พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3577/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และการใช้ดุลยพินิจในการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องมาชัดเจน และได้แนบสำเนาประกาศกระทรวงเกษตรเรื่องกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาท้ายฟ้องด้วยประกาศนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับแล้ว จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า พนักงานเจ้าหน้าที่จากที่ใดนำประกาศดังกล่าวไปปิดประกาศไว้สถานที่เกิดเหตุในคดีนี้ หรือไม่ อย่างไรแต่เมื่อใดนั้นหาใช่ข้อสาระสำคัญที่โจทก์ต้องบรรยายไว้ในฟ้องไม่ฟ้องของโจทก์สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 158(5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำไม้และมีไม้หวงห้ามในป่าสงวน: การแยกความผิดเป็นกรรมต่างกัน และการใช้บทกฎหมายที่มีโทษหนักสุด
การที่จำเลยทั้งสามทำไม้สักในเขตป่าสงวนแห่งชาติและมีไม้สักที่มิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง แม้ไม้สักที่จำเลยทั้งสามทำและมีไว้ในครอบครองจะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันซึ่งต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ส่วนการทำไม้สักในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11,73 วรรคสอง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท และโทษตามพ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14,31 วรรคสอง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ถือว่าโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11,73วรรคสอง หนักกว่าโทษตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14,31วรรคสอง จึงลงโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มาตรา 11,73วรรคสอง อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต: รอการลงโทษด้วยเหตุประกอบสัมมาชีพและรับราชการ
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไม้มะค่าโมงแปรรูปจำนวน6แผ่นปริมาตร0.67ลูกบาศก์เมตรและไม้ยางแปรรูป192แผ่นปริมาตร7.06ลูกบาศก์เมตรไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่1เป็นผู้ประกอบสัมมาชีพมีความประพฤติเรียบร้อยจำเลยที่2รับราชการทหารทั้งจำเลยทั้งสองไม่ได้มีอาชีพค้าไม้และไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อนจึงสมควรรอการลงโทษจำเลยทั้งสองเพื่อให้เป็นพลเมืองดีต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องอาญา: การกล่าวหาทั้งการนำเข้าและการครอบครองไม้ของกลางโดยเป็นไม้จำนวนเดียวกัน ไม่ถือว่าฟ้องขัดแย้งกัน
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวโดยสรุปถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำผิดคือ นำไม้สักของกลางเข้ามาในราชอาณาจักร และระหว่างวันเวลาเดียวกันร่วมกันมีไม้ของกลางจำนวนเดียวกันนั้นไว้ในครอบครองเป็นความผิด ทั้งนี้การกระทำของจำเลยกับพวกทั้งสองประการดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างวันเวลาและสถานที่เดียวกัน เจ้าพนักงานยึดได้ไม้จำนวนเดียวกันเป็นของกลาง ดังนี้ ย่อมเข้าใจได้ว่าในส่วนที่เกี่ยวกับไม้ของกลางที่มีอยู่จำนวนเดียวนั้น โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกับพวกร่วมกันนำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นความผิดและมีไว้ในครอบครองเป็นความผิดด้วยไม่ทำให้เข้าใจไปว่าไม้ของกลางที่มีอยู่จำนวนเดียวเป็นไม้ที่จำเลยกับพวกนำเข้ามาในราชอาณาจักรและมิได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรในคราวเดียวกันอันเป็นการขัดแย้งกันแต่อย่างใด ส่วนปัญหาที่ว่าจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ หรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่จะต้องวินิจฉัยเมื่อมีคำพิพากษา หาทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่ หากเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ และร่วมกันทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษจำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งห้ามีความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 83, 160 จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 86 การกระทำของจำเลยทั้งห้าเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 บทหนัก จำคุกจำเลยที่ 1 สี่ปี ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 บทหนัก จำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 3 คนละ 2 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 4 ที่ 5 คนละ 1 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งห้ากระทำผิด 2 กรรม ลงโทษฐานร่วมกันทำไม้ยางโดยไม่รับอนุญาตตาม พระราชบัญญัติป่าไม้อีกกระทงหนึ่ง จำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 คนละ 3 ปี จำคุกจำเลยที่ 4 ที่ 5 คนละ 1 ปี 6 เดือน ส่วนความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ สำหรับความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยทั้งห้าไม่เกินห้าปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ส่วนความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ ศาลชั้นต้นเห็นว่า เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมาย หลายบทจึงไม่กำหนดโทษฐานนี้ ศาลอุทธรณ์ ว่าเป็นความผิด 2 กรรม กำหนดโทษจำคุกจำเลยทั้งห้าอีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นการแก้ไขมากจำเลยมีสิทธิฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในกระทงนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ - ความผิดฐานทำไม้ - แก้ไขคำพิพากษา - สิทธิฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งห้ามีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 83,160จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่5 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,86 การกระทำของจำเลยทั้งห้าเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 บทหนัก จำคุกจำเลยที่ 1 สี่ปี ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 บทหนักจำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 3 คนละ2 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 4 ที่ 5 คนละ 1 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งห้ากระทำผิด 2 กรรม ลงโทษฐานร่วมกันทำไม้ยางโดยไม่รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้อีกกระทงหนึ่งจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 คนละ 3 ปี จำคุกจำเลยที่ 4 ที่ 5 คนละ 1 ปี 6 เดือนส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยทั้งห้าไม่เกินห้าปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทจึงไม่กำหนดโทษฐานนี้ ศาลอุทธรณ์ว่าเป็นความผิด 2 กรรม กำหนดโทษจำคุกจำเลยทั้งห้าอีกกระทงหนึ่งจึงเป็นการแก้ไขมากจำเลยมีสิทธิฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในกระทงนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนไต่สวนคำร้องคืนของกลาง: ศาลพิจารณาเหตุผลและความไม่คัดค้านของโจทก์
ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบในข้อหากระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ทนายผู้ร้องมาศาลและยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องและพยานไม่มาศาลโดยไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด ขอเลื่อนการพิจารณาไปสัก 3-4 วัน โจทก์แถลงไม่คัดค้าน ดังนี้ เป็นการขอเลื่อนครั้งแรกเพียง 3-4 วัน ทั้งโจทก์ก็ไม่คัดค้าน ส่วนการที่ผู้ร้องและพยานไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ทนายผู้ร้องทราบนั้น จะถือเป็นความผิดของผู้ร้องไม่ได้ ประกอบกับเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม สมควรอนุญาตให้เลื่อนคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2148/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีแผ้วถางป่า การระบุอาณาเขตไม่จำเป็นหากจำเลยเข้าใจที่ดินพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องมีใจความสำคัญว่า จำเลยบังอาจแผ้วถางป่าและเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐในป่าห้วยอีเลิง ตำบลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร มีจำนวนเนื้อที่ 2 ไร่ โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ฯลฯ นั้น เป็นการบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีแล้วว่าเป็นที่ดินของรัฐในป่าห้วยอีเลิงจำนวนเนื้อที่ 2 ไร่ หาจำเป็นที่จะต้องระบุความกว้างยาวและทิศไหนจดอะไรไม่ เพราะได้ระบุจำนวนเนื้อที่ที่จำเลยทำการแผ้วถางยึดถือครอบครองแล้วฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ช้างของกลาง: การริบเฉพาะส่วนของเจ้าของที่รู้เห็นเป็นใจ
ช้างของกลางเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของสองคน คนละกึ่งหนึ่งเจ้าของคนหนึ่งรู้เห็นเป็นใจให้จำเลยนำช้างของกลางไปชักลากไม้ที่แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ดังนี้ ศาลย่อมริบช้างของกลางกึ่งหนึ่งเฉพาะส่วนของเจ้าของคนที่รู้เห็นเป็นใจสำหรับอีกกึ่งหนึ่งให้ตกได้แก่เจ้าของที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจ จะริบทั้งหมดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ช้างของกลาง: การริบเฉพาะส่วนของผู้รู้เห็นเป็นใจ
ช้างของกลางเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของสองคน คนละกึ่งหนึ่ง เจ้าของคนหนึ่งรู้เห็นเป็นใจให้จำเลยนำช้างของกลางไปชักลากไม้ที่แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ดังนี้ ศาลย่อมริบช้างของกลางกึ่งหนึ่งเฉพาะส่วนของเจ้าของคนที่รู้เห็นเป็นใจสำหรับอีกกึ่งหนึ่งให้ตกได้แก่เจ้าของที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจ จะริบทั้งหมดหาได้ไม่