พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,028 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับหลังศาลเพิกถอนหมายบังคับคดี: สิทธิในการขอคืนค่าธรรมเนียม
โจทก์และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลชั้นต้นมีข้อความว่า ค่าธรรมเนียมในส่วนที่ศาลไม่สั่งคืนและค่าทนายความให้เป็นพับ ส่วนจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยอมความด้วย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โดยพิพากษาว่า... ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ ในส่วนค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับนั้นมีความหมายว่าให้เป็นพับเฉพาะในส่วนที่ศาลไม่สั่งคืน มิใช่ว่าค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับทั้งหมดโดยไม่มีค่าธรรมเนียมที่ต้องคืนให้โจทก์เลย
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งเพิกถอนหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อ้างว่าออกไปโดยผิดหลงและแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์และคืนทรัพย์แก่จำเลยที่ 2 ต่อมาโจทก์จึงทราบว่าศาลชั้นต้นถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าตนไม่ได้ค่าธรรมเนียมศาลจากการบังคับคดีโดยยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว จึงยื่นคำแถลงขอคืนค่าธรรมเนียมศาลเป็นกรณีพิเศษ แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่สั่งคืนให้อ้างว่าศาลพิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2เป็นพับเช่นเดิม โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวอันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งเป็นที่แน่ชัดว่าไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ตามคำแถลงของโจทก์ มิใช่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งเพิกถอนหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อ้างว่าออกไปโดยผิดหลงและแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์และคืนทรัพย์แก่จำเลยที่ 2 ต่อมาโจทก์จึงทราบว่าศาลชั้นต้นถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าตนไม่ได้ค่าธรรมเนียมศาลจากการบังคับคดีโดยยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว จึงยื่นคำแถลงขอคืนค่าธรรมเนียมศาลเป็นกรณีพิเศษ แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่สั่งคืนให้อ้างว่าศาลพิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2เป็นพับเช่นเดิม โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวอันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งเป็นที่แน่ชัดว่าไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ตามคำแถลงของโจทก์ มิใช่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตีความขอบเขตการคืนค่าธรรมเนียมศาล และสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่คืนค่าธรรมเนียม
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลโดยตกลงว่าให้ค่าธรรมเนียมในส่วนที่ศาลไม่สั่งคืนเป็นพับ ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมโดยพิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ เช่นนี้ ตามความหมายในสัญญาประนีประนอมยอมความหมายความว่าให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับเฉพาะส่วนที่ศาลสั่งไม่คืนให้ มิใช่หมายความว่าค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับทั้งหมดโดยไม่มีค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องคืนให้แก่โจทก์เลย อันเป็นการทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความไร้ผล และขัดแย้งต่อเจตนาของคู่ความที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาขอค่าฤชาธรรมเนียมคืน แต่ศาลไม่สั่งคืนให้ เช่นนี้ เป็นการที่โจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น หากแต่เป็นอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลให้ โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่? คดีขับไล่หลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความผิดนัด ศาลฎีกาตัดสินกลับ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าเป็นผู้อาศัยออกจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์และฟ้องแย้ง ระหว่างพิจารณา โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า โจทก์จะโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลย ส่วนจำเลยจะให้เงินโจทก์ 600,000 บาท และระบุวันรับโอนกรรมสิทธิ์และชำระเงินไว้ หากฝ่ายใดผิดนัดให้บังคับคดีได้ทันที แต่จำเลยผิดนัด โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนี้ สภาพข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีเดิมคือ จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านของโจทก์ โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ต่อไป แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอม ข้อโต้แย้งสิทธิตามคำฟ้อง คำให้การ และฟ้องแย้งได้ถูกแปลงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ถือได้ว่าประเด็นแห่งคดีได้มีการวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดไปแล้วโดยคำพิพากษาตามยอม จำเลยจึงครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิขอบังคับคดีให้จำเลยชำระเงิน 600,000 บาท ในคดีดังกล่าว แต่การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ขอบังคับให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท เป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่เกิดขึ้นใหม่จากสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมซึ่งจำเลยผิดสัญญา และเป็นเรื่องที่โจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยนอกเหนือจากการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม คดีทั้งสองจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุคนละอย่างกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์, คำพิพากษาตามยอมไม่ชอบ, การดำเนินการรังวัดที่ดินเพื่อคำนวณค่าขึ้นศาล
ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 6 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8ผู้มรณะ เป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาและเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะสั่งคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 โดยศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่ง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และเนื่องจากคดีได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว แม้โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7เป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 แถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้จำเลยที่ 6 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 และทนายโจทก์ไม่คัดค้าน ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 6 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงยอมรับแนวเขตตามโฉนดที่ดินที่แต่ละฝ่ายออกโฉนดที่ดินแล้วและได้ครอบครองอยู่จริงและตกลงยอมรับแนวเขตที่ดินที่พิพาทตามแผนที่พิพาทหรือรายงานการรังวัดที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตและนำส่งศาลและให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้นเมื่อไม่มีแผนที่หรือรายงานการรังวัดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตดังที่ระบุไว้ซึ่งเป็นสาระสำคัญในอันที่จะระงับข้อพิพาทมาพิจารณาประกอบด้วยแล้ว ทำให้ข้อสัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่อาจระงับข้อพิพาทต่อกันได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ โดยเสียค่าขึ้นศาลไว้ 200 บาท ต่อมาในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ให้มีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดเพื่อหาเนื้อที่ดินพิพาทเพื่อใช้ในการคำนวณค่าขึ้นศาลเพิ่ม ปรากฏว่าก่อนที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จะทำการรังวัดที่ดินพิพาทดังกล่าว โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอม โดยศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเสียก่อน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27บัญญัติไว้ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรา 243(1)ประกอบมาตรา 247
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงยอมรับแนวเขตตามโฉนดที่ดินที่แต่ละฝ่ายออกโฉนดที่ดินแล้วและได้ครอบครองอยู่จริงและตกลงยอมรับแนวเขตที่ดินที่พิพาทตามแผนที่พิพาทหรือรายงานการรังวัดที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตและนำส่งศาลและให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้นเมื่อไม่มีแผนที่หรือรายงานการรังวัดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตดังที่ระบุไว้ซึ่งเป็นสาระสำคัญในอันที่จะระงับข้อพิพาทมาพิจารณาประกอบด้วยแล้ว ทำให้ข้อสัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่อาจระงับข้อพิพาทต่อกันได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ โดยเสียค่าขึ้นศาลไว้ 200 บาท ต่อมาในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ให้มีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดเพื่อหาเนื้อที่ดินพิพาทเพื่อใช้ในการคำนวณค่าขึ้นศาลเพิ่ม ปรากฏว่าก่อนที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จะทำการรังวัดที่ดินพิพาทดังกล่าว โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอม โดยศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเสียก่อน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27บัญญัติไว้ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรา 243(1)ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาตามยอมที่ไม่ชอบเนื่องจากขาดแผนที่รังวัด และการดำเนินการเรื่องค่าขึ้นศาลที่ไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ทั้งสี่แล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะสั่งคำร้องของโจทก์ทั้งสี่ที่ขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 ผู้มรณะ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 6 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 ผู้มรณะได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และเนื่องจากคดีได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 แถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 8 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 