พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,028 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8508/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีสัญญาประนีประนอมยอมความหลังผิดนัดชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้
แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 5 จะระบุไว้ว่า เมื่อจำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทโอนไปยังจำเลยที่ 1 ทันที และโจทก์จะดำเนินการจดทะเบียนโอนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรายการสมุดคู่มือจดทะเบียนให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเสียก่อน โดยเช็คที่ออกชำระหนี้ให้แก่โจทก์ถูกธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงิน 4 ฉบับ โจทก์จึงได้ใช้สิทธิของตนเพื่อการบังคับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 4ซึ่งระบุว่า หากจำเลยทั้งสองผิดนัดงวดใด งวดหนึ่ง ให้ถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดทั้งหมดและยินยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที โดยหักส่วนที่ชำระมาแล้วออกก่อนคงบังคับเอาเฉพาะส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินที่ค้างชำระ พร้อมทั้งยินยอมให้โจทก์กลับเข้าครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อได้ทันที นอกจากนี้แล้วข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาก็ปรากฏว่าหลังจากผิดนัดชำระหนี้แล้ว จำเลยทั้งสองได้ยินยอมให้โจทก์นำรถยนต์ดังกล่าวกลับคืนไปอยู่ในความครอบครองของโจทก์ด้วย ฉะนั้นเมื่อโจทก์ได้รับรถยนต์ซึ่งยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของตนกลับคืนมาแล้วโจทก์จึงสามารถนำรถยนต์นั้นออกขายทอดตลาดและโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อได้โดยไม่อาจถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 5 แต่อย่างใด โจทก์ได้นำรถยนต์ออกขายทอดตลาดและโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อไป ซึ่งการขายและการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ดังกล่าวได้กระทำภายหลังที่จำเลยทั้งสองตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาแล้ว การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นผลให้หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระงับไปดังที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างเมื่อโจทก์ยังได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน โจทก์จึงบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8471/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการตรวจพิสูจน์ทางแพทย์ในคำท้า – ศาลยึดหลักความสมเหตุสมผลในการพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด
คู่ความตกลงท้ากันว่า หากเสียงข้างมากจากผลการตรวจตามหลักทางการแพทย์ของโรงพยาบาล 3 แห่งระบุว่าโจทก์ที่ 2เป็นบุตรผู้ตาย จำเลยทั้ง 5 ยอมให้โจทก์ที่ 2 รับมรดกของผู้ตายตามสิทธิ เมื่อคำท้าระบุให้โรงพยาบาล 3 แห่งใช้วิธีตรวจตามหลักการแพทย์ โดยมุ่งเน้นที่จะให้พิสูจน์ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่ เป็นประเด็นสำคัญ วิธีการตรวจจึงเป็นเรื่องที่โรงพยาบาลแต่ละแห่งจะต้องไปดำเนินการตามที่เห็นสมควรโดยใช้หลักทางการแพทย์เพื่อให้ได้ผลออกมาแน่นอน และตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด หาได้มีข้อจำกัดว่าจะต้องเป็นการตรวจพิสูจน์เพียงครั้งเดียวหรือการตรวจพิสูจน์จะต้องกระทำเฉพาะระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นบุตรผู้ตายเท่านั้นไม่หากโรงพยาบาลหนึ่งโรงพยาบาลใดเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องตรวจพิสูจน์เพิ่มเติมโดยได้ทำการตรวจ 2 ครั้ง หรือจะต้องนำบุคคลภายนอกซึ่งอ้างว่าเป็นบิดาที่แท้จริงของโจทก์ที่ 2 มาตรวจพิสูจน์เพื่อให้ได้ผลแน่นอนขึ้น ก็ย่อมกระทำได้ ไม่เป็นการปฏิบัตินอกเหนือคำท้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8281/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ลำดับการบังคับคดีตามสัญญาต่างตอบแทน และสิทธิในการขอปฏิบัติการชำระหนี้ก่อน
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีสิทธิบังคับจำเลยสามประการ ประการแรกคือบังคับให้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทโดยโจทก์ต้องชำระเงินตอบแทนแก่จำเลย ประการที่สองคือบังคับให้ใช้ค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยไม่สามารถโอนสิทธิในที่ดินพิพาทได้ และประการที่สามคือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาท สำหรับสิทธิของโจทก์ในประการแรกและประการที่สองการบังคับคดีต้องเป็นไปตามลำดับเพราะมิใช่กรณีที่อาจเลือกการชำระหนี้ได้ เมื่อที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถใช้สิทธิบังคับในประการแรกคือให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ โจทก์ย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับในประการที่สองให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์เพื่อยึดทรัพย์สินของจำเลยมาชำระค่าเสียหายจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ต้องชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้เมื่อโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนเสียก่อน แล้วจึงขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเลยเช่นนี้ จึงต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนและอาจใช้สิทธิขอให้บังคับคดีแก่อีกฝ่ายหนึ่งตามสัญญาต่อไป ยังไม่อาจถือว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ผิดนัดจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
จำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ต้องชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้เมื่อโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนเสียก่อน แล้วจึงขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเลยเช่นนี้ จึงต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนและอาจใช้สิทธิขอให้บังคับคดีแก่อีกฝ่ายหนึ่งตามสัญญาต่อไป ยังไม่อาจถือว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ผิดนัดจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7018/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความซื้อขายที่ดิน: สิทธิขับไล่เมื่อผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความมีสาระสำคัญอยู่ 4 ประการคือ (1) จำเลยยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ (2) โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคา 2,600,000 บาท โดยแบ่งการชำระราคาเป็น 2 งวด (3) โจทก์ตกลงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยเมื่อได้รับชำระเงินค่าซื้อขายจากจำเลยครบถ้วนและ (4) ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อใดข้อหนึ่ง ยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งบังคับคดีได้ทันที อันเป็นที่เห็นได้ว่าสัญญามิได้ระบุไว้เลยว่าหากจำเลยไม่ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินตามสัญญาแล้ว ให้การซื้อขายที่ดินเป็นอันเลิกกันและให้โจทก์บังคับขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกจากที่ดินได้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 ทวิ ฉะนั้น ในเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความคำพิพากษาและคำบังคับของศาลชั้นต้นไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้โดยชัดแจ้ง ก็ต้องถือว่าจำเลยยังมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกพิพากษาให้ขับไล่ตามมาตรา 296 ทวิ ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจที่จะขอหมายบังคับคดีต่อศาลให้ขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้นอกศาลของผู้ค้ำประกันและการยกฟ้องคดี การไต่สวนข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาท
จำเลยทั้งหกให้การต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งหกเสร็จสิ้น ในวันนัดอ่าน คำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 จำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ไม่คัดค้าน แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แถลงคัดค้านว่าทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เสียเปรียบและยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ 10,000,000 บาท ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกันในวงเงิน 400,000 บาท หากจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ชำระเงินให้โจทก์ 10,000,000 บาท จริง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมพ้นความรับผิดไปด้วย ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 10,000,000 บาท ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำพิพากษา เป็นการกล่าวอ้างว่ามีการชำระหนี้นอกศาลและเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวมาให้ศาลไต่สวนเพื่อวินิจฉัยยกฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ไม่ได้ ทั้งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ตามคำคัดค้านของจำเลยที 2 และที่ 3 แล้ว ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าไม่มีเหตุที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความขอบเขตเกินคดีแรงงาน และการไกล่เกลี่ยคดีแรงงาน
ใบแต่งทนายความของโจทก์ ในคดีแรงงานระบุไว้ชัดว่าให้ทนายโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของโจทก์ด้วย เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ ทนายความโจทก์จึงมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงานจะมีข้อตกลงด้วยว่า โจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญาของศาลจังหวัดเชียงราย และถอนฟ้อง ถอนคำร้องทุกข์ในคดีอื่น ๆ และสัญญาว่าโจทก์จำเลยต่างจะไม่ดำเนินคดีใด ๆ ต่อกันอีก ไม่ว่าทางแพ่งหรืออาญาก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวทำนอกเหนือขอบอำนาจที่โจทก์มอบหมาย เพราะตามใบแต่งทนายความมิได้จำกัดไว้แต่เฉพาะคดีแรงงานเท่านั้น ทั้งข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวเนื่องกับข้อตกลงซึ่งเป็นประเด็นที่พิพาทกันในคดีแรงงาน
โจทก์ในคดีอาญามีอำนาจถอนฟ้องได้ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือก่อนคดีถึงที่สุดแล้วแต่กรณี ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 35 ข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนฟ้องและถอนคำร้องทุกข์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ในการพิจารณาคดีแรงงานศาลจะต้องดำเนินการไกล่เกลี่ยตั้งแต่แรกที่คู่ความมาพร้อมกันแล้วและไกล่เกลี่ยตลอดไปจนเสร็จการพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 38 และมาตรา 43 บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงกันได้โดยมิได้จำกัดให้ศาลแรงงานต้องไกล่เกลี่ยได้แต่เฉพาะคดีแรงงาน
โจทก์ในคดีอาญามีอำนาจถอนฟ้องได้ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือก่อนคดีถึงที่สุดแล้วแต่กรณี ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 35 ข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนฟ้องและถอนคำร้องทุกข์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ในการพิจารณาคดีแรงงานศาลจะต้องดำเนินการไกล่เกลี่ยตั้งแต่แรกที่คู่ความมาพร้อมกันแล้วและไกล่เกลี่ยตลอดไปจนเสร็จการพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 38 และมาตรา 43 บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงกันได้โดยมิได้จำกัดให้ศาลแรงงานต้องไกล่เกลี่ยได้แต่เฉพาะคดีแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการประนีประนอมยอมความข้ามประเภทคดี และการไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ใบแต่งทนายความของโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแรงงานระบุว่าให้ทนายโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของโจทก์ด้วย เช่น การประนีประนอมยอมความทนายโจทก์จึงมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์แม้สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงว่า โจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญา และถอนฟ้อง ถอนคำร้องทุกข์ในคดีอื่น ๆ และโจทก์จำเลยต่างจะไม่ดำเนินคดีใด ๆ ต่อกันอีกไม่ว่าทางแพ่งหรืออาญา และคดีอาญาดังกล่าวมิใช่คดีแรงงาน แต่ในใบแต่งทนายดังกล่าวมอบหมายให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้โดยมิได้จำกัดไว้แต่เฉพาะคดีแรงงานเท่านั้น และข้อตกลงดังกล่าวก็เกี่ยวเนื่องกับประเด็นที่พิพาทกันในคดีแรงงาน ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 38 มิได้จำกัดให้ศาลแรงงานต้องไกล่เกลี่ยได้แต่เฉพาะคดีแรงงาน ศาลแรงงานจึงพิพากษาตามยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงร่วมกันของคู่ความมีผลผูกพันศาล ไม่ต้องสืบพยานเพิ่มเติม
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินของโจทก์แล้วปรากฏว่ารั้วลวดหนามที่จำเลยทำขึ้นอยู่ในเนื้อที่ดังกล่าว จำเลยยอมแพ้แต่หากรั้วดังกล่าวอยู่นอกเนื้อที่ โจทก์ยอมแพ้ หลังจากการรังวัดที่ดินดังกล่าวคู่ความตรวจดูแผนที่พิพาทและบันทึกการนำชี้แนวเขตตามที่เจ้าพนักงานที่ดินส่งมาแล้วแถลงรับร่วมกันว่าเสารั้วคอนกรีตขึงด้วยลวดหนามอยู่ภายในที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาท ดังนี้ แม้ในแผนที่พิพาทและบันทึกการชี้แนวเขตไม่ปรากฏความเห็นของเจ้าพนักงานที่ดินว่าเสารั้วคอนกรีตขึงด้วยลวดหนามที่จำเลยทำขึ้นรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่ แต่ในวันที่เจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัด ทั้งสองฝ่ายต่างไปนำชี้แนวเขตที่ดินของตนย่อมต้องทราบดีว่าเสารั้วคอนกรีตขึงด้วยลวดหนามที่จำเลยทำขึ้นดังกล่าวรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่ เมื่อคู่ความต่างลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งมีข้อความระบุว่าคู่ความแถลงรับร่วมกันว่า เสารั้วคอนกรีตขึงด้วยลวดหนามอยู่ภายในที่ดินตามโฉนดพิพาทโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน ย่อมต้องถือว่าคู่ความยอมรับความถูกต้องของข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ดำเนินการสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยจึงเป็นอันถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8309/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความชอบด้วยกฎหมาย ศาลต้องพิพากษาตามข้อตกลง หากอัตราดอกเบี้ยไม่เกินสิทธิที่โจทก์มี
การที่จำเลยทั้งสองยินยอมชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้องพร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องที่คู่ความตกลงกันไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยทั้งสองได้ตามประกาศกระทรวงการคลังและสัญญากู้เงิน สัญญาประนีประนอมยอมความจึงมิได้ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นต้องพิพากษาไปตามนั้น จะลด อัตราดอกเบี้ยเพราะเหตุที่เห็นว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินส่วนมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7636/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงถือข้อเท็จจริงคดีอาญาในคดีแพ่ง ไม่ถือเป็นคำท้าแพ้ชนะ ศาลพิจารณาตามข้อเท็จจริง
ข้อความตามรายงานกระบวนพิจารณาฟังได้เพียงว่ามีการเสนอท้ากันในครั้งแรกจะถือให้เอาผลคดีอาญาของศาลชั้นต้นเป็นข้อแพ้ชนะกันในคดีโดยทนายจำเลยขอไปศึกษาข้อเท็จจริงจากทนายจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวเสียก่อน ในวันนัดต่อมาคู่ความแถลงร่วมกันต่อศาลใหม่ว่าขอถือเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในผลแห่งคดีอาญาของศาลชั้นต้น มาเป็นข้อเท็จจริงในคดีนี้ โดยไม่มีข้อตกลงให้ถือเอาผลคดีอาญาดังกล่าวมาเป็นข้อแพ้ชนะกันตามที่เคยเสนอท้ากันไว้ แสดงว่าคู่ความไม่ประสงค์จะถือเอาผลคดีอาญาดังกล่าวมาเป็นข้อแพ้ชนะกันในคดีนี้ คงเพียงแต่ให้ถือข้อเท็จจริงคดีนี้ตามข้อเท็จจริงในคดีอาญาเท่านั้น ข้อตกลงตามรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำท้า