พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,028 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประนีประนอมยอมความในคดีเช็ค: สิทธิในการฟ้องอาญาและข้อยกเว้นที่โมฆะ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก เมื่อหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประนีประนอมยอมความคดีเช็ค: ระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา แม้มีข้อยกเว้น
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก เมื่อหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกระทำการแทนบริษัทที่มีข้อพิพาท ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัย
เดิมบริษัทจำเลยมี ณ.และ ก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทคนใดคนหนึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ต่อมา ก.ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นว่า ให้ ก.เพียงผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย โดยอ้างว่าเป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยจึงประชุมกันและมีมติว่า การดำเนินการของ ก.ดังกล่าวไม่ถูกต้อง และให้ถอดถอน ก.ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยแล้วแต่งตั้งให้ ณ.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยเพียงผู้เดียว และให้ดำเนินคดี ก.เป็นคดีอาญาข้อหาแจ้งความเท็จและแจ้งให้จดข้อความอันเป็นเท็จ กับฟ้องคดีแพ่งขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการที่ ก.ได้ดำเนินการไป แต่คดีทั้งหมดดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยมาเป็น ก.เพียงผู้เดียวตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นข้างต้น ดังนี้เมื่อกรณียังมีข้อโต้แย้งระหว่าง ณ.กับ ก.ว่าผู้ใดมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยการที่ ณ.แต่งตั้ง ว.เป็นทนายจำเลยทำคำให้การและยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในนามจำเลยก็ดี หรือที่ ก.แต่งตั้ง อ.เป็นทนายจำเลยเข้าดำเนินคดีในเรื่องต่าง ๆรวมทั้งที่ ก.และ อ.เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความในนามจำเลยกับโจทก์ ซึ่งศาลแรงงานพิพากษาตามยอมไปแล้วก็ดี และคดียังมีปัญหาว่า การกระทำต่าง ๆดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงชอบที่ศาลแรงงานจะได้ทำการไต่สวนให้สิ้นกระแสความเสียก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองว่า ก.เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีนี้แทนจำเลยแล้วมีคำสั่งไม่รับคำให้การกับคำร้องขอแก้ไขคำให้การที่ทำขึ้นโดย ว.ซึ่ง ณ.แต่งตั้งเป็นทนายจำเลย กับที่ศาลแรงงานสั่งให้เพิกถอนใบแต่งทนายความฉบับที่ ณ.แต่ง ว.เป็นทนายจำเลย และพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ก.และ อ.ลงนามแทนจำเลยทำกับโจทก์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดำเนินคดีแทนบริษัท: ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนตัดสินว่าผู้ใดมีอำนาจชอบธรรม
เดิมบริษัทจำเลยมี ณ. และ ก. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทคนใดคนหนึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ต่อมา ก.ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เป็นว่า ให้ ก. เพียงผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย โดยอ้างว่าเป็นการจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลย จึงประชุมกันและมีมติว่า การดำเนินการของ ก. ดังกล่าวไม่ถูกต้อง และให้ถอดถอน ก.ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยแล้วแต่ง ตั้งให้ ณ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยเพียงผู้เดียว และให้ดำเนินคดี ก. เป็นคดีอาญาข้อหาแจ้งความเท็จและแจ้งให้จดข้อความอันเป็นเท็จ กับฟ้องคดีแพ่งขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง กรรมการที่ ก. ได้ดำเนินการไป แต่คดีทั้งหมดดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยมาเป็น ก. เพียงผู้เดียวตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นข้างต้น ดังนี้ เมื่อกรณียังมีข้อโต้แย้งระหว่าง ณ. กับ ก.ว่าผู้ใดมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย การที่ ณ. แต่งตั้ง ว.เป็นทนายจำเลยทำคำให้การและยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในนามจำเลยก็ดี หรือที่ ก. แต่งตั้ง อ. เป็นทนายจำเลยเข้าดำเนินคดีในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งที่ ก. และ อ. เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความในนามจำเลยกับโจทก์ ซึ่งศาลแรงงานพิพากษาตามยอมไปแล้วก็ดี และคดียังมีปัญหาว่าการกระทำต่าง ๆ ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงชอบที่ศาลแรงงานจะได้ทำการไต่สวนให้สิ้นกระแสความเสียก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองว่า ก. เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีนี้แทนจำเลยแล้วมีคำสั่งไม่รับคำให้การกับคำร้องขอแก้ไขคำให้การที่ทำขึ้นโดย ว. ซึ่ง ณ. แต่งตั้งเป็นทนายจำเลย กับที่ศาลแรงงานสั่งให้เพิกถอนใบแต่งทนายความฉบับที่ ณ.แต่ง ว. เป็นทนายจำเลย และพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ ก. และ อ. ลงนามแทนจำเลยทำกับโจทก์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงจำกัดประเด็นข้อพิพาท และผลของการวินิจฉัยสัญญาตัวแทนจำหน่าย
โจทก์จำเลยทั้งสองแถลงรับข้อเท็จจริงกัน และตกลงให้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยสัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยเอกสารฉบับที่พิพาท เพียงประเด็นเดียวว่าสัญญาดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อย อันจะตกเป็นโมฆะหรือไม่ หากข้อสัญญาดังกล่าวไม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์และหากข้อสัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะ โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยทั้งสองโดยไม่ต้องมีการ สืบพยานกันต่อไป ข้อตกลงเช่นนี้ถือได้ว่ามีลักษณะ เป็นคำท้า หรือมีการตกลงกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 แล้ว หาจำต้อง มีข้อความว่าคู่ความตกลงท้ากันหรือให้ถือเอาเป็นประเด็น ข้อแพ้ชนะแห่งคดี จึงจะเป็นคำท้าไม่ เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยทั้งสองในเรื่องจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนให้สัญญากับโจทก์ ในฐานะตัวการว่าจะจำหน่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในนามของตนเองใน ราคาและเงื่อนไขที่กำหนด เรื่องการส่งเงินค่าปุ๋ยแก่โจทก์ ในกรณีขายเงินสด ขายเงินเชื่อ หากมีเงินค้างชำระยอมให้ คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นตามอัตราที่ตกลงกัน และข้อปฏิบัติในเมื่อ สัญญาสิ้นสุดลง เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข้อตกลงที่เป็นพันธะ ผูกพันระหว่างคู่กรณี มิได้เกี่ยวข้องหรือกระทบไปถึงผลประโยชน์ ส่วนได้เสียของประชาชนโดยทั่วไป เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อตกลง นี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามฟ้องตามคำท้า โดยไม่จำต้องวินิจฉัยคดีในประเด็นข้ออื่นที่คู่ความตกลง สละแล้วต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าทางกฎหมาย: การตกลงให้วินิจฉัยประเด็นสัญญา และผลผูกพันตามคำวินิจฉัย
โจทก์จำเลยทั้งสองแถลงรับข้อเท็จจริงกัน และตกลง ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยสัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยเอกสารฉบับที่พิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า สัญญาดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อยอันจะตกเป็นโมฆะหรือไม่ หากข้อสัญญาดังกล่าวไม่ตกเป็นโมฆะจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์หากข้อสัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะโจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยทั้งสองโดยไม่ต้องมีการสืบพยานกันต่อไป ข้อตกลงเช่นนี้ถือได้ว่ามีลักษณะเป็นคำท้าหรือมีการตกลงกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 138 แล้ว หาจำต้องมีข้อความว่าคู่ความตกลงท้ากันหรือให้ถือเอาเป็นประเด็นข้อแพ้ชนะแห่งคดี จึงจะเป็นคำท้าไม่ ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยทั้งสองในเรื่องจำเลยที่ 1ในฐานะตัวแทนให้สัญญากับโจทก์ในฐานะตัวการว่าจะจำหน่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในนามของตนเองในราคาและเงื่อนไขที่กำหนดเรื่องการส่งเงินค่าปุ๋ยแก่โจทก์ในกรณีขายเงินสดขายเงินเชื่อหากมีเงินค้างชำระยอมให้คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นตามอัตราที่ตกลงกัน และข้อปฏิบัติในเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข้อตกลงที่เป็นพันธะผูกพันระหว่างคู่กรณีมิได้เกี่ยวข้องหรือกระทบไปถึงผลประโยชน์ส่วนได้เสียของประชาชนโดยทั่วไปเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อตกลงนี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ตกเป็นโมฆะจำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามฟ้องตามคำท้า โดยไม่จำต้องวินิจฉัยคดีในประเด็นข้ออื่นที่คู่ความตกลงสละแล้วต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกและการยกข้อสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่เคยถูกยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และ ส.ร่วมกัน และเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน เมื่อโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกส่วนของตนตลอดมา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ตามมาตรา 1748 วรรคหนึ่ง แม้จะล่วงพ้นอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ตามคำฟ้องและคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่จำเลยเพิ่งยื่นสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลประกอบคำเบิกความพยานจำเลย จึงมิใช่กรณีคู่ความตกลงหรือประนีประนอมยอมความและให้ศาลพิพากษาตามยอมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 ที่ศาลจะพิพากษาบังคับให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่หยิบยกปัญหานี้ขึ้นพิจารณาชอบแล้ว ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้วเช่นกัน และจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมา เพราะมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
ตามคำฟ้องและคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่จำเลยเพิ่งยื่นสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลประกอบคำเบิกความพยานจำเลย จึงมิใช่กรณีคู่ความตกลงหรือประนีประนอมยอมความและให้ศาลพิพากษาตามยอมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 ที่ศาลจะพิพากษาบังคับให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่หยิบยกปัญหานี้ขึ้นพิจารณาชอบแล้ว ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้วเช่นกัน และจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมา เพราะมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์มรดกและการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน รวมถึงข้อจำกัดในการยกประเด็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และ ส. ร่วมกัน และเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน เมื่อโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดก ส่วนของตนตลอดมา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่ง ทรัพย์มรดกนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง แม้จะล่วงพ้นอายุความตามมาตรา 1754 คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ ตามคำฟ้องและคำให้การไม่มีประเด็นเรื่องสัญญา ประนีประนอมยอมความ แต่จำเลยเพิ่งยื่นสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อศาลประกอบคำเบิกความพยานจำเลย จึงมิใช่กรณี คู่ความตกลงหรือประนีประนอมยอมความและให้ศาลพิพากษา ตาม ยอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138การที่ศาลชั้นต้นไม่หยิบยกปัญหานี้ขึ้นพิจารณาชอบแล้วดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้วเช่นกัน และจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมาเพราะมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความขัดแย้งกับคำสั่งศาลฎีกาที่ทุเลาการบังคับคดีและห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน
คำสั่งของศาลฎีกาที่อนุญาตให้จำเลยในคดีนี้ทุเลาการบังคับคดีในคดีอื่น โดยมีเงื่อนไขห้ามจำเลยทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทระหว่างฎีกานั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยตกลงโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และศาลพิพากษาตามยอม ในระหว่างที่คำสั่งดังกล่าวยังมีผลบังคับ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการ ฝ่าฝืนคำสั่งของศาลฎีกา อีกทั้งโจทก์คดีนี้ก็มิได้เป็นคู่ความ ในคดีก่อน ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์นั้นถือได้ว่าเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นในคดีนี้ยกเลิกคำสั่งของศาลฎีกาเกี่ยวกับการทุเลาการบังคับคดีซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นคดีนี้ยกเลิกคำสั่ง ของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7626/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอม และการไม่อุทธรณ์
โจทก์กล่าวอ้างว่า ทนายความของโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนกระทำการนอกเหนือขอบอำนาจของการเป็นตัวแทน หากโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้รับความเสียหายเป็นประการใด ก็ชอบที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ทนายความของโจทก์เอง
ทนายโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ซึ่งโจทก์อาจอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวได้หากเข้ากรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 138 แต่โจทก์ไม่อุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้วโจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้
ทนายโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ซึ่งโจทก์อาจอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวได้หากเข้ากรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 138 แต่โจทก์ไม่อุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้วโจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้