ผู้มรณะ ทนายโจทก์ทั้งสี่ไม่คัดค้าน ศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 6 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 ผู้มรณะ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมโดยสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ระบุว่า "โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงยอมรับแนวเขตตามโฉนดที่ดินที่แต่ละฝ่ายออกโฉนดที่ดินแล้วและได้ครอบครองอยู่แล้ว? โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงยอมรับแนวเขตที่ดินที่พิพาทในคดีนี้ตามแผนที่พิพาทหรือรายงานการรังวัดที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตและนำส่งศาลในคดีนี้?" แต่ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม คู่ความยังมิได้ส่งแผนที่พิพาทหรือรายงานการรังวัดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตดังที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นจะบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในวันที่มีคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความติดตามนำแผนที่หรือรายงานการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินมาส่งต่อศาล มิฉะนั้น ให้ถือตามแนวเขตภาพถ่ายที่แนบสัญญายอมซึ่งคู่ความแถลงว่าเป็นแนวเขตเดิมตามหลักหมุดที่ดิน อันแตกต่างไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ก็หาเป็นผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนคำพิพากษาตามยอมเปลี่ยนแปลงไป ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อไม่มีแผนที่หรือรายงานการรังวัดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตดังที่ระบุไว้ซึ่งเป็นสาระสำคัญในอันที่จะระงับข้อพิพาทมาพิจารณาประกอบด้วยแล้ว ทำให้ข้อสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่อาจระงับข้อพิพาทต่อกันได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว จึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมโดยยังไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเสียก่อน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมโดยสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ระบุว่า "โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงยอมรับแนวเขตตามโฉนดที่ดินที่แต่ละฝ่ายออกโฉนดที่ดินแล้วและได้ครอบครองอยู่แล้ว? โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงยอมรับแนวเขตที่ดินที่พิพาทในคดีนี้ตามแผนที่พิพาทหรือรายงานการรังวัดที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตและนำส่งศาลในคดีนี้?" แต่ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม คู่ความยังมิได้ส่งแผนที่พิพาทหรือรายงานการรังวัดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตดังที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นจะบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในวันที่มีคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความติดตามนำแผนที่หรือรายงานการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินมาส่งต่อศาล มิฉะนั้น ให้ถือตามแนวเขตภาพถ่ายที่แนบสัญญายอมซึ่งคู่ความแถลงว่าเป็นแนวเขตเดิมตามหลักหมุดที่ดิน อันแตกต่างไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ก็หาเป็นผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนคำพิพากษาตามยอมเปลี่ยนแปลงไป ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อไม่มีแผนที่หรือรายงานการรังวัดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตดังที่ระบุไว้ซึ่งเป็นสาระสำคัญในอันที่จะระงับข้อพิพาทมาพิจารณาประกอบด้วยแล้ว ทำให้ข้อสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่อาจระงับข้อพิพาทต่อกันได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว จึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมโดยยังไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเสียก่อน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องถูกจำกัดด้วยคำพิพากษาถึงที่สุด โจทก์ฟ้องซ้ำไม่ได้ แม้มีข้ออ้างใหม่
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ดำเนินการใส่ชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยทั้งสองฝ่ายรับว่า ที่ดินพิพาทมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของร่วมด้วย ศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้ว จำเลยที่ 3 จึงฟ้องจำเลยที่ 1 และโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขายให้โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 และเจ้าของรวมคนอื่น โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวให้การว่าจำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของรวม จำเลยที่ 3 เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจึงปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ คดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยคำพิพากษาศาลฎีกาว่า จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท 3 ใน 7 ส่วน จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของจำเลยที่ 3 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้โจทก์ โดยที่จำเลยที่ 3 