คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 138

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,028 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 574/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาในคดีอาญา มิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิบังคับคดียังคงมี
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้โจทก์ แต่จำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์ขอให้บังคับคดี จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่านอกจากคดีนี้แล้วโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาและได้มีการตกลงประนีประนอมยอมความกัน ขอให้งดการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ไว้จนกว่าจะได้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความ ตามคำแถลงของโจทก์และจำเลยที่ 2 ที่แถลงต่อศาลชั้นต้นในคดีอาญามีเงื่อนไขว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงจะไม่ติดใจเรียกร้องเอากับจำเลยที่ 2 อีกต่อไป แต่โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้ตกลงกันว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือชำระหนี้ไม่ครบถ้วนแล้วโจทก์จะยินยอมให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดไปหรือไม่ คำแถลงดังกล่าวเป็นเพียงเหตุผลในการขอเลื่อนการนัดฟังคำพิพากษาออกไปอีกนัดหนึ่งเท่านั้น ไม่มีลักษณะที่โจทก์จำเลยที่ 2 ได้ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ระหว่างกันให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิในการบังคับของโจทก์จึงไม่ระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา แม้เป็นสถาบันการเงินก็ต้องปฏิบัติตาม
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ได้อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 654 แต่จะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 ซึ่งกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดน้อย เมื่อโจทก์ได้ออกประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเป็นสองอัตรา คือ อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปและอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระ คิดอัตราร้อยละ 19 ต่อปี การที่โจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกหนี้ที่ปฏิบัติผิดสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญาเลย จึงเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ ถือว่าเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 อันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 (ก) จึงตกเป็นโมฆะ
การที่ศาลฎีกาจะพิพากษาตามยอมได้นั้น ศาลฎีกาจะต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความของคู่ความว่าเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือไม่ หากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาก็ย่อมไม่อาจพิพากษาให้ได้เพราะเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 138 เมื่อตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอมีจำนวนเงินซึ่งคำนวณจากดอกเบี้ยเกินอัตราอันเป็นการต้องห้ามตามพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา ๓ (ก) รวมอยู่ด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอต่อศาลจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่พิพากษาตามยอมให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย แม้เป็นสถาบันการเงินก็ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
แม้ว่าโจทก์จะเป็นสถาบันการเงิน การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ได้อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 ก็ตาม แต่การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 ซึ่งกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดด้วย ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อของโจทก์นั้น โจทก์ได้ออกประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเป็นสองอัตรา คือ อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปและอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระ ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกหนี้ที่ปฏิบัติผิดสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญาเลยจึงเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ ถือว่าเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืน พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ อันเป็นการต้องห้าม ตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) จึงตกเป็นโมฆะ
