พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,028 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลต้องใช้ดุลพินิจพิจารณาปัจจัยในการกำหนดค่าเสียหาย
จำเลยให้การว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงาน การที่ศาลแรงงานพิเคราะห์เอกสารสัญญาจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็เพื่อวินิจฉัยตามคำท้าว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีการทดลองงานหรือไม่ และการที่ศาลแรงงานพิเคราะห์คำว่าพนักงานทดลองงานและคำว่าพนักงานสัญญาจ้างในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอน แต่มิใช่เป็นการทดลองงาน เป็นการวินิจฉัยคดีตรงตามคำท้าว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานหรือไม่แล้ว
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากจำเลยแพ้คดีตามคำท้า ถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ หมายความว่า เมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้วจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมดังนี้ สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์ โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบ สมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากจำเลยแพ้คดีตามคำท้า ถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ หมายความว่า เมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้วจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมดังนี้ สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์ โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบ สมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีประเด็นสัญญาจ้างและการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ค่าเสียหายตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงานการที่ศาลแรงงานพิเคราะห์เอกสารสัญญาจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็เพื่อวินิจฉัยตามคำท้าว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีการทดลองงานหรือไม่ และการที่ศาลแรงงานพิเคราะห์คำว่าพนักงานทดลองงานและคำว่าพนักงานสัญญาจ้างในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอน แต่มิใช่เป็นการทดลองงานเป็นการวินิจฉัยคดีตรงตามคำท้าว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานหรือไม่แล้ว
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากจำเลยแพ้คดีตามคำท้าถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ หมายความว่าเมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้ว จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์ โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากจำเลยแพ้คดีตามคำท้าถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ หมายความว่าเมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้ว จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์ โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าสู้คดีประเด็นสัญญาจ้าง และการกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยให้การว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงาน การที่ศาลแรงงาน พิเคราะห์เอกสารสัญญาจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็เพื่อวินิจฉัยตามคำท้าว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีการทดลองงานหรือไม่และการที่ศาลแรงงานพิเคราะห์คำว่า พนักงานทดลองงาน และคำว่าพนักงานสัญญาจ้าง ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนแต่มิใช่ เป็นการทดลองงานเป็นการวินิจฉัยคดีตามคำท้าว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานหรือไม่ ตรงตามคำท้าแล้ว
จำเลยแพ้คดีตามคำท้า โดยจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจะมีมากน้อยเพียงใดนั้น ศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
จำเลยแพ้คดีตามคำท้า โดยจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจะมีมากน้อยเพียงใดนั้น ศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงท้าพิสูจน์ลายมือชื่อ-พิมพ์นิ้วมือในสัญญาซื้อขายที่ดิน และการอุทธรณ์เรื่องข้อเท็จจริงที่ไม่เคยว่ากันในศาล
