คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 138

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,028 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตร: สัญญาประนีประนอมต้องดำเนินการตามกฎหมายให้ถูกต้องก่อนจึงมีผล
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ที่ระบุว่า จำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบิดาของเด็กชาย ม. โดยที่โจทก์และจำเลยตกลงว่าจะไปดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญา และโจทก์ ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หากพ้นกำหนดนี้แล้วถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของทั้งสองฝ่าย มีผลบังคับได้ทันที ข้อ 2 โจทก์ตกลงเป็นผู้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู? และข้อ 3 ระบุว่า? จำเลยตกลงให้โจทก์นำบุตรไปอยู่กับโจทก์ในวันเสาร์ตั้งแต่ 9 นาฬิกา ถึงวันอาทิตย์เวลา 17 นาฬิกา ของทุกสัปดาห์และในช่วงปิดเทอม หากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์และบังคับได้ทันทีนั้น ย่อมหมายความว่า โจทก์และจำเลยจะต้องไปดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 ภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน และเมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว โจทก์ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ส่วนข้อ 3 ก็เป็นข้อตกลงที่สืบเนื่องมาจากข้อ 1 ว่าเมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว หากภายหลังต่อมาจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครองได้ทันที มิใช่ว่าให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้ทันทีเมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยที่โจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามข้อ 1 อันจะเป็นการขัดกับ ป.พ.พ. มาตรา 1547 ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามระยะเวลาและขั้นตอนตามคำพิพากษา ดังนั้น การจะบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 และ ข้อ 3 ได้ จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ก่อน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อบิดามารดาได้สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์มิได้ดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ม. จึงไม่ถือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ม. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ศาลพิพากษาตามสัญญาได้ แม้เกินคำขอในฟ้อง ไม่ขัดกฎหมาย
กรณีที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วจึงพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาทไป ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องได้ ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งต้องห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดร้อยละ 10 ต่อปี เกินกว่าร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์จึงหาเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 และขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 138 (2) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่จำกัดตามคำฟ้อง ศาลพิพากษาตามข้อตกลงได้โดยชอบ
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งกระทำต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วจึงพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาทไป ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องก็ได้ ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งต้องห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมว่า ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 10 ต่อปี เกินกว่าอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ จึงหาเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 และ 138 (2) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224-2225/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและการระงับสิทธิเรียกร้อง
คดีอาญาโจทก์และจำเลยจะขอให้ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามคำร้องของจำเลยทั้งสองหาได้ไม่ แต่เมื่อเป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เป็นผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และมีผลให้คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองระงับไปด้วยในตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความที่เพิ่มภาระหนี้เดิมไม่ได้ แม้จำเลยไม่คัดค้าน
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคแรก แต่ข้อความที่โจทก์ขอแก้ไขโดยเพิ่มเติมข้อความว่า พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 18.5 ต่อปี จากต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันทำยอมเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ต่อจากข้อความที่ว่า จำเลยยอมรับผิดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 892,456.72 บาทนั้น เป็นการเพิ่มความรับผิดให้จำเลยต้องรับผิดในส่วนของดอกเบี้ยมากขึ้นกว่าเดิม จึงไม่ใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ แม้จำเลยจะไม่คัดค้าน โจทก์ก็ไม่อาจแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับตามสัญญา แม้เกินกำหนดระยะเวลา และเจตนาของคู่สัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล ระบุให้จำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ตกลงชำระเงินให้จำเลย 200,000 บาท ในวันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท หากจำเลยผิดนัด จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือเอาสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไปจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองได้ทันทีและถือเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย ดังนี้ วัตถุประสงค์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกันด้วยการที่จำเลยจะโอนที่ดินให้แก่โจทก์และโจทก์ก็จะชำระราคาให้แก่จำเลย