การที่ศาลฎีกาจะพิพากษาตามยอมได้นั้น ศาลฎีกาจะต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความของคู่ความว่า เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือไม่ หากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาก็ย่อมไม่อาจพิพากษาให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้เพราะเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 138 เมื่อปรากฏตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอต่อศาลใน ข้อ. 1 ระบุว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตกลงร่วมกันชำระเงินจำนวน 1,150,253.55 บาท แก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 กับที่ 5 ตกลงร่วมกันชำระเงินจำนวน 558,543.32 บาท แก่โจทก์ เมื่อรวมจำนวนเงินทั้งสองจำนวนแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น 1,708,796.87 บาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวนี้มีจำนวนเงินซึ่งคำนวณจากดอกเบี้ยเกินอัตราอันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) รวมอยู่ด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอต่อศาลจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย และผลกระทบต่อสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลฎีกาไม่อาจพิพากษาตามยอมได้
การที่ศาลฎีกาจะพิพากษาตามยอมได้นั้น ศาลฎีกาจะต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความของคู่ความว่าเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือไม่ หากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมายศาลฎีกาก็ย่อมไม่อาจพิพากษาให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้เพราะเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 138 เมื่อปรากฏตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอต่อศาลในข้อ 1 ระบุว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตกลงร่วมกันชำระเงินจำนวน 1,150,253.55 บาท แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 กับที่ 5 ตกลงร่วมกันชำระเงินจำนวน 558,543.32 บาท แก่โจทก์ เมื่อรวมจำนวนเงินทั้งสองจำนวนแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น 1,708,796.87 บาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวนี้มีจำนวนเงินซึ่งคำนวณจากดอกเบี้ยเกินอัตราอันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) รวมอยู่ด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอต่อศาลจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามยอมให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิภริยาผู้มีส่วนได้เสีย แม้มีการตกลงกันระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้าน ศาลต้องวินิจฉัยคุณสมบัติผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย
แม้ว่าระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันได้โดยผู้คัดค้านยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียว แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีผลเป็นการตกลงกันในประเด็นแห่งคดีเพียงบางข้อ เพราะมีประเด็นที่ศาลจำต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงในสำนวนแล้ววินิจฉัยถึงสิทธิและคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายเสียก่อน ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามยอมให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมได้
ผู้ร้องเป็นภริยาของผู้ตาย เป็นส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคแรก มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และผู้ร้องมีคุณสมบัติในการเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย กับมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตาย ประกอบกับผู้ร้องกับผู้คัดค้านตกลงกันได้ให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพียงผู้เดียว จึงเห็นควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิภริยาผู้มีส่วนได้เสียและผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาทนายผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันได้ โดย
ผู้คัดค้านยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียว แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีผลเป็นการตกลงกันในประเด็นแห่งคดีเพียงบางข้อ เพราะมีประเด็นที่ศาลจำต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงในสำนวนแล้ววินิจฉัยถึงสิทธิและคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายเสียก่อน ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามยอมให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้
ผู้ร้องเป็นภรรยาของผู้ตาย เป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคแรก มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ประกอบกับในชั้นฎีกาผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7566/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าพิสูจน์ลายมือชื่อเป็นผลผูกพันคู่ความ หากผลการตรวจพิสูจน์เป็นไปตามที่ตกลงไว้ การอ้างเหตุผลเรื่องการเปิดเผยผลก่อนวันนัดฟังไม่ขึ้น
โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงท้ากันให้กองพิสูจน์หลักฐาน พิสูจน์ลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกัน หากกองพิสูจน์หลักฐานมีความเห็นว่าใช่หรือน่าจะใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองยอมแพ้ แต่หากไม่ใช่หรือน่าจะไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 โจทก์ยอมแพ้ ข้อแพ้ชนะตามคำท้าจึงขึ้นอยู่กับผลการตรวจพิสูจน์ของกองพิสูจน์หลักฐานว่าจะสมคำท้าของฝ่ายใด เมื่อผลการตรวจพิสูจน์มีความเห็นว่าลายมือชื่อผู้ค้ำประกันกับตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลเดียวกันซึ่งสมคำท้าของฝ่ายจำเลย โจทก์จึงเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า โจทก์จะอ้างว่า ผลการตรวจพิสูจน์ได้ถูกเปิดเผยก่อนวันนัดพร้อมและจำเลยทั้งสองทราบผลการตรวจพิสูจน์ก่อนชำระเงินค่าตรวจพิสูจน์เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบและไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากมีการดำเนินกระบวนพิจารณาตามคำท้าแล้ว จึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้าไม่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาที่คู่ความตกลงท้ากัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6697/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยตามคำท้า: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะคำเบิกความที่ตรงกับประเด็นที่ท้า หากตรงตามนั้นต้องตัดสินตามนั้น แม้มีเหตุผลทางกฎหมายประกอบ
ในกรณีที่คู่ความท้ากันให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้วสามารถจดทะเบียนโอนได้หรือไม่และตกลงให้สืบพยานคนกลางเพียงปากเดียวโดยให้ศาลถามพยานว่าที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงสามารถจดทะเบียนโอนให้ได้ตามกฎหมายหรือไม่ แล้วตัดสินคดีไปตามที่พยานเบิกความนั้น จะต้องพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่พยานคนกลางเบิกความตรงตามคำท้าหรือไม่ หากเหตุการณ์ที่พยานคนกลางเบิกความตรงตามคำท้าแล้ว ศาลก็จะต้องตัดสินตามคำท้านั้น เมื่อคำเบิกความของพยานคนกลางที่ตอบศาลถาม พยานยืนยันว่าหากคู่สัญญายืนยันรับผิดชอบกันเองก็สามารถที่จะโอนกันได้ตามกฎหมาย แม้พยานจะตอบคำถามติงของทนายโจทก์ว่าหากมีการอายัดโดยชอบด้วยกฎหมายก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกันได้นั้น เป็นเงื่อนไขที่พยานเบิกความขึ้นเองไม่เกี่ยวกับเงื่อนไขตามคำท้าเพราะคำท้ามิได้กล่าวถึงการอายัดไว้ด้วย คำเบิกความของพยานจึงตรงตามคำท้าและสมฝ่ายจำเลย โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6697/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับเงื่อนไขการโอนที่ดินหลังสัญญาจะซื้อขาย โดยการสืบพยานคนกลาง ศาลต้องตัดสินตามคำเบิกความ
คู่ความท้ากันให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า ที่ดินพิพาทหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้วสามารถจดทะเบียนโอนได้ในวันที่ 3 ตุลาคม 2533 หรือไม่ หากสามารถจดทะเบียนโอนได้ โจทก์จะยอมแพ้ หากไม่สามารถโอนได้ จำเลยทั้งสี่จะยอมแพ้คดี และตกลงให้สืบพยานคนกลางเพียงปากเดียว โดยให้ศาลถามพยานว่าที่ดินพิพาทสามารถจดทะเบียนโอนให้ได้ตามกฎหมายหรือไม่ แล้วตัดสินคดีไปตามนั้น พยานคนกลางเบิกความตอบคำถามว่า ที่ดินพิพาทถึงแม้จะทำกัน (หมายถึงทำสัญญาจะซื้อจะขาย) ภายหลังที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ. 2531 ใช้บังคับ หากคู่สัญญายืนยันรับผิดชอบกันเองก็สามารถที่จะโอนกันได้ตามกฎหมาย คำเบิกความของพยานคนกลางจึงตรงตามคำท้าและสมฝ่ายจำเลย เพราะรับฟังได้ว่าที่ดินพิพาทหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายสามารถจดทะเบียนโอนได้ในวันที่ 3 ตุลาคม 2533 แล้ว โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4351/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะส่วนที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย แม้มีส่วนโมฆะ และคำพิพากษาไม่กระทบสิทธิบุคคลภายนอก
โจทก์ทั้งสามและจำเลยมีข้อพิพาทระหว่างกันทั้งคดีแพ่งและอาญา การที่ต่อมาโจทก์ทั้งสามและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยระบุให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดินด้วย ข้อตกลงให้ถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่สัญญาประนีประนอมยอมความยังมีข้อตกลงอื่น ๆ อีกหลายประการ แสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าประสงค์ให้ข้อตกลงอื่นนอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญา คงมีผลผูกพันคู่กรณีทั้งสองฝ่ายอยู่ และข้อตกลงอื่นไม่ต้องห้ามโดยกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามพฤติการณ์แห่งกรณีจึงสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะ ข้อตกลงส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญาคงมีผลผูกพันคู่กรณีอยู่
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสาม โดยปลอดภาระจำยอม ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมให้นั้น คำพิพากษาดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมให้หลังจากทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสามแล้ว เพราะมิได้พิพากษาบังคับให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์จะบังคับเอาแก่จำเลยตามคำพิพากษาโดยลำพังเท่านั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
of 103