โจทก์ทั้งสองและจำเลยตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นส่งหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ว่าลายมือที่ปรากฏในช่องผู้ขายเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และลายพิมพ์นิ้วมือที่ปรากฏในช่องผู้ขายเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 2 หรือไม่ หากผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 2 โจทก์ทั้งสองยอมแพ้คดี แต่ถ้าหากไม่ใช่จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ลงความเห็นว่าลายมือชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2จริง ครบเงื่อนไขตามคำท้า ศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ การที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์โดยอ้างว่าคำท้าดังกล่าวขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเพราะลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ขายในหนังสือสัญญาขายที่ดินไม่ชัดเจน ไม่สามารถตรวจสอบได้ เป็นลายพิมพ์นิ้วมือที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกอุทธรณ์โดยอ้างว่าข้ออ้างตามอุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันไร้สาระ จึงไม่รับวินิจฉัย แต่ในส่วนคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งว่าการท้ากันไม่ขัดต่อกฎหมายจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เช่นเดียวกัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าพิสูจน์หลักฐานและการยกฟ้องตามข้อตกลง การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นเป็นเหตุต้องห้าม
โจทก์ทั้งสองและจำเลยตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นส่งหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าลายมือที่ปรากฏในช่องผู้ขายเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และลายพิมพ์นิ้วมือที่ปรากฏในช่องผู้ขายเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 2 หรือไม่ หากผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 2 โจทก์ทั้งสองยอมแพ้คดี แต่ถ้าหากไม่ใช่จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ลงความเห็นว่าลายมือชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 จริง ครบเงื่อนไขตามคำท้า ศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ การที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์โดยอ้างว่าคำท้าดังกล่าวขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเพราะลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ขายในหนังสือสัญญาขายที่ดินไม่ชัดเจน ไม่สามารถตรวจสอบได้ เป็นลายพิมพ์นิ้วมือที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกอุทธรณ์โดยอ้างว่าข้ออ้างตามอุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันไร้สาระ จึงไม่รับวินิจฉัย แต่ในส่วนคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งว่าการท้ากันไม่ขัดต่อกฎหมายจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เช่นเดียวกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าในศาล: ผลผูกพันตามข้อตกลงรังวัดที่ดิน และความชอบด้วยกฎหมายของกระบวนการพิจารณา
การท้ากันในศาล คือ การแถลงร่วมกันของคู่ความตกลงกันให้ ศาลตัดสินชี้ขาดตามข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่คู่ความมีความเห็นตรงกันข้ามในเหตุการณ์ภายหน้าอันไม่แน่นอนและจะแน่นอนได้ต่อเมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งถ้าเหตุการณ์นั้นตรงกับความเห็นของฝ่ายใด ศาลจะต้องตัดสินให้ฝ่ายนั้นชนะ
ศาลชั้นต้นกะประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งห้ามีสิทธิในบริเวณที่ดินพิพาทดีกว่ากัน คู่ความไม่ประสงค์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานไปตามปกติ แต่จะยอมรับข้อเท็จจริงกันตามที่เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตมาแล้วหากปรากฏว่าหลักหมุด จ.1078ล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนของจำเลย โจทก์จะเป็นฝ่ายแก้ไขโฉนดให้มา ในแนวตรงที่วัดระหว่างหลักหมุดค.4463กับหลักหมุดคก.5หรือหลักหมุด ค.4483 แต่ถ้าหากหลักหมุด จ.1078 ไม่ได้ล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลย จำเลยจะรื้อถอนรั้วที่ล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แล้วคู่ความจะเลิกคดีกัน โดยโจทก์จะถอนฟ้องและจำเลยไม่คัดค้าน ซึ่งตามคำฟ้อง คำให้การและ ฟ้องแย้งและคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ปัญหาว่าหลักหมุด จ.1070 อยู่ใน ที่ดินของโจทก์หรือจำเลยเป็นข้อเท็จจริงที่จะทำให้คดีแพ้ชนะกันใน ประเด็นข้อพิพาท ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นคำท้าตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 มีผลใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการมาตามข้อตกลงแล้ว ศาลชั้นต้นก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดไปตามนั้น
