พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,028 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ: โจทก์ขอขายทอดตลาดที่ดินเพื่อชำระราคาไม่ได้ แม้จำเลยผิดสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.10 กำหนดให้จำเลยโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ หากจำเลยไม่ยอมโอนให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา แต่ในขณะที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้น จำเลยได้โอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.10 ให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจโอนให้แก่โจทก์ได้ อันเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ระบุให้จำเลยต้องใช้ราคาที่ดินหากจำเลยไม่อาจโอนได้ แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 6 จะระบุว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่ง จำเลยยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที ก็ไม่ได้หมายความว่าหากจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินทั้งสิบแปลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.10 ให้แก่โจทก์ได้จำเลยจะต้องชำระราคาที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งขายทอดตลาดที่ดินทั้งสิบแปลงมาชำระเป็นราคาที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.10 ได้ หากจำเลยผิดสัญญาอย่างใด โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอากับจำเลยอีกต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาควบคู่กับคดีแพ่ง: ศาลต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกันเพื่อยุติข้อพิพาททั้งหมด
ป.วิ.อ. มาตรา 35 มิได้บัญญัติถึงวิธีถอนฟ้องว่าจะต้องทำเป็นคำร้องแต่วิธีเดียวเท่านั้น หากคู่ความมาอยู่ต่อหน้าศาลและแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาย่อมไม่ห้ามศาลที่จะยอมรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาที่ได้กระทำในศาล โดยจดข้อความขอถอนฟ้องนั้นลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาหรืออาจจะกำหนดให้โจทก์ถอนฟ้องโดยทำเป็นคำร้องขอถอนฟ้องก็ได้แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร การนัดคู่ความให้มาศาลเพื่อเจรจากันในห้องทำงานของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลถือได้ว่า คู่ความมาศาลและขอให้ศาลนั่งพิจารณาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แม้การไกล่เกลี่ยจะมิได้กระทำในห้องพิจารณาคดีของศาล แต่ก็อยู่ในศาล ถือว่าศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลโดยชอบแล้ว เมื่อคู่ความอยู่ต่อหน้าศาลในการพิจารณาคดีของศาล และโจทก์แถลงของถอนฟ้องด้วยวาจาในศาลนั้นเองก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาได้โดยชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาคดีนี้เกี่ยวด้วยมรดกของ ม. ศาลชั้นต้นไกล่เกลี่ยคู่ความทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาไปในคราวเดียวกัน เจตนาในการไกล่เกลี่ยก็เพื่อยุติข้อพิพาททั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาโดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาให้เสร็จไปทั้งสองคดีในคราวเดียวกัน ดังนั้น แม้คู่ความจะตกลงกันในคดีแพ่งได้และโจทก์ยอมจะถอนฟ้องคดีอาญา ศาลชั้นต้นก็ต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไปพร้อมกับอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีอาญาไปในคราวเดียวกันเพื่อให้คดีทั้งสองยุติไปตามเจตนาในการไกล่เกลี่ยและเจรจาตกลงกัน การที่ศาลชั้นต้นด่วนบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าโจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยคัดค้าน ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปเพื่อให้คดีทั้งสองยุติไปพร้อมกันในคราวเดียวกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง และผิดหลง และผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์จึงชอบที่จะขอให้เพิกถอนเสียได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาคดีนี้เกี่ยวด้วยมรดกของ ม. ศาลชั้นต้นไกล่เกลี่ยคู่ความทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาไปในคราวเดียวกัน เจตนาในการไกล่เกลี่ยก็เพื่อยุติข้อพิพาททั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาโดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาให้เสร็จไปทั้งสองคดีในคราวเดียวกัน ดังนั้น แม้คู่ความจะตกลงกันในคดีแพ่งได้และโจทก์ยอมจะถอนฟ้องคดีอาญา ศาลชั้นต้นก็ต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไปพร้อมกับอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีอาญาไปในคราวเดียวกันเพื่อให้คดีทั้งสองยุติไปตามเจตนาในการไกล่เกลี่ยและเจรจาตกลงกัน การที่ศาลชั้นต้นด่วนบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าโจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยคัดค้าน ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปเพื่อให้คดีทั้งสองยุติไปพร้อมกันในคราวเดียวกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง และผิดหลง และผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์จึงชอบที่จะขอให้เพิกถอนเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาควบคู่กับคดีแพ่ง การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้องและผลกระทบต่อการถอนฟ้อง
