คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 138

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,028 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้าทายผลรังวัดที่ดิน: การตีความ 'สิ่งปลูกสร้างใด ๆ' หมายถึงทั้งหลัง
โจทก์จำเลยได้ตกลงท้ากันมีข้อความว่า ให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดตรวจสอบที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) หากผลการรังวัดปรากฏว่ามีสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ของจำเลยอยู่ในแนวเขตที่ดินดังกล่าวจำเลยยอมถือว่าเป็นที่ดินของโจทก์ ยอมขนย้ายข้าวของและบริวารออกไปจากเขตที่ดินดังกล่าวทันที หากผลการรังวัดปรากฏว่าบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยอยู่อาศัยไม่ได้อยู่ในที่ดินดังกล่าว โจทก์ยอมถอนฟ้อง และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบ้านพิพาทอีกต่อไป ตามคำท้าดังกล่าว คำว่า "สิ่งปลูกสร้างใด ๆ ของจำเลยอยู่ในแนวเขตที่ดิน"หมายถึงต้องเป็นบ้านเรือนที่จำเลยอยู่อาศัยทั้งหลังอยู่ในแนวเขตที่ดิน ไม่ใช่ล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บ้านเรือนที่จำเลยอยู่อาศัยไม่ได้อยู่ในแนวเขตที่ดินของโจทก์ เพียงแต่ล้ำแนวเขตที่ดินเพียง 2 ตารางวาเท่านั้น โจทก์จึงต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความข้อตกลงท้ากันรังวัดที่ดิน: สิ่งปลูกสร้างต้องอยู่ในแนวเขตที่ดินทั้งหลัง มิใช่เพียงล้ำเข้าไป
โจทก์จำเลยได้ตกลงท้ากันมีข้อความว่า ให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดตรวจสอบที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) หากผลการรังวัดปรากฏว่ามีสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ของจำเลยอยู่ในแนวเขตที่ดินดังกล่าว จำเลย ยอมถือว่าเป็นที่ดินของโจทก์ ยอมขนย้ายข้าวของและบริวารออกไปจาก เขตที่ดินดังกล่าวทันที หากผลการรังวัดปรากฏว่าบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยอยู่อาศัยไม่ได้อยู่ในที่ดินดังกล่าว โจทก์ยอมถอนฟ้อง และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบ้านพิพาทอีกต่อไปตามคำท้าดังกล่าว คำว่า "สิ่งปลูกสร้างใด ๆ ของจำเลยอยู่ในแนวเขตที่ดิน" หมายถึงต้องเป็นบ้านเรือนที่จำเลยอยู่อาศัยทั้งหลังอยู่ในแนวเขตที่ดิน ไม่ใช่ล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินเพียง ส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บ้านเรือนที่จำเลยอยู่อาศัย ไม่ได้อยู่ในแนวเขตที่ดินของโจทก์ เพียงแต่ล้ำแนวเขตที่ดินเพียง 2 ตารางวาเท่านั้น โจทก์จึงต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมต้องทำหลังศาลรับฟ้องคดี การบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
การประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลจะพิพากษาตามยอมได้ ศาลจะต้องมีคำสั่งรับฟ้องคดีนั้นแล้ว
โจทก์ฟ้องพร้อมยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้อง ส่วนคำฟ้องรอไว้สั่งเมื่อไต่สวนคำร้องขออนาถาเสร็จแล้วระหว่างไต่สวน โจทก์จำเลยทั้งหกตกลงกันได้และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมโดยศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งให้รับฟ้องโจทก์ก่อน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ตามที่ ป.วิ.พ.มาตรา 27 บัญญัติไว้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงไม่ชอบ คำบังคับและหมายบังคับคดีที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามไปด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของจำเลย ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1)ประกอบด้วย มาตรา 247 และให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมต้องมีคำสั่งรับฟ้องก่อน มิฉะนั้นเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
การประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลจะพิพากษาตามยอมได้ ศาลจะต้องมีคำสั่งรับฟ้องคดีนั้นแล้ว
โจทก์ฟ้องพร้อมยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้อง ส่วนคำฟ้องรอไว้สั่งเมื่อไต่สวนคำร้องขออนาถาเสร็จแล้วระหว่างไต่สวน โจทก์จำเลยทั้งหกตกลงกันได้และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมโดยศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งให้รับฟ้องโจทก์ก่อนจึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27บัญญัติไว้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงไม่ชอบ คำบังคับและหมายบังคับคดีที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามไปด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของจำเลย ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบด้วยมาตรา 247 และให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความครอบคลุมค่าเสียหายทั้งหมดจากการเลิกจ้าง โจทก์จึงฟ้องซ้ำไม่ได้
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ หรือจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น แม้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 จะกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้แตกต่างกันและเป็นกฎหมายต่างฉบับกันก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในการได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายจ้างเช่นเดียวกันสำหรับกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือศาลแรงงานไม่เห็นสมควรให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานอีก
การที่โจทก์นำสาเหตุจากการที่จำเลยเลิกจ้าง ไปยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์และต่อมาโจทก์ได้นำเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวไปฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน อีกจำนวนหนึ่ง พร้อมทั้งชำระเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมชำระเงิน 147,820 บาท ให้แก่โจทก์ โจทก์ตกลงรับเงินดังกล่าวและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายและเงินอื่นใดจากจำเลยอีกศาลแรงงานมีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมหมายความว่าโจทก์พอใจจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยชำระตอบแทนในการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว ซึ่งรวมทั้งโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์ด้วย แม้ภายหลังจากที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันแล้ว คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะวินิจฉัยว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ก็ตาม
เมื่อค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลแรงงาน ต่างมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างของจำเลยเดียวกัน ค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของข้อความว่าค่าเสียหายและเงินอื่นใดที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลย ที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั่นเอง ค่าเสียหายที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระแก่โจทก์ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไปก่อนแล้วโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโจทก์จึงไม่อาจนำมาฟ้องให้จำเลยรับผิดได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของสัญญาประนีประนอมยอมความ: การระงับข้อพิพาทจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ หรือจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น แม้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 จะกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้แตกต่างกัน และเป็นกฎหมายต่างฉบับกันก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในการได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายจ้างเช่นเดียวกันสำหรับกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือศาลแรงงานไม่เห็นสมควรให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานอีก
การที่โจทก์นำสาเหตุจากการที่จำเลยเลิกจ้าง ไปยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ และต่อมาโจทก์ได้นำเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวไปฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน อีกจำนวนหนึ่ง พร้อมทั้งชำระเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมชำระเงิน 147,820 บาท ให้แก่โจทก์ โจทก์ตกลงรับเงินดังกล่าวและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายและเงินอื่นใดจากจำเลยอีก ศาลแรงงานมีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมหมายความว่าโจทก์พอใจจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยชำระตอบแทนในการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว ซึ่งรวมทั้งโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์ด้วย แม้ภายหลังจากที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันแล้ว คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะวินิจฉัยว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ก็ตาม
เมื่อค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลแรงงาน ต่างมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างของจำเลยเดียวกัน ค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของข้อความว่า ค่าเสียหายและเงินอื่นใดที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลย ที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั่นเอง ค่าเสียหายที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยชำระแก่โจทก์ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไปก่อนแล้วโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโจทก์จึงไม่อาจนำมาฟ้องให้จำเลยรับผิดได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นโมฆะ แม้มีการปกปิดข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่หน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแจ้ง
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลด้วยความสมัครใจโดยมีทนายความ ทั้งสองฝ่ายลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นการยอมรับข้อตกลงนั้น การที่โจทก์ปกปิดไม่แจ้งข้อเท็จจริงที่โจทก์ฟ้อง พ. ซึ่งเป็นมูลหนี้เดียวกันกับจำเลย เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงนั้นแก่จำเลยจึงหาใช่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉลดังที่ ป.วิ.พ. มาตรา 138 (1) บัญญัติไว้ไม่
ฎีกาที่กล่าวอ้างว่าเป็นการฉ้อฉลในมูลคดีเดิม ไม่ถือเป็นการฉ้อฉลตาม ป. วิ.พ. มาตรา 138 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอหักเงินบำเหน็จเพื่อชำระหนี้จากการประนีประนอมยอมความ: โจทก์ต้องใช้กระบวนการบังคับคดี
แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่า คดีอยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมและจำเลยที่ 1 ยังมิได้ผิดนัด การที่โจทก์มีหนังสือขอให้ศาลจังหวัดสุรินทร์หักเงินบำเหน็จที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเนื่องจากการลาออกจากราชการเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมเป็นการไม่ชอบนั้น ก็เป็นเรื่องที่โจทก์มิได้มีการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ.ภาค 4 แต่เป็นเรื่องที่โจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 นอกเหนือการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยที่ 1 ชอบที่จะไปว่ากล่าวโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการโต้แย้งสิทธิเกินกว่าการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม
แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่า คดีอยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมและจำเลยที่ 1 ยังมิได้ผิดนัด การที่โจทก์มีหนังสือขอให้ศาลจังหวัดสุรินทร์หักเงินบำเหน็จที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเนื่องจากการลาออกจากราชการเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมเป็นการไม่ชอบนั้นก็เป็นเรื่องที่โจทก์มิได้มีการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 แต่เป็นเรื่องที่โจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 นอกเหนือการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยที่ 1 ชอบที่จะไปว่ากล่าวโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็คเลิกกันหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลของการประนีประนอมต่อการดำเนินคดีอาญา
ปัญหาข้อกฎหมายว่าคดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 หรือไม่ ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในคดีนี้ในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยมีอำนาจยกขึ้นฎีกาได้
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว จำเลยยื่นฎีกาพร้อมแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นที่รับรองถูกต้องมาด้วย โจทก์ได้รับสำเนาฎีกาและยื่นคำแก้ฎีการับว่า โจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยจริง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่จำเลยฎีกา
มูลหนี้ตามที่จำเลยออกเช็คคดีนี้ โจทก์ได้นำไปฟ้องจำเลยให้ชดใช้เงินเป็นคดีแพ่ง แล้วโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ในสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า "จำเลยยอมชำระหนี้ให้กับโจทก์เป็นจำนวนเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์โดยจะชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ ซึ่งการตกลงประนีประนอมยอมความนี้ โจทก์และจำเลยไม่ถือว่าได้ตกลงยอมความในคดีอาญา หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญานี้ โจทก์ยังคงประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยจนถึงที่สุด และยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที อันแสดงว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีเจตนาจะยุติข้อพิพาทในทางอาญาจนกว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญาแก่โจทก์แล้ว แม้จะไม่เป็นการยอมความกันในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) ก็ตาม แต่การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามเช็ครวมทั้งเช็คที่ออกชำระหนี้ดังกล่าวไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง และได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ผลการประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องที่แต่ละฝ่ายสละนั้นระงับสิ้นไป และแต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 852 แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ดังกล่าวได้อีก ถือว่าหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามมาตรา 7 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39
(วรรคสามวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2543)
of 103