คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 437

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากแท่นไฮดรอลิกชำรุดและผลกระทบต่อสัญญาประกันภัย
แท่นไฮดรอลิกสำหรับเทน้ำตาลดิบออกจากรถยนต์บรรทุกซึ่งจอดอยู่บนแท่นไฮดรอลิกนั้นลงฉางเก็บ เป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้มีไว้ในครอบครองจะต้องรับผิดชอบ เพื่อการเสียหายอันเกิดขึ้นแต่ทรัพย์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายนั้นเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่าเหตุที่เกิดความเสียหายสืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างจำเลยที่ 1
น้ำตาลดิบที่บรรทุกมาในรถยนต์บรรทุกมีความชื้นสูงจึงเกาะกันแน่น แต่มิได้มีการทำให้น้ำตาลดิบแตกตัวทั้งหมดก่อนแล้วจึงยกแท่นไฮดรอลิกขึ้นเท การที่น้ำตาลดิบเกาะกันแน่นอยู่นั้นย่อมทำให้น้ำหนักเฉลี่ยไม่สม่ำเสมอ เมื่อถ่ายน้ำหนักออกมาจากรถยนต์บรรทุกในทันทีทันใด จึงทำให้แหนบรถเกิดแรงต้านและดีดตัวรถให้ลอยขึ้นข้ามที่กั้นล้อแล้วดึงโซ่ที่มัดคานหน้าไว้ขาดก่อนที่จะไหลลงมากระโดดข้ามที่กั้นล้อทุกล้อ ถือไม่ได้ว่าเกิดแต่เหตุสุดวิสัย เพราะจำเลยที่ 1 อาจป้องกันมิให้เกิดเหตุดังกล่าวขึ้นได้โดยการทำให้น้ำตาลดิบที่บรรทุกมาในรถยนต์บรรทุกแตกตัวเสียก่อนที่จะนำรถขึ้นแท่นไฮดรอลิกเพื่อยกเทน้ำตาลดิบลงภาชนะที่รองรับนั้นได้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากทรัพย์อันตราย-แท่นไฮดรอลิกชำรุด-ผู้รับประกันภัยต้องร่วมรับผิด
ความเสียหายของรถยนต์บรรทุกและรถลากพ่วง 4 คัน เกิดขึ้นในขณะที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กำลังยกแท่นไฮดรอลิกเพื่อเทน้ำตาลดิบออกจากรถยนต์บรรทุกและรถลากพ่วงซึ่งจอดอยู่บนแท่นไฮดรอลิกนั้นลงฉางเก็บโดยแท่นไฮดรอลิกดังกล่าวเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้มีไว้ในครอบครองจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดขึ้นแต่ทรัพย์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายนั้นเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่า เหตุที่เกิดความเสียหายสืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างจำเลยที่ 1
ขณะเกิดเหตุรถยนต์บรรทุกน้ำตาลดิบมาจากจังหวัดอุดรธานี ระหว่างการเดินทางน้ำตาลมีความชื้นสูงจึงเกาะกันแน่น ซึ่งก่อนเทมิได้มีการทำให้น้ำตาลแตกตัวทั้งหมดก่อนที่จะยกแท่นไฮดรอลิกขึ้นเทแต่อย่างใด น้ำตาลดิบที่ยังคงมีสภาพเกาะกันแน่นย่อมทำให้น้ำหนักเฉลี่ยไม่สม่ำเสมอ เมื่อถ่ายน้ำหนักออกจากรถพ่วงทันทีทันใดย่อมทำให้แหนบรถเกิดแรงต้านดีดตัวรถให้ลอยขึ้นข้ามที่กั้นล้อแล้วดึงโซ่ที่มัดคานหน้าไว้ขาดก่อนที่จะไหลลงมากระโดดข้ามที่กั้นล้อทุกล้อ ทำให้รถยนต์บรรทุกและรถพ่วงที่บรรทุกน้ำตาลมาไหลชนรถยนต์บรรทุกและรถพ่วงคันอื่นได้รับความเสียหาย ซึ่งมิใช่ความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย เพราะจำเลยที่ 1 อาจป้องกันได้โดยทำให้น้ำตาลแตกตัวเสียก่อนที่จะนำรถขึ้นแท่นไฮดรอลิก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 และจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยก็ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกและรถลากพ่วงคันที่ได้รับความเสียหายและได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าซ่อมแซมรถที่เสียหายนั้นไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชนท้ายรถยนต์หลายคัน ผู้เสียหายต้องพิสูจน์ความประมาทของจำเลยเมื่อไม่ใช่ผู้ครอบครอง/ควบคุมยานพาหนะ
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 ก็ต่อเมื่อโจทก์มิใช่เป็นผู้ที่ครอบครองหรือควบคุมยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล เมื่อเหตุเกิดขึ้นจากรถยนต์ของโจทก์และจำเลยซึ่งกำลังแล่นชนกัน เป็นยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลทั้งสองฝ่าย จึงมิใช่กรณีตามมาตรา 437 โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลย เป็นฝ่ายประมาท เพราะโจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชนกันระหว่างรถยนต์: ผู้ขับขี่ต้องพิสูจน์ความประมาทของอีกฝ่าย