ศาลชั้นต้นกะประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งห้ามีสิทธิในบริเวณที่ดินพิพาทดีกว่ากัน คู่ความไม่ประสงค์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานไปตามปกติ แต่จะยอมรับข้อเท็จจริงกันตามที่เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตมาแล้วหากปรากฏว่าหลักหมุด จ.1078ล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนของจำเลย โจทก์จะเป็นฝ่ายแก้ไขโฉนดให้มา ในแนวตรงที่วัดระหว่างหลักหมุดค.4463กับหลักหมุดคก.5หรือหลักหมุด ค.4483 แต่ถ้าหากหลักหมุด จ.1078 ไม่ได้ล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลย จำเลยจะรื้อถอนรั้วที่ล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แล้วคู่ความจะเลิกคดีกัน โดยโจทก์จะถอนฟ้องและจำเลยไม่คัดค้าน ซึ่งตามคำฟ้อง คำให้การและ ฟ้องแย้งและคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ปัญหาว่าหลักหมุด จ.1070 อยู่ใน ที่ดินของโจทก์หรือจำเลยเป็นข้อเท็จจริงที่จะทำให้คดีแพ้ชนะกันใน ประเด็นข้อพิพาท ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นคำท้าตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 มีผลใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการมาตามข้อตกลงแล้ว ศาลชั้นต้นก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดไปตามนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าในศาล: ข้อตกลงให้รังวัดที่ดินเพื่อวินิจฉัยสิทธิ และผลผูกพันตามข้อตกลง
การท้ากันในศาลก็คือการแถลงร่วมกันของคู่ความตกลงกันให้ศาลตัดสินชี้ขาดตามข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่คู่ความมีความเห็นตรงกันข้ามในเหตุการณ์ภายหน้าอันไม่แน่นอนและจะแน่นอนได้ต่อเมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งถ้าเหตุการณ์นั้นตรงกับความเห็นของฝ่ายใด ศาลจะต้องตัดสินให้ในฝ่ายนั้นชนะ
คู่ความมีข้อตกลงกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ให้นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่ดินพิพาทใหม่ หากปรากฏว่าหลักหมุด จ. 1078 ล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนของจำเลยทั้งห้า โจทก์จะเป็นฝ่ายแก้ไขโฉนดให้มาในแนวตรงที่วัดระหว่างหลักหมุด ค. 4463 กับหลักหมุด คก. 5 หรือหลักหมุด ค. 4483 แต่ถ้าหากหลักหมุด จ. 1078 ไม่ได้ล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยทั้งห้า จำเลยทั้งห้าจะรื้อถอนรั้วที่ล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แล้วคู่ความจะเลิกคดีกันโดยโจทก์จะถอนฟ้อง ปัญหาว่าหลักหมุด จ. 1070 อยู่ในที่ดินของโจทก์หรือจำเลยทั้งห้าเป็นข้อเท็จจริงที่จะทำให้คดีแพ้ชนะกันในประเด็นข้อพิพาทข้อตกลงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นเรื่องที่คู่ความไม่ประสงค์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานไปตามปกติแต่จะยอมรับข้อเท็จจริงกันตามที่เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตมาแล้ว จึงมีลักษณะเป็นคำท้าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 มีผลใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการมาตามข้อตกลงแล้ว ศาลชั้นต้นก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดไปตามนั้น ไม่ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป
คู่ความมีข้อตกลงกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ให้นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่ดินพิพาทใหม่ หากปรากฏว่าหลักหมุด จ. 1078 ล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนของจำเลยทั้งห้า โจทก์จะเป็นฝ่ายแก้ไขโฉนดให้มาในแนวตรงที่วัดระหว่างหลักหมุด ค. 4463 กับหลักหมุด คก. 5 หรือหลักหมุด ค. 4483 แต่ถ้าหากหลักหมุด จ. 1078 ไม่ได้ล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยทั้งห้า จำเลยทั้งห้าจะรื้อถอนรั้วที่ล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แล้วคู่ความจะเลิกคดีกันโดยโจทก์จะถอนฟ้อง ปัญหาว่าหลักหมุด จ. 1070 