พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีอาญาต่อเนื่อง: นับโทษต่อได้แม้คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด
คดีอาญาเรื่องก่อนยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลง โดยพิพากษาแก้หรือกลับผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วจำเลยยังคงต้องถูกบังคับตามโทษของศาลชั้นต้น ดังนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษคดีอาญาเรื่องก่อนของศาลชั้นต้นต่อไปจนกว่าผลของคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลนั้นๆ จะเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีอาญาต่อเนื่อง: ศาลชอบที่จะนับโทษต่อได้แม้คดีเดิมยังไม่ถึงที่สุด
เมื่อคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลจังหวัดชลบุรีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 หากศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังมิได้มีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงโดยพิพากษาแก้หรือกลับผลของคำพิพากษาศาลจังหวัดชลบุรีแล้ว จำเลยยังคงต้องถูกบังคับตามโทษในคดีอาญาดังกล่าว ศาลชั้นต้นชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีนั้นต่อไปจนกว่าผลของคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลนั้นจะเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1299/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้นับโทษจำเลยต้องทำตามขั้นตอนที่กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนด โจทก์ขอภายหลังในคำแก้ฎีกาไม่ได้
การขอให้ศาลนับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่น โจทก์จะต้องขอมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ถ้าจะขอภายหลังก็ต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่ง โจทก์จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันคุมขังก่อนศาลพิพากษาในคดีทรัพย์สินทางปัญญา แม้คำพิพากษาไม่ได้ระบุ
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ศาลซึ่งรายงานว่าไม่ต้องหักวันคุมขังให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วแจ้งให้ทนายจำเลยทราบโดยไม่ได้สั่งแก้ไขหมายจำคุกระหว่างอุทธรณ์ฎีกา เท่ากับให้ยกคำร้องของจำเลยที่ 2 โดยเห็นด้วยกับรายงานของเจ้าหน้าที่ศาล จำเลยที่ 2 จึงอุทธรณ์คำสั่งได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกคุมขังในคดีนี้ตามหมายขังระหว่างพิจารณาตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2544 โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ถือได้ว่าตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาจำเลยที่ 2 ถูกคุมขังมาก่อนศาลพิพากษา เมื่อคำพิพากษาไม่ได้ระบุว่าไม่ให้หักวันคุมขังให้แก่จำเลยที่ 2 จึงต้องหักวันคุมขังดังกล่าวออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความปฏิบัติหน้าที่หลังถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความ ถือละเมิดอำนาจศาล
คณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อผู้ถูกกล่าวหาออกจากทะเบียนทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 43 แล้วย่อมมีผลให้ผู้ถูกกล่าวหาขาดจากการเป็นทนายความตามมาตรา 44(4) ทันทีแม้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความได้แต่การอุทธรณ์ไม่ถือว่าเป็นการทุเลาคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความ ดังนั้นเมื่อผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าคณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาต้องหยุดกระทำหน้าที่เป็นทนายความในระหว่างที่รอฟังคำวินิจฉัยของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ เพราะในระหว่างนั้นผู้ถูกกล่าวหาต้องห้ามมิให้ปฏิบัติหน้าที่ทนายความตามมาตรา 33
ผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความตั้งแต่วันที่ 10เมษายน 2540 แต่ว่าความให้แก่จำเลยเรื่อยมาจนกระทั่งวันที่ 22 เมษายน 2542จึงขอถอนตัวจากการเป็นทนายความ การกระทำผู้ถูกกล่าวหาย่อมเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
การปฏิบัติหน้าที่ทนายความของผู้ถูกกล่าวหาในแต่ละครั้งถือเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว ทั้งผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายคดี จึงนับโทษติดต่อกันได้
ผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความตั้งแต่วันที่ 10เมษายน 2540 แต่ว่าความให้แก่จำเลยเรื่อยมาจนกระทั่งวันที่ 22 เมษายน 2542จึงขอถอนตัวจากการเป็นทนายความ การกระทำผู้ถูกกล่าวหาย่อมเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