การกำหนดระยะเวลา 6 เดือนไว้ จึงเป็นกำหนดเวลาให้โจทก์จำเลยปฏิบัติตามสัญญา หากไม่ปฏิบัติก็บังคับคดีกันไปเพื่อให้สมวัตถุประสงค์แห่งการทำสัญญาที่ต้องการให้ข้อพิพาทระหว่างกันระงับไปด้วยวิธีการดังกล่าว หาใช่ว่าหากไม่ปฏิบัติตามสัญญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วจะทำให้ข้อกำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความสิ้นผลไปโดยคู่สัญญาไม่จำต้องปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใดไม่ เนื่องจากไม่เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างกันตามที่โจทก์จำเลยมีเจตนาในการเข้าทำสัญญามาแต่ต้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์วางเงินจำนวน 200,000 บาท ต่อศาลแล้ว แม้จะเกินเวลา 6 เดือน จำเลยจึงต้องรับเงินและมีหน้าที่จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติ โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7087/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: การพิสูจน์ทางออกอื่นเพื่อใช้สิทธิทางผ่าน แม้มีทางออก แต่ต้องเป็นทางที่ใช้ได้โดยชอบ
โจทก์กับจำเลยท้ากันให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบที่พิพาท หากศาลเห็นว่าโจทก์มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะทางอื่นนอกจากทางพิพาทแล้ว โจทก์ยอมแพ้คดี หากไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะทางอื่น จำเลยยอมแพ้คดี ข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีทางสามทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่ทั้งสามทางจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่น ซึ่งไม่ปรากฏว่าเจ้าของที่ดินทั้งสามรายนี้ได้ยกที่ดินเป็นทางดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะหรือเป็นทางภาระจำยอม โจทก์ย่อมไม่อาจใช้ทางทั้งสามได้โดยชอบเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้ ซึ่งมีผลเท่ากับไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าถือไม่ได้ว่าทางออกดังกล่าวเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะตามที่ท้ากันและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีตามคำท้านั้น ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่คู่ความท้ากัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7087/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: ศาลพิพากษาตามคำท้าสืบเผชิญ หากไม่มีทางออกอื่นจริง แม้ทางอื่นเดินได้ยาก
โจทก์ทั้งสี่กับจำเลยทั้งสองตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบที่พิพาท หากศาลเห็นว่าโจทก์ทั้งสี่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะทางอื่นนอกจากทางพิพาทแล้ว โจทก์ทั้งสี่ยอมแพ้คดีหากไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะทางอื่นจำเลยทั้งสองยอมแพ้คดีข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลชั้นต้นในการเดินเผชิญสืบตามที่คู่ความนำชี้ว่านอกจากที่พิพาทที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าเป็นทางแล้ว จำเลยทั้งสองนำชี้มีทางออกสู่ทางสาธารณะอีกสามเส้นทาง ซึ่งแต่ละเส้นทางเป็นทางเดินในสวนมีความกว้างขนาดคนเดินได้ ไม่ใช่ทางเข้าออกของรถยนต์ และต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่น ซึ่งเจ้าของที่ดินไม่ได้ยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะหรือเป็นทางภารจำยอม โจทก์ที่ 1 ย่อมไม่อาจใช้ทางได้โดยชอบเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ ซึ่งมีผลเท่ากับไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าถือไม่ได้ว่าทางดังกล่าวเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะตามที่ท้ากัน และพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดีตามคำท้านั้น ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่คู่ความท้ากัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อรั้วลวดหนามและสิ่งกีดขวางออกจากทางพิพาท ถ้าจำเลยทั้งสองไม่รื้อให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองร่วมกันเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน ดังนั้น หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์ที่ 1 มีสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปโดยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้ว โจทก์ที่ 1 จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6843/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินถือเป็นการโอนตามสัญญายอม ความผิดสัญญาและผลบังคับคดี
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมว่า หากโจทก์ขายหรือโอนที่ดินพิพาทของโจทก์ให้ผู้อื่น โจทก์จะให้สินน้ำใจแก่จำเลย 1,700,000 บาท และจะแจ้งการขายหรือโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยทราบ ดังนั้นเมื่อที่ดินพิพาทถูกเวนคืนแม้จะเป็นไปโดยผลของกฎหมาย แต่โจทก์ก็ได้รับค่าทดแทนจากทางราชการ จึงถือว่าเป็นการโอนให้ผู้อื่นตามสัญญายอมดังกล่าว ซึ่งโจทก์ต้องชำระสินน้ำใจ 1,700,000 บาท แก่จำเลย เมื่อโจทก์ไม่ชำระ จึงเป็นการผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6843/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินถือเป็นการ 'โอน' ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้ผู้รับเวนคืนต้องชำระสินน้ำใจตามสัญญา
ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของคำว่า โอนหมายถึง ยอมมอบให้ ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงการที่ต้องยอมมอบให้เนื่องจากการเวนคืนอันเป็นผลของกฎหมายด้วย เมื่อที่ดินของโจทก์ถูกโอนเปลี่ยนมือจากโจทก์เป็นของทางราชการ ทั้งโจทก์ก็ได้รับค่าทดแทนการเวนคืนจากทางราชการจึงเป็นการโอนให้ผู้อื่นซึ่งโจทก์จะต้องให้สินน้ำใจ 1,700,000 บาท แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อโจทก์ไม่ชำระจึงเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ดังกล่าวได้
of 103