คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุมขังระหว่างพิจารณาคดี และการหักวันคุมขังออกจากโทษจำคุก ศาลฎีกาวินิจฉัยชอบด้วยกฎหมาย
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามไว้ว่าเมื่อจำเลยถูกขังในระหว่างพิจารณาในคดีหนึ่งแล้วจะถูกขังในคดีอื่นอีกไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยไว้ในระหว่างพิจารณาในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นเวลาเดียวกับที่จำเลยถูกขังอยู่ในคดีอื่นด้วยจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนับแต่วันที่ออกหมายขังจำเลยจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นเวลาเกินกว่าระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลย ศาลชั้นต้นจึงปล่อยตัวไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8336/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การฟ้องคดีอาญาต้องพิจารณาจากสถานที่จับกุมและภูมิลำเนาของจำเลย
ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยถูกจับในท้องที่อำเภอสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรี ในข้อหาพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารปลอมกับข้อหาอื่น ๆ ซึ่งมิใช่ข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จำเลยถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 22 คำว่า จำเลยถูกจับในท้องที่หนึ่ง หมายถึงเจ้าพนักงานจับจำเลยจริง ๆ ในเขตศาลนั้นตามที่ถูกกล่าวหา เมื่อจำเลยถูกจับในความผิดฐานอื่นและเจ้าพนักงานตำรวจได้อายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดีนี้ ถือไม่ได้ว่าคดีนี้จำเลยถูกจับในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี โจทก์ฟ้องจำเลยต่อ ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่ได้ เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีซึ่งจำเลยต้องโทษจำคุกอยู่ในคดีอื่นในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในคดีนี้ คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ เรือนจำจึงมิใช่ท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ เพราะคดีดังกล่าวจำเลยมิได้ถูกจำคุกตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535จึงไม่อาจถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีอีกด้วยโจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132-5135/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน การรวมโทษ และวันสิ้นสุดคดี ศาลชอบแล้วที่จะออกหมายจำคุกแยกตามวันถึงที่สุดแต่ละสำนวน
จำเลยถูกฟ้องรวม4สำนวนซึ่งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันแม้จะเกี่ยวพันกันแต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันและมิได้อ่านคำพิพากษาในวันเดียวกันวันถึงที่สุดของแต่ละสำนวนย่อมแตกต่างกันจึงไม่ชอบที่จำเลยจะขอให้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดในวันเดียวกันและในหมายจำคุกฉบับเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4877/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา, การนับโทษต่อกัน, และองค์ประกอบความผิดฐานออกเช็คไม่มีเงิน
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีระบุว่า โจทก์โดยส.และ บ.กรรมการ มอบอำนาจให้ก.เป็นผู้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย เป็นการมอบอำนาจเฉพาะการเพื่อฟ้องคดีอาญาและหนังสือมอบอำนาจนี้มิได้ระบุเจาะจงว่าให้ฟ้องได้เพียงคดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะ ก. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาเป็นหลายสำนวนได้ ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยออกเช็คพิพาททั้งหกฉบับเพื่อชำระหนี้ค่ากระป๋องและฝา กระป๋อง ให้แก่โจทก์จำเลยฎีกาโต้แย้งว่าพยานโจทก์เบิกความว่า จำเลยออกเช็คเพื่อค้ำประกันหนี้ให้ล.เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยออกเช็คให้โจทก์รวม 6 ฉบับ เมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนด ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องโดยยกฟ้องเป็นสามสำนวน สำนวนแรกโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คจำนวน 1 ฉบับ สำนวนที่ 2 บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คจำนวน 3 ฉบับ สำนวนที่ 3 บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คจำนวน 2 ฉบับ คำขอท้ายฟ้องแต่ละสำนวนไม่ขอให้นับโทษจำเลยต่อ จึงนับโทษต่อกันไม่ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้นับโทษจำเลยแต่ละสำนวนต่อกันจึงไม่ชอบ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนเป็นอันตรายสาหัส และการนับโทษต่อจากคดีอื่น
จำเลยใช้ไม้ตีทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย 2 ครั้ง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและแขนซ้าย แพทย์ตรวจร่างกายผู้เสียหายด้วยวิธีฉายเอกซเรย์พบว่ากระดูกปลายแขนซ้ายหักและมีความเห็นว่าต้องใช้เวลารักษา 6 สัปดาห์ ผู้บังคับบัญชาของผู้เสียหายได้อนุญาตให้ผู้เสียหายลาป่วยจนกว่าจะหายเป็นปกติจึงฟังได้ว่าผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8) คดีนี้โจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 893/2534 และหมายเลขดำที่57/2535 ของศาลชั้นต้นไว้แล้ว แต่ศาลชั้นต้นนับโทษต่อจากคดีดังกล่าวไม่ได้ เพราะคดีดังกล่าวนั้นศาลยังมิได้มีคำพิพากษา โจทก์ฎีกาขอให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาทั้งสองสำนวนดังกล่าว โดยอ้างว่าคดีทั้งสองสำนวนนั้น ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้ว เป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่637/2536 และหมายเลขแดงที่ 1079/2535 ของศาลชั้นต้น ตามลำดับจำเลยมิได้แก้ฎีกาปฏิเสธข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงฟังได้ว่าคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้วจริง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้นับโทษต่อกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อคดีอาญาอื่นเมื่อจำเลยได้รับโทษจำคุกในคดีก่อนหน้า
จำเลยใช้ไม้ตีทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย 2 ครั้ง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและแขนซ้าย แพทย์ตรวจร่างกายผู้เสียหายด้วยวิธีฉายเอกซเรย์พบว่ากระดูกปลายแขนซ้ายหักและมีความเห็นว่าต้องใช้เวลารักษา6 สัปดาห์ ผู้บังคับบัญชาของผู้เสียหายได้อนุญาตให้ผู้เสียหายลาป่วยจนกว่าจะหายเป็นปกติ จึงฟังได้ว่าผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เป็นอันตรายสาหัสตาม ป.อาญา มาตรา 297 (8)
คดีนี้โจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 893/2534 และหมายเลขดำที่ 57/2535ของศาลชั้นต้นไว้แล้ว แต่ศาลชั้นต้นนับโทษต่อจากคดีดังกล่าวไม่ได้ เพราะคดีดังกล่าวนั้นศาลยังมิได้มีคำพิพากษา โจทก์ฎีกาขอให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาทั้งสองสำนวนดังกล่าว โดยอ้างว่าคดีทั้งสองสำนวนนั้น ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้ว เป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 637/2536และหมายเลขแดงที่ 1079/2535 ของศาลชั้นต้น ตามลำดับ จำเลยมิได้แก้ฎีกาปฏิเสธข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงฟังได้ว่าคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้วจริง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้นับโทษต่อกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อในคดีอาญา: การรับสารภาพของผู้ต้องหาต่อหน้าศาลชั้นต้นมีผลผูกพันในการนับโทษ
เมื่อปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 3 รับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 5463/2532,5524/2532 และคดีดำที่ 2497/2532,3145/2532 และ 5904/2532ของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาให้นับโทษจำเลยที่ 3 ต่อจากโทษในคดีหมายเลขแดงที่ 5463/2532,5524/2532,6066/2532(ดำที่ 3145/2532),6100/2532(ดำที่ 2497/2532) และ 1752/2532(ดำที่ 5904/2532) ของศาลชั้นต้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมโทษคดีอาญาและการพิจารณาความเกี่ยวพันของคดี การจำกัดโทษตาม ป.อ.มาตรา 91(2)
ตาม ป.อ.มาตรา 91 (2) ที่บัญญัติให้ศาลลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่กรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี โทษจำคุกทั้งสิ้นรวมกันต้องไม่เกิน 20 ปีนั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมแต่ถูกฟ้องเป็นคดีเดียว หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดี แต่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ส่วนคดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ก็จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.อ.มาตรา 91 (2) เช่นเดียวกัน
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชน ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 837/2531 และ8729/2532 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7222/2532 เป็นข้อหายักยอก คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7009/2533 เป็นข้อหายักยอก และข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิพ.ศ.2499 ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องและพยานหลักฐานที่จะต้องนำสืบในคดีต่าง ๆดังกล่าวแตกต่างกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7024/2533 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 เกี่ยวกับความผิดที่จำเลยได้กระทำขึ้นในบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เฉลิมโลก จำกัด ซึ่งเป็นคนละบริษัทกับที่จำเลยได้กระทำความผิดขึ้นในคดีอื่น ๆ จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้เช่นกัน จึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533, 7024/2533 และคดีทั้งสี่ดังกล่าวติดต่อกันเกินกว่า20 ปีได้ คดีไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ.มาตรา 91 (2)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2535)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกในคดีที่ฟ้องแยกกันและไม่เกี่ยวพันกัน ไม่เข้าข่ายมาตรา 91(2) ป.อ.
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(2) ที่บัญญัติให้ศาลลงโทษ ผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่กรณีความผิด กระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปีแต่ไม่เกิน 10 ปี โทษจำคุกทั้งสิ้นรวมกันต้องไม่เกิน 20 ปี นั้นเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำ ความผิดหลายกรรมแต่ถูกฟ้องเป็นคดีเดียว หรือในกรณีที่จำเลย ถูกฟ้องหลายคดี แต่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่ง ให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ส่วนคดีที่เกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ก็จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(2) เช่นเดียวกัน คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 พนักงานอัยการ ฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชน ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 837/2531 และ 8729/2532 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7222/2532 เป็นข้อหายักยอกคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7009/2533 เป็นข้อหายักยอก และข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องและพยานหลักฐาน ที่จะต้องนำสืบในคดีต่าง ๆ ดังกล่าวแตกต่างกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจจะฟ้องเป็นคดี เดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7024/2533 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522เกี่ยวกับความผิดที่จำเลยได้กระทำขึ้นในบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เฉลิมโลก จำกัด ซึ่งเป็นคนละบริษัทกับที่จำเลยได้กระทำความผิดขึ้นในคดีอื่น ๆ จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้เช่นกันจึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533,7024/2533 และคดีทั้งสี่ดังกล่าวติดต่อกันเกินกว่า 20 ปีได้คดีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน, บุกรุก, ข่มขืนใจ, ชิงทรัพย์ และการแก้ไขโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่มีโทษสถานเดียวคือประหารชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 เมื่อจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษดังกล่าวตามมาตรา 80 เท่ากับลดโทษลงมาหนึ่งในสามนั่นเอง ซึ่งคงเหลือเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียว ตามมาตรา 52(1) หลังจากจำเลยใช้อาวุธปืนยิง ท.แล้ว จำเลยได้ใช้อาวุธปืนจี้เอารถจักรยานยนต์ของ ร.ขับหลบหนีไป แล้วนำรถจักรยานยนต์นั้นไปทิ้งไว้ข้างทางห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 20 กิโลเมตร ไม่ได้นำรถจักรยานยนต์ไปเป็นประโยชน์ของตนหรือผู้อื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์จะเอาทรัพย์คือรถจักรยานยนต์นั้น คงมีเจตนาเพียงต้องการใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อหลบหนีเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง แต่การกระทำของจำเลยเป็นการใช้อาวุธปืนข่มขืนใจ ร. ให้มอบรถจักรยานยนต์โดย ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย อันเป็นความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามทางพิจารณาที่ได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกานับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่น ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้มีคำขอมาท้ายฟ้องหรือขอแก้เพิ่มเติมฟ้องในเรื่องขอให้นับโทษต่อเสียก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพิ่งจะขอมาหลังจากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาและจำเลยฎีกาต่อมา จึงไม่อาจนับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นได้
of 65