่ลงไว้ท้ายหนังสือมอบอำนาจว่าเป็นลายมือชื่อของอ. ก็ตาม คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงมูลกรณีที่ได้มีการทำสัญญาดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยมาด้วยว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าเสียหายที่เรือของโจทก์ต้องเสียเวลาจอดรอจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นโดยโจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวดๆภายในระยะเวลาที่กำหนดจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เพียง2งวดแล้วผิดนัดไม่ชำระอีกจึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวทั้งได้มีการแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องด้วยการที่สัญญาดังกล่าวกระทำกันในต่างประเทศจึงต้องใช้กฎหมายประเทศใดบังคับหรือไม่อย่างไรหาใช่ข้อที่โจทก์จำเป็นจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยไม่เพราะหากจำต้องใช้กฎหมายต่างประเทศปรับแก่คดีก็เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วหาเคลือบคลุมไม่ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศไทยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครแม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นในต่างประเทศและจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในต่างประเทศย่อมมีอำนาจฟ้องที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1) จำเลยได้ขายข้าวสารให้แก่บรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในราคาเอฟ.โอ.บี. โดยผู้ซื้อเป็นผู้หาเรือมาบรรทุกข้าวสารจากกรุงเทพมหานครบรรษัทผู้ซื้อข้าวสารจากจำเลยได้ให้โจทก์นำเรือมาบรรทุกข้าวสารแต่จำเลยส่งข้าวสารลงเรือล่าช้าจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าที่เรือต้องเสียเวลาจอดรอแก่โจทก์โจทก์กับจำเลยจึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมีคู่สัญญาเพียง2ฝ่ายคือโจทก์และจำเลยมิได้มีเงื่อนไขว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญาให้ก็ต่อเมื่อบรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านสั่งซื้อข้าวสารต่อไปจากจำเลยแล้วหักราคาซื้อขายชำระแก่โจทก์แต่อย่างใดสำหรับข้อความในสัญญาที่ว่าสัญญานี้ให้สมบูรณ์จนถึงวันที่30กันยายน2533นั้นเมื่อพิเคราะห์ประกอบถึงข้อความในสัญญาและพฤติการณ์ที่คู่กรณีปฏิบัติต่อกันโดยฝ่ายจำเลยได้มีการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญานั้นแล้ว2ครั้งมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าเพราะทางฝ่ายโจทก์ให้โอกาสจำเลยขยายเวลาเพื่อชำระหนี้รายนี้แก่โจทก์ได้จนถึงวันดังกล่าวจำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินที่ยังค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ, สัญญาประนีประนอม, การบังคับชำระหนี้, ศาลมีอำนาจพิจารณา
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านเป็นบริษัทของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน อ.ผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ตั้งแต่ พ.ศ.2528 กระทรวง-การต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านได้รับรองหนังสือมอบอำนาจไว้และได้มีการรับรองโดยสถานเอกอัครราชฑูตไทย ประจำประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านด้วย จำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นประการอื่น แม้หนังสือมอบอำนาจจะได้ทำในเมืองต่างประเทศและไม่ได้ให้กงสุลสยามเป็นพยานก็ตาม แต่กรณีไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง การยื่นหนังสือมอบอำนาจนั้นจึงไม่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 47 วรรคสาม แห่งป.วิ.พ. แม้ว่าตามหนังสือราชกิจจานุเบกษาของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประกาศว่า อ.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์นั้น ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2535ภายหลังที่บุคคลดังกล่าวได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ตาม แต่หนังสือราชกิจจา-นุเบกษาดังกล่าวอ้างถึงการประชุมของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2534ซึ่งแต่งตั้งกรรมการบริษัทโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปเป็นเวลา 3 ปี อ.ก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับแต่งตั้ง มิได้หมายความว่าก่อนหน้านั้น อ.มิได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ เพราะกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านก็ได้ตรวจลงตรารับรองลายมือชื่อกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ที่ลงไว้ท้ายหนังสือมอบอำนาจว่าเป็นลายมือชื่อของ อ.ด้วย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความ โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงมูลกรณีที่ได้มีการทำสัญญาดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยมาด้วยว่า จำเลยเป็นหนี้ค่าเสียหายที่เรือของโจทก์ต้องเสียเวลาจอดรอ จึงได้ทำสัญญาประนีประยอมยอมความขึ้น โดยโจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เพียง 2 งวด แล้วผิดนัดไม่ชำระอีก จึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าว ทั้งได้มีการแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องอีกด้วย การที่สัญญาดังกล่าวกระทำกันในต่างประเทศ จะต้องใช้กฎหมายประเทศใดบังคับหรือไม่อย่างไร หาใช่ข้อที่โจทก์จำเป็นจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยไม่ เพราะหากจำต้องใช้กฎหมายต่างประเทศปรับแก่คดี ก็เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศไทย มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นในต่างประเทศ และจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาประนี-ประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในต่างประเทศย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1)
จำเลยได้ขายข้าวสารให้แก่บรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐ-อิสลามอิหร่านในราคา เอฟ.โอ.บี โดยผู้ซื้อเป็นผู้หาเรือมาบรรทุกข้าวสารจากกรุงเทพมหานคร บรรษัทผู้ซื้อข้าวสารจากจำเลยได้ให้โจทก์นำเรือมาบรรทุกข้าวสารแต่จำเลยส่งข้าวสารลงเรือล่าช้าจึงมีหน้าที่จะต้องชำระค่าที่เรือต้องเสียเวลาจอดรอแก่โจทก์ โจทก์กับจำเลยจึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมีคู่สัญญาเพียง 2 ฝ่าย คือโจทก์และจำเลยและมิได้มีเงื่อนไขว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญาให้ก็ต่อเมื่อบรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านสั่งซื้อข้าวสารต่อไปจากจำเลยแล้วหักราคาซื้อขายชำระแก่โจทก์แต่อย่างใด สำหรับข้อความในสัญญาที่ว่าสัญญานี้ให้สมบูรณ์จนถึงวันที่30 กันยายน 2533 นั้น เมื่อพิเคราะห์ประกอบถึงข้อความในสัญญาและพฤติการณ์ที่คู่กรณีปฎิบัติต่อกัน โดยฝ่ายจำเลยได้มีการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญานั้นแล้ว2 ครั้ง มีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าเพราะทางฝ่ายโจทก์ให้โอกาสจำเลยขยายเวลาเพื่อชำระหนี้รายนี้แก่โจทก์ได้จนถึงวันดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินที่ยังค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต่างประเทศ, อำนาจฟ้อง, การชำระหนี้ตามสัญญา
หนังสือที่โจทก์มอบอำนาจให้พ. ฟ้องคดีแทนทำขึ้นที่ประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านโดยมีกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านและสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศดังกล่าวรับรองหนังสือมอบอำนาจไว้แล้วฉะนั้นแม้จะไม่ได้ให้กงสุลสยามเป็นพยานก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงการยื่นหนังสือมอบอำนาจในกรณีนี้จึงไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา47วรรคสาม การที่สัญญากระทำกันในต่างประเทศจะต้องใช้กฎหมายประเทศใดบังคับหรือไม่อย่างไรหาใช่ข้อที่โจทก์จำเป็นจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยหรือไม่เพราะหากจำต้องใช้กฎหมายต่างประเทศปรับแก่คดีก็เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยบรรยายถึงมูลกรณีที่มีการทำสัญญาแล้วจำเลยผิดนัดทั้งมีการแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความมาท้ายคำฟ้องด้วยนั้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วหาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศไทยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครแม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นในต่างประเทศและจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในต่างประเทศย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7255/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็ค – ผู้ทรงเช็ค – ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย – การโอนเช็ค – ข้อต่อสู้ของผู้สั่งจ่าย
สำเนาภาพถ่ายเช็คและสำเนาภาพถ่ายใบคืนเช็คเอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง และจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธถึงความถูกต้องของเช็คและใบคืนเช็คดังกล่าว เมื่อธนาคารตามเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ย่อมถือได้ว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ที่ศาลดังกล่าวได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยออกเช็คตามฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินยืมให้โจทก์ แล้วธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทุกฉบับโดยระบุรายละเอียดของเช็คทุกฉบับพร้อมกับแนบสำเนาภาพถ่ายเช็คและสำเนาภาพถ่ายใบคืนเช็คมาท้ายฟ้องพร้อมทั้งคำขอบังคับ ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ครบถ้วนแล้วส่วนมูลหนี้ตามเช็คจะเป็นการชำระหนี้สำหรับการกู้เงินครั้งใดเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ที่จำเลยฎีกาว่าการที่ศาลรับฟังเช็คและใบคืนเช็คตามฟ้องโดยไม่มีการสืบพยานแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดโดยโจทก์เพียงแต่ระบุว่าเป็นหนี้จากการกู้ยืมหาเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งหมดได้ไม่นั้น ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับฟ้องเคลือบคลุม แต่เป็นปัญหาว่าตามคำฟ้องและคำให้การจะมีประเด็นที่ต้องสืบพยานกันต่อไปหรือไม่ ไม่มีผลทำให้ฟ้องที่ไม่เคลือบคลุมนั้นเปลี่ยนแปลงไป
ฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้อง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธไว้ กลับให้การว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้บุคคลอื่น จึงฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท
เช็คตามฟ้องทุกฉบับเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 918เมื่อเช็คตามฟ้องตกมาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ในฐานะผู้ถือ โดยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คมาโดยไม่สุจริตแต่ประการใด เพราะจำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์จะได้รับเช็คตามฟ้องมาอย่างไร จำเลยไม่ทราบย่อมไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบว่าโจทก์ครอบครองเช็คมาโดยสุจริตหรือไม่จึงต้องฟังว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 ที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้แก่ ม.เป็นการชำระดอกเบี้ยล่วงหน้าเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นโมฆะทั้งหมด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้น เป็นการยกข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างจำเลยผู้สั่งจ่ายกับ ม.ผู้ทรงคนก่อนแต่คำให้การของจำเลยมิได้กล่าวอ้างต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คตามฟ้องจาก ม.ด้วยคบคิดกันฉ้อฉลกับโจทก์ จำเลยย่อมไม่มีประเด็นจะนำสืบในข้อนี้ ดังนั้นจำเลยซึ่งลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นตั๋วเงินประเภทหนึ่งจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นในฐานะผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 และ 914ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยนั้นชอบแล้ว
of 14