อยู่ในที่ดินของโจทก์หรือจำเลยทั้งห้าเป็นข้อเท็จจริงที่จะทำให้คดีแพ้ชนะกันในประเด็นข้อพิพาทข้อตกลงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นเรื่องที่คู่ความไม่ประสงค์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานไปตามปกติแต่จะยอมรับข้อเท็จจริงกันตามที่เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตมาแล้ว จึงมีลักษณะเป็นคำท้าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 มีผลใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการมาตามข้อตกลงแล้ว ศาลชั้นต้นก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดไปตามนั้น ไม่ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5156/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าตรวจสอบอาคารพิพาทต้องระบุฝ่ายที่เอนมาเป็นเหตุละเมิดชัดเจน มิใช่ระบุเพียงอาคารทั้งสองหลังเอียง
โจทก์ จำเลยตกลงท้ากันว่าหากโยธาธิการจังหวัดหรือวิศวกรของโยธาธิการจังหวัดชี้ขาดว่าตึกของโจทก์หรือของจำเลยเป็นฝ่ายที่เอนมาจนเป็นเหตุให้เกิดการละเมิด คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมแพ้คดี ส่วนเรื่องค่าเสียหายคู่ความท้ากันขอให้โยธาธิการจังหวัดหรือวิศวกรของโยธาธิการจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบความเสียหายและคิดคำนวณโดยให้ระบุค่าแรงและค่าวัสดุในการซ่อมแซมตึกไว้ด้วยวิศวกรของโยธาธิการจังหวัดไปตรวจสอบตึกพิพาทของโจทก์ จำเลย แล้วมีหนังสือของโยธาธิการจังหวัดตอบว่า อาคารพิพาทเกิดจากการเอียงของตัวอาคารทั้งสองหลังโดยแต่ละหลังต่างก็เอียงเข้าหากันสาเหตุไม่น่าจะเกิดจากการออกแบบหรือการควบคุมงานก่อสร้างที่ผิดพลาดเนื่องจากอาคารทั้งสองหลังมีอายุการใช้งานมานานกว่า 10 ปีแล้วทั้งไม่พบลักษณะการวิบัติของโครงสร้างอาคารที่พอจะชี้ประเด็นว่าเกิดจากความผิดพลาดของการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง เช่น คาน หรือเสาแตกหักแต่อย่างใด การเอียงตัวของอาคารทั้งสองหลังน่าจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ คือน่าจะเกิดจากความสามารถในการรับน้ำหนักของดินใต้ฐานรากอาคารทั้งสองหลังมีความสามารถในการรับน้ำหนักลดลงน่าจะเกิดจากมีการไหลซึมของน้ำผิวดินลงไปสู่ดินใต้ฐานรากอาคารทำให้ดินใต้ฐานรากอาคารอ่อนตัวลงหรือเกิดจากระดับน้ำใต้ดินที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนเรื่องค่าเสียหายนั้นคู่กรณีแต่ละฝ่ายต่างน่าจะรับผิดชอบค่าเสียหายและซ่อมแซมส่วนที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ดังนี้หนังสือของโยธาธิการจังหวัดยังไม่เป็นการชี้ขาดประเด็นพิพาทตามคำท้า คู่ความต้องดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: 'หรือ' หมายถึงแยกคำนวณรายบุคคล
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมมีข้อความว่า "จำเลยยอมรับผิดชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าศึกษาเล่าเรียนให้แก่บุตรทั้งสองคือ เด็กชาย อ. และเด็กชาย พ. เป็นเงินจำนวนเดือนละ 16,000 บาท โดยจำเลยยินยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บุตรทั้งสองคนจนกว่าจะเรียนจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะ" ดังนี้ เมื่อสัญญาใช้คำว่า "หรือ" จำเลยต้องชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองคนละ8,000 บาท ต่อเดือน จนกว่าบุตรคนใดคนหนึ่งจะจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะในกรณีหนึ่งกรณีใดที่มาถึงก่อนแก่โจทก์จึงจะเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุตร โดยให้คิดคำนวณสำหรับบุตรเป็นรายบุคคลไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนเมื่อใช้คำว่า 'หรือ' ในสัญญาประนีประนอม
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมมีข้อความว่า "จำเลยยอมรับผิดชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าศึกษาเล่าเรียนให้แก่บุตรทั้งสองคือ เด็กชาย อ.และเด็กชาย พ. เป็นเงินจำนวนเดือนละ 16,000 บาทโดยจำเลยยินยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บุตรทั้งสองคนจนกว่าจะเรียนจบชั้นปริญญาตรี หรือบรรลุนิติภาวะ" ดังนี้ เมื่อสัญญาใช้คำว่า "หรือ" จำเลยต้องชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองคนละ 8,000 บาท ต่อเดือนจนกว่าบุตรคนใดคนหนึ่งจะจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะในกรณีหนึ่งกรณีใดที่มาถึงก่อนแก่โจทก์จึงจะเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุตร โดยให้คิดคำนวณสำหรับบุตรเป็นรายบุคคลไป