การปฏิบัติหน้าที่ทนายความของผู้ถูกกล่าวหาในแต่ละครั้งถือเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว ทั้งผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายคดี จึงนับโทษติดต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7413/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความละเมิดอำนาจศาล: การว่าความโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อสถานะการถูกลงโทษทางอาญา
ผู้ถูกกล่าวหายกข้อเท็จจริงขึ้นมาในชั้นฎีกาว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และขอให้ศาลฎีกาพิพากษาปล่อยผู้ถูกกล่าวหาให้พ้นผิดไปนั้น เป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากลับให้การปฏิเสธในชั้นฎีกา ข้ออ้างตามฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าวจึงขัดกับคำให้การรับสารภาพและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ผู้ถูกกล่าวหาถูกลงโทษผิดมรรยาททนายความตามพระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 52(2) ที่ห้ามทำการเป็นทนายความภายในกำหนดเวลา ฉะนั้น การที่ผู้ถูกกล่าวหาทำคำให้การให้จำเลย 1 ครั้งและว่าความในฐานะทนายความจำเลยอีก 3 ครั้งในการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นสำหรับคดีนี้ จึงเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจพึงกระทำได้เพราะผู้ถูกกล่าวหายังไม่พ้นกำหนดห้ามทำการเป็นทนายความดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเสร็จเด็ดขาดในแต่ละครั้งที่ผู้ถูกกล่าวหากระทำ กรณีเป็นการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายกรรมต่างกัน มิใช่เป็นการกระทำต่อเนื่องกันซึ่งต้องลงโทษผู้ถูกกล่าวหาทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91และเมื่อความปรากฏต่อศาลว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเช่นเดียวกันนี้อีกหลายคดี ศาลจึงมีอำนาจให้นับโทษของผู้ถูกกล่าวหาต่อจากคดีอื่นได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่ง
ผู้ถูกกล่าวหาถูกลงโทษผิดมรรยาททนายความตามพระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 52(2) ที่ห้ามทำการเป็นทนายความภายในกำหนดเวลา ฉะนั้น การที่ผู้ถูกกล่าวหาทำคำให้การให้จำเลย 1 ครั้งและว่าความในฐานะทนายความจำเลยอีก 3 ครั้งในการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นสำหรับคดีนี้ จึงเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจพึงกระทำได้เพราะผู้ถูกกล่าวหายังไม่พ้นกำหนดห้ามทำการเป็นทนายความดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเสร็จเด็ดขาดในแต่ละครั้งที่ผู้ถูกกล่าวหากระทำ กรณีเป็นการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายกรรมต่างกัน มิใช่เป็นการกระทำต่อเนื่องกันซึ่งต้องลงโทษผู้ถูกกล่าวหาทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91และเมื่อความปรากฏต่อศาลว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเช่นเดียวกันนี้อีกหลายคดี ศาลจึงมีอำนาจให้นับโทษของผู้ถูกกล่าวหาต่อจากคดีอื่นได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่, นับโทษกรรมต่างกันชอบ, อายุความความผิดปรับ
จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างไว้ในฟ้องอุทธรณ์เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมให้ผู้คนในสังคมได้อยู่ร่วมกันด้วยความปกติสุข เมื่อจำเลยกระทำผิดก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคมแล้ว จำเลยจึงต้องถูกลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในความผิดเรื่องนั้น ๆ จำเลยกระทำผิดในคดีอาญาเป็นการกระทำต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจชอบ ไม่ได้ขัดต่อสิทธิมนุษยชนใด ๆ
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 เกิน 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมให้ผู้คนในสังคมได้อยู่ร่วมกันด้วยความปกติสุข เมื่อจำเลยกระทำผิดก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคมแล้ว จำเลยจึงต้องถูกลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในความผิดเรื่องนั้น ๆ จำเลยกระทำผิดในคดีอาญาเป็นการกระทำต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจชอบ ไม่ได้ขัดต่อสิทธิมนุษยชนใด ๆ
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 เกิน 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7114/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีอื่นและการซื้อสิทธิเลือกตั้ง: ผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตย
แม้โจทก์ไม่ได้ระบุหมายเลขคดีที่โจทก์ขอนับโทษจำเลยต่อก็ตาม แต่โจทก์สามารถแถลงให้ศาลทราบได้ในภายหลังเมื่อข้อเท็จจริงในรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ปรากฏว่าจำเลยถูกฟ้องอีกคดีตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1021/2543 ของศาลชั้นต้น จำเลยไม่คัดค้านเท่ากับจำเลยรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อศาลชั้นต้นจึงให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีก่อนได้
การกระทำของจำเลยเป็นการซื้อสิทธิเลือกตั้งโดยให้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นเงิน เป็นการแทรกแซงกระบวนการเลือกตั้งให้ไม่เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมเกิดความเสียหายไม่เพียงแต่ผู้สมัครรับเลือกตั้งรายอื่น แต่ยังเป็นการทำลายหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและหากมีการซื้อสิทธิเลือกตั้งแล้วได้เข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชนในการปกครองบ้านเมืองก็น่าเชื่อว่าจะเกิดปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้องอีกต่อไป อันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติอีกด้วย ตามพฤติการณ์จึงเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่สมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลย
การกระทำของจำเลยเป็นการซื้อสิทธิเลือกตั้งโดยให้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นเงิน เป็นการแทรกแซงกระบวนการเลือกตั้งให้ไม่เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมเกิดความเสียหายไม่เพียงแต่ผู้สมัครรับเลือกตั้งรายอื่น แต่ยังเป็นการทำลายหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและหากมีการซื้อสิทธิเลือกตั้งแล้วได้เข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชนในการปกครองบ้านเมืองก็น่าเชื่อว่าจะเกิดปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้องอีกต่อไป อันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติอีกด้วย ตามพฤติการณ์จึงเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่สมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7114/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีอาญาอื่น แม้ไม่ได้ระบุหมายเลขคดีในคำฟ้อง ศาลสามารถพิจารณาจากรายงานสืบเสาะและพินิจได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งที่ฟ้องมาพร้อมกัน ขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโจทก์จำเลยในคดีอาญาดังกล่าว แต่โจทก์มิได้ระบุหมายเลขคดีไว้เนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบหมายเลขคดีจนกว่าโจทก์จะได้ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้น จำเลยให้การรับสารภาพและศาลชั้นต้นได้นัดฟังคำพิพากษาในวันอื่น ข้อเท็จจริงที่ได้จากรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติซึ่งศาลชั้นต้นให้คู่ความทราบแล้วคู่ความไม่ติดใจคัดค้านปรากฏว่าจำเลยถูกดำเนินคดีในความผิดตามคดีอาญาของศาลชั้นต้น เท่ากับจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงใน ข้อที่ว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยถูกฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งตามคำฟ้องของโจทก์แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีนี้ภายหลังจากที่มี คำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมนับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7001/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บัตรเครดิตปลอม, ความเสียหายของธนาคาร, และการดำเนินคดีตามลำดับชั้นศาล
จำเลยได้ใช้บัตรเครดิตปลอมไปซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆจากร้านค้าสมาชิกผู้รับบัตรเครดิตรวม 82 ครั้ง ผลการใช้บัตรเครดิตปลอมของจำเลยเป็นเหตุให้ธนาคาร น. ต้องจ่ายเงินตามใบบันทึกการขายซึ่งเป็นหลักฐานอันเกิดจากบัตรเครดิตปลอมให้แก่ร้านค้าสมาชิกผู้รับบัตรเครดิต ธนาคาร น. จึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการใช้บัตรเครดิตปลอมของจำเลย มีอำนาจร้องทุกข์คดีนี้ได้
การหักวันต้องขังของศาลชั้นต้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีการที่จำเลยฎีกาในเรื่องดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองว่าพิพากษาคดีไม่ถูกต้องแต่ประการใดเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล ซึ่งหากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกหักวันต้องขังคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านโดยขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้ว จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้เป็นลำดับ
การหักวันต้องขังของศาลชั้นต้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีการที่จำเลยฎีกาในเรื่องดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองว่าพิพากษาคดีไม่ถูกต้องแต่ประการใดเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล ซึ่งหากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกหักวันต้องขังคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านโดยขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้ว จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้เป็นลำดับ