พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7365/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษและการมีอำนาจฟ้องคดีอาญา: ศาลฎีกายกเรื่องนับโทษเนื่องจากขาดหลักฐาน และยืนอำนาจฟ้องของโจทก์
หลังจากสืบพยานเสร็จ ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์เพิ่งทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติการต้องโทษของจำเลยและขอแก้ไขฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3221/2546 ของศาลอาญา และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ ขอให้นับโทษจำเลยเรียงติดต่อกับโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาสั่งคำร้องของโจทก์ในวันนัดฟังคำพิพากษาและในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก่อนอ่านคำพิพากษา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องได้ เช่นนี้ แม้จำเลยมิได้คัดค้านคำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์ กรณีก็ไม่อาจถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ขอแก้ไขฟ้องดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้แสดงให้ปรากฏต่อศาลว่า จำเลยเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวตามคำร้องของโจทก์จริงหรือไม่ และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในคดีดังกล่าวหรือไม่เพียงใด จึงยังรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยได้รับโทษจำคุกในคดีอื่นที่อาจนำโทษในคดีนี้ไปนับติดต่อได้
ตาม พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2539 เจ้าพนักงานตำรวจกองปราบปรามมีอำนาจหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทั่วราชอาณาจักร และปฏิบัติงานตาม ป.วิ.อ. และตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร ตลอดจนให้บริการช่วยเหลือประชาชน เมื่อการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการปฏิบัติงานตาม ป.วิ.อ. พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนเกี่ยวกับความผิดอาญาทั่วราชอาณาจักรตามบทกฎหมายดังกล่าว ส่วนระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยอำนาจสอบสวน เป็นการกำหนดระเบียบการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายในกรมตำรวจให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การที่ระเบียบดังกล่าวกำหนดลักษณะความผิดที่อยู่ในอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามไว้ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการที่กรมตำรวจมอบหมายให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามเท่านั้น การที่ผู้บังคับการกองปราบปรามมีคำสั่งที่ 288/2538 แต่งตั้งพนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้ โดยผู้บัญชาการสอบสวนกลางอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในระเบียบแล้ว จึงชอบด้วยกฎหมายและระเบียบกรมตำรวจ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้
ตาม พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2539 เจ้าพนักงานตำรวจกองปราบปรามมีอำนาจหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทั่วราชอาณาจักร และปฏิบัติงานตาม ป.วิ.อ. และตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร ตลอดจนให้บริการช่วยเหลือประชาชน เมื่อการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการปฏิบัติงานตาม ป.วิ.อ. พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนเกี่ยวกับความผิดอาญาทั่วราชอาณาจักรตามบทกฎหมายดังกล่าว ส่วนระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยอำนาจสอบสวน เป็นการกำหนดระเบียบการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายในกรมตำรวจให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การที่ระเบียบดังกล่าวกำหนดลักษณะความผิดที่อยู่ในอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามไว้ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการที่กรมตำรวจมอบหมายให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามเท่านั้น การที่ผู้บังคับการกองปราบปรามมีคำสั่งที่ 288/2538 แต่งตั้งพนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้ โดยผู้บัญชาการสอบสวนกลางอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในระเบียบแล้ว จึงชอบด้วยกฎหมายและระเบียบกรมตำรวจ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกต่อจากคดีอื่น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษาเปลี่ยนโทษเป็นกักขังก็ยังคงทำได้ตามหลักกฎหมาย
บทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 22 เป็นบทกำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับโทษจำคุกว่า ให้เริ่มนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาโดยมีข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น การที่ศาลมีคำพิพากษาให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีอาญาอื่น ย่อมมีความหมายว่าคำพิพากษาได้กล่าวถึงเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกไว้เป็นอย่างอื่น โดยไม่ให้เริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้น
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยแม้จะพิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน ก็ไม่เป็นการต้องห้ามที่ศาลจะกำหนดเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้เป็นอย่างอื่นด้วยการให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีดังกล่าว
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยแม้จะพิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน ก็ไม่เป็นการต้องห้ามที่ศาลจะกำหนดเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้เป็นอย่างอื่นด้วยการให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีอาญาเดิม แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้ตรวจสอบตัวบุคคล แต่จำเลยยอมรับ
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 6811/2550 ของศาลชั้นต้น โดยศาลชั้นต้นไม่ได้สอบจำเลยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่ และโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏความในเรื่องนี้ก็ตาม แต่ตามอุทธรณ์ของจำเลยรับว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 6811/2550 ของศาลชั้นต้น โดยศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปีจริง ถือได้ว่าความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้ว และจำเลยยอมรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงนับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 6811/2550 ของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีเดิม แม้ไม่มีการสืบตัวตนจำเลยในชั้นศาล แต่จำเลยยอมรับในชั้นอุทธรณ์
แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบจำเลยว่า เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่ และโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏในความเรื่องนี้ก็ตาม แต่ตามอุทธรณ์ของจำเลยรับว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 6811/2550 ของศาลชั้นต้นที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ โดยศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก 3 ปี จริง ตามเอกสารแนบท้ายอุทธรณ์หมายเลข 1 ถือว่าความปรากฏแก่ศาลแล้ว จึงนับโทษจำเลยต่อตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6295/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่โจทก์ในการแถลงคดีเพื่อขอให้นับโทษต่อ ศาลไม่ต้องตรวจสอบคดีเอง
เมื่อโจทก์เป็นผู้ขอให้ศาลนับโทษต่อจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องแถลงให้ศาลทราบว่าคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น ศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยหรือไม่ และลงโทษอย่างไร เพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจนับโทษต่อให้ตามคำขอของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่แถลงให้ศาลทราบ แม้คดีดังกล่าวจะอยู่ในศาลเดียวกันก็มิใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลต้องรู้เองและศาลไม่มีหน้าที่จะต้องไปตรวจสอบคดีนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8847/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษซ้อนกันในคดีอาญา ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์บางส่วน โดยยกคำขอให้นับโทษต่อจากคดีก่อน
คดีนี้เป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 969/2547 ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลฎีกาว่า คดีอาญาหมายเลขดำที่ 968/2547 มีการนับโทษจำเลยทั้งสองต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 965/2547, 966/2547, 967/2547 แล้ว คดีนี้จึงนับโทษต่อจากคดีอาญาหมายเลขดำที่ 965/2547, 966/2547, 967/2547 อีกไม่ได้ เพราะเป็นการนับโทษซ้อนกันไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 22 วรรคหนึ่ง
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาให้นับโทษจำเลยทั้งสองต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 968/2547 ซึ่งเป็นคดีที่ได้มีคำพิพากษาไปก่อนหน้าคดีนี้แล้ว เป็นการใช้ดุลพินิจของศาลในการกำหนดให้เริ่มนับโทษจำคุกคดีนี้ต่อจากโทษในคดีก่อนจึงชอบแล้ว และไม่เป็นการนับโทษซ้อนกัน
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาให้นับโทษจำเลยทั้งสองต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 968/2547 ซึ่งเป็นคดีที่ได้มีคำพิพากษาไปก่อนหน้าคดีนี้แล้ว เป็นการใช้ดุลพินิจของศาลในการกำหนดให้เริ่มนับโทษจำคุกคดีนี้ต่อจากโทษในคดีก่อนจึงชอบแล้ว และไม่เป็นการนับโทษซ้อนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5170/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกต่อจากคดีที่ยังไม่ถึงที่สุด หากจำเลยเป็นบุคคลเดียวกัน
จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาของศาลจังหวัดขอนแก่น ซึ่งศาลพิพากษาให้จำคุก 3 ปี จำเลยยังต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาอยู่ แม้คดีดังกล่าวจะยังไม่ถึงที่สุดและอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ศาลก็สามารถนับโทษจำคุกจำเลยต่อจากโทษในคดีดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขับรถประมาทเฉี่ยวชนเจ้าพนักงาน แต่เจตนาไม่ใช่ฆ่า เป็นความผิดพยายามทำร้ายร่างกาย ไม่ใช่พยายามฆ่า
ตามพฤติการณ์จำเลยที่ 1 ย่อมเล็งเห็นได้ว่า รถที่จำเลยที่ 1 ขับอาจเฉี่ยวชนผู้เสียหายให้ได้รับอันตรายแก่กายได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่ ไม่เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่
คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่ขอให้นับโทษต่อ แม้จะระบุคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษต่อก็เป็นคำขอที่ไม่มีข้อเท็จจริงในคำฟ้องเพราะคำฟ้องมิได้บรรยายไว้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่ขอให้นับโทษต่อข้อความที่โจทก์ระบุมาในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องอื่นที่มิได้ระบุว่าขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในส่วนดังกล่าวเป็นเพียงคำอธิบายและเหตุผลของโจทก์ในการขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่อาจถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบรรยายมาในคำฟ้องโจทก์แล้ว โจทก์จะขอให้ถือเอาคำขอท้ายฟ้องซึ่งมีข้อเท็จจริงนอกเหนือไปกว่าที่กล่าวไว้ในฟ้องไปนับโทษติดต่อกันเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่ขอให้นับโทษต่อ แม้จะระบุคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษต่อก็เป็นคำขอที่ไม่มีข้อเท็จจริงในคำฟ้องเพราะคำฟ้องมิได้บรรยายไว้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่ขอให้นับโทษต่อข้อความที่โจทก์ระบุมาในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องอื่นที่มิได้ระบุว่าขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในส่วนดังกล่าวเป็นเพียงคำอธิบายและเหตุผลของโจทก์ในการขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่อาจถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบรรยายมาในคำฟ้องโจทก์แล้ว โจทก์จะขอให้ถือเอาคำขอท้ายฟ้องซึ่งมีข้อเท็จจริงนอกเหนือไปกว่าที่กล่าวไว้ในฟ้องไปนับโทษติดต่อกันเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2048/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนของผู้อื่นและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลแก้ไขโทษและยกเลิกการนับโทษต่อ
เครื่องกระสุนปืนตามฟ้องคือกระสุนซึ่งเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนตามฟ้อง ซึ่งเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคสาม เท่านั้น และศาลล่างทั้งสองก็มิได้ปรับบทความผิดและลงโทษจำเลยตามมาตรา 7, 72 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งเป็นเพียงกรณีมีเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมาย ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งว่าการมีเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนย่อมไม่เป็นความผิดนั้นจึงไม่อาจหักล้างเป็นอย่างอื่นและเปลี่ยนแปลงผลคดีไปได้ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาในคดีก่อนของศาลจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งพิพากษาลงโทษจำเลย จำคุก 9 ปี และปรับ 75 บาท จำเลยยังต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาอยู่ แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุดและอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ก็ไม่ใช่เหตุที่จะนำมานับโทษจำเลยต่อไม่ได้
จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาในคดีก่อนของศาลจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งพิพากษาลงโทษจำเลย จำคุก 9 ปี และปรับ 75 บาท จำเลยยังต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาอยู่ แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุดและอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ก็ไม่ใช่เหตุที่จะนำมานับโทษจำเลยต่อไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันคุมขังในคดีอื่นออกจากโทษจำคุก: คดีจำเลยถูกคุมขังในคดีอื่นก่อนศาลพิพากษา ไม่สามารถหักวันคุมขังได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคแรก บัญญัติว่า "โทษจำคุกให้เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษา เว้นแต่คำพิพากษานั้นจะกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น" คำว่า ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา หมายความว่า ต้องถูกคุมขังอยู่ในคดีที่ศาลมีคำพิพากษา การที่จำเลยที่ 1 ถูกคุมขังในคดีอื่นและผู้ประกันมิได้ร้องขอส่งตัวจำเลยที่ 1 เพื่อให้ศาลออกหมายขังจำเลยที่ 1 ในคดีนี้จึงไม่อาจหักวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกในคดีนี้ได้