เหตุรถชนเกิดขึ้นจากรถยนต์ของโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลทั้งสองฝ่ายแล่นชนกัน จึงมิใช่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาท เพราะโจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5549/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยืมรถและการไม่เป็นตัวแทน: จำเลยไม่ต้องรับผิดในละเมิดที่ตัวการกระทำเอง
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุ โดยในขณะเกิดเหตุจำเลยให้นายนิดยืมเงิน 5,000 บาท โดยให้ น.ขับรถยนต์ของจำเลยคันดังกล่าวไปรับเงินจากภรรยาของจำเลย แล้ว น.ขับรถยนต์ไปเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์คันอื่นโดยละเมิด เป็นเหตุให้ ณ. และ บ.ถึงแก่ความตาย เมื่อการที่ น.นำรถยนต์ที่จำเลยให้ยืมเพื่อไปรับเงินที่จำเลยให้ยืมจากภรรยาของจำเลยนั้น มิใช่เป็นการทำการแทนจำเลย แต่เป็นการทำเพื่อกิจการและประโยชน์ของ น.เอง ดังนี้ น.จึงมิใช่ตัวแทนของจำเลย จำเลยย่อมไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่ง น.ได้กระทำไปดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7166/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางอากาศ: การคำนวณค่าขาดไร้อุปการะและสกุลเงินชดใช้
โจทก์ที่ 5 บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการเรียกค่าขาดไร้อุปการะว่าโจทก์ที่ 5 กับนายโท. เป็นสามีภริยากันและมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือเด็กชาย อ. และเด็กชาย ม. บุตรทั้งสองกำลังศึกษาอยู่ โจทก์ที่ 5 และบุตรทั้งสองต้องอาศัยรายได้จากนายโท. เป็นเงินเลี้ยงชีพและค่าใช้จ่ายในการศึกษา รวมทั้งค่าเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ เช่นนี้ แม้โจทก์ที่ 5 จะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าใช้สิทธิฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรทั้งสองด้วยก็ตาม แต่ก็มีความหมายพอเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์ที่ 5 ฟ้องคดีขอเรียกค่าสินไหมทดแทนตามสิทธิของบุตรทั้งสองด้วย จึงถือได้ว่าโจทก์ที่ 5 ฟ้องคดีในนามของบุตรทั้งสองโดยปริยายแล้ว
เมื่อนักบินผู้ควบคุมเครื่องบินเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 และความเสียหายเกิดจากเครื่องบินซึ่งเป็นยานพาหนะที่เดินด้วยเครื่องจักรกล กรณีจึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้นเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายนั้นเอง และจำเลยที่ 2ต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยในวินาศภัยอันเกิดจากเที่ยวบินดังกล่าว
ค่าใช้จ่ายในอนาคตที่บุตรทั้งสองของโจทก์ที่ 5 ต้องเดินทางไปเคารพศพนายโท. ในสถานที่เกิดเหตุเป็นเวลา 10 ปี ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคหนึ่ง ส่วนค่าเสียหายอันเนื่องมาจากลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จงใจละเมิดกฎเกณฑ์หรือมาตรฐานแห่งความปลอดภัย ก็มิใช่ค่าสินไหมทดแทนที่จะเรียกร้องเอากับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443
แม้โจทก์ที่ 5 จะมีคำขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินสกุลมาร์กเยอรมันโดยคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่จำเลยทั้งสองชำระเสร็จศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 5 เป็นเงินสกุลบาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าต่อความเสียหายจากทรัพย์อันตรายตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 437
เหตุที่เกิดเพลิงไหม้อาคารที่จำเลยที่ 3 เช่ามาจากจำเลยที่ 1 เสียหาย และทำให้วัสดุที่ถูกเพลิงไหม้หล่นใส่รถยนต์ที่จอดอยู่หน้าอาคารที่เกิดเหตุเนื่องจากมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรที่อาคารดังกล่าวโดยสายไฟฟ้าซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเดิมอยู่นั้นเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จำเลยที่ 3 ผู้เช่าผู้มีทรัพย์ดังกล่าวไว้ในครอบครองจึงต้องรับผิดต่อเจ้าของรถยนต์เพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าวเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดขึ้นเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 วรรคสอง
ในปัญหาที่ว่าเพลิงไหม้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือไม่ ซึ่งจำเลยที่ 3 มีภาระการพิสูจน์ จำเลยที่ 3 นำสืบแต่เพียงว่า ได้เปลี่ยนสายไฟฟ้าในอาคารที่เกิดเหตุใหม่ทั้งหมด ขณะเกิดเหตุภายในอาคารไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และเปิดไฟฟ้าไว้ที่หน้าอาคารและในห้องครัวแห่งละ 1 ดวงเท่านั้น จำเลยที่ 3 มิได้ประมาทเลินเล่อกระแสไฟฟ้าเกิดลัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้อย่างไร จำเลยที่ 3 ไม่ทราบ ข้อนำสืบของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดแต่เหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าต่อความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดจากทรัพย์อันตราย
เหตุที่เกิดเพลิงไหม้อาคารที่จำเลยที่ 3 เช่ามาจากจำเลยที่ 1เสียหาย และทำให้วัสดุที่ถูกเพลิงไหม้หล่นใส่รถยนต์ที่จอดอยู่หน้าอาคารที่เกิดเหตุเนื่องจากมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรที่อาคารดังกล่าวโดยสายไฟฟ้าซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเดินอยู่นั้นเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จำเลยที่ 3 ผู้เช่าผู้มีทรัพย์ดังกล่าวไว้ในครอบครองจึงต้องรับผิดต่อเจ้าของรถยนต์เพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดขึ้นเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง
ในปัญหาที่ว่าเพลิงไหม้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือไม่ ซึ่งจำเลยที่ 3มีภาระการพิสูจน์ จำเลยที่ 3 นำสืบแต่เพียงว่า ได้เปลี่ยนสายไฟฟ้าในอาคารที่เกิดเหตุใหม่ทั้งหมด ขณะเกิดเหตุภายในอาคารไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และเปิดไฟฟ้าไว้ที่หน้าอาคารและในห้องครัวแห่งละ 1 ดวงเท่านั้น จำเลยที่ 3 มิได้ประมาทเลินเล่อ กระแสไฟฟ้าเกิดลัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้อย่างไร จำเลยที่ 3ไม่ทราบ ข้อนำสืบของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดแต่เหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6249/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถยนต์ต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุ: การวินิจฉัยฐานความรับผิดที่ถูกต้อง
เจ้าของรถยนต์จะรับผิดหรือร่วมรับผิดในผลแห่ง การละเมิดต้องเป็นกรณีที่เจ้าของรถยนต์เป็นผู้กระทำละเมิดคือเป็นผู้ขับด้วยตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 วรรคหนึ่ง หรือในกรณีเจ้าของรถยนต์ ต้องร่วมรับผิดกับบุคคลอื่นในผลแห่งการละเมิดต้องเป็นกรณีผู้กระทำละเมิดเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของเจ้าของรถยนต์หรือเจ้าของรถยนต์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ขณะเกิดเหตุโดยเจ้าของรถยนต์โดยสารไปด้วยตามมาตรา 425,427 และ 437 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของ รถยนต์คันเกิดเหตุแต่ยังมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 4ต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในฐานะใดอันเป็นประเด็นสำคัญในคดี ซึ่งจำเลยที่ 4 ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้และศาลอุทธรณ์ก็ไม่รับวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่ 4จึงยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 4ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1)(3),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5549/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยืมรถและการรับผิดในละเมิด: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากผู้ยืมไม่ได้เป็นตัวแทน
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุโดยในขณะเกิดเหตุจำเลยให้ น. ยืมเงิน โดยให้ น.ขับรถยนต์ของจำเลยคันดังกล่าวไปรับเงินจากภรรยาของจำเลย แล้ว น.ขับรถยนต์ไปเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์คันอื่นโดยละเมิด เป็นเหตุให้ ณ.ผู้ขับขี่ และ บ. ซึ่งนั่งซ้อนท้ายมากับรถคันดังกล่าวถึงแก่ความตายแต่การที่ น. นำรถยนต์ที่จำเลยให้ยืมเพื่อไปรับเงินที่จำเลยให้ยืมจากภรรยาของจำเลย มิใช่เป็นการทำการแทนจำเลย หากแต่เป็นการทำเพื่อกิจการและประโยชน์ของ น.เอง ดังนี้น. จึงมิใช่ตัวแทนของจำเลย จำเลยย่อมไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่ง น. ได้กระทำไป
of 18