แม้ในวันเกิดเหตุจะไม่ใช่วันนัดพิจารณาทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาและคู่ความไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกนั่งพิจารณาคดีเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แต่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้นัดคู่ความให้มาศาลเพื่อเจรจากันในห้องพักของผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ถือได้ว่าคู่ความมาศาลและขอให้ศาลนั่งพิจารณาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แม้การไกล่เกลี่ยจะได้กระทำในห้องพักของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมิใช่ในห้องพิจารณาคดีของศาล แต่ก็เพื่อความสะดวกแก่การที่คู่ความจะได้เจรจาตกลงกัน ถือว่าศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลโดยชอบแล้ว เมื่อคู่ความอยู่ต่อหน้าศาลในการพิจารณาคดีของศาลและโจทก์แถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาในศาลนั้นเอง ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาได้
ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าเวลา 10 นาฬิกา คู่ความร่วมกันแถลงว่าสามารถตกลงเจรจาในเรื่องทรัพย์มรดกของ ม. ได้ข้อยุติและแบ่งกันได้แล้ว โจทก์จึงไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ขอถอนฟ้อง อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนในคดีแพ่ง ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า ให้คู่ความไปจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความและมาทำยอมกันในเวลา 14 นาฬิกา ของวันนั้น แต่เมื่อในตอนบ่ายของวันนั้นไม่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอมกัน การถอนฟ้องในคดีอาญาย่อมไม่มีผล การที่ศาลชั้นต้นด่วนอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปพร้อมกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์ขอให้เพิกถอนได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2548)
ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าเวลา 10 นาฬิกา คู่ความร่วมกันแถลงว่าสามารถตกลงเจรจาในเรื่องทรัพย์มรดกของ ม. ได้ข้อยุติและแบ่งกันได้แล้ว โจทก์จึงไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ขอถอนฟ้อง อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนในคดีแพ่ง ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า ให้คู่ความไปจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความและมาทำยอมกันในเวลา 14 นาฬิกา ของวันนั้น แต่เมื่อในตอนบ่ายของวันนั้นไม่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอมกัน การถอนฟ้องในคดีอาญาย่อมไม่มีผล การที่ศาลชั้นต้นด่วนอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปพร้อมกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์ขอให้เพิกถอนได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2548)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาต้องควบคู่กับคดีแพ่ง การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี
ป.วิ.อ. มาตรา 35 มิได้บัญญัติถึงวิธีถอนฟ้องว่าจะต้องทำเป็นคำร้องแต่วิธีเดียวเท่านั้น หากคู่ความมาอยู่ต่อหน้าศาลและแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาย่อมไม่ห้ามศาลที่จะยอมรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาที่ได้กระทำในศาล โดยจดข้อความขอถอนฟ้องนั้นลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาหรืออาจจะกำหนดให้โจทก์ถอนฟ้องโดยทำเป็นคำร้องขอถอนฟ้องก็ได้แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร การที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดขอนแก่นได้นัดคู่ความให้มาศาลเพื่อเจรจากันในห้องพักของผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ถือได้ว่าคู่ความมาศาลและขอให้ศาลนั่งพิจารณาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แม้จะได้กระทำในห้องพักของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมิใช่ในห้องพิจารณาคดีแต่ก็เพื่อความสะดวกแก่คู่ความจะได้เจรจาตกลงกันถือว่าศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลโดยชอบแล้ว เมื่อคู่ความอยู่ต่อหน้าศาลในการพิจารณาคดีของศาล และโจทก์แถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาในศาลนั้นเอง ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา ศาลชั้นต้นไกล่เกลี่ยเพื่อยุติข้อพิพาททั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาโดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาให้เสร็จไปในคราวเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าเวลา 