มิได้ให้ความยินยอมและมิได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนสัญญา ดังกล่าวไม่ผูกพันกรรมสิทธิ์ ส่วนของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ขอเพิกถอนสัญญาดังกล่าวได้ ในระหว่างพิจารณาของคดี ดังกล่าว โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ว่า จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 แสดงเจตนาลวงฉ้อฉลโจทก์ด้วยการทำสัญญาประนีประนอมเพื่อให้ศาลพิพากษาตามยอมว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาท ทำให้โจทก์ซึ่งเป็น เจ้าหนี้เสียเปรียบและเสียหาย และศาลฎีกาได้พิจารณาคดีดังกล่าวโดยวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท 3 ใน 7 ส่วนพิพากษาให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สิทธิของจำเลยที่ 3 โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวจึงผูกพันตามคำพิพากษานั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม โดยอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยอื่นร่วมกับจำเลยที่ 1 ฉ้อฉลโจทก์โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว อันเป็นการอ้างข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่โจทก์ต้องผูกพันหาได้ไม่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความตกไป: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
แม้คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิ่มชื่อโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดั่งเช่นคดีนี้ แล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว แต่ต่อมาภายหลังโจทก์ฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข เมื่อโจทก์จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ย่อมแสดงว่าเงื่อนไขตามสัญญาไม่สำเร็จผล สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมตกไปไม่มีผลบังคับ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอม คำพิพากษาตามยอมก็ย่อมไม่มีผลบังคับเช่นกัน ดังนั้น ถือไม่ได้ว่าคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5992/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลการรังวัดสอบเขตที่ดินเป็นเด็ดขาดตามข้อตกลง หากผลรังวัดตรงตามข้อตกลงจำเลยต้องแพ้คดี
โจทก์และจำเลยตกลงท้ากันให้ถือเอาผลการรังวัดสอบเขตที่ดินพิพาทตามหลักวิชาการเป็นข้อชี้ขาดปัญหา เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการรังวัดทำแผนที่พิพาทโดยถูกต้องด้วยการส่องกล้องและให้ความเห็นว่า "อาคารพิพาทของจำเลยทั้งสองน่าจะอยู่ในที่ดินของโจทก์" ถือได้ว่าผลของการรังวัดสอบเขตสมความประสงค์ของคู่ความและตรงตามคำท้าของโจทก์และจำเลยที่ตกลงกันแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 การที่เจ้าพนักงานที่ดินให้ความเห็นว่า "น่าจะ" นั้นเป็นเพราะความเห็นที่ให้นั้นเกิดจากข้อเท็จจริงที่พบเห็นจากพยานหลักฐานในขณะกำลังทำการรังวัด หาใช่เป็นการไม่ยืนยันมั่นคงแต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5394-5395/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีใหม่เมื่อกระบวนพิจารณาเดิมไม่ชอบด้วยกฎหมาย: โจทก์ต้องยกข้อกล่าวหาในคดีเดิมเท่านั้น
โจทก์อ้างว่าในขณะที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามยอมนั้น โจทก์ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วยเพราะในช่วงนั้นโจทก์ไม่ได้อยู่ที่ศาล จำเลยทั้งสามร่วมกันนำบุคคลอื่นไปแสดงตัวเป็นโจทก์ต่อศาลและนำความเท็จแถลงต่อศาล เป็นเหตุให้ศาลหลงเชื่อและพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ หากเป็นจริงต้องถือว่ากระบวนพิจารณาที่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นย่อมเป็นการไม่ชอบ จึงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และคำพิพากษาตามยอมไม่มีผลผูกพันโจทก์ อันเป็นเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามมาตราดังกล่าว โจทก์ชอบที่จะยกขึ้นว่ากล่าวกันในคดีเดิมที่อ้างว่ามีการผิดระเบียบนั้น โจทก์จะมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ต่างหากหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5394-5395/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีใหม่เมื่อกระบวนพิจารณาเดิมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องยกฟ้อง เพราะเป็นการฟ้องซ้ำในคดีเดิม
โจทก์อ้างว่าในขณะที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามยอมนั้น โจทก์ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วยเพราะในช่วงนั้นโจทก์ไม่ได้อยู่ที่ศาล จำเลยทั้งสามร่วมกันนำบุคคลอื่นไปแสดงตัวเป็นโจทก์ต่อศาลและนำความเท็จแถลงต่อศาล เป็นเหตุให้ศาลหลงเชื่อและพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ หากเป็นจริงต้องถือว่ากระบวนพิจารณาที่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นย่อมเป็นการไม่ชอบ จึงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และคำพิพากษาตามยอมไม่มีผลผูกพันโจทก์ อันเป็นเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามมาตราดังกล่าว โจทก์ชอบที่จะยกขึ้นว่ากล่าวกันในคดีเดิมที่อ้างว่ามีการผิดระเบียบนั้น โจทก์จะมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ต่างหากหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้