พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379-2380/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย และความรับผิดของนายจ้าง/ผู้รับประกันภัยในคดีละเมิด
จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาที่แน่นอน การส่งหมายแจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาจึงต้องแจ้งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 4 การที่ศาลชั้นต้นให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดที่หน้าศาลจึงเป็นการแจ้งวันนัดที่ไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 4 ไม่ทราบวันนัด ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งที่ให้ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้ทราบคำพิพากษานั้นเสียได้ โดยให้ถือว่าจำเลยที่ 4 ยังไม่ได้ฟังคำพิพากษาและให้ถือว่าได้ฟังคำพิพากษาในวันนัดพร้อมเพื่อพิจารณา คำร้องขอให้แจ้งวันนัดและพิพากษาใหม่ของจำเลยที่ 4 ได้.
ผู้ตายโดยสารมาในรถยนต์ของจำเลยที่ 3 ซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลเช่นเดียวกับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายมิได้เกิดจากยานพาหนะที่เดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลของจำเลยที่ 3 แต่ฝ่ายเดียว จึงนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 437 อันว่าด้วยหน้าที่นำสืบมาใช้บังคับไม่ได้.
ผู้ตายโดยสารมาในรถยนต์ของจำเลยที่ 3 ซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลเช่นเดียวกับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายมิได้เกิดจากยานพาหนะที่เดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลของจำเลยที่ 3 แต่ฝ่ายเดียว จึงนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 437 อันว่าด้วยหน้าที่นำสืบมาใช้บังคับไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถและการประเมินสภาพรถของผู้ขับขี่, เหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถอ้างได้
จำเลยที่ 1 ขับขี่รถยนต์โดยสารมาด้วยความเร็วสูง เมื่อขับขี่เข้าทางโค้งก็ไม่ชะลอความเร็วลง รถจึงเสียการทรงตัวแล่นออกนอกเส้นทางพลิกคว่ำตกข้างถนน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ขับขี่รถยนต์โดยประมาทปราศจากความระมัดระวังเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งโดยสารมาในรถได้รับบาดเจ็บและแม้ไฟหน้าส่องทางของรถดับมืดลงก่อนเกิดเหตุเนื่องจากไฟลัดวงจรก็ตาม ก็หาเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ เพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่ที่ต้องตรวจตราระมัดระวังให้รถอยู่ในสภาพเรียบร้อยและขับขี่ด้วยความปลอดภัย จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ทำละเมิดต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการขับรถประมาท: ผู้ขับขี่มีหน้าที่ตรวจสภาพรถและขับขี่ปลอดภัย แม้ไฟหน้าดับก็ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
จำเลยที่ 1 ขับขี่รถยนต์โดยสารมาด้วยความเร็วสูง เมื่อขับขี่เข้าทางโค้งก็ไม่ชะลอความเร็วลง รถจึงเสียการทรงตัวแล่นออกนอกเส้นทางพลิกคว่ำตกข้างถนน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ขับขี่รถยนต์โดยประมาทปราศจากความระมัดระวังเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งโดยสารมาในรถได้รับบาดเจ็บและแม้ไฟหน้าส่องทางรถดับมืดลงก่อนเกิดเหตุเนื่องจากไฟลัดวงจรก็ตาม ก็หาเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ เพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่ที่จะต้องตรวจตราระมัดระวังให้รถอยู่ในสภาพเรียบร้อยและขับขี่ด้วยความปลอดภัย จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ทำละเมิดต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการขับรถประมาท แม้ไฟดับก็ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ผู้ขับขี่ต้องตรวจสภาพรถและขับขี่ปลอดภัย
จำเลยที่ 1 ขับขี่รถยนต์โดยสารมาด้วยความเร็วสูง เมื่อขับขี่เข้าทางโค้งก็ไม่ชะลอความเร็วลง รถจึงเสียการทรงตัวแล่นออกนอกเส้นทางพลิกคว่ำตกข้างถนน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ขับขี่รถยนต์โดยประมาทปราศจากความระมัดระวังเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งโดยสารมาในรถได้รับบาดเจ็บและแม้ไฟหน้าส่องทางของรถดับมืดลงก่อนเกิดเหตุเนื่องจากไฟลัดวงจรก็ตาม ก็หาเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ เพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่ที่ต้องตรวจตราระมัดระวังให้รถอยู่ในสภาพเรียบร้อยและขับขี่ด้วยความปลอดภัย จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ทำละเมิดต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้จำเลยขาดนัด ศาลยังต้องพิจารณาพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายเพื่อพิสูจน์ความประมาทก่อนตัดสินคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขับรถยนต์ และจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมกันรับผิดในการที่จำเลยที่1 ขับรถยนต์ประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยเสียหายจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนี้ แม้หากฝ่ายจำเลยขาดนัดไม่มาศาล ศาลก็ยังวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีไม่ได้จนกว่าจะได้พิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบว่าคดีมีมูลตามข้ออ้างแห่งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 ทั้งเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้การและนำสืบต่อสู้คดี จึงเป็นกรณีที่ต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายในประเด็นพิพาทว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยประมาทตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องหรือไม่ และศาลย่อมพิพากษายกฟ้องเมื่อฟังว่า เหตุมิได้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้จำเลยขาดนัด ศาลยังต้องพิจารณาพยานทั้งสองฝ่ายเพื่อพิสูจน์ความประมาทตามหลักกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขับรถยนต์ และจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมกันรับผิดในการที่จำเลยที่ 1ขับรถยนต์ประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยเสียหายจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนี้ แม้หากฝ่ายจำเลยขาดนัดไม่มาศาล ศาลก็ยังวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีไม่ได้จนกว่าจะได้พิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบว่าคดีมีมูลตามข้ออ้างแห่งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 ทั้งเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้การและนำสืบต่อสู้คดี จึงเป็นกรณีที่ต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายในประเด็นพิพาทว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยประมาทตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องหรือไม่ และศาลย่อมพิพากษายกฟ้องเมื่อฟังว่า เหตุมิได้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากเหตุเพลิงไหม้: ไม่มีประมาทเลินเล่อและมิได้อ้างความรับผิดตามมาตรา 437
ในคดีละเมิดเนื่องจากเหตุเกิดเพลิงไหม้ด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยหรือลูกจ้าง เมื่อโจทก์มิได้กล่าวอ้างหรือตั้งประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรคสอง ทั้งข้อเท็จจริงในทางพิจารณาก็ไม่ได้ความว่าเครื่องอบกระป๋องในโรงงานของจำเลยเป็นทรัพย์ที่อาจจะเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์สิน คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองเครื่องอบและน้ำยาฆ่าแมลงที่บรรจุอยู่ในกระป๋องที่ต้องอบในเครื่องอบนั้นเป็นทรัพย์ที่มีอันตรายโดยสภาพหรือโดยการใช้ตามมาตรา 437 วรรคสองและเหตุที่เกิดขึ้นไม่ใช่เหตุสุดวิสัยซึ่งจำเลยต้องรับผิดหรือไม่
เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ทำให้ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้กับโจทก์เสียหาย แม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยแล้ว แต่เมื่อเหตุที่เพลิงไหม้มิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยหรือลูกจ้างของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์โดยอ้างมูลละเมิดได้.
เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ทำให้ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้กับโจทก์เสียหาย แม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยแล้ว แต่เมื่อเหตุที่เพลิงไหม้มิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยหรือลูกจ้างของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์โดยอ้างมูลละเมิดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การยินยอมผู้ขับขี่ตามสัญญาประกันภัย และความรับผิดของนายจ้าง
จำเลยที่ 2 ซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุจากจำเลยที่ 3 โดยมีเงื่อนไขว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอน จำเลยที่ 3 เอาประกันภัยรถยนต์คันนี้ไว้กับจำเลยที่ 4 กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า 'บริษัทจะถือบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง.........' ดังนี้การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปทำละเมิดต่อโจทก์ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยและมีฐานะเป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัย (อ้างฎีกาที่ 3583/2529) ส่วนจำเลยที่2 ต้องรับผิดในฐานะนายจ้าง สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของรถและเป็นผู้เอาประกันภัยนั้น ไม่ได้ความว่าเป็นผู้ครอบครองด้วย จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการเชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัย เท่ากับจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 4 เองนั้น โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง ศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย.
ประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการเชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัย เท่ากับจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 4 เองนั้น โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง ศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากรถยนต์: ผู้ซื้อรถ (แม้กรรมสิทธิ์ยังไม่โอน) และผู้รับประกันภัยมีหน้าที่รับผิดชอบ
จำเลยที่ 2 ซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุจากจำเลยที่ 3 โดยมีเงื่อนไขว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอน จำเลยที่ 3 เอาประกันภัยรถยนต์คันนี้ไว้กับจำเลยที่ 4 กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า 'บริษัทจะถือบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง.........' ดังนี้การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปทำละเมิดต่อโจทก์ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยและมีฐานะเป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัย (อ้างฎีกาที่ 3583/2529) ส่วนจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะนายจ้าง สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของรถและเป็นผู้เอาประกันภัยนั้น ไม่ได้ความว่าเป็นผู้ครอบครองด้วย จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการเชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัย เท่ากับจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 4 เองนั้น โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง ศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
ประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการเชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัย เท่ากับจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 4 เองนั้น โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง ศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4765/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องหลังชี้สองสถาน: กรณีจำเลยปกปิดข้อมูลคนขับและโจทก์เพิ่งทราบภายหลัง
โจทก์ถูกรถยนต์ของจำเลยชนแล้วหลบหนี จำเลยปกปิดชื่อและที่อยู่ของผู้ขับขี่รถยนต์คันดังกล่าว โจทก์จึงได้ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในฐานะเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์ แม้ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่โจทก์ตามสำนวนการสอบสวนของพนักงานอัยการที่ส่งศาลตามหมายเรียกว่า ผู้ขับขี่รถยนต์ชนโจทก์เป็นลูกจ้างและกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลย ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์เพิ่งทราบความจริงภายหลังจากการชี้สองสถานและไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ก่อนหน้านั้นโจทก์จึงมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดต่อโจทก์หลังวันชี้สองสถานแล้วได้