10 นาฬิกา คู่ความร่วมกันแถลงว่าสามารถตกลงเจรจาในเรื่องทรัพย์มรดกของ ม. ได้ข้อยุติและแบ่งกันได้แล้ว โจทก์จึงไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ขอถอนฟ้องอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนในคดีแพ่ง ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า ให้คู่ความไปจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความและมาทำยอมกันในเวลา 14 นาฬิกาของวันนั้น แต่เมื่อในตอนบ่ายของวันนั้นไม่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอมกัน การถอนฟ้องในคดีอาญาย่อมไม่มีผล การที่ศาลชั้นต้นด่วนอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปพร้อมกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โจทก์ขอให้เพิกถอนได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา ศาลชั้นต้นไกล่เกลี่ยเพื่อยุติข้อพิพาททั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาโดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาให้เสร็จไปในคราวเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าเวลา 10 นาฬิกา คู่ความร่วมกันแถลงว่าสามารถตกลงเจรจาในเรื่องทรัพย์มรดกของ ม. ได้ข้อยุติและแบ่งกันได้แล้ว โจทก์จึงไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ขอถอนฟ้องอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนในคดีแพ่ง ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า ให้คู่ความไปจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความและมาทำยอมกันในเวลา 14 นาฬิกาของวันนั้น แต่เมื่อในตอนบ่ายของวันนั้นไม่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอมกัน การถอนฟ้องในคดีอาญาย่อมไม่มีผล การที่ศาลชั้นต้นด่วนอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปพร้อมกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โจทก์ขอให้เพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลระงับสิทธิเรียกร้องเดิม ข้อตกลงเพิ่มเติมหลังคำพิพากษาเป็นสิทธิเรียกร้องใหม่
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบุตรว่าประพฤติเนรคุณ ขอถอนคืนการให้ที่ดินต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยและบุตรคนอื่นปลูกบ้านให้โจทก์ และเลี้ยงดูโจทก์โดยส่งเสียเงินให้โจทก์ตามฐานานุรูปของแต่ละคนรวมกันไม่ต่ำกว่าเดือนละ 4,000 บาท ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องถอนคืนการให้ของโจทก์ที่ฟ้องระงับสิ้นไป โจทก์คงได้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามศาลจะต้องบังคับคดีไปตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ส่วนข้อตกลงรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้บนที่ดินและจดทะเบียนโอนที่ดินคืนให้แก่โจทก์ตามรายงานกระบวนพิจารณานั้น เป็นข้อตกลงที่ทำขึ้นใหม่ภายหลังที่ศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว ไม่อาจบังคับในคดีนี้ได้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติโจทก์ต้องใช้สิทธิเรียกร้องเอากับจำเลยแยกไปจากคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3083/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงตรวจสอบแนวเขตที่ดิน การยอมรับผลการรังวัด และผลผูกพันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138
โจทก์จำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้ ส. เจ้าพนักงานที่ดินตรวจสอบโดยขุดหาคานคอนกรีตเดิมซึ่งเป็นเขตที่ดินที่มีการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลย หากพบว่าคานเป็นเส้นตรงและกำแพงตั้งบนคานตรงกับคานที่วัด โจทก์ยอมรับว่าเป็นแนวเขตที่ดินของจำเลย แต่หากพบว่าคานโค้งรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ จำเลยยินยอมรื้อถอนกำแพงที่สร้างใหม่ออกไปทั้งหมด ส. นำช่างแผนที่ออกไปตรวจสอบแล้ว การที่ ส. ให้ความเห็นว่า "สันนิษฐานว่าในเมื่อกำแพงโค้งคานน่าจะโค้งตามกำแพง" นั้น เกิดจากข้อเท็จจริงที่พบเห็นจากพยานหลักฐานในขณะทำการรังวัดเท่านั้นมิใช่เป็นการคาดคะเนของ ส. ดังนั้น เมื่อ ส. ตรวจสอบแล้วมีความเห็นว่ากำแพงตั้งอยู่บนคานเดิมตลอดแนว กำแพงโค้งตามคาน จึงทำให้กำแพงและคานตามรูปแผนที่ล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตรงตามคำท้าแล้ว จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงาน: ห้ามอุทธรณ์เมื่อทำโดยความยินยอมและไม่มีพยานหลักฐานใหม่
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกัน และมิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทไป ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงอาจมีผลไม่ตรง หรือไม่เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องได้ ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 ซึ่งห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกจากนี้คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจต่อกันเพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้มีความสัมพันธ์อันดีกันต่อไป พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 38 วรรคหนึ่ง จึงบัญญัติให้ศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน การที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยคดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินต่างๆ แล้ว คู่ความตกลงกันได้โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า "ข้อ 1 โจทก์จำเลยรับกันว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเกิดจากความเข้าใจผิด บัดนี้สองฝ่ายเข้าใจกันดีแล้ว จำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นคนของจำเลย ปัจจุบันออกจากบริษัทจำเลยแล้ว จำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ 40,000 บาท โดยจะนำเงินมาวางศาลภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ข้อ 2 จำเลยจะนำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้และรายงานกระบวนพิจารณาไปปิด ณ ที่ทำการของจำเลยมีกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2548 ข้อ 3 โจทก์ยอมตามข้อ 1 ข้อ 2 ไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งใดจากกันอีก" และพิพากษาตามยอมจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะอุทธรณ์ได้ ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
ขณะที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ย โจทก์มีทนายความอยู่ด้วยและทนายความของโจทก์ก็ร่วมลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากกลัวคำขู่ของศาลแรงงานกลางขณะทำการไกล่เกลี่ยนั้น โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏหลักฐานอื่นในสำนวน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ขณะที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ย โจทก์มีทนายความอยู่ด้วยและทนายความของโจทก์ก็ร่วมลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากกลัวคำขู่ของศาลแรงงานกลางขณะทำการไกล่เกลี่ยนั้น โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏหลักฐานอื่นในสำนวน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงาน: การอุทธรณ์และการคุ้มครองโดยกฎหมาย
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกันและมิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทไป ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือไม่เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องได้ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ซึ่งห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกจากนี้คดีแรงงานยังเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจต่อกันเพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้มีความสัมพันธ์อันดีกันต่อไป พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง จึงบัญญัติให้ศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน การที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยและพิพากษาตามยอมจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะอุทธรณ์ได้ ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. 138 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
สำหรับอุทธรณ์ที่อ้างว่าโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากกลัวคำขู่ของศาลแรงงานกลางขณะทำการไกล่เกลี่ยนั้น เห็นว่า ขณะที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ย โจทก์มีทนายความอยู่ด้วย และทนายความของโจทก์ก็ร่วมลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวโจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานอื่นในสำนวน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับอุทธรณ์ที่อ้างว่าโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากกลัวคำขู่ของศาลแรงงานกลางขณะทำการไกล่เกลี่ยนั้น เห็นว่า ขณะที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ย โจทก์มีทนายความอยู่ด้วย และทนายความของโจทก์ก็ร่วมลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวโจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานอื่นในสำนวน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 669/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดในสัญญาประนีประนอมยอมความ: ทายาท vs. ความรับผิดส่วนตัว
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันของคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 ต้องเป็นการประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีหรือที่เกี่ยวเนื่องกับคดีที่ฟ้อง สำหรับคดีนี้มีประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. จะต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 แต่งตั้งทนายความและในใบแต่งระบุให้ทนายความมีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ ก็หมายถึงมอบอำนาจให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในฐานะเป็นทายาทของ ท. ตามคำฟ้องเท่านั้น แม้ทนายความจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์มีข้อความว่า เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดในฐานะส่วนตัว และในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ผู้ตาย และทำยอมกันนั้นก็หมายความว่าเฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น ที่ยอมรับผิดทั้งในฐานะส่วนตัวและฐานะของทายาทของ ท. สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ย่อมมีเจตนายอมตนเข้าผูกพันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะทายาทของ ท. มิใช่รับผิดเป็นการส่วนตัว สัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ให้รับผิดเป็นการส่วนตัว คำพิพากษาตามยอมคงมีผลสมบูรณ์บังคับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ให้รับผิดในฐานะทายาทของ ท. เท่านั้น
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันของคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 ต้องเป็นการประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีหรือที่เกี่ยวเนื่องกับคดีที่ฟ้อง สำหรับคดีนี้มีประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. จะต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 แต่งตั้งทนายความและในใบแต่งระบุให้ทนายความมีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ ก็หมายถึงมอบอำนาจให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในฐานะเป็นทายาทของ ท. ตามคำฟ้องเท่านั้น แม้ทนายความจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์มีข้อความว่า เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดในฐานะส่วนตัว และในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ผู้ตาย และทำยอมกันนั้นก็หมายความว่าเฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น ที่ยอมรับผิดทั้งในฐานะส่วนตัวและฐานะของทายาทของ ท. สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ย่อมมีเจตนายอมตนเข้าผูกพันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะทายาทของ ท. มิใช่รับผิดเป็นการส่วนตัว สัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ให้รับผิดเป็นการส่วนตัว คำพิพากษาตามยอมคงมีผลสมบูรณ์บังคับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ให้รับผิดในฐานะทายาทของ ท. เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะถึงที่สุดแล้ว และฎีกาไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ปัญหาว่าค่าภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นค่าภาษีอากรหรือค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องเป็นผู้ชำระตามข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ โจทก์และจำเลยทั้งสี่เคยโต้เถียงกันมาแล้วและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้มีคำพิพากษาว่าปัญหาดังกล่าวคู่ความมิได้โต้เถียงกันแล้วเนื่องจากโจทก์แถลงยอมรับว่าจะเป็นผู้ชำระเอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวอีกเป็นการไม่ชอบและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้มีคำพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ว่าคู่ความฝ่ายใดผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ คดีถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ดังนั้น ปัญหาดังกล่าวย่อมเป็นอันยุติ และเมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาและมีคำสั่งใหม่ว่าจำเลยทั้งสี่เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทนและคู่ความยกเลิกวันนัดชำระหนี้เดิมเป็นการชั่วคราว เนื่องจากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการชำระภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีท้องถิ่น ต่อมาศาลชั้นต้นได้ไกล่เกลี่ยคู่ความและแก้ไขเหตุโต้แย้งดังกล่าว คู่ความจะต้องกำหนดวันนัดให้จำเลยทั้งสี่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และกำหนดวันให้โจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยทั้งสี่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ไม่ปรากฏคู่ความหรือศาลชั้นต้นได้กำหนดวันชำระหนี้ขึ้นใหม่เพื่อให้คู่ความปฏิบัติแทนวันนัดเดิมตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อหน้าที่ในการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความยังไม่ถึงกำหนดชำระ จึงยังไม่มีคู่ความฝ่ายใดตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อเนื้อหาในฎีกาของจำเลยทั้งสี่ยกขึ้นกล่าวอ้างหาได้มีข้อความส่วนใดที่โต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่ แต่กลับฎีกากล่าวอ้างว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินและภาษีธุรกิจเฉพาะก็เป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่ง เมื่อโจทก์ไม่ยอมชำระ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้ง ๆ ที่ปัญหาเช่นว่านั้นได้ถึงที่สุดไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ฎีกาของจำเลยทั้งสี่เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